Skip to main content
sharethis

 อรรถพงษ์ ศักดิ์สงวนมนูญ


"การทำสงความสู้รบต้องทำให้แตกหัก เป็นเรื่องจำเป็นอยู่เองที่ต้องบาดเจ็บ แต่ว่าต้องชนะ จะเลิกไม่เลิกถ้าหากไม่เลิกก็ต้องจัดการทุกรูปแบบ หมดทั้งตัวทั้งชีวิตได้ทั้งนั้น ประชาชนคนไหนมีเบาะแสว่าหากข้าง ๆ บ้านร่ำรวยผิดปกติ โดยที่ไม่มีอาชีพแล้วต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ การยึดทรัพย์ต้องยึดทรัพย์ให้หมดไม่ให้เหลือไปถึงลูกหลานเพราะว่าคนเหล่านี้ทำลายชาติ ขอให้ ป... ไปพิจารณาดูว่าถ้าหากว่ายึดทรัพย์ไปแล้วคนที่ไปยึดทรัพย์ก็ต้องได้รับรางวัล เราต้องทำงานให้หนัก 3 เดือน ถ้าจะมีผู้ตายไปบ้างก็เป็นเรื่องปกติ ต้องการส่งสัญญาณว่าเขาต้องเลิกผู้ค้าจะไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย ถูกยิงแล้วต้องถูกยึดทรัพย์ด้วย ต้องเหี้ยมพอกัน ผมต้องการเอ็กซเรย์ทุก ๆพื้นที่ 3 เดือนต่อไปนี้ต้องทำอย่างจริงจัง ครบ 3 เดือนแล้วเราต้องประเมินผล ถ้าหากไม่ทราบว่าใครค้าก็แสดงว่าเจ้าหน้าที่ไม่มีประสิทธิภาพ หย่อนสมรรถภาพ"


...ข้อความข้างต้น คือคำพูดของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ที่ให้แนวทางการปราบปรามยาเสพติดแก่บรรดาข้าราชการระดับสูงเมื่อวันที่ 14 .. 2546 ถือได้ว่าเป็นการเริ่มต้นเปิดป้ายนโยบายปราบปรามยาเสพติดอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตหลังจากนั้นตามมากว่า 2,600 ราย ในจำนวนนั้นหลายรายเป็นผู้บริสุทธิ์ หลายรายเป็นผู้ต้องหาที่ไม่ได้ขึ้นสู่กระบวนการยุติธรรมแต่ว่ากลับต้องมาจบชีวิตลงอย่างโหดเหี้ยม


คำถามที่ตามมาก็คือ คนเหล่านั้นสมควรที่จะต้องจบชีวิตลงแบบนั้นใช่หรือไม่ พ่อค้ายาสมควรถูกตัดขาดจากกระบวนการยุติธรรมอย่างนั้นหรือ พวกเขาไม่มีสิทธิ์ ศักดิ์ศรีพอที่จะไปเหยียบยังศาลสถิติยุติธรรมเหมือนที่คนทั่ว ๆ ไปกันใช่หรือไหม กลุ่มบุคคลเหล่านั้นสมควรแล้วที่ต้องถูกตัดสินด้วยศาลต่ำเตี้ยข้างถนน ขณะที่อีกหลายรายกลับหายสาบสูญ…และปฏิเสธไม่ได้ว่า เวลานั้น


"ชาวเขา" เป็นกลุ่มคนอันดับต้นๆ ที่ถูกทางการเพ่งเล็งมากที่สุด !


