Skip to main content
sharethis

คำว่า “โลกร้อน” กลายเป็นวาทกรรมที่สังคมไทยนำมาใช้กันถ้วนหน้า แล้วแต่ใครจะหยิบฉวยมากล่าวหาใคร หรือจะหาเงินในรูปแบบใด หรือโจมตีว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นมาจากโลกร้อน ซึ่งดูเหมือนว่าสังคมไทยจะตื่นตัวต่อปัญหาโลกร้อนกันมาก แต่คำถามคือว่าสังคมไทยได้แก้ไขปัญหาโลกร้อนที่ตรงกับสาเหตุของปัญหาหรือไม่ นอกจากการจัดทำรายงานวิชาการภายใต้เงินกองทุนอย่างมากมายเพื่อคิดค้นว่าจะแก้ไขปัญหาโลกร้อนตามกระแสของโลก


วาทกรรม “โลกร้อน” ได้ถูกนำไปใช้ในการจัดการปัญหากับประชาชนและชุมชนทั้งในด้านป่าไม้ พลังงาน ทรัพยากรชายฝั่งทางทะเล และด้านการเกษตร ด้วยการอ้างงานวิชาการที่มีฐานคิดทางด้านเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติทุกประเภททั้งใต้ดิน บนดิน อากาศ และธรรมชาติทั้งมวลสามารถนำมาคำนวณคิดเป็นเงินตราได้หมด ราวกับว่าทุกอย่างเป็นสินค้า ภายใต้โลกของทุนนิยม และทัศนคติว่าเงินนั้นจัดการได้ทุกอย่าง


งานศึกษาของ ดร.พงษ์ศักดิ์ วิทวัสชุติกุล และพิณทิพย์ ธิติโรจนะวัฒน์ ได้ศึกษาแบบจำลองเพื่อประเมินมูลค่าป่าต้นน้ำ เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการพื้นที่ต้นน้ำ นำไปเปรียบเทียบกับผลประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการต่างๆที่ขอเข้าทำประโยชน์บนพื้นที่ต้นน้ำ เพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติ ตัวแปรที่ใช้ประเมินมูลค่าป่าต้นน้ำ ได้แก่ ค่าคะแนนความหลากหลายทางชีวภาพ ปริมาณน้ำฝนรายปี และค่าคะแนนลักษณะภูมิประเทศ เมื่อป่าต้นน้ำหายไป ผลผลิตในรูปเนื้อไม้ ดินและธาตุอาหารสูญหาย การเปลี่ยนแปลงลักษณะการไหลของน้ำท่า อุณหภูมิอากาศที่สูงขึ้น และความสามารถในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จะถูกนำมาตีค่าเป็นจำนวนเงินด้วยวิธีการทางเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม


กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้นำหลักเกณฑ์การตีค่าป่าต้นน้ำของ พงษ์ศักดิ์ มาใช้ในการเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง จากผู้กระทำผิดบุกรุกทำลายป่าต้นน้ำ โดยนำวิธีการตีมูลค่าทางการตลาด (Market valuation) มาคำนวณเป็นต้นทุนที่ต้องจ่ายเงินเพื่อฟื้นฟูคืนสภาพเดิม (Cost Replacement Method) โดยกำหนดให้เป็นมูลค่าที่เกิดขึ้นจากการนำเนื้อไม้มาใช้ประโยชน์ ค่าใช้จ่ายในการนำดินที่สูญเสียออกไปกลับขึ้นไปปูทับไว้ที่เดิม เป็นค่าใช้จ่ายในการซื้อแม่ปุ๋ยขึ้นไปโปรยเหนือพื้นที่ที่ปุ๋ยสูญหาย และเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินเครื่องปรับอากาศ เพื่อลดอุณหภูมิอากาศให้เย็นลงเท่ากับพื้นที่ป่าไม้ดั้งเดิม ตลอดจนเป็นมูลค่าที่สมควรจะได้รับจากการดูดซับ และเก็บกักก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (คาร์บอนเครดิต/carbon credit)


