Skip to main content
sharethis

ประชุมการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ต เวทีภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก ภาคประชาสังคมอาเซียน 8 ประเทศ กว่า 10 องค์กร ออก “แถลงการณ์ประชาสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2010 ว่าด้วยอินเทอร์เน็ตภิบาล” มุ่งสู่สังคมสารสนเทศที่คนเป็นศูนย์กลาง 

ระหว่างวันที่ 15-16 มิ.ย. ที่ผ่านมา ภาคประชาสังคมจากอาเซียนจำนวนหนึ่ง รวมถึงตัวแทนเครือข่ายพลเมืองเน็ตจากประเทศไทย ได้เข้าร่วมการประชุมการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ต เวทีภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก หรือ Asia-Pacific Regional Internet Governance Forum (APrIGF) ที่ฮ่องกง

หลังการประชุม ภาคประชาสังคมจากองค์กรต่างๆ ในอาเซียน 8 ประเทศ จากมากกว่า 10 องค์กร ได้หารือร่วมกัน และออก "แถลงการณ์ประชาสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2010 ว่าด้วยอินเทอร์เน็ตภิบาล" (2010 Southeast Asia Civil Society Statement on Internet Governance) เพื่อนำเสนอต่อภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศของตน และระดับนานาชาติ โดยเฉพาะที่ประชุมพหุภาคีของ IGF ที่กรุงเจนีวา เมื่อวันที่ 28-29 มิ.ย.ที่ผ่านมา และเวทีระดับโลกของการประชุมการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ต หรือ Internet Governance Forum (IGF) ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 14-17 ก.ย.นี้ ที่กรุงวิลนีอุส ประเทศลิทัวเนีย

เนื้อหาสาระสำคัญคือ ให้ที่ประชุมการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ต อย่าลืมหลักการสำคัญของ World Summit on the Information Society ซึ่งเป็นที่มาของ IGF ที่ประกาศว่า สังคมสารสนเทศนั้นจะต้องให้คนเป็นศูนย์กลาง ไม่เลือกปฏิบัติ เคารพสิทธิมนุษยชนสากล อีกทั้งกระบวนการกำกับดูแล จะต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส เป็นประชาธิปไตย และมาจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และที่ประชุม IGF ทั้งเวทีระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ ควรมีรูปแบบ เวลา และกระบวนการที่เปิดกว้าง ให้ทุกภาคส่วนสามารถมีส่วนร่วมได้โดยสะดวก

ในที่ประชุมของประชาสังคมอาเซียนหลังการประชุม APrIGF ดังกล่าว ยังได้มีข้อเสนอว่า ประชาสังคมต่างๆ ในอาเซียน ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตโดยตรงหรือไม่ ควรจะให้ความสนใจและตื่นตัวเกี่ยวกับประเด็นอินเทอร์เน็ตภิบาลให้มากขึ้น เนื่องจากอินเทอร์เน็ตได้เข้าสู่ชีวิตประจำวันของคนจำนวนมาก และเป็นปัจจัยสำคัญในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การพัฒนาทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ ประชาสังคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ควรจะร่วมกับองค์กรต่างๆ จัดเวทีระดับท้องถิ่น เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนปัญหาและอุปสรรค อีกทั้งหาช่องทางในการสื่อสารกับชุมชนวิชาการ ชุมชนเทคโนโลยี ภาคเอกชน และรัฐบาลท้องถิ่น เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองระหว่างกัน อันจะนำไปสู่การหาทางออกร่วมกันในลักษณะพหุภาคี 

อีกทั้งภาคประชาสังคมในอาเซียนควรจะได้รับการสนับสนุนเพื่อเข้าร่วมในที่ประชุม IGF ระดับโลก เพื่อสะท้อนมุมมองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากภาคประชาสังคม โดยเฉพาะประเด็นสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมือง เนื่องจากที่ผ่านมา แม้จะมีตัวแทนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าร่วมจากภาคธุรกิจและภาครัฐ แต่ก็เน้นเพียงประเด็นเทคนิคและประเด็นความมั่นคง

ผู้แทนองค์กรประชาสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ประกอบด้วย Asian Forum for Human Rights and Development (FORUM-ASIA) , Southeast Asian Center for e-Media (SEACeM), หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท ประเทศไทย, Centre for Independent Journalism มาเลเซีย, TechTanod ฟิลิปปินส์, Club of Cambodian Journalist กัมพูชา, Politikana อินโดนีเซีย, Mindanao Bloggers Community ฟิลิปปินส์, Cambodian Center for Human Rights (CCHR) กัมพูชา, เครือข่ายพลเมืองเน็ต ประเทศไทย, Swiss Association for International Development (Helvetas-Laos) ลาว, และผู้แทนประชาสังคมจากพม่าและเวียดนาม