อาจเป็นเพราะว่าบนดินแดนหลืบดอยสูงที่เขาเหล่านั้นอยู่อาศัยเป็นพื้นที่ที่ห่างไกลเกินไปที่คนอื่นสามารถเข้าไปถึง ง่ายต่อการที่ "เขา" จะกล่าวหาว่าสถานที่ของชาวเขาเป็นแหล่งผลิตยาเสพติด หลายพื้นที่เคยเป็นพื้นที่ปลูกฝิ่นที่เก่าแก่ หลายพื้นที่เคยมีประวัติการค้าขายยา หลายพื้นที่เป็นเส้นทางลำเลียงยาเสพติดเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน ขณะที่อีกหลายพื้นที่เป็นพื้นที่ที่ติดกับแหล่งใหญ่ของการผลิตยาจากเพื่อนบ้านอีกเช่นกัน แต่ทั้งหมดแล้ว "มายาคติ" ที่ติดมากับวาทกรรม "ชาวเขา ไม่ใช่คนไทย ตัดไม้ ขายยา" ก็เพียงพอแล้ว


ชูพินิจ เกษมณี นักวิชาการด้านชนเผ่า กล่าวว่า "คงเป็นความรู้สึกฝังใจแต่ดั้งเดิมมาแล้วว่า หากเป็นชาวเขาก็จะต้องค้ายาเสพติด แม้แต่สาธารณะชนเองก็พร้อมที่จะเชื่อเมื่อเจ้าหน้าที่บ้านเมืองบอกว่าชาวเขาคนนั้นถูกวิสามัญฆาตกรรมเพราะว่าเกี่ยวข้องกับยาเสพติด"


สอดคล้องกับที่ วสันต์ พานิช อดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่บอกว่า "ในกรณีจากสมัชชาชนเผ่านั้นเห็นได้ชัดเจนว่า อคติที่เชื่อว่าบรรดาชนเผ่าค้ายาเสพติดซึ่งเป็นภาพดั้งเดิมมาแต่อดีต แต่คนทั่วไปก็ยังฝังใจว่าพวกเขาเหล่านั้นเกี่ยวกับยาเสพติด เพราะฉะนั้นจะถูกเพ่งเล็งมากที่สุด เราจะเห็นข่าวบ่อย ๆ ในช่วงเวลานั้นพี่น้องชนเผ่าจะถูกปิดล้อมหมู่บ้านเพื่อเข้าไปตรวจค้นหลายๆ แห่งเกิดขึ้นบ่อยครั้งมาก บริเวณชายแดนไปปิดล้อมเขาด้วยกำลังอาวุธครบมือแต่ว่าในที่สุดก็ไม่พบอะไรเลย"


แบบเรียนของนักเรียนนักศึกษาที่เราๆ ต่างเคยได้เรียน อ่าน เขียน หรือว่าท่องกันมา หรืออาจจะเป็นพาดหัวหนังสือพิมพ์ตัวโต "จับชาวเขาค้ายากลางกรุง" หรือ "วิสามัญชาวเขาเผ่า...ค้ายา" หรือแม้แต่การให้คำนิยามว่าพวกเขาไม่ใช่คนไทย ต้องการที่จะบ่อนทำลายชาติก็นับเป็นตัวอย่างง่ายๆ ที่เราอาจจะเข้าใจได้ว่าอคติเหล่านั้นมันมาจากไหน


จริงอยู่ที่บางที่บางแห่ง คนค้ายา อาจจะแฝงตัวเองใช้วิถีชีวิตบนดอยบังหน้าแล้วสถาปนาตัวเองเป็นเจ้าพ่อค้ายาเสพติด แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าคนทั้งดอยจะต้องเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ยังมีชาวเขา ชาวดอยที่ยังคงขยันทำมาหากินอยู่ แต่ทว่าด้วยความที่เขาเหล่านั้นเป็น "ชาวเขา" ก็ยากที่จะทลายกำแพงนั้นลงได้เช่นที่ มนูญ ไทยนุรักษ์ ประธานชมรมชนเผ่าอาข่า จ.เชียงใหม่ ยกตัวอย่างว่า "พี่น้องชนเผ่าบางคนเป็นคนที่ขยัน ทำงานจนมีบ้าน มีรถ ก็พอมีเงินขึ้นมาบ้าง เมื่อมีนโยบายปราบปรามยาเสพติดขึ้นมา ครอบครัวไหนที่พอจะมีกินขึ้นมาหน่อยก็เจอข้อหาว่าเป็นผู้ค้ายาขึ้นมาทันที ทั้งที่เขาปลูกข้าวโพด ปลูกขิง ปลูกถั่วขายได้ก็เป็นธรรมดาที่เขาอยากจะมีรถเก่าๆ เอาไว้ใช้บ้าง แต่กลับมาเจอความเชื่อที่ว่าชาวเขายากจน ไม่มีมรดก จะเอาเงินที่ไหนมาซื้อรถ ซื้อบ้านได้ เพราะฉะนั้นคนเหล่านี้ต้องค้ายาแน่ๆ"


