Skip to main content
sharethis

องค์การผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปล่อยตัว ซุน ซูไฉ่ นักข่าวและนักกิจกรรมวัย 87 ปีผู้ลี้ภัยมาอยู่ประเทศไทย และถูกทางการไทยจับกุม ทั้งที่มีเอกสารรอการพิจารณาคุ้มครองจากข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ

 

(21 ธ.ค. 2553) องค์การผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปล่อยตัว ซุน ซูไฉ่ นักข่าวและนักกิจกรรม วัย 87 ปีผู้ลี้ภัยมาอยู่ประเทศไทย ซึ่งถูกจับกุมตัวที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. ที่ผ่านมา ขณะนี้เขาถูกกักตัวอยู่ที่สถานกักกันผู้ลี้ภัยกรุงเทพมหานครฯ หลังจากที่ศาลสั่งปรับเขา 3,000 บาท ในวันที่ 9 ธ.ค. และสั่งให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความเป็นไปได้ในการส่งตัวเขากลับประเทศ

"พวกเราเป็นห่วงมากเกี่ยวกับสุขภาพของซุน เพราะว่าสภาพที่สถานกักกันผู้ลี้ภัยดูย่ำแย่" องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนกล่าว "พวกเรากลัวว่าคนในอายุเท่าเขาคงทนกับการอยู่ในสภาพนี้ไม่ได้ เขาถูกขังอยู่ในคุกรวมที่ สภาพแวดล้อมและสุขอนามัยไม่ดีนัก และได้รับอาหารที่ไม่เพียงพอ พวกเราขอเรียกร้องให้ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ และสถานเอกอัครราชทูตในกรุงเทพฯ กดดันให้รัฐบาลไทยปล่อยตัวผู้ลี้ภัยทางการเมืองผู้นี้"

ข้อหาที่ซุนได้รับมีเพียงอย่างเดียวคือ เขาได้มาหาที่หลบซ่อนตัว เนื่องจากการทำงานเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ทำให้เขาถูกตอบโต้จากทางการจีน

องค์การผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนระบุว่า ตอนที่ตำรวจไทยบุกเข้าจับกุมอาคารที่อยู่ของผู้อพยพจำนวนมาก ซุนก็ถูกจับรวมกับคนอื่นๆ ซุนไม่ควรจะถูกจับกุมตัวเลยเนื่องจากเขามีเอกสารของข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ที่ระบุว่าเขายังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาผ่านข้อเรียกร้องให้คุ้มครองและอพยพเข้าอยู่

สำหรับซุนเป็นนักกิจกรรมทางการเมืองมานานแล้ว เขาถูกตัดสินจำคุก 14 ปี ตั้งแต่เมื่อปี 1956 จากการที่เขียนบทความวิจารณ์การปฏิวัติลัทธิเหมา หลังจากที่เขาถูกสั่งให้ไปใช้แรงงานในเขตเหลียวหนิงจากปี 1956 ถึง 1970 เขาก็ถูกสั่งให้ไปทำงานที่โรงงานเหล็ก เขากลับมาทำกิจกรรมต่อต้านรัฐบาลอีกครั้งในปี 1998 โดยได้เขียนบทความวิจารณ์พรรคคอมมิวนิสต์ มีบางส่วนตีพิมพ์ใน Beijing Spring นิตยสารของชาวจีนที่ต่อต้านรัฐบาลในนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา


ที่มา: Chinese dissident journalist detained in Bangkok despite UNHCR protection, 21-12-2010, RSF
http://en.rsf.org/thailand-chinese-dissident-journalist-21-12-2010,39125.html

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net