แถลงการณ์ประชาสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2010 ว่าด้วยอินเทอร์เน็ตภิบาล (ภาษาไทย)

 
 
แถลงการณ์ประชาสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2010 ว่าด้วยอินเทอร์เน็ตภิบาล
 
2010 Southeast Asia Civil Society Statement on Internet Governance
 
“[ที่ประชุมอินเทอร์เน็ตภิบาลนั้นมีลักษณะ] หลายฝ่าย หลายผู้ถือประโยชน์ร่วม ประชาธิปไตย และโปร่งใส”– วาระตูนิส 2005 (2005 Tunis Agenda)
 
“[เราเรียกร้อง] สังคมสารสนเทศที่มีคนเป็นศูนย์กลาง ครอบคลุม และมุ่งการพัฒนา … เคารพและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนสากลอย่างเต็มที่ ซึ่งรวมถึงเสรีภาพในการคิดและการแสดงออก และความเป็นสากล ความไม่สามารถแบ่งแยกได้ ความพึ่งพาอาศัยกัน และความสัมพันธ์ระหว่างกันของสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานทั้งหมดทั้งปวง”– คำประกาศหลักการการประชุมสุดยอดระดับโลกว่าด้วยสังคมสารสนเทศ 2003 (2003 Declaration of Principles of World Summit on Information Society)
 
ในโอกาสการประชุมโต๊ะกลมอินเทอร์เน็ตภิบาลระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรือ Asia-Pacifc Regional Internet Governance Forum (APrIGF) Roundtable ครั้งแรก ที่ฮ่องกง ระหว่างวันที่ 15-16 กรกฎาคม 2553 พวกเรา ตัวแทนประชาสังคมจากแปดประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขอเรียกร้องต่อที่ประชุมอินเทอร์เน็ตภิบาล (Internet Governance Forum – IGF) และคณะที่ปรึกษาผู้ถือประโยชน์ร่วมหลายฝ่าย (Multi-Stakeholder Advisory Group – MAG) ให้สนับสนุนส่งเสริมคำมั่นสัญญาและหลักการดังกล่าวข้างต้น ดังที่ได้รับมอบหมายจากเลขาธิการสหประชาชาติ
 
เราชื่นชมผลงานของ APrIGF ครั้งแรก ที่ได้ทำให้เกิดการอภิปรายระหว่างผู้ถือประโยชน์ร่วมหลายฝ่าย ในเรื่องการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ตหรืออินเทอร์เน็ตภิบาล ด้วยเจตนารมณ์ของการอภิปรายเปิดรวมเอาทุกภาคส่วน เราขอเสนอมุมมองและข้อเสนอแนะต่อที่ประชุม MAG ในกรุงเจนีวาที่ Palais des Nations ระหว่างวันที่ 28-29 มิถุนายน 2553 รวมทั้งที่ประชุมประจำปี IGF ครั้งที่ห้า ในกรุงวิลนีอุส ประเทศลิทัวเนีย ระหว่างวันที่ 14-17 กันยายน 2553
 
ข้อสังเกตใหญ่จากที่ประชุมอินเทอร์เน็ตภิบาลระดับภูมิภาคเอเชียแปซิกฟิก APrIGF
 
เพื่อสนทนากับที่ประชุมโต๊ะกลมอินเทอร์เน็ตภิบาลระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (AprIGF Roundtable) ครั้งที่หนึ่ง ที่ฮ่องกง ระหว่างวันที่ 15-16 กรกฎาคม 2553 พวกเราชาวเน็ต นักหนังสือพิมพ์ บล็อกเกอร์ นักวิชาชีพไอที และตัวแทนนอกภาครัฐจากทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขอเสนอข้อสังเกตจากการประชุมโต๊ะกลมดังกล่าว ดังต่อไปนี้:
 
1.ประเด็นคับขันของอินเทอร์เน็ตภิบาลในเอเชีย ควรเป็นประเด็นที่นำทางการอภิปรายต่าง ๆ ในอนาคตเกี่ยวกับนโยบายอินเทอร์เน็ตภิบาล:
 