มนูญ ยังกล่าวถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นอีกว่า ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2546 เมื่อนโยบายปราบปรามยาเสพติดประกาศใช้นั้น หมู่บ้านอาข่าหลายหมู่บ้านเกือบจะกลายเป็นหมู่บ้านแม่หม้าย หลายพื้นที่เกือบจะเป็นอย่างนั้น ตนคิดว่าหากรัฐบาลใหม่ประกาศใช้นโยบายปราบปรามยาเสพติดเบ็ดเสร็จเด็ดขาดก็คงจะต้องขยายอาณาเขตพื้นที่หมู่บ้านแม่หม้ายนั้นออกไป กลายเป็นนิคมแม่หม้ายเพราะว่าการกระทำของหน่วยงานรัฐไม่เคยคิดถึงสิทธิมนุษยชน


"อย่างเช่นกรณีพ่อหลวงสุรพล ที่ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ทางการพยายามที่จะตั้งข้อหาว่าพ่อหลวงเป็นผู้มีอิทธิพลอันดับ 5 ของประเทศในการค้ายาเสพติด แต่ว่าบ้านช่องแกเล็กนิดเดียว มีรถอยู่เพียงคันเดียว แต่ทำไมสามารถที่จะเป็นผู้มีอิทธิพลอันดับ 5 ของประเทศได้ ทางการจึงพยายามให้ข้อหา สุดท้ายพ่อหลวงถูกยิงตาย วิถีกระสุนนั้นมาจากข้างล่างแต่ว่าตัวพ่อหลวงเองอยู่ข้างบนวิถีกระสุนนั้นขึ้นบนเพดาน แต่ชาวบ้านก็ไม่มีใครกล้าพูด เขากลัว เขาบอกว่ายิงตัวตาย ตำรวจยึดทรัพย์ไปมีบ้าน รถเก่าๆ แพะ 5 ตัว และมีวัว 2 ตัวนี่คือทรัพย์สินที่เจ้าพ่ออันดับ 5 ของประเทศไทยมี" เขามีรอยยิ้มเล็กๆ บนใบหน้า พร้อมส่ายหัวเมื่อกล่าวถึงตรงนี้


"การที่รัฐบาลพยายามที่จะปราบปรามยาเสพติดก็มีข้อดีบางครอบครัวบอกว่าทำให้ลูกชายเขาเลิกยาเสพติดได้" มนูญ กล่าวถึงข้อดีที่มีอยู่บ้างของนโยบายยาเสพติด แต่......


"แต่ว่าลึกๆ เขาไม่ได้คิดว่าภาพรวมของสังคมบนดอยนั้นเกิดอะไรขึ้นบ้าง" มนูญ กล่าวทิ้งท้าย