ตั้งแต่ปี พ..2537 กรมป่าไม้นำวิธีการดังกล่าวมาประกาศใช้มูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการทำลายป่าต้นน้ำลำธารเป็นจำนวนเงิน 150,942.70 บาท/ไร่/ปี เพื่อใช้ในการเรียกร้องค่าเสียหายทางคดีแพ่งจากผู้กระทำความผิดบุกรุกทำลายป่า เป็นเงิน 150,000 บาท/ไร่ และกรมอุทยานแห่งชาติฯก็ได้ดำเนินการฟ้องร้องคดีชาวบ้านหลายพื้นที่ข้อหาบุกรุกทำลายป่าพร้อมกับเรียกค่าเสียหายทางแพ่งในลักษณะเดียวกัน


กรณีตัวอย่างของคดีที่เกิดขึ้น เมื่อกรมอุทยานแห่งชาติฯดำเนินคดีแพ่งเรียกค่าเสียจากชาวบ้าน เช่น นางกำจาย ชัยทอง บุกรุกทำลายพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า จำนวน 8-2-85 ไร่ ค่าเสียหายจำนวน 1,306,875 บาท โดยคำนวณ ดังนี้

  • การสูญหายของธาตุอาหาร มูลค่า 4,064.15 บาทต่อไร่ต่อปี

  • ทำให้ดินไม่ดูดซับน้ำฝน 600 บาท ต่อไร่ต่อปี

  • ทำให้น้ำสูญเสียออกไปจากพื้นที่โดยการแผดเผาของรังสีดวงอาทิตย์ 52,800 บาทต่อไร่ต่อปี

  • ทำให้ดินสูญหาย 1,800 บาท ต่อไร่ต่อปี

  • ทำให้ฝนตกน้อยลง 5,400 บาท ต่อไร่ต่อปี

  • มูลค่าความเสียหายทางตรงจากป่าทั้งสามชนิด ได้แก่

  1. การทำลายป่าดงดิบ ค่าเสียหายจำนวน 61,263.36 บาท

  2. การทำลายป่าเบญจพรรณ ค่าเสียหายจำนวน 42,577.75 บาท

  3. การทำลายป่าเต็งรัง ค่าเสียหายจำนวน 18,634.19 บาท


สรุปรวมในหนึ่งปีมีการทำลายป่าไม้ในพื้นที่ 1 ไร่ คิดเป็นมูลค่าอย่างน้อย จำนวน

150,942.70 บาท แต่กรมอุทยานแห่งชาติฯคิดค่าเสียหายจำนวน 150,000 บาท ซึ่งศาลจังหวัดพัทลุงได้ใช้แนวทางดังกล่าวพิพากษานางกำจายว่าเป็นผู้กระทำความผิดตามกฎหมาย ได้แก่ พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ..2507 และ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ..2535 พร้อมทั้งจ่ายค่าเสียหายตามการตีค่าจากงานวิชาการ


หากมองจากเหตุการณ์นี้ชาวบ้านนอกจากถูกคำพิพากษาจากศาลแล้ว สังคมก็จะพิพากษาว่าพวกเขาคือตัวการทำลายป่า เป็นอาชญากรของชาติที่ต้องถูกจับคุกในคดีอาญา และต้องชดเชยค่าเสียหายต่อรัฐในคดีแพ่ง ไม่ว่าจะเป็นชนเผ่าบนพื้นที่สูง คนเมือง คนพื้นราบ และคนไทยทั่วประเทศทั้งที่ตั้งถิ่นฐานมาก่อนการประกาศเขตพื้นที่ป่าตามกฎหมาย และผู้ที่มาบุกเบิกทำกินภายหลังจากการประกาศพื้นที่ป่าตามกฎหมายเป็นระลอก ตั้งแต่ป่าคุ้มครอง ป่าไม้ถาวร ป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือพื้นที่ป่าที่ประกาศตามมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีหลายฉบับ พวกเขาได้รับความเป็นธรรมหรือไม่ในสังคมไทย

 

ความจริงของปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าในประเทศไทยและประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลกมาจากหลายสาเหตุ สังคมโลกและสังคมไทยต้องยอมรับว่าการพัฒนาเศรษฐกิจทุนนิยมที่ใช้เงินเป็นมาตรฐานของการดำรงชีวิตนั้นได้ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและผืนป่า เพื่อการล่าอาณานิคมทางดินแดน ทางเศรษฐกิจ และการครอบงำทางวัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆที่ดำรงชีวิตต้องถูกบังคับด้วยการเปลี่ยนวิถีชีวิตและวัฒนธรรมการผลิต เพราะถูกกล่าวหาเป็นคนไร้วัฒนธรรม และเป็นต้นเหตุของการทำลายป่า จากการเป็นชนเผ่าล่าสัตว์ ทำไร่หมุนเวียน ทำไร่ทำนาใช้สารเคมี เป็นลูกจ้างตัดไม้ ปลูกพืชเชิงเดี่ยว เป็นต้น ในขณะที่ปัญหาทางนโยบายภาครัฐสนับสนุนส่งเสริมให้ชาวบ้านและเกษตรกรต้องเปลี่ยนวัฒนธรรมการผลิตจากยังชีพมาเป็นการทำลายป่า แรงกระตุ้นทางเศรษฐกิจผลักดันให้พวกเขาต้องดำรงชีวิตด้วยการบุกเบิกพื้นที่ป่า ปัญหาการไร้ประสิทธิภาพของระบบรัฐราชการในสังคมไทยที่คอรัปชั่น ปัญหาทางกฎหมายที่ให้ดุลพินิจแก่เจ้าหน้าที่รัฐในการหากินกับทรัพยากรป่า และเอาผิดกับผู้ที่ไม่มีเงินไม่มีสิทธิไม่มีเสียง และเมื่อชาวบ้านและเกษตรกรเรียนรู้ปัญหาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาช่วยดูแลรักษาป่า แต่กฎหมายก็ไม่เปิดโอกาสให้ชาวบ้านและเกษตรกรได้มีสิทธิและหน้าที่ดูแลรักษาและจัดการป่า


การใช้วาทกรรม “โลกร้อน” มาฟ้องคดีแพ่งกับชาวบ้านผู้บุกรุกทำลายป่า สะท้อนให้เห็นการเลือกปฏิบัติในการใช้อำนาจทางกฎหมาย อำนาจทางวิชาการที่อ้างว่าเป็น “วิทยาศาสตร์” และอำนาจเงิน มาเบียดขับผู้ด้อยโอกาส และผู้ที่ไร้สิทธิไร้เสียง ในขณะที่คนอีกกลุ่มหนึ่งที่มีอภิสิทธิ์ของเงินไม่ได้ถูกปฏิบัติเช่นเดียวกันอย่างเท่าเทียม


เมื่อเป็นเช่นนี้การฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าให้ได้จริงและสามารถแก้ไขปัญหาโลกร้อนได้นั้น จึงมิใช่อยู่ที่เงิน แต่อยู่ที่ภาครัฐและทุกคนในสังคมจะให้ความเป็นธรรมกับชาวบ้านและเกษตรกรที่ต้องพึ่งพาทรัพยากรป่านั้นหรือไม่ นโยบายและกฎหมายจะมาส่งเสริมให้พวกเขาได้มีบทบาทสำคัญดูแลรักษาป่าเพื่อคนทั้งประเทศอย่างไร สิ่งนี้เองที่เป็นคำตอบ


เมื่อนักวิทยาศาสตร์บอกว่าการแก้ไขปัญหาโลกร้อนนั้น ต้องมีการปลูกป่าเพื่อดูดซับคาร์บอน (Reducing Emission from Deforestation and Degradation in Developing Countries/REDD) เพราะว่าในแต่ละปีป่าไม้จะดูดซับคาร์บอนประมาณ 2.6 พันล้านตัน ในขณะที่การทำลายป่า หรือการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินจะก่อให้เกิดการปล่อยคาร์บอนประมาณ 1.6 พันล้านตัน หรือเทียบเท่ากับ 5.9 พันล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ (IPCC, 2007) สรุปได้ว่า การปล่อยคาร์บอนจากการทำลายป่าคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 20 ของการปล่อยทั้งหมด ซึ่งมากกว่าการปล่อยคาร์บอนจากการคมนาคมขนส่ง ที่คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15 ของการปล่อยทั้งหมด (WRI, 2007) ด้วยเหตุนี้จึงมีความเห็นว่า การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่าเป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพ และมีต้นทุนในการปล่อยค่อนข้างต่ำ จึงต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน


แนวคิดของ REDD ได้ถูกกำหนดให้เป็นมาตรการหนึ่งที่สร้างแรงจูงใจทางบวกให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาที่สามารถลดอัตราการทำลายป่า หรือสามารถอนุรักษ์พื้นที่ป่าธรรมชาติไม่ให้ลดลงหรือเสื่อมโทรมลง วิธีการคือ การใช้กลไกการตลาดในการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ที่ประเทศพัฒนาแล้วให้เงินแก่ประเทศกำลังพัฒนาในการปลูกป่าเพื่อดูดซับคาร์บอน คำถามอย่างง่ายๆ สำหรับสามัญชนก็คือ เมื่อมีการทำลายป่าและมีการปลูกป่า หรือปล่อยให้ป่าฟื้นฟูขึ้นมาตามธรรมชาติ ก็เป็นการดูดซับคาร์บอนทดแทนไปจากการที่ป่าถูกทำลาย จึงมีค่าเป็นศูนย์ที่ไม่มีการปล่อยคาร์บอน


ดร.สมศักดิ์ สุขวงศ์ นักวนศาสตร์และนักนิเวศวิทยาได้กล่าวว่า

การดูดซับคาร์บอนภายหลังการตัดไม้ทำลายป่า ขึ้นอยู่กับประชากรพืชทดแทนตามมา รวมทั้งพืชชั้นล่างที่หลงเหลืออยู่ องค์ประกอบชนิดพันธุ์ไม้ ไม้ใหญ่ที่ยังหลงเหลืออยู่ (ต้นไม้ในนาข้าวดูดซับคาร์บอนได้ถึง 12.8 ตัน/เฮกตาร์ ที่น้ำพอง) ข้อมูลของกรมป่าไม้ได้แสดงให้เห็นว่า ภายหลังเปลี่ยนป่าธรรมชาติ เป็นสวนยางพารา พบว่าดูดซับคาร์บอนได้ประมาณ 180 ตัน/เฮกตาร์ (TDRI, 1992)”


จึงตีความหมายได้ว่าการตัดไม้ทำลายป่า หรือการเปลี่ยนระบบการผลิต หรือแม้แต่การปลูกป่าทดแทน ไม่สามารถคิดคำนวณว่าเป็นการดูดซับคาร์บอนทดแทนได้จริงหรือไม่ ในสภาวะที่ระบบนิเวศน์มีความหลากหลาย ในทำนองเดียวกันก็ไม่ได้ส่งผลให้ประเทศพัฒนาแล้วหยุดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในขณะคนในประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาก็ยังมีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติแบบทำลาย โดยที่ภาครัฐไม่ได้มีนโยบายและกฎหมายที่แก้ไขปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าอย่างแท้จริง แต่ในทางตรงกันข้ามกลับผลักภาระให้ชาวบ้าน และเกษตรกรที่พึ่งพาทรัพยากรป่าต้องรับภาระปลูกป่าดูดซับคาร์บอน และบอกว่าให้เงินชดเชยเพื่อสร้างแรงจูงใจในการปลูกด้วยราคาซื้อขายที่พวกเขากำหนดไม่ได้ และอาจต้องขาดทุนจากการลงแรงลงขัน


การแก้ไขปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า ทำง่ายนิดเดียว ไม่ต้องใช้เงิน ไม่ต้องศึกษาทางวิชาการเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมให้ซับซ้อน และสามารถดูดซับคาร์บอน แก้ไขปัญหาโลกร้อนได้เป็นอย่างดี โดยการใช้วิธีแบบชาวบ้านๆสามัญชน โดยการส่งเสริมให้ชุมชนที่อยู่กับธรรมชาติมีสิทธิและหน้าที่ดูแลรักษาป่า ชุมชนในเมืองร่วมกันเพิ่มพื้นที่สีเขียว รอแต่ว่าภาครัฐจะส่งเสริมและสนับสนุนในทางนโยบายและกฎหมายเมื่อไร เพราะชุมชนและชาวบ้านเขากำลังทำอยู่ มิเช่นนั้นภาครัฐและเงินกองทุนทั้งหลายจะจ่ายเงินไปจำนวนมากกับการศึกษาและหามาตรการ แต่ยังไม่มีการฟื้นฟูป่าธรรมชาติขึ้นมาทดแทน

 

 




