Skip to main content
sharethis

นิตยสาร "ดิ อีโคโนมิสต์" เปิดเผยว่า นิตยสารเล่มล่าสุดลงวันศุกร์ที่ 23 มกราคม 2552 ไม่ได้ถูกจำหน่ายในประเทศไทย เพราะผู้จัดส่งในเมืองไทยปฏิเสธเนื่องจากเห็นว่ามีเนื้อหาพาดพิงกับราชวงศ์ไทย และเกรงว่าจะเข้าข่ายหมิ่นสถาบัน

ที่มา: http://www.siamintelligence.com/economist-double-banned/

 

 

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 26 ม.ค.ว่า นิตยสาร "ดิ อีโคโนมิสต์" เปิดเผยว่า นิตยสารเล่มล่าสุดลงวันศุกร์ที่ 23 มกราคม 2552 ไม่ได้ถูกจำหน่ายในประเทศไทย เพราะผู้จัดส่งในเมืองไทยปฏิเสธเนื่องจากเห็นว่ามีเนื้อหาพาดพิงกับราชวงศ์ไทย และเกรงว่าจะเข้าข่ายหมิ่นสถาบัน ซึ่งการพูดหรือตีพิมพ์ถ้อยคำหรือเนื้อหาที่ดูหมิ่นหรือคุกคามต่อราชวงศ์จะมี โทษจำคุกเกินกว่า 15 ปี

 

 

รายงานระบุว่า นิตยสาร"ดิ อีโคโนมิสต์"ฉบับล่าสุดซึ่งตีพิมพ์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ได้ตีพิมพ์เรื่องราวกับคดีของนายแฮร์รี่ นิโคลายด์ อดีตผู้สื่อข่าวชาวออสเตรเลีย ซึ่งถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 3 ปี จากการเขียนหนังสือพาดพิงบุคคลในสถาบัน

 

นอกจากนี้"ดิ อีโคโนมิสต์"ยังรายงานถึงการเปิดกว้างเพิ่มขึ้นของคนไทยในการพูดถึงเรื่อง ดังกล่าวต่อสาธารณชน จากเหตุวุ่นวายทางการเมืองเมื่อเดือนที่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์ม็อบพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยึดทำเนียบ รัฐบาลและสนามบิน

 

ทางด้านเอเอฟพีรายงานอ้างความเห็นของเจ้า หน้าที่ระดับสูงในกระทรวงยุติธรรมผู้หนึ่ง เปิดเผยว่า กระทรวงมีแนวคิดเสนอขออนุมัติคณะรัฐมนตรี เพื่อให้การศึกษาชาวต่างประเทศเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพราะมีความเข้าใจผิดอย่างมาก และมักเข้าใจว่าเป็นความผิดลหุโทษ ทั้งๆ ที่ กฎหมายนี้มีโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี

 

ที่มา - มติชน1, มติชน2

 

 

ความเห็น SIU

 

นับเป็นฉบับที่สองแล้วที่ถูกแบนในรอบสองเดือน (โดยผู้จัดส่ง) เพราะเกรงความหมิ่นเหม่ของเนื้อหา ในช่วงที่มีสถานการณ์ร้อนแรงทางการเมืองในเมืองไทยเช่นนี้

 

อีเมลล์จาก ดิ อิโคโนมิสต์ ส่งถึงผู้อ่านในเมืองไทยดังต่อไปนี้ [1]

 

 

"This week our distributors in Thailand have decided not to deliver The Economist in light of our coverage relating to the Thai monarchy."

 

 

มีเสียงลือเสียงเล่าอ้างว่า ดิ อิโคโนมิสต์ ถูกซื้อหรือถูกล้อบบี้จาก "ใครบางคน" ให้เขียนบทความลักษณะนี้ เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง แต่จากข้อมูลที่ ดิ อิโคโนมิสต์ ชนะคดีที่ถูกแบร์ลุสโคนีฟ้องร้อง จากการวิพากษ์วิจารณ์ผู้นำอิตาลีในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอิตาลี ในบทความ An Italian story คงน่าจะเป็นหลักฐานยืนยันท่าที ในการทำหน้าที่สื่อการวิพากษ์วิจารณ์ (จากจุดยืนบนท่าที "เสรีนิยม" และ "การเปิดเสรีการค้า) อย่างตรงไปตรงมาได้บ้าง

 

นอกจากนี้, แม้ว่าจะไม่มีหนังสือทั้งสองฉบับวางจำหน่ายในไทย ผู้อ่านที่อ่านบทความนี้ได้ (เพราะสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้) ก็สามารถเข้าไปอ่านเนื้อหาออนไลน์จากเว็บไซต์ economist.com ได้อยู่แล้ว

 

http://www.bangkokbugle.com/2009/01/no-economist-magagaine-again.html

 

 

--------------------------

อย่างไรก็ตาม เว็บไซต์มติชนได้รายงานโดยอ้างสำนักข่าวรอยเตอร์ระบุว่า เมื่อวันที่ 26 มกราคมกองบรรณาธิการนิตยสาร ดิ "อีโคโนมิสต์" ของอังกฤษ ได้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออี-เมล แจ้งต่อสมาชิกของนิตยสารที่พำนักอยู่ในประเทศไทยได้รับทราบว่า ผู้แทนจำหน่ายนิตยสารดังกล่าวในเมืองไทยตัดสินใจงดจำหน่าย ดิ อีโคโนมิสต์ประจำสัปดาห์ล่าสุด เนื่องจากหวั่นเกรงว่า ข้อเขียนว่าด้วยกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในฉบับล่าสุดอาจก่อให้เกิดปัญหาได้ ถือเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 2 เดือนที่ผ่านมาที่งดจำหน่ายเฉพาะในเมืองไทยด้วยเหตุผลคล้ายคลึงกัน

 

 

 

หมายเหตุ: แก้ไขล่าสุด เมื่อ 27 ม.ค.52 14.10น.

 

 

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net