ศักดา แสนมี่ ผอ.สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขา กล่าวถึงการเยียวยาบาดแผลที่เกิดขึ้นจากตัวนโยบายปราบปรามยาเสพติดที่ผ่านมาว่า "กระบวนการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา โอกาสที่พี่น้องชนเผ่าเองจะเข้าถึงมาตรการเยียวยารักษาน้อย และอาจจะยากกว่าคนทั่วไป ยกเว้นว่าจะมีบางองค์กรเข้าไปช่วยเหลือ ในชนเผ่าเองอาจจะมีมาตรการเพื่อให้ชาวบ้านเข้าถึงนโยบายหรือหาทางออกเพื่อเยียวยาข้อเสนอแนะสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง การทำชุมชนบำบัด ชาวบ้านเป็นคนจัดการแก้ปัญหาให้ช่วยกันดูแล เพียงแต่คราวนี้ไม่ได้บำบัดแต่เพียงผู้เสพเท่านั้นชุมชนเองต้องบำบัดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับชุมชน สิ่งที่มันเกิดความเสียหายขึ้นกับพื้นที่ได้อย่างไร"


ผอ.สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขา บอกถึงผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับชาวเขาในนโยบายปราบปรามยาเสพติดว่า ประเด็นที่มีความกังวลว่าอาจจะนำมาใช้เพื่อเชื่อมโยงในการแก้ปัญหายาเสพติดคือการโยกย้ายประชาชนบนพื้นที่สูง ซึ่งช่วงหลังๆ นั้นมันมีการนำเสนอเรื่องของการปลูกฝิ่น ซึ่งก็มีข้อสังเกตคือหลายพื้นที่มีการเสนอข่าวว่าพื้นที่นั้นมันมีการปลูกฝิ่น มีชาวบ้านชนเผ่านั้นปลูกฝิ่น และแต่ละครั้งก็จะนำเสนอพื้นที่ปลูกที่ค่อนข้างจะเยอะมาก  ตัวอย่างเช่นที่บ้านห้วยเกิด อ.แม่อาย พื้นที่นั้นมีข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานฝายปกครองกับชาวบ้านเรื่องการโยกย้ายหมู่บ้าน และเผอิญว่ามีการไปพบฝิ่นที่ปลูกใกล้ๆ กับพื้นที่หมู่บ้าน หน่วยงานทางฝ่ายปกครองจึงเอาเรื่องนี้ไปอ้างเพื่อที่จะโยกย้ายเอาชาวบ้านออกมาทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้วฝิ่นนี้ไม่ใช่ของบ้านห้วยเกิดแต่อย่างใด เหล่านี้เป็นต้น


ศักดา ยังกล่าวเสริมเรื่องวิถีชีวิตชาวเขาที่อาจจะถูกกล่าวหาว่าเป็น "แพะ"ในนโยบายปราบปรามยาเสพติดที่กำลังจะเริ่มขึ้นในรัฐบาลชุดนี้ว่า "กลัวว่าทางการจะนำมาใช้ก็คือการหยิบเอาประเด็นเรื่องเส้นใยกัญชงที่พี่น้องชาวม้งนำมาใช้เพื่อทำเสื้อผ้าสวมใส่ นำมาเกี่ยวข้องกับปัญหาของยาเสพติด ก็กลัวว่าอาจจะใช้เรื่องนี้ในการทำลายองค์ความรู้ในการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน กลัวว่าเมื่อยาเสพติดกลับมาอีกครั้งอาจจะเอาเรื่องนี้เข้ามาแอบอ้าง"


นั่นหมายความว่า หากสิ่งที่เขาคิดเป็นจริงภูมิปัญญา วิถีชีวิตที่สวยงามเหล่านั้นต้องหมดไป ถูกตัดตอนทั้งๆ ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดไปด้วย


ชูพินิจ นักวิชาการทางด้านชนเผ่า กล่าวถึงวิธีการที่สมควรจะนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาว่า สิ่งที่ตนอยากจะเสนอให้แก้ไขคือต้องทำให้วิถีชีวิตของชนเผ่ามีความมั่นคงมากขึ้น อย่างตอนนี้เรื่องปัญหาที่ดินก็ไม่มั่นคง บางชุมชนถูกอพยพโยกย้ายออกมาแล้วความเหมาะสมของทำเลที่ตั้งที่ดินก็ไม่ดี พื้นที่บางแห่ง อย่างเช่นที่ห้วยวาด จ.ลำปาง นั้นที่ดินก็ไม่พอด้วยซ้ำ กรณีเหล่านี้เกิดขึ้นหลายที่