การใช้วาทกรรม “โลกร้อน” มาฟ้องคดีแพ่งกับชาวบ้านผู้บุกรุกทำลายป่า สะท้อนให้เห็นการเลือกปฏิบัติในการใช้อำนาจทางกฎหมาย อำนาจทางวิชาการที่อ้างว่าเป็น “วิทยาศาสตร์” และอำนาจเงิน มาเบียดขับผู้ด้อยโอกาส และผู้ที่ไร้สิทธิไร้เสียง

คำว่า “โลกร้อน” กลายเป็นวาทกรรมที่สังคมไทยนำมาใช้กันถ้วนหน้า แล้วแต่ใครจะหยิบฉวยมากล่าวหาใคร หรือจะหาเงินในรูปแบบใด หรือโจมตีว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นมาจากโลกร้อน ซึ่งดูเหมือนว่าสังคมไทยจะตื่นตัวต่อปัญหาโลกร้อนกันมาก แต่คำถามคือว่าสังคมไทยได้แก้ไขปัญหาโลกร้อนที่ตรงกับสาเหตุของปัญหาหรือไม่ นอกจากการจัดทำรายงานวิชาการภายใต้เงินกองทุนอย่างมากมายเพื่อคิดค้นว่าจะแก้ไขปัญหาโลกร้อนตามกระแสของโลก


วาทกรรม “โลกร้อน” ได้ถูกนำไปใช้ในการจัดการปัญหากับประชาชนและชุมชนทั้งในด้านป่าไม้ พลังงาน ทรัพยากรชายฝั่งทางทะเล และด้านการเกษตร ด้วยการอ้างงานวิชาการที่มีฐานคิดทางด้านเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติทุกประเภททั้งใต้ดิน บนดิน อากาศ และธรรมชาติทั้งมวลสามารถนำมาคำนวณคิดเป็นเงินตราได้หมด ราวกับว่าทุกอย่างเป็นสินค้า ภายใต้โลกของทุนนิยม และทัศนคติว่าเงินนั้นจัดการได้ทุกอย่าง


งานศึกษาของ ดร.พงษ์ศักดิ์ วิทวัสชุติกุล และพิณทิพย์ ธิติโรจนะวัฒน์ ได้ศึกษาแบบจำลองเพื่อประเมินมูลค่าป่าต้นน้ำ เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการพื้นที่ต้นน้ำ นำไปเปรียบเทียบกับผลประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการต่างๆที่ขอเข้าทำประโยชน์บนพื้นที่ต้นน้ำ เพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติ ตัวแปรที่ใช้ประเมินมูลค่าป่าต้นน้ำ ได้แก่ ค่าคะแนนความหลากหลายทางชีวภาพ ปริมาณน้ำฝนรายปี และค่าคะแนนลักษณะภูมิประเทศ เมื่อป่าต้นน้ำหายไป ผลผลิตในรูปเนื้อไม้ ดินและธาตุอาหารสูญหาย การเปลี่ยนแปลงลักษณะการไหลของน้ำท่า อุณหภูมิอากาศที่สูงขึ้น และความสามารถในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จะถูกนำมาตีค่าเป็นจำนวนเงินด้วยวิธีการทางเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม


กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้นำหลักเกณฑ์การตีค่าป่าต้นน้ำของ พงษ์ศักดิ์ มาใช้ในการเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง จากผู้กระทำผิดบุกรุกทำลายป่าต้นน้ำ โดยนำวิธีการตีมูลค่าทางการตลาด (Market valuation) มาคำนวณเป็นต้นทุนที่ต้องจ่ายเงินเพื่อฟื้นฟูคืนสภาพเดิม (Cost Replacement Method) โดยกำหนดให้เป็นมูลค่าที่เกิดขึ้นจากการนำเนื้อไม้มาใช้ประโยชน์ ค่าใช้จ่ายในการนำดินที่สูญเสียออกไปกลับขึ้นไปปูทับไว้ที่เดิม เป็นค่าใช้จ่ายในการซื้อแม่ปุ๋ยขึ้นไปโปรยเหนือพื้นที่ที่ปุ๋ยสูญหาย และเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินเครื่องปรับอากาศ เพื่อลดอุณหภูมิอากาศให้เย็นลงเท่ากับพื้นที่ป่าไม้ดั้งเดิม ตลอดจนเป็นมูลค่าที่สมควรจะได้รับจากการดูดซับ และเก็บกักก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (คาร์บอนเครดิต/carbon credit)