ความเปิดเผยตรงไปตรงมา – Openness
 
การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างเปิดเผยและเปิดกว้าง เป็นสิทธิพื้นฐานของบุคคลทุกคน เป็นสิทธิที่เป็นรากฐานของการพัฒนาความรู้และความสามารถของบุคคลแต่ละคน การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในที่สุดแล้วช่วยเกื้อหนุนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม มันจึงสนับสนุนการพัฒนามนุษย์และเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
 
ความเปิดเผยตรงไปตรงมาเป็นกุญแจไปสู่สังคมประชาธิปไตยที่เปิดกว้าง การจำกัดเสรีภาพในการคิดและการแสดงออกออนไลน์ เช่น การเซ็นเซอร์โดยรัฐซึ่งปิดกั้นสื่อที่เป็นตัวกลางในอินเทอร์เน็ต เป็นภัยคุกคามอย่างหนึ่งของสังคมที่เปิดกว้าง การเซ็นเซอร์โดยรัฐและการสร้างความหวาดกลัวก่อให้เกิดการเซ็นเซอร์ตัวเอง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่อันตรายอย่างยิ่ง อันจะกัดเซาะประชาธิปไตยและความเปิดกว้างแถลงการณ์ประชาสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2010 ว่าด้วยอินเทอร์เน็ตภิบาล 2/4
 
การเข้าถึง – Access
 
อินเทอร์เน็ตนั้นเป็นของทุกคน มันเป็นบริการสาธารณะ อย่างไรก็ตาม ช่องว่างดิจิทัลระหว่างประเทศและชุมชนที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้และที่เข้าถึงไม่ได้นั้นยังคงมีอยู่ และประเด็นนี้ไม่ได้ถูกกล่าวถึงอย่างเพียงพอในการอภิปรายเรื่องอินเทอร์เน็ตภิบาล จากการปรึกษาพูดคุยกันหลังที่ประชุม APrIGF พบว่า เราจำเป็นต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษไม่เพียงกับประเด็นช่องว่างดิจิทัลระดับโลก แต่รวมถึงช่องว่างดิจิทัลในระดับภูมิภาคและระดับประเทศด้วย ในขณะที่ประเทศสิงคโปร์มีสัดส่วนการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่สูงถึง 70% ของจำนวนประชากร ประเทศเช่นพม่าและกัมพูชานั้นยังคงอยู่ที่ปลายอีกด้านหนึ่ง ด้วยสัดส่วน 0.22% และ 0.51% ตามลำดับ เป็นประเทศที่มีอันดับต่ำที่สุดในบรรดา 200 ประเทศที่ธนาคารโลกได้ศึกษา
 
การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นพื้นฐานของการพัฒนา ปัจจัยต่าง ๆ เช่น การพัฒนาทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม, ระดับความยากจน, และโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี มีผลกระทบต่อการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชาชน ว่าจะสามารถเข้าถึงได้หรือไม่ และจะเข้าถึงได้อย่างไร มันจำเป็นต้องมีความร่วมมือของนานาชาติที่จะจัดการกับนโยบายภายในที่ก่อให้เกิดช่องว่างดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และร่วมกันหาทางออกเพื่อกำจัดช่องว่างดังกล่าว
 
ความมั่นคงไซเบอร์ – Cyber Security
 
คำจำกัดความของความมั่นคงไซเบอร์ จำเป็นต้องรวมถึงองค์ประกอบที่ระบุถึงสิทธิในความเป็นส่วนตัว เสรีภาพพลเมือง และเสรีภาพทางการเมือง สิทธิของปัจเจกบุคคลเหนือความเป็นส่วนตัวของเขาเอง รวมถึงข้อมูลส่วนบุคคล จะต้องไม่ถูกละเมิดไม่ว่าด้วยเหตุผลใด เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น IPv6, ZigBee, และ RFID เมื่อใช้โดยไม่มีการดูแลที่โปร่งใสและรับผิดชอบ อาจนำไปสู่ภัยคุกคามต่อสิทธิของบุคคลได้
 
สังคมสารสนเทศในทุกวันนี้เชื่อมต่ออุปกรณ์ไอทีส่วนบุคคลเข้าโดยตรงกับโลกภายนอก และไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนบุคคลลงในเซิร์ฟเวอร์เพียงเครื่องเดียวอีกต่อไป เมื่อพิจารณาถึงความสัมพันธ์ของภาครัฐบาลและภาคธุรกิจ โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจ ที่ดำเนินกิจการเทคโนโลยีดังกล่าว การสอดส่องควบคุมและการขโมยอัตลักษณ์ยังคงเป็นภัยคุกคามอย่างต่อเนื่องต่อผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
 
ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ นโยบายความมั่นคงไซเบอร์ระดับชาติใด ๆ ก็ตาม จะต้องไม่ออกนอกแนวทางของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและข้อตกลงสิทธิมนุษยชนนานาชาติทั้งมวล ที่รัฐต่างๆ ได้ให้การยอมรับและเข้าเป็นรัฐสมาชิก
 
2.โอกาสที่เราสามารถใช้เพื่อปรับปรุงกระบวนการของการประชุม IGF ต่อไป:
 
ความตระหนักถึง IGF ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในระดับอาเซียนนั้นยังขาดอยู่ในปัจจุบัน มากไปกว่านั้น ตัวแทนประชาสังคมจากทั่วเอเชียแปซิฟิกในการประชุมโต๊ะกลม APrIGF ก็ไม่ครบถ้วน ไม่เพียงความตระหนักถึง IGF เท่านั้นที่ต้องพัฒนา แต่ยังรวมถึงการจัดหาสื่อการเรียนรู้ที่จะทำให้ IGF เข้าถึงได้โดยทุกคน การเข้าถึง IGF ที่มากขึ้นจะทำให้มันครอบคลุมผู้ถือประโยชน์ร่วมที่หลากหลายขึ้น ซึ่งรวมถึงกลุ่มจากประเทศที่พัฒนาน้อยกว่า กลุ่มชายขอบ และกลุ่มเปราะบางในเอเชียแปซิฟิก ระหว่างการประชุมโต๊ะกลม APrIGF การอภิปรายแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดแบบสองทางนั้นไม่ได้รับการอำนวยความสะดวกเท่าที่มันจะเป็นไปได้ พื้นที่เปิดสำหรับการอภิปราย การส่งเสียงวิพากษ์อย่างชัดเจน และการแนะนำทางออก จำเป็นต้องได้รับการรับประกันในงาน IGF ทุกครั้ง ความพยายามดังกล่าวจะมอบประโยชน์ในทางปฏิบัติแก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหลาย ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เมื่อผลลัพธ์จากการประชุมโต๊ะกลุม APrIGF นั้นได้พัฒนาเข้าไปสู่แผนโรดแมปใหญ่ การวางแผนและทำให้ชัดเจนถึงบทบาทของผู้มีประโยชน์ร่วมระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ จะช่วยส่งเสริมและปกป้องความโปร่งใสและความเป็นประชาธิปไตยของอินเทอร์เน็ตภิบาล และนำไปสู่สังคมสารสนเทศในภูมิภาคแถลงการณ์ประชาสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2010 ว่าด้วยอินเทอร์เน็ตภิบาล
 
ข้อเสนอแนะต่อที่ประชุมอินเทอร์เน็ตภิบาล IGF
 
APrIGF ครั้งแรกนี้ได้แสดงถึงโอกาสอันมีค่าที่จะวิเคราะห์ ทั้งประเด็นที่ IGF ให้ความสนใจ และกระบวนการที่มันกำกับดูแล ด้วยความเคารพต่อประเด็นสำคัญเหล่านี้ และโอกาสที่จะพัฒนากระบวนการให้ดียิ่งขึ้น เรามีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้:
 
1.การออกกฎหมายที่ปราบปรามและจำกัดเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา จะต้องเป็นประเด็นเร่งด่วนของอินเทอร์เน็ตภิบาลระดับโลกนับแต่นี้ทันที;
 
2.ผสานเอาวาระสิทธิมนุษยชนสากลเข้าไปในแผนงานของ IGF อย่างเต็มที่ และทำงานอย่างเป็นระบบและอย่างสม่ำเสมอร่วมกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้แทนพิเศษของสหประชาชาติว่าด้วยเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก และคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ;
 
3.ทำให้มั่นใจได้ว่าข้อเสนอนโยบายและข้อเสนอแนะของ IGF นั้นอยู่ในแนวทางเดียวกับหลักการและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนในระดับนานาชาติ;
 
4.ตอกย้ำอุดมการณ์ความเปิดกว้างและการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ในการประชุมประจำปีครั้งที่ห้าของ IGF ที่กำลังจะมาถึงในเดือนกันยายนนี้ ณ กรุงวิลนีอุส ประเทศลิทัวเนีย และการประชุมในอนาคต ทั้งในระดับชาติและระดับอนุภูมิภาคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียแปซิฟิก;
 