"หมู่บ้านบางแห่งถูกขนานนามว่าเป็นหมู่บ้านยาเสพติด แต่ว่าต้องคิดว่าเขาจะหาทางออกอื่นได้อย่างไร ภาครัฐไปตัดมือตัดขาเขาเสียหมด ปัจจัยการผลิตไม่มี จะให้เขามีชีวิตแบบไหน ตราบใดที่คนยังยากจนยังปากกัดตีนถีบไม่มีความมั่นคงในวิถีชีวิต เมื่อนั้นแล้วก็จะมีคนใหม่ๆ เข้ามาแทนที่" ชูพินิจ กล่าวและว่า


ในอนาคตจะต้องทำให้กระบวนการของชนเผ่าให้เข้มแข็งและต่อเนื่อง เรื่องนี้เป็นปัญหาที่ท้าทายมาก เพราะที่ผ่านมาการรวมตัวกันของชนเผ่าจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีเรื่องเดือดร้อนเท่านั้น ดังนั้นเครือข่ายชนเผ่าต้องคิดให้จริงจังว่าจะต้องจัดตั้งกลไกสักอย่างเพื่อที่จะประกาศต่อสาธารณะชนว่า ชนเผ่านั้นก็ต่อต้านยาเสพติดเหมือนกัน ตนคิดว่าเรื่องนี้ต้องทำอย่างจริงจัง ไม่เช่นนั้นชนเผ่าก็จะโดนกล่าวหาอยู่ฝ่ายเดียวว่าเป็นผู้ค้ายาเสพติด


"เราจำเป็นที่จะต้องมีช่องทางเพื่อสื่อสารไปสู่สาธารณะ อาจจะจำเป็นต้องมีช่องทาง วิทยุ โทรทัศน์ เพื่อสร้างความเข้าใจแก่สาธารณะ" นักวิชาการทางด้านชนเผ่าเผยถึง "ช่องทาง" ที่เสมือนจะเป็นกระบอกเสียงเพื่อตระโกนดัง ๆ ให้กับคนทั้งประเทศได้รับรู้ว่าว่าชาวเขาทั้งหมดไม่ได้เกี่ยวกับยาเสพติดอย่างที่เคยเข้าใจ


สุมิตรชัย หัตถสาร ผอ.ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น ผู้ซึ่งเป็นทนายความให้กับผู้ต้องหากรณียาเสพติดที่เป็นชาวเขาหลายคนกล่าวว่า "หลังจากมีการประกาศสงครามยาเสพติดเห็นสิ่งที่บกพร่องเกิดขึ้นคือ กระบวนยุติธรรมอำมหิต ซึ่งกระบวนการตัดตอนนั้นมี 2 แบบก็คือตัดตอนไปไม่ให้ถึงผู้ค้า และอีกส่วนคือตัดตอนไปไม่ให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม คือถึงแม้ว่าชาวบ้านจะมีส่วนเกี่ยวกับยาเสพติดก็ตามแต่ว่าเจ้าหน้าที่รัฐไม่มีสิทธิไปฆ่าเข่า สิ่งที่เจ้าหน้าที่รัฐต้องทำคือเอาเขาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม"