ตั้งแต่ปี พ..2537 กรมป่าไม้นำวิธีการดังกล่าวมาประกาศใช้มูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการทำลายป่าต้นน้ำลำธารเป็นจำนวนเงิน 150,942.70 บาท/ไร่/ปี เพื่อใช้ในการเรียกร้องค่าเสียหายทางคดีแพ่งจากผู้กระทำความผิดบุกรุกทำลายป่า เป็นเงิน 150,000 บาท/ไร่ และกรมอุทยานแห่งชาติฯก็ได้ดำเนินการฟ้องร้องคดีชาวบ้านหลายพื้นที่ข้อหาบุกรุกทำลายป่าพร้อมกับเรียกค่าเสียหายทางแพ่งในลักษณะเดียวกัน


กรณีตัวอย่างของคดีที่เกิดขึ้น เมื่อกรมอุทยานแห่งชาติฯดำเนินคดีแพ่งเรียกค่าเสียจากชาวบ้าน เช่น นางกำจาย ชัยทอง บุกรุกทำลายพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า จำนวน 8-2-85 ไร่ ค่าเสียหายจำนวน 1,306,875 บาท โดยคำนวณ ดังนี้

  • การสูญหายของธาตุอาหาร มูลค่า 4,064.15 บาทต่อไร่ต่อปี

  • ทำให้ดินไม่ดูดซับน้ำฝน 600 บาท ต่อไร่ต่อปี

  • ทำให้น้ำสูญเสียออกไปจากพื้นที่โดยการแผดเผาของรังสีดวงอาทิตย์ 52,800 บาทต่อไร่ต่อปี

  • ทำให้ดินสูญหาย 1,800 บาท ต่อไร่ต่อปี

  • ทำให้ฝนตกน้อยลง 5,400 บาท ต่อไร่ต่อปี

  • มูลค่าความเสียหายทางตรงจากป่าทั้งสามชนิด ได้แก่

  1. การทำลายป่าดงดิบ ค่าเสียหายจำนวน 61,263.36 บาท

  2. การทำลายป่าเบญจพรรณ ค่าเสียหายจำนวน 42,577.75 บาท

  3. การทำลายป่าเต็งรัง ค่าเสียหายจำนวน 18,634.19 บาท


สรุปรวมในหนึ่งปีมีการทำลายป่าไม้ในพื้นที่ 1 ไร่ คิดเป็นมูลค่าอย่างน้อย จำนวน

150,942.70 บาท แต่กรมอุทยานแห่งชาติฯคิดค่าเสียหายจำนวน 150,000 บาท ซึ่งศาลจังหวัดพัทลุงได้ใช้แนวทางดังกล่าวพิพากษานางกำจายว่าเป็นผู้กระทำความผิดตามกฎหมาย ได้แก่ พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ..2507 และ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ..2535 พร้อมทั้งจ่ายค่าเสียหายตามการตีค่าจากงานวิชาการ


หากมองจากเหตุการณ์นี้ชาวบ้านนอกจากถูกคำพิพากษาจากศาลแล้ว สังคมก็จะพิพากษาว่าพวกเขาคือตัวการทำลายป่า เป็นอาชญากรของชาติที่ต้องถูกจับคุกในคดีอาญา และต้องชดเชยค่าเสียหายต่อรัฐในคดีแพ่ง ไม่ว่าจะเป็นชนเผ่าบนพื้นที่สูง คนเมือง คนพื้นราบ และคนไทยทั่วประเทศทั้งที่ตั้งถิ่นฐานมาก่อนการประกาศเขตพื้นที่ป่าตามกฎหมาย และผู้ที่มาบุกเบิกทำกินภายหลังจากการประกาศพื้นที่ป่าตามกฎหมายเป็นระลอก ตั้งแต่ป่าคุ้มครอง ป่าไม้ถาวร ป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือพื้นที่ป่าที่ประกาศตามมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีหลายฉบับ พวกเขาได้รับความเป็นธรรมหรือไม่ในสังคมไทย

 

ความจริงของปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าในประเทศไทยและประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลกมาจากหลายสาเหตุ สังคมโลกและสังคมไทยต้องยอมรับว่าการพัฒนาเศรษฐกิจทุนนิยมที่ใช้เงินเป็นมาตรฐานของการดำรงชีวิตนั้นได้ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและผืนป่า เพื่อการล่าอาณานิคมทางดินแดน ทางเศรษฐกิจ และการครอบงำทางวัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆที่ดำรงชีวิตต้องถูกบังคับด้วยการเปลี่ยนวิถีชีวิตและวัฒนธรรมการผลิต เพราะถูกกล่าวหาเป็นคนไร้วัฒนธรรม และเป็นต้นเหตุของการทำลายป่า จากการเป็นชนเผ่าล่าสัตว์ ทำไร่หมุนเวียน ทำไร่ทำนาใช้สารเคมี เป็นลูกจ้างตัดไม้ ปลูกพืชเชิงเดี่ยว เป็นต้น ในขณะที่ปัญหาทางนโยบายภาครัฐสนับสนุนส่งเสริมให้ชาวบ้านและเกษตรกรต้องเปลี่ยนวัฒนธรรมการผลิตจากยังชีพมาเป็นการทำลายป่า แรงกระตุ้นทางเศรษฐกิจผลักดันให้พวกเขาต้องดำรงชีวิตด้วยการบุกเบิกพื้นที่ป่า ปัญหาการไร้ประสิทธิภาพของระบบรัฐราชการในสังคมไทยที่คอรัปชั่น ปัญหาทางกฎหมายที่ให้ดุลพินิจแก่เจ้าหน้าที่รัฐในการหากินกับทรัพยากรป่า และเอาผิดกับผู้ที่ไม่มีเงินไม่มีสิทธิไม่มีเสียง และเมื่อชาวบ้านและเกษตรกรเรียนรู้ปัญหาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาช่วยดูแลรักษาป่า แต่กฎหมายก็ไม่เปิดโอกาสให้ชาวบ้านและเกษตรกรได้มีสิทธิและหน้าที่ดูแลรักษาและจัดการป่า


การใช้วาทกรรม “โลกร้อน” มาฟ้องคดีแพ่งกับชาวบ้านผู้บุกรุกทำลายป่า สะท้อนให้เห็นการเลือกปฏิบัติในการใช้อำนาจทางกฎหมาย อำนาจทางวิชาการที่อ้างว่าเป็น “วิทยาศาสตร์” และอำนาจเงิน มาเบียดขับผู้ด้อยโอกาส และผู้ที่ไร้สิทธิไร้เสียง ในขณะที่คนอีกกลุ่มหนึ่งที่มีอภิสิทธิ์ของเงินไม่ได้ถูกปฏิบัติเช่นเดียวกันอย่างเท่าเทียม


เมื่อเป็นเช่นนี้การฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าให้ได้จริงและสามารถแก้ไขปัญหาโลกร้อนได้นั้น จึงมิใช่อยู่ที่เงิน แต่อยู่ที่ภาครัฐและทุกคนในสังคมจะให้ความเป็นธรรมกับชาวบ้านและเกษตรกรที่ต้องพึ่งพาทรัพยากรป่านั้นหรือไม่ นโยบายและกฎหมายจะมาส่งเสริมให้พวกเขาได้มีบทบาทสำคัญดูแลรักษาป่าเพื่อคนทั้งประเทศอย่างไร สิ่งนี้เองที่เป็นคำตอบ


เมื่อนักวิทยาศาสตร์บอกว่าการแก้ไขปัญหาโลกร้อนนั้น ต้องมีการปลูกป่าเพื่อดูดซับคาร์บอน (Reducing Emission from Deforestation and Degradation in Developing Countries/REDD) เพราะว่าในแต่ละปีป่าไม้จะดูดซับคาร์บอนประมาณ 2.6 พันล้านตัน ในขณะที่การทำลายป่า หรือการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินจะก่อให้เกิดการปล่อยคาร์บอนประมาณ 1.6 พันล้านตัน หรือเทียบเท่ากับ 5.9 พันล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ (IPCC, 2007) สรุปได้ว่า การปล่อยคาร์บอนจากการทำลายป่าคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 20 ของการปล่อยทั้งหมด ซึ่งมากกว่าการปล่อยคาร์บอนจากการคมนาคมขนส่ง ที่คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15 ของการปล่อยทั้งหมด (WRI, 2007) ด้วยเหตุนี้จึงมีความเห็นว่า การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่าเป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพ และมีต้นทุนในการปล่อยค่อนข้างต่ำ จึงต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน


