Skip to main content
sharethis

ผู้พิการที่คนปกติส่วนใหญ่มองเห็นแต่ความผิดปกติ และผิดแปลกไปจากคนธรรมดาทางด้านกายภาพ แต่กลับไม่ได้รับรู้และมองให้ลึกลงไปว่าเขาเหล่านั้นมีความสามารถอะไรบ้าง คนพิการไม่ค่อยจะได้รับความช่วยเหลือ หรือเหลียวแล หลายคนยังอาจจะเข้าใจที่ไม่ถูกต้องต่อผู้พิการ อาจจะด้วยไม่มีเวทีหรือพื้นที่ในการที่จะให้คนที่ปกติและคนพิการมาพบปะพูดคุยกัน ซึ่งที่จริงแล้วผู้พิการก็เป็นสมาชิกภายในสังคม ชุมชน เฉกเช่นเราทุกคน กลุ่มต้มยำ(การแสดง) และชมรมส่งเสริมและพัฒนาอนาชีด ได้ริเริ่ม และเล็งเห็นถึงการนำเอาการแสดงละครเวที และการนำเอาเพลงอนาชีดมาร้อยเรียง พร้อมทั้งแต่งบทละคร และบทเพลงอนาชีด เพื่อสื่อสารให้กลุ่มคนที่มีร่างกายปกติ ได้เข้าใจในความเป็นผู้พิการ และเป็นการให้กำลังใจ ไม่ว่าการใช้ชีวิตประจำวัน หรือสิ่งที่ต่างๆที่สามารถสร้างความเข้าใจผู้พิการได้ และเมื่อวันที่ 27 พ.ค. - 1 มิ.ย. 54 โครงการละครเร่เพื่อความเข้าใจผู้พิการ และโครงการบทเพลงอนาชีดเพื่อคนพิการ ได้เริ่มทำการอบรมให้ความรู้และความเข้าใจเรื่องความพิการ และเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการใช้สื่อละครเร่ และเพลงอนาชีดเพื่อคนพิการ นายมาตูรีดี มะสาแม ผู้ประสานงานโครงการบทละครเร่เพื่อความเข้าใจผู้พิการ และโครงการบทเพลงอนาชีดเพื่อคนพิการ ได้กล่าวถึงแรงจูงใจแรกและสิ่งที่จุดประกายในการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับผู้พิการว่า เดิมได้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับละครอยู่แล้ว ต่อมามีเจ้าหน้าที่ในสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ ได้ติดต่อมาเพื่อให้เสนอโครงการเกี่ยวกับผู้พิการ จึงได้เสนอโครงการบทละครเร่เพื่อความเข้าใจผู้พิการ และโครงการบทเพลงอนาชีดเพื่อคนพิการ ต่อมาโครงการก็ไดรับการพิจารณา จึงได้เลือกนักศึกษาที่ทำกิจกรรมทางด้านการละคร ร่วมกับเด็กเยาวชนที่มีความสนใจทางด้านละคร ส่วนของอนาชีดได้เชิญอาจารย์ผู้ที่แต่งเพลง และนักร้องอนาชีด ทางกลุ่มมีการจัดอบรมเพื่อสร้างความเข้าใจต่อผู้พิการ ได้เชิญวิทยากรที่ทำงานสร้างความเข้าใจเรื่องผู้พิการมาให้ความรู้ ทางด้านกระบวนการมีการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเพื่อนำประเด็นที่ได้จากการพูดคุย ถึงความเป็นผู้พิการให้เข้าใจโดยวิทยากรผู้พิการ เพื่อนำผันไปเป็นบทละครและบทเพลงอนาชีด อาจจะยังให้คำตอบไม่ได้ว่าจะสามารถสร้างความเข้าใจแก่คนฟังปกติมาน้อยแค่ไหน ผู้ฟังและผู้ชมจะเป็นคนที่จะตัดสินเองว่าจะเข้าใจมากน้อยแค่ไหน มาตูรีดี กล่าวถึงอุปสรรคในการจัดกิจกรรมนี้ว่า เวทีการสร้างความเข้าใจนี้ สิ่งที่เป็นอุปสรรคไม่ได้เป็นความพิการไม่มีแขน ไม่มีขา แต่กลับเป็นคนปกติที่เราได้เชิญไม่ค่อยมีเวลาที่จะเข้าร่วมการอบรมเบื้องต้น ส่วนตัวมีข้อมูลทางด้านคนพิการน้อยมาก ส่วนผู้ที่พิการเนื่องจากผลกระทบของเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ เราอาจจะได้เชิญให้มาเข้าร่วมในงานของการแสดงละครและเพลงอนาชีดอีกประมาณ 1 เดือน นายอับดุลเล๊าะ สนิโช (ฟาน) นักร้องนำวงอนาซีด “ฟาร์ฮาน” Farhan ได้เล่าถึงการได้มาเข้าร่วมในโครงการครั้งนี้ว่า ผู้จัดทำโครงการมองเห็นถึงความสำคัญของคนพิการ และได้ชวนให้เข้าร่วมโครงการละครเร่เพื่อคนพิการ และบทเพลงอนาซีดเพื่อคนพิการ ทำให้ตนเองสนใจ แล้วบทเพลงอนาซีดที่พูดถึงกลุ่มคนเหล่านี้ยังไม่มีโดยเฉพาะ ซึ่งคนพิการเองในแง่ของศาสนาอิสลามแล้วก็มีความเท่าเทียมกันกับคนปกติทั่วไป แค่ร่างกายของเขาเท่านั้นที่ไม่ปกติ แต่หน้าที่ของเขาก็ยังคงต้องจงรักพักดีต่ออัลลอฮ และโครงการนี้เราจะมาแต่งเพลงอนาซีดให้แก่คนพิการโดยเฉพาะ เป็นเรื่องที่ยากหน่อยที่จะมาแต่งเพลงเกี่ยวกับคนกลุ่มนี้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเข้าร่วมอบรมให้รับทราบถึงชีวิตจริงของคนกลุ่มนี้ การดำเนินชีวิตเป็นอย่างไร อารมณ์ของเขาเป็นอย่างไร เราต้องมาหาจุดไคลแมกซ์ของการใช้ชีวิตของคนพิการให้เข้าลึกมากที่สุด กิจกรรมในวันแรกของการอบรมได้แสดงบทบาทของผู้พิการทางสายตา ทำให้ทราบถึงความยากลำบาก เวลาที่จะออกไปไหนมาไหนเกิดความระแวงกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบข้าง อินชาอัลลอฮ(ความประสงค์ของอัลลอฮ) หากว่าจบโครงการเราสามารรับรู้วิธีการใช้ชีวิตของกลุ่มผู้พิการ ในการถ่ายทอดเนื้อหาบทเพลงอนาซีดคนพิการ ฟาน กล่าวถึงอุปสรรคในการแต่งเพลงเนื้อหาที่เกี่ยวกับคนพิการว่า การจะเล่าให้คนปกติได้รับรู้ถึงเนื้อหาผู้พิการการใช้ภาษา เราต้องพยายามหาคำไม่ว่าจะเป็นภาษาไทย หรือภาษามลายู จะหาศัพท์ที่ฟังแล้วเข้าใจได้ง่าย ทำนองเข้าถึงอารมณ์ เนื้อหาเพลงที่กำลังแต่งอยู่คือ Buat Mu Teman หมายถึง “เพื่อเธอ เพื่อน(คนพิการ)” จะบอกให้เขามีความอดทน และพยายาม เขาก็คือพี่น้องของเรา นางสาวณธกมล รุ่งทิพ (พี่เอิร์ท) ผู้จัดการศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการ กรุงเทพฯ วิทยากรให้ความรู้ความเข้าใจต่อผู้พิการในพื้นที่ว่า คนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความเข้าใจในความเป็นผู้พิการอยู่บ้าง แต่มีโอกาสในการพบปะกับผู้พิการ จากการสอบถามเพื่อนๆ ที่เข้าร่วมโครงการ เห็นได้จากในการใช้ชีวิตแต่ละวันจะเห็นคนพิการออกมาไปไหนมาไหนมากนัก โดยส่วนตัวแล้วจากการสัมผัสกับเพื่อนๆในพื้นที่ มีความปรารถนาดีต่อคนพิการ แต่อาจจะยังไม่มีโอกาสได้ใกล้ชิด เนื้อหาที่พูดคุย มีจุดประสงค์ในการทำความเข้าใจในความพิการ ซึ่งเดิมมีคนเข้าใจว่าปัญหามาจากร่างกาย มองไม่เห็น เดินไม่ได้ ไม่ได้ยิน สิ่งเหล่านี้ทำให้เราไม่สามารถทำกิจวัตรได้อย่างปกติ ทำงานก็ทำไม่ได้ คนสมัยก่อนทุกๆที่จะคิดอย่างนั้น คิดว่าหากแก้ไขในร่างกายได้ทุกอย่างก็จะง่าย แต่ต่อมาจริงๆแล้วปัญหาของคนที่มองไม่เห็นทำให้ไม่ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร ไม่ใช่เพราะว่าเขาอ่านไม่ออก หรือมองไม่เห็น เขาสามารถที่จะใช้หูฟังแทน สิ่งที่พยายามสื่อสารคือถ้าเรายอมรับในสิ่งที่ไม่เหมือนกันแล้วออกแบบให้แต่ละคนใช้วิธีการของตนเองได้ในการใช้ชีวิตประจำวัน ปัญหาเรื่องความพิการหรือเสียเปรียบก็จะน้องลง พี่เอิร์ท กล่าวเกี่ยวกับสิทธิของผู้พิการว่า ตามกฎหมายไทยท่ามกลางกลุ่มประเทศอาเซียน ถือว่าประเทศไทยมีกฎหมายที่ก้าวหน้า ผู้แทนผู้พิการไทยก็ส่วนในการร่างอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ซึ่งเป็นอนุสัญญาระดับนานาชาติ และกฎหมายไทย พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการแห่งชาติ พ.ศ.2550 และพ.ร.บ.ส่งเสริมการจัดการการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2551 เป็นกฎหมายที่ครอบคลุมมีกลไกในการร้องเรียน เริ่มมีการสื่อสารให้ความเข้าใจ และต้องมีการช่วยนำไปปฏิบัติใช้ให้เกิดประโยชน์ ส่วนสิทธิคนพิการในพื้นที่ 3 จังหวัด เพื่อนที่พิการเนื่องจากเหตุการณ์ความรุนแรง ทางด้านสิทธิคงจะไม่มีข้อแตกต่างเนื่องเป็นกฎหมายระดับประเทศ อยู่ที่ว่าความแตกต่างของสถานการณ์ในพื้นที่ไม่เหมือนกัน อย่างสิทธิคนพิการชาวเขาทางเหนือเขามีสิทธิแต่ใช้สิทธิอย่างไม่เต็มที่ เพราะว่าด้วยสภาพแวดล้อมยังมีหลายอย่างที่ยังไม่เอื้อต่อการใช้ชีวิต เป็นต้น แต่สิ่งที่สำคัญต่อผู้พิการทุกคนมีคุณค่า ในความเป็นมนุษย์ และเขาต้องรู้จักสิทธิของตัวเอง และสังคมต้องเรียนรู้สิทธิของผู้พิการด้วย สิทธิของเพื่อนๆ ในจังหวัดชายแดนใต้ มีสิทธิเพิ่มขึ้นในการสร้างงาน และโรงงานใดที่จ้างงานคนจำนวน 100 คน ต้องมีการจ้างคนพิการทำงาน 1 คน ในประเด็นของพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้เมื่อเรานึกถึงพื้นที่แล้วสิ่งแรกที่เรานึกถึงประเด็นความรุนแรงทำให้เราลืมในอีกหลายๆประเด็น อาจจะเป็นผลที่ทำให้สิทธิเพื่อนๆคนพิการไม่ชัดเจน ควรมีการใช้สื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารในโรงเรียนในครอบครัว เนื่องจากการเรียนรู้จากสื่อ และอินเตอร์เน็ตมีอิทธิผลมากขึ้น ถ้าสามารถได้บอกกล่าวเกี่ยวกับผู้พิการว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่ร่างกาย แต่สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงง่าย เช่น หากว่าจะมีสร้างอาคารหรือตึกควรนึกถึงผู้สูงอายุ คนพิการ คนตาบอก มีผู้หญิงท้อง ถ้าเราทำอะไรแล้วเปิดใจออกเพื่อคนหลายๆคนทำให้เราอยู่ร่วมกันง่ายๆขึ้น และโครงการนี้จะเป็นการสร้างความเข้าใจในคนพิการมากขึ้น เชื่อว่าจะต้องมีการทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น จากการฟังเนื้อหาของบทเพลงอนาซีดซึ่งเป็นเพลงที่มีเจตนาที่ดี เพลงและละครเร่ เป็นสื่อที่ตรงกับผู้รับชมรับฟัง ให้ข้อความ ให้สารในมุมมองที่ดีต่อเพื่อนบุคคลเหล่านี้ พี่เอิร์ท ปิดท้ายด้วยประเด็นการสร้างความเข้าใจเข้าใจในคนพิการมากขึ้น

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net