สุมิตรชัย กล่าวต่อไปอีกว่า สิ่งที่เรียกร้องคือกระบวนการยุติธรรมจะต้องไม่ทิ้งหน้าที่ไว้ที่ตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองอย่างเดียว ต้องมาหารือกันในเรื่องกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด ศาลเองอัยการเอง หรือเอาแนวความคิดเรื่องศาลยาเสพติดขึ้นมาใช้ เพราะมันเป็นเรื่องที่เฉพาะและสร้างปัญหาใหญ่ให้เกิดปัญหาสังคม โยงกับปัญหาอื่นๆ ของประเทศทั้งระบบ แต่ว่านโยบายของรัฐบาลทักษิณที่ผ่านมาก็คือโยนเครื่องมือไปให้กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ต้องมียุทธศาสตร์ระยะยาว ไม่ใช่เพียงแค่ 1 เดือน 2 เดือน 3 เดือน แต่ว่าต้องเป็น 1 ปี 2 ปี 3ปี เพื่อแก้ปัญหาทั้งระบบ


ผอ.ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น กล่าวอีกว่า ส่วนที่ 2 เป็นเรื่องความเข้มแข็งของชุมชนเชื่อว่ามีชุมชนหลายชุมชนที่สามารถแก้ปัญหายาเสพติดของตนเองได้โดยที่ไม่ต้องใช้วิธีการของภาครัฐ กระบวนเหล่านี้ต่างหากที่เป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ดูแลร่วมกันในเรื่องของยาเสพติด ดูแลลูกหลานของเขา ทั้งบำบัด พูดคุย มีข้อห้ามบนฐานของชุมชน คือต้องเปิดการมีส่วนร่วมของชุมชน ไม่ใช่เพียงแค่ส่งรายชื่อผู้ที่เกี่ยวกับยาเสพติดเท่านั้น เรื่องนี้ต้องเป็นเรื่องวาระแห่งชาติ ต้องเป็นเรื่องของคนทั้งประเทศ ต้องมีคณะกรรมการร่วมกัน ส่วนต่างๆ ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบนโยบายระยะยาว  เพราะถ้าไม่เช่นนั้นกระบวนการที่ภาครัฐเคยใช้จะกลับมาอีก


"การกลับมาของนโยบายปราบปรามยาเสพติดครั้งที่สอง คิดว่าจะมีความรุนแรงมากกว่าเดิม มันจะผลักให้คนหมดทางในการแก้ไขปัญหา และเมื่อไรก็ตามที่ประชาชนปฏิเสธกระบวนการยุติธรรมก็จะเกิดปัญหาแบบเดียวกับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รัฐกำลังผลักคนออกจากกระบวนการยุติธรรม เมื่อเขารู้สึกว่ากระบวนการมันไม่สามารถที่จะช่วยเหลือเขาได้เขาจะปฏิเสธ และเมื่อไหร่ที่เขาจะปฏิเสธก็มีทางเดียวที่เขาสามารถจะทำได้ก็คือ "การจับอาวุธ" ตอนที่เกิดสงครามยาเสพติดครั้งที่แล้วผมเคยได้ยินชาวบ้านในหลายพื้นที่พูดเกี่ยวกับเรื่องนี้ ญาติ พี่น้องเขาตายเพราะการฆ่าตัดตอน ทำให้เขารู้สึกว่ากระบวนการยุติธรรมช่วยเขาไม่ได้ เขาบอกว่าจะจัดตั้งกองกำลัง อย่าไปคิดว่ามันจะไม่เกิด มันเป็นไปได้ถ้ารัฐทำให้คนไม่เชื่อในกระบวนการยุติธรรม" สุมิตรชัย กล่าวทิ้งท้าย


... ไม่กี่วันที่ผ่านมาหัวเรือใหญ่กระทรวงมหาดไทยประกาศจะดำเนินนโยบายปราบปรามยาเสพติดอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เสียงประกาศนั้นคงเดินทางไปถึงหลืบดอยสูงหรือที่อยู่อาศัยอื่นๆ ที่เขาเหล่านั้นอาศัยอยู่เรียบร้อยแล้ว แม่บ้านหลายคนอาจจะนอนไม่หลับ เขาไม่สามารถรู้ได้ว่าสามีที่นอนอยