Skip to main content
sharethis

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจเรื่อง “ประชาชนต้องการอย่างไรเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ” เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนต่อเรื่องดังกล่าว โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนชาวกรุงเทพมหานคร อายุ 18 ปีขึ้นไป ในทุกสาขาอาชีพ จำนวนทั้งสิ้น 1,119 คน เมื่อวันที่ 25-28 กรกฎาคมที่ผ่านมา

การวิจัยสืบเนื่องจากการที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ได้นำเสนอรายงานผลการศึกษาแนวทางการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทางการปฏิรูปการเมืองของไทย โดยในระยะสั้นเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญใน 6 มาตรา เพื่อลดความขัดแย้งในสังคม นำไปสู่ความสมานฉันท์ และปฏิรูปการเมือง
 
สรุปผลได้ดังนี้

1. ความคิดเห็นต่อการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ในประเด็นต่างๆ ปรากฏผลดังนี้

 
เห็นด้วย
(ร้อยละ)
ไม่เห็นด้วย
(ร้อยละ)
ไม่แน่ใจ
(ร้อยละ)
1) แก้ไขมาตรา 111 - 121 โดยให้ ส.ว. มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด
84.4
8.8
6.8
2) แก้ไขมาตรา 237 โดยให้ตัดทิ้งประเด็นการยุบพรรคการเมืองและให้ลงโทษ กรรมการบริหารพรรคที่ทุจริตการเลือกตั้งเฉพาะคน ไม่ใช่เหมารวม
76.9
17.3
5.8
3) แก้ไขมาตรา 190 โดยยังคงให้การทำสัญญากับต่างประเทศต้องผ่านการเห็นชอบจากรัฐสภา แต่ให้กำหนดประเภทของหนังสือสัญญาให้ชัดเจนว่าแบบไหนที่ต้องให้สภาเห็นชอบ
75.8
14.3
9.9
4) แก้ไขมาตรา 93 - 98 โดยการเลือกตั้ง ส.ส.ให้กลับไปใช้ระบบเขตเดียวคนเดียว (รวมจำนวน ส.ส.เขต 400 คน) และ ส.ส.บัญชีรายชื่ออีก 100 คน
59.6
20.6
19.8
5) แก้ไขมาตรา 266 โดยให้ ส.ส. และ ส.ว. เข้าไปมีบทบาทต่อการบริหารงานของข้าราชการประจำ และงบประมาณในโครงการต่างๆ ของรัฐเพื่อช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ได้
45.5
41.0
13.5
6) แก้ไขมาตรา 265 โดยให้ ส.ส. ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เช่น
   เลขานุการรัฐมนตรีได้
43.9
39.1
17.0

   
2. ความคิดเห็นต่อประเด็นเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 309 ให้มีการนิรโทษกรรมทางการเมือง

- เห็นด้วย     ร้อยละ  41.2
- ไม่เห็นด้วย    ร้อยละ  47.1
- ไม่แน่ใจ     ร้อยละ  11.7

ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาพบว่าจำนวนของผู้ที่ไม่เห็นด้วยลดลงจาก ร้อยละ 53.5 เหลือร้อยละ 47.1 หรือลดลงร้อยละ 6.4

3. ความคิดเห็นเกี่ยวกับกรอบระยะเวลาดำเนินการหลังจากได้รับรายงานสรุปแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 6 ประเด็นจากคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ แล้ว

-  ต้องการให้เร่งดำเนินการให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนภายในสมัยประชุมสภานี้    ร้อยละ  41.7
-  ต้องการให้ดำเนินการอย่างรอบคอบโดยไม่จำเป็นต้องเร่งให้เสร็จสิ้นภายในสมัยประชุมสภานี้    ร้อยละ  53.5
-  ไม่แน่ใจ    ร้อยละ  4.8

4. ความคิดเห็นเรื่องการทำประชามติเพื่อเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

-  ควรมีการทำประชามติให้ประชาชนออกเสียง เพื่อรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไข    ร้อยละ  91.2
-  ไม่จำเป็นต้องทำประชามติ    ร้อยละ  8.8

5. ความคิดเห็นในประเด็นเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญกับการยุติปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนเสื้อสีต่างๆ

- เห็นว่าการแก้รัฐธรรมนูญจะช่วยยุติปัญหาความขัดแย้ง
  ระหว่างกลุ่มคนเสื้อสีต่างๆ ได้    ร้อยละ  26.5
- เห็นว่าการแก้รัฐธรรมนูญจะไม่สามารถยุติปัญหาความขัดแย้งได้    ร้อยละ  50.0
     เนื่องจาก    
    - ต้นเหตุของปัญหาความขัดแย้งอยู่ที่ตัวบุคคลไม่ใช่กฎหมาย
    - ความขัดแย้งลุกลามไปไกลเกินกว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะช่วยได้
    - ฝ่ายที่เสียผลประโยชน์จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญคงไม่ยอมยุติ
- ไม่แน่ใจ    ร้อยละ 23.5

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net