Skip to main content
sharethis

วานนี้ (22 กุมภาพันธ์)  เวลา 09.00 น.  ณ ห้องบรรยาย 2  คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  คณะอนุกรรมการสิทธิชุมชน  ภายใต้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้จัดประชุมเพื่อดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง  เรื่องการศึกษาและประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA)  โครงการพัฒนาเหมืองแร่โปแตซ โดยทำการเชิญ หน่วยงาน/องค์กร ภาครัฐและเอกชน  ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำ SEA อาทิเช่น  กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ,บริษัทเอเชียแปซิฟิค โปแตซ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (APPC) ,สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ,สำนักงานสิ่งแวดล้อม ภาค 9 และภาค 11  ,กลุ่มชาวบ้านในพื้นที่เหมืองแร่โปแตซ ขอนแก่น และมหาสารคาม  ตลอดจน นักพัฒนา นักวิชาการ ประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจต่อสถานการณ์พัฒนาเหมืองแร่โปแตซ ภาคอีสาน

บรรยากาศภายในเวที นั้น ได้มีการบรรยายให้ความรู้ ซักถาม แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ ประเด็น การทำ SEA โครงการเหมืองแร่โปแตซในภาคอีสาน โดย APPC ซึ่งเป็นบริษัทที่พยามผลักดัน โครงการเหมืองแร่โปแตซจังหวัดอุดรธานี ได้ส่งนายวิสุทธิ์    จิราธิยุต กรรมผู้จัดการบริษัท มาชี้แจง และให้ข้อมูลในการดำการผลักดันโครงการเหมืองฯ  แต่ก็ถูกตั้งคำถาม และข้อคิดเห็นแลกเปลี่ยนจาก อนุกรรมาธิการฯ นักวิชาการ และกลุ่มชาวบ้าน ถึงกระบวนการผลักดันโครงการเหมืองฯที่มีข้อกังขา และขาดความชอบธรรม  แต่เป็นที่น่าสังเกตและเกิดข้อกังขาจากบรรดาผู้เข้าร่วมเวทีกรณี ที่ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ หรือ กพร. ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องหลักต่อการทำ SEA ไม่ได้ส่งตัวแทนเข้ามาร่วม

นายปริญญา  นุตาลัย นักวิชาการ และอดีตกรรมการผู้ชำนาญการการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านเหมืองแร่  ได้แสดงความคิดเห็นต่อ การทำ SEA ในเวที ครั้งนี้ว่า

“สิ่งสำคัญที่เป็นปัญหาของประเทศไทยในการที่จะทำ SEA นั้น  ต้องกลับดูที่กฎหมายบ้านเรามันมีปัญหา เพราะที่ผ่านมาการออกกฎหมายมักจะออกมาว่าทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า แร่ เป็นของรัฐ   ประชาชนไม่เกี่ยว  ยกตัวอย่างการแก้ไขกฎหมายแร่ เมื่อ ปี 45 ที่มีการออกกฎหมายให้สามารถซอนไซไปเอาสินทรัพย์ใต้ดินตั้งแต่ 100 เมตรขึ้นไป มันเป็นปัญหา  มันต้องพูดคุยกันให้ชัดเจน ถกเถียงกันให้ตกว่าทรัพยากรเป็นของใคร  แล้วต้องกลับไปแก้ไขที่ข้อกฎหมาย  ถ้าไม่แก้กฎหมายแร่ก็จะเกิดประเด็นไปทุกอย่อมหญ้า”

นายปริญญายังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “การทำ SEA นั้น เท่าที่ดูแล้วหน่วยงานรัฐของเรา ยังไม่มีความพร้อม ทั้ง เครื่องมือ บุคคล และเทคโนโลยี  ยิ่งมีระยะเวลาในการทำเพียงแค่ 10 เดือน คงจะไม่เกิดประโยชน์อะไร กพร. ไม่ควรทำเพราะ การทำ SEA เป็นเรื่องใหญ่ และถ้าจะทำ SEA นั้น สิ่งสำคัญคือ การมีส่วนร่วมของประชาชนที่สมบูรณ์แบบ แค่ กรณี การรังวัดปักหมุด กพร. ก็ ทำผิดหลักการมีส่วนร่วมแล้ว ชาวบ้านสามารถฟ้องคดีได้”

ทางด้านนายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ รรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้กล่าวถึงบทบาทของคณะกรรมการสิทฺธิฯ ต่อการทำ SEA โครงการพัฒนาเหมืองแร่โปแตซ ในครั้งนี้ ว่า

“การที่คณะกรรมการสิทธิ และอนุสิทธิชุมชน ลงมาจัดเวทีในวันนี้ มีความต้องการที่จะตรวจสอบ การทำ SEA โครงการเหมืองแร่โปแตซ ภาคอีสานว่ามีความถูกต้องชอบธรรมหรือไม่ เพราะว่าได้รับเรื่องร้องเรียนไป  โดยเฉพาะพื้นที่โครงการเหมืองแร่โปแตซ จังหวัดอุดรฯ นั้น  กรณีที่ กพร. ลงมาปักหมุดก็เกิดปัญหา เนื่องจากหน่วยงานภาครัฐไม่สามารถสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนได้ จึงไม่อยากให้เกิดความขัดแย้งลุกลามบานปลายไปมากกว่านี้ และการมาในครั้งนี้ก็ลงมาเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับบริษัทเอกชนที่จะทำ เหมืองโปแตซให้เกิดการรับรู้ในการสร้างการมีส่วนร่วมให้กับประชาชน ที่มีสิทธิในการร่วมตรวจสอบ ร่วมตัดสินใจ”  นายแพทย์   นิรันดร์  กล่าว

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net