Skip to main content
sharethis

ที่กองบัญชาการ กองทัพไทย วันที่ 4 ก.ย. พล.ต.ท.วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นัดเฉพาะกิจ ที่กองบัญชาการกองทัพไทย ว่าทางสำนักนายกรัฐมนตรีจำเป็นต้องออกประกาศ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อีก 2 ฉบับ จึงมีความจำเป็นต้องเรียกประชุม ครม.ให้รับทราบและเห็นชอบตามประกาศนี้ ภายใน 3 วัน


 



โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า  พ.ร.ก.ฉบับ แรก คือ การจัดตั้งกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ กอฉ.โดยผ่านความเห็นชอบของครม. ซึ่ง นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี จึงมีคำสั่งจัดตั้ง กอฉ. ทั้งนี้ กอฉ. ประกอบด้วย ผู้บัญชาการทหารบก เป็นผู้อำนวยการ ผบ.ตร เป็นรองผู้อำนวยการ แม่ทัพภาคที่ 1 เป็นรองผู้อำนวยการ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ อธิบดีกรมสารนิเทศ ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัยกองบัญชาการกองทัพไทย ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามความจำเป็น ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายยุทธการ เป็นกรรมการ สำหรับผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายยุทธการ เป็นกรรมการและเลขานุการ เสนาธิการกองทัพภาคที่ 1 เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ข้าราชการตำรวจ และข้าราชการพลเรือนตามผนวก เป็นเจ้าหน้าที่ รวมทั้งสิ้น 19 ตำแหน่ง


 



พล.ต.ท.วิเชียรโชติ  กล่าวว่า  คณะกรรมการดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ 1.เป็นหน่วยงานหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2.จัดให้มีหน่วยงานหรือศูนย์ปฏิบัติการ เพื่อเป็นองค์ประกอบปฏิบัติการภายใต้ กอฉ.ให้มีอำนาจในการแก้ไขปราบปรามยับยั้งสถานการณ์ฉุกเฉิน ตามที่ได้รับมอบหมาย 3.ดำเนินการทางด้านการข่าว 4.ดำเนินการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข่อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ตามความเป็นจริง เพื่อทำความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลและประชาชนทุกภาคส่วน รวมทั้งปฏิบัติการด้านจิตวิทยาที่เกี่ยวข้อง สำหรับการดำเนินการข่าวกรองนั้น ให้ดำเนินการด้านการข่าวและต่อต้านข่าวกรองที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ฉุกเฉินและที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรือการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข


 



โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า  5.จัดกำลังตำรวจและทหารดำเนินงานตามแผนรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญและสานที่สำคัญต่างๆ รวมทั้งประสานส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นเจ้าของสถานที่ดำเนินการป้องกันตัวเอง ตามความสามารถ 6.หมอบหมายให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องสนับสนุนกำลังพล งบประมาณ วัสดุ ครุภัณฑ์ ยานพาหระ และเครื่องมือต่างๆ เพื่อดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน 7.เรียกให้ส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐเข้าประชุมชี้แจง  ให้ข้อมูลข่าวสารตามที่เห็นสมควร 8.แต่งตั้งคณะที่ปรึกษาหรือเจ้าหน้าที่ เพื่อดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตามความจำเป็น 9.ดำเนินการอื่นๆตามที่นายกฯ หรือครม.มอบหมาย สั่ง ณ วันที่ 4 กันยายน พ.ศ.2551 นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี


 