แนวคิดของ REDD ได้ถูกกำหนดให้เป็นมาตรการหนึ่งที่สร้างแรงจูงใจทางบวกให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาที่สามารถลดอัตราการทำลายป่า หรือสามารถอนุรักษ์พื้นที่ป่าธรรมชาติไม่ให้ลดลงหรือเสื่อมโทรมลง วิธีการคือ การใช้กลไกการตลาดในการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ที่ประเทศพัฒนาแล้วให้เงินแก่ประเทศกำลังพัฒนาในการปลูกป่าเพื่อดูดซับคาร์บอน คำถามอย่างง่ายๆ สำหรับสามัญชนก็คือ เมื่อมีการทำลายป่าและมีการปลูกป่า หรือปล่อยให้ป่าฟื้นฟูขึ้นมาตามธรรมชาติ ก็เป็นการดูดซับคาร์บอนทดแทนไปจากการที่ป่าถูกทำลาย จึงมีค่าเป็นศูนย์ที่ไม่มีการปล่อยคาร์บอน


ดร.สมศักดิ์ สุขวงศ์ นักวนศาสตร์และนักนิเวศวิทยาได้กล่าวว่า

การดูดซับคาร์บอนภายหลังการตัดไม้ทำลายป่า ขึ้นอยู่กับประชากรพืชทดแทนตามมา รวมทั้งพืชชั้นล่างที่หลงเหลืออยู่ องค์ประกอบชนิดพันธุ์ไม้ ไม้ใหญ่ที่ยังหลงเหลืออยู่ (ต้นไม้ในนาข้าวดูดซับคาร์บอนได้ถึง 12.8 ตัน/เฮกตาร์ ที่น้ำพอง) ข้อมูลของกรมป่าไม้ได้แสดงให้เห็นว่า ภายหลังเปลี่ยนป่าธรรมชาติ เป็นสวนยางพารา พบว่าดูดซับคาร์บอนได้ประมาณ 180 ตัน/เฮกตาร์ (TDRI, 1992)”


จึงตีความหมายได้ว่าการตัดไม้ทำลายป่า หรือการเปลี่ยนระบบการผลิต หรือแม้แต่การปลูกป่าทดแทน ไม่สามารถคิดคำนวณว่าเป็นการดูดซับคาร์บอนทดแทนได้จริงหรือไม่ ในสภาวะที่ระบบนิเวศน์มีความหลากหลาย ในทำนองเดียวกันก็ไม่ได้ส่งผลให้ประเทศพัฒนาแล้วหยุดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในขณะคนในประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาก็ยังมีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติแบบทำลาย โดยที่ภาครัฐไม่ได้มีนโยบายและกฎหมายที่แก้ไขปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าอย่างแท้จริง แต่ในทางตรงกันข้ามกลับผลักภาระให้ชาวบ้าน และเกษตรกรที่พึ่งพาทรัพยากรป่าต้องรับภาระปลูกป่าดูดซับคาร์บอน และบอกว่าให้เงินชดเชยเพื่อสร้างแรงจูงใจในการปลูกด้วยราคาซื้อขายที่พวกเขากำหนดไม่ได้ และอาจต้องขาดทุนจากการลงแรงลงขัน


การแก้ไขปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า ทำง่ายนิดเดียว ไม่ต้องใช้เงิน ไม่ต้องศึกษาทางวิชาการเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมให้ซับซ้อน และสามารถดูดซับคาร์บอน แก้ไขปัญหาโลกร้อนได้เป็นอย่างดี โดยการใช้วิธีแบบชาวบ้านๆสามัญชน โดยการส่งเสริมให้ชุมชนที่อยู่กับธรรมชาติมีสิทธิและหน้าที่ดูแลรักษาป่า ชุมชนในเมืองร่วมกันเพิ่มพื้นที่สีเขียว รอแต่ว่าภาครัฐจะส่งเสริมและสนับสนุนในทางนโยบายและกฎหมายเมื่อไร เพราะชุมชนและชาวบ้านเขากำลังทำอยู่ มิเช่นนั้นภาครัฐและเงินกองทุนทั้งหลายจะจ่ายเงินไปจำนวนมากกับการศึกษาและหามาตรการ แต่ยังไม่มีการฟื้นฟูป่าธรรมชาติขึ้นมาทดแทน

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net