Skip to main content
sharethis

เมื่อวันที่ 4 เม.. ที่โรงแรมเรดิสัน นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ได้แถลงข่าวถึงกรณี รัฐบาลควรรับฟังความคิดเห็น รวมถึงการเจรจากับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อจ้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่รัฐบาลควรต้องแสดงความจริงใจ


โดยนายจาตุรนต์ กล่าวว่า การจะแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งแก้ไขวิกฤติการเมืองก่อน ดังนั้น จึงต้องการเรียกร้องรัฐบาลให้เปิดใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดง และไม่ใช้ความรุนแรงกับประชาชน ไม่ใช้กำลังทหารเข้ามาแก้ปัญหา รวมทั้งทำกฎหมายให้เป็นกฎหมาย ด้วยการเร่งดำเนินคดีกับความผิดที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้ เช่น การบุกยึดสนามบิน ไม่ใช่มาเร่งเอาผิดแต่สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน


"รัฐบาลต้องทำให้เกิดความชัดเจนกรณีที่มีการกล่าวหาพาดพิงองคมนตรีและตุลาการบางคน  โดยรัฐบาลควรตั้งบุคคลที่เป็นกลางตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อแก้ปัญหาความมัวหมอง หรือความเสื่อมเสียที่เกิดขึ้น" นายจาตุรนต์ กล่าว


นายจาตุรนต์ ยังกล่าวถึงข้อเสนอให้มีการเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งที่เกิดขึ้นว่า ส่วนตัวเชื่อว่ารัฐบาลยังไม่มีความจริงใจ หรือ ต้องการเพียงลดกระแสการชุมนุม อย่างไรก็ตาม หากจะเกิดขึ้นจริงก็ควรเป็นช่วงหลังเทศกาลสงกรานต์ โดยประเด็นการเจรจา ควรเน้นการป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรง และหาคนเป็นกลางมาแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย และควรให้ใครเป็นรัฐบาล ไม่ควรนำเรื่องคดีความและการนิรโทษกรรม มาเป็นหัวข้อการเจรจา


นอกจากนี้นายจาตุรนต์ ยังได้ขอเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งตรวจสอบ กรณีกล่าวหาพาดพิงบุคคลกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีทั้งองคมนตรีและตุลาการบางคนเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการยึดอำนาจ 19 กันยายน 2549 ร่วมประชุมกันที่บ้านนายปีย์ มาลากุล ซึ่งมีการซัดทอดกันว่ามีการหารือ 2 เรื่อง คือ 1.วานให้ฆ่าคน ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณหายตัวไป 2.การยึดอำนาจ เพื่อให้กระจ่างชัดรัฐบาลควรตั้งคณะกรรมการขึ้นหนึ่งชุดจากเจ้าหน้าที่รัฐที่เป็นกลางทั้งอัยการ ตำรวจ ผู้พิพากษา ทั้งนี้ ไม่ต้องการเอาผิดใคร แต่เพื่อมาตรวจสอบข้อเท็จจริงแก้ปัญหาความมัวหมองหรือความเสื่อมเสียที่เกิดขึ้น หากเรื่องดังกล่าวเป็นความจริงก็จะต้องแสดงความรับผิดชอบ



นายจาตุรนต์กล่าวว่า ข้อเสนอให้มีเจรจายุติความขัดแย้งนั้น เชื่อว่ารัฐบาลยังไม่มีความจริงใจ เพียงต้องการลดกระแสการชุมนุม หากจะเกิดขึ้นจริงก็ควรเป็นช่วงหลังสงกรานต์ ควรเน้นป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรง และหาคนเป็นกลางมาแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย และควรจะให้ใครเป็นรัฐบาล การเจรจาไม่ควรมีเนื้อหาเกี่ยวกับคดีความต่างๆ ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ รวมถึงการนิรโทษกรรม ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใดก็ตาม แต่เวลานี้ส่วนตัวยังมองไม่เห็นว่าใครจะมาทำหน้าที่เป็นคนกลางเจรจา


เรียบเรียงมาจาก: แนวหน้า, มติชนออนไลน์

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net