Skip to main content
sharethis

กรุงเทพโพลล์ เผยผลสำรวจความเชื่อมั่นของปชช.ต่อศักยภาพประเทศไทยในปัจจุบัน และอนาคตอีก 6 เดือนข้างหน้าพบ ปชช.มีความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจมากที่สุด แต่คะแนนไม่ถึงครึ่ง แถมความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันมีคะแนนต่ำที่สุด แค่ 1.91 คะแนน

 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุนิสา ประวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยว่า ด้วยสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบันที่มีปัญหารุมเร้าในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาปากท้องของประชาชน ปัญหาการชุมนุมประท้วง ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และปัญหาความขัดแย้งกับประเทศกัมพูชา ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ความเชื่อมั่นต่อศักยภาพประเทศไทยในปัจจุบัน และอนาคตอีก 6 เดือนข้างหน้า” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วทุกภาคของประเทศจำนวน 1,427 คน เมื่อวันที่ 12– 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
 
ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของประเทศไทยเฉลี่ยรวมทุกด้านเพียง แค่ 3.47 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน)โดยปรับลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจครั้งก่อนหน้า (มิ.ย.53) ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยเพิ่งผ่านพ้นเหตุการณ์สลายการชุมนุมในวันที่ 19 พฤษภาคม 53 ที่มีคะแนนเท่ากับ 3.57 คะแนน (ลดลงร้อยละ 2.8) และเมื่อพิจารณาความเชื่อมั่นในแต่ละด้านพบว่า ประชาชนมีความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจมากที่สุด แต่ยังคงมีคะแนนไม่ถึงครึ่ง (4.01 คะแนน) รองลงมาคือด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม (3.47 คะแนน) ส่วนด้านการเมืองประชาชนมีความเชื่อมั่นน้อยที่สุด (2.94 คะแนน)  
 
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาคะแนนความเชื่อมั่นในแต่ละตัวชี้วัดจากจำนวนทั้งสิ้น 12 ตัวชี้วัด พบว่า ความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันมีคะแนนต่ำที่สุด (1.91 คะแนน) เช่นเดียวกับผลการสำรวจในครั้งที่ผ่านมา ขณะที่ความเชื่อมั่นด้านความสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียน เป็นความเชื่อมั่นที่มีคะแนนสูงที่สุด แต่ก็ยังไม่ถึงครึ่ง (4.69 คะแนน) ส่วนด้านความเชื่อมั่นที่ปรับลดลงมากที่สุดคือด้านความรักและสามัคคีของคนใน ชาติ (ลดลง 0.38 คะแนน) ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ประชาชนยังคงมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจของประเทศว่าสามารถแข่งขันได้ในอา เซียน แต่ไม่เชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันที่ฝังรากลึกในระบบการเมือง ไทย และเมื่อรวมกับความเชื่อมั่นในความรักความสามัคคีของคนในชาติที่ลดลง สองสิ่งนี้จะเป็นปัจจัยกัดกร่อนศักยภาพของประเทศไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคต
 
เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของประเทศไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้า พบว่า ร้อยละ 44.7 ระบุว่า เหมือนเดิม ร้อยละ 33.9 เชื่อว่าจะแย่ลง มีเพียงร้อยละ 21.3 ที่เชื่อว่าจะดีขึ้น
 
ตารางที่ 1 ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อศักยภาพโดยรวมของประเทศไทยในปัจจุบัน
 
ความเชื่อมั่นในด้านต่างๆ
คะแนนความเชื่อมั่น (เต็ม 10 คะแนน)
มิ.ย. 53
ก.พ. 54
เปลี่ยนแปลง
1) ด้านสถานะทางเศรษฐกิจของคนในประเทศ
  (รายได้เพียงพอกับรายจ่าย การมีงานทำ การกินดีอยู่)
3.40
3.44
+0.04
2) ด้านฐานะการเงินของประเทศ
 (เงินคงคลัง หนี้ของประเทศ ทุนสำรองระหว่างประเทศ)
3.53
3.48
-0.05
3) ด้านศักยภาพของคนไทย
  (การศึกษา/สุขภาพ/ความรู้ความสามารถ/ความซื่อสัตว์มีวินัย และพัฒนาได้)
4.30
4.43
+0.13
4) ด้านความสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียน    
 (ด้านการผลิต เป็นแหล่งท่องเที่ยว การค้า และการลงทุน)
4.47
4.69
+0.22
ความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจ (เฉลี่ยรวม)
3.92
4.01
+0.09
5) ด้านความรักและสามัคคีของคนในชาติ
3.26
2.88
-0.38
6) ด้านกระบวนการยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมาย
  (ความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย และความเท่าเทียมกันในการบังคับใช้กฎหมาย)
3.30
3.05
-0.25
7) ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4.61
4.63
+0.02
8) ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
   (โจรกรรม ชิงทรัพย์ ทำร้ายร่างกายภัยจราจร การปนเปื้อนในอาหาร และมลพิษ)
3.16
3.30
+0.14
ความเชื่อมั่นด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม (เฉลี่ยรวม)
3.58
3.47
-0.11
9) ด้านการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น
2.17
1.91
-0.26
10) ด้านการปฏิรูปการเมืองและพัฒนาระบอบประชาธิปไตย
    (คุณภาพนักการเมือง ระบบเลือกตั้ง และการมีส่วนร่วมของประชาชน )
3.16
2.80
-0.36
11) ด้านความสามารถในการบริหารประเทศ ของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
3.79
3.43
-0.36
12) ด้านความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากหน่วยงานภาครัฐ
    (ถูกต้อง เป็นกลาง และเป็นประโยชน์)
3.69
3.62
-0.07
ความเชื่อมั่นด้านการเมือง (เฉลี่ยรวม)
3.20
2.94
-0.26
เฉลี่ยรวมทุกด้าน
3.57
3.47
-0.10
(-2.8%)
 
 
 
ตารางที่ 2  ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อศักยภาพประเทศไทย ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
 
ความเชื่อมั่นต่อศักยภาพประเทศไทย
ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
เชื่อว่า
จะดีขึ้น
(ร้อยละ)
เชื่อว่า
จะเหมือนเดิม
(ร้อยละ)
เชื่อว่า
จะแย่ลง
(ร้อยละ
26.4
42.9
30.7
2. ด้านการเมือง
23.3
53.5
23.2
3. ด้านสังคม
14.2
37.8
48.0
เฉลี่ยรวมทุกด้าน
21.3
44.7
33.9
 
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net