Skip to main content
sharethis

คนงานจากสหภาพฟูรูกาวา เม็ททัล (ไทยแลนด์) ร่วมกับกลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง เดินทางมายังสถานทูตญี่ปุ่น กรุงเทพฯ เพื่อยื่นหนังสือขอความเป็นธรรม ขอความช่วยเหลือให้พวกเขาได้กลับเข้าทำงานตามปกติ หลังถูกนายจ้างไม่ให้เข้างานและแจ้งความหมิ่นประมาท 

 

(4 พ.ค.54) เวลา 11.00น. คนงานจากสหภาพฟูรูกาวา เม็ททัล (ไทยแลนด์) ซึ่งเป็นพนักงานของบริษัทฟูรูกาวา เม็ททัล (ไทยแลนด์)จำกัด (มหาชน) ร่วมกับกลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง เดินทางด้วยรถบัสจาก จ.สระบุรี มายังสถานทูตญี่ปุ่น กรุงเทพฯ เพื่อยื่นหนังสือขอความเป็นธรรม ขอความช่วยเหลือให้พวกเขาได้กลับเข้าทำงานตามปกติ

เนื้อหาหนังสือขอ ความเป็นธรรม ระบุว่า กรณีบริษัทฟูรูกาวา เม็ททัล (ไทยแลนด์) จำกัด ได้มอบหมายให้ทนายความดำเนินการแจ้งความดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์ต่อ พนักงานสอบสวนที่สถานีตำรวจภูธรแก่งค่อย ในข้อหาความผิดฐาน ร่วมกันหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ต่อคณะกรรมการสหภาพแรงงานฯ 11 คน และสมาชิกสหภาพแรงงาน 4 คน รวม 15 คน และมีคำสั่งฉบับลงวันที่ 21 เมษายน 2554 ให้คณะกรรมการสหภาพแรงงานฯ และสมาชิก 15 คน ไม่ให้เข้าบริเวณโรงงาน

สหภาพ แรงงานฯและสมาชิกไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการกระทำของนายจ้างที่มีคำสั่งไม่ ให้เข้าไปทำงาน และดำเนินคดีข้อหาฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา สืบเนื่องจากกรณีที่ทางสหภาพแรงงานได้มีการประชุมร่วมกันตรวจสอบการที่นาย จ้างได้นำกล้องวงจรปิดหรือกล้อง CCTV มาติด ซึ่งทางสหภาพแรงงานเองได้ดำเนินการคัดค้านการกระทำของนายจ้าง เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของลูกจ้างในขณะปฏิบัติหน้าที่ให้นายจ้าง โดยให้เหตุผลว่า การติดกล้องวงจรปิดเป็นการจับผิดลูกจ้าง จำกัดสิทธิ และเสรีภาพขณะปฏิบัติหน้าที่ เพื่อการลงโทษ

สหภาพแรงงานได้มีการได้ มีการประชุมและมีมติร่วมกันให้มีการเข้าร่วมชุมนุมโดยสงบ เพื่อทำการชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับนายจ้างในการที่นำกล้องวงจรปิดมาติด ตั้งภายในบริเวณโรงงาน ซึ่งวันที่ 18 มีนาคม 2554 มีการปราศรัย เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงถึงเหตุผลที่ทางสหภาพแรงงานคัดค้านให้กับลูกจ้างและ สมาชิก เป็นการแสดงความคิดเห็น และใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญเพื่อคุ้มครองสิทธิลูกจ้างขณะปฏิบัติหน้าที่ให้กับ นายจ้าง ซึ่งทางสหภาพแรงงานไม่ได้มีเจตนาร้าย หรือหมิ่นประมาทต่อนายจ้างให้ได้รับความเสียหาย การที่นายจ้างประพฤติปฏิบัติต่อคณะกรรมการสหภาพแรงงานฯและสมาชิกจึงไม่เป็น ธรรม

ทั้งนี้สหภาพแรงงานฯจึงขอยื่นหนังสือเพื่อขอความเป็นธรรมต่อ สถานทูตญี่ปุ่นให้ช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานให้ได้กลับเข้าทำงานตามปกติ เพื่อพัฒนาความเจริญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย และประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งแรงงานสัมพันธ์ที่ดีในสถานประกอบการของญี่ปุ่นและลูกจ้างคนไทยก่อ เกิดความสงบสุขร่วมกัน

นายสายัณห์ อะวิสุ ประธานสหภาพฯ ได้ยื่นหนังสือต่อนายยูกิฮิโกะ คาเนโกะ เลขานุการเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น และบอกเล่าปัญหาผ่านล่าม โดยร้องขอให้ช่วยประสานกับทางบริษัท พร้อมยืนยันว่าคนงานอยากกลับเข้าทำงาน หากบริษัทต้องการให้ขอโทษหรือมีกระบวนการไกล่เกลี่ยก็ยินดี อยากให้เคลียร์กับสหภาพฯโดยตรง โดยไม่มีบริษัทที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

ด้าน นางสาวธนพร วิจันทร์ เลขาธิการกลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง บอกกับเลขาฯทูตญี่ปุ่นว่า ที่หนักใจคือ ช่วงหลังบริษัทได้จ้างบริษัทที่ปรึกษา ซึ่งมีการใช้กฎหมายเข้ามาดำเนินการกับคนงาน ทั้งที่น่าจะพูดคุยไกล่เกลี่ยกันได้ ทั้งนี้ คนงานได้ขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานรัฐในพื้นที่แล้ว แต่ก็ยังไม่สำเร็จจึงเดินทางมาที่นี่ นอกจากนี้มีกระแสข่าวด้วยว่าบริษัทอาจจะขออำนาจศาลเพื่อเลิกจ้างคนงาน 15 คน หากเกิดขึ้นจะเป็นการสุมปัญหาขึ้นไปอีก

นายยูกิฮิโกะ คาเนโกะ เลขาเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น กล่าวว่า เพิ่งทราบข่าวเมื่อวานที่มีการติดต่อมา หลังจากนี้จะติดต่อกับผู้บริหารเพื่อพูดคุยต่อไป ทั้งนี้ เขากล่าวเพิ่มเติมว่าสถานทูตญี่ปุ่นไม่สามารถออกคำสั่งต่อบริษัทเอกชนได้ อย่างไรก็ตาม ในฐานะที่ไทยและญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ก็อยากจะแก้ปัญหานี้โดยเร็วและจะพยายามอย่างเต็มที่

ด้านนางสาววาสนา ลำดี ผู้ดูแลเว็บไซต์ voicelabour.org และผู้ประสานงานนักสื่อสารแรงงาน แสดงความเห็นกรณีที่มีการฟ้องหมิ่นประมาทกับคนงานว่า อาจเป็นเพราะต้องการเบรกให้คนงานไม่พูดเรื่องในโรงงานออกไป รวมถึงอาจต้องการล้มสหภาพแรงงานด้วย

นางสาววาสนา กล่าวว่า นี่เป็นครั้งแรกที่คนงานถูกฟ้อง อาจเป็นความหวั่นใจของนายจ้างที่ทุกวันนี้นักข่าวไม่ได้อยู่ในสำนักพิมพ์ กระทรวงแรงงานหรือทำเนียบฯอีกแล้ว แต่อยู่ในโรงงานเลย

ในส่วนเนื้อหา ที่ถูกดำเนินคดีนั้น เธอมองว่า เป็นข้อเท็จจริง ไม่ได้มีความพยายามทำลายสหภาพฯ ขณะที่ภาพประกอบซึ่งเป็นภาพป้ายข้อความรณรงค์ของคนงาน ก็เป็นเรื่องปกติของขบวนการแรงงานในการสื่อสารอยู่แล้ว พร้อมตั้งคำถามด้วยว่า หากภาพเหล่านี้ปรากฎในสื่อกระแสหลักจะมีการฟ้องร้องหรือไม่

จากนั้น กลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง และสหภาพแรงงานฟูรูกาวาฯ ได้เดินทางไปยังกระทรวงแรงงาน เพื่อให้มีการดำเนินการแก้ไขปัญหาระหว่างนายจ้างกับสหภาพแรงงาน ที่นายจ้างมีการฟ้องร้องในกรณีดังกล่าว โดยเบื้องต้น สำนักแรงงานสัมพันธ์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้รับปากจะดำเนินการเพื่อให้ได้ข้อยุติต่อไป

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net