พล.ต.ท.วิเชียรดชติ กล่าวว่า นอกจากนี้ พ.ร.ก.อีกฉบับ1 เป็นการกำหนดอำนาจหน้าที่ของ ครม.ตามกฎหมาย เป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี ภายหลังมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขต กทม.ตามกฎหมายฉบับนี้ ให้รัฐนตรี และ ครม.ให้มอบอำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวง โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตอนุมัติสั่งการ ตามบังคับบัญชาหรือแก้ไขป้องกัน ปราบปราม ระงับยับยั้ง สถานการณ์ฉุกเฉิน  หรือช่วยเหลือประชาชนที่อยู่ในท้องที่ที่ประกาศภาวะฉุกเฉิน โดยจะมีกฎหมาย 20 ฉบับ 1. พ.ร.บ.จัดระเบียบข้าการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 2. พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าน พ.ศ. 2493 3.พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547  4. พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 5. พ.ร.บ. ควบคุมโภคภัณฑ์ พ.ศ. 2495 6. พ.ร.บ.ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2520


 



โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า   7. พ.ร.บ.ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ. 2522 8. พ.ร.บ.ควบคุมอาหาร พ.ศ. 2522 9.พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณา โดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493 10.พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535  11.พ.ร.บ.การจราจรทางบก พ.ศ. 2522 12. พ.ร.บ.การสุรา พ.ศ. 2493 13.พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 14. พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 15. พ.ร.บ.วัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2485 16.พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน  พ.ศ.2490 17. พ.ร.บ.การเนรเทศ พ.ศ. 2499 18. ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ เฉพาะบทบัญญัติที่เกี่ยวกับมูลนิธิและสมาคม 19.ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เฉพาะบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจสืบสวนและสอบสวน และการใช้อำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ 20.ข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยการใช้กำลังทหาร การเคลื่อนกำลังทหารและการเตรียมพร้อม พ.ศ.2545 โดยนายสมัคร ลงนามในประกาศวันที่ 4 กันยายน 2551


 



มทภ.1แจงตั้งกองอำนวยการแก้ไขฉุกเฉินเพื่อความรอบคอบ


พล.ท.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แม่ทัพภาคที่ 1 ให้สัมภาษณ์ถึงการตั้งกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินว่า เป็นการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อให้เกิดความรอบคอบในการปฏิบัติตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งมีการรวมเจ้าหน้าที่จากทุกกระทรวง ทบวง กรม โดยเฉพาะด้านกฎหมาย เพราะการทำงานจะทำให้เกิดความรอบคอบถูกต้อง ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับคนแค่ 3 คน ที่จะให้แก้ปัญหาคงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นเพื่อความรอบคอบจึงมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อกำหนดแนวทางการทำงาน อย่างไรก็ตามจะเน้นการไม่ใช้ความรุนแรง และทำอย่างไรเพื่อให้คนไทยกระทบกระทั่วกันน้อยที่สุด


 



พล.ท.ประยุทธ์ กล่าวว่า การใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินทุกคนทราบดีว่าจะทำให้สังคมเดือดร้อน ดังนั้นต้องให้คณะทำงานที่ตั้งขึ้นมาใหม่ร่วมกันแก้ปัญหา ต้องยอมรับว่า เงื่อนไขผ่านมา 3 เดือนแล้ว ต้องทำให้เงื่อนไขลดลง กฎหมายมีอยู่ และทกุคนรู้ว่าสิ่งที่ทำอยู่นี้ผิดกฎหมาย แต่เมื่อไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่ทำตามกฎหมายจึงต้องหาวิธีการดำเนินการ


 



เมื่อถามว่า พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.เสนอให้นายกฯแต่งตั้งกองอำนวยการนี้ขึ้นมาใช่หรือไม่ พล.ท.ประยุทธ์ กล่าวว่า เป็นแนวคิดตั้งแต่แรกเพื่อให้ทุกหน่วยงานมีส่วนร่วมมากขึ้น ใช้กำลังอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีทีมกฎหมายมาดูว่าจะทำอย่างไรในการบังคับใช้กฎหมาย และเมื่อต้องใช้ความรุนแรงก็ต้องมาดูว่า เจ้าหน้าที่จะทำตามกฎหมายและกติกาที่มีอยู่อย่างไร



 


 


 


--------------------------------------


ที่มา: http://www.komchadluek.net


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net