5.ขยายอำนาจมอบหมายที่ IGF ได้รับออกไปอีก 5 ปี;
 
6.ขยายขอบเขตการติดต่อให้กว้างขึ้นไปยังประชาสังคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียแปซิฟิก และจัดสรรทรัพยากรการเงินเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของกลุ่มดังกล่าวในการประชุมประจำปีครั้งที่ห้าและการประชุมระดับโลกครั้งต่อ ๆ ไปของ IGF พร้อมทั้งจัดให้มีการประชุม IGF ระดับชาติและระดับอนุภูมิภาค;
 
7.ทำให้มั่นใจได้ว่ามีการมีส่วนร่วมทางไกลอย่างกระตือรือร้นในการประชุมประจำปีดังกล่าวและการประชุม IGF ครั้งต่อ ๆ ไป ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น เว็บคาสต์ถ่ายทอดสด การประชุมวีดิโอทางไกล ทวิตเตอร์ และเครื่องมือสื่อทางสังคมอื่น ๆ;
 
8.รับประกันว่าการอภิปรายเชิงเทคนิคระหว่างการประชุม IGF จะปรับตัวให้เข้ากับผู้เข้าร่วมและผู้มีผลประโยชน์ร่วมหน้าใหม่ และรวมเอาการประเมินผลกระทบโดยนัยจากนโยบายในเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและสังคมเข้าไปด้วย;
 
9.พัฒนาแผนดำเนินการเพื่อให้การติดตามและเฝ้าสังเกตผลลัพธ์จาก IGF เป็นไปโดยสะดวก; และ
 
10.จัดการศึกษาผลกระทบ โดยองค์กรอิสระ เพื่อประเมินประสิทธิผลของ IGF ทั้งนี้ให้สอดคล้องกับหลักการที่ได้วางไว้ในวาระตูนิส 2005 และคำประกาศหลักการการประชุมสุดยอดระดับโลกว่าด้วยสังคมสารสนเทศ (WSIS) 2003
 
 
 
ลงชื่อในแถลงการณ์โดย:
 
Yap Swee Seng
Executive Director
Asian Forum for Human Rights and Development (FORUM-ASIA)
E-mail: yap@forum-asia.org
Mobile (Bangkok): +66.81.868.9178
 
Sean Ang
Executive Director
Southeast Asian Center for e-Media (SEACeM)
E-mail: sean@seacem.com
Mobile (Kuala Lumpur): +60.166.533.533
Web: www.seacem.com
Chiranuch Premchaiporn
Executive Director
Prachatai Online Newspaper
E-mail: chiranuch@prachatai.com
Mobile (Bangkok): +66.81.6207707
Web: www.prachatai.com ; www.prachatai.com/english
Chuah Siew Eng
Publicity Offcer
Centre for Independent Journalism
Email: sieweng.cij@gmail.com
Phone (Kuala Lumpur): +60.340.230.772
Web: cijmalaysia.org
Ernesto G. Sonido Jr
Blogger
TechTanod, the Blog and Soul Movement, the Philippine Blog Awards
E-mail: 1fshtank@gmail.com
Phone: +63.917829.8090
Web: baratillo.net ; techtanod.com
Leang Delux
Active member
Club of Cambodian Journalist
E-mail: deluxnews@gmail.com
Mobile (Cambodia): +855.15.523.623
Web: www.ccj.com.kh
Ndaru
Blogger (Indonesia)
Web: politikana.com
Oliver Robillo
Founder
Mindanao Bloggers Community
E-mail: blogie@dabawenyo.com
Mobile (Davao): +63.918.540.0878
Web: www.mindanaobloggers.com
Ou Virak
President
Cambodian Center for Human Rights (CCHR)
E-mail: ouvirak@cchrcambodia.org
Mobile (Phnom Penh): +855.12.404.051
Web: www.cchrcambodia.org
Phisit Siprasatthong
Coordinator
Thai Netizen Network
E-mail: freethainetizen@gmail.com Phone (Bangkok): +66.2691.0574Web: thainetizen.org
Phoutthasinh Phimmachanh
Senior Knowledge Management Offcer
Swiss Association for International Development (Helvetas-Laos)
Email: phoutthasinh.phimmachanh@helvetas.org
Phone (Laos): +856.21.740.253
ตัวแทนประชาสังคมจากพม่าและเวียดนาม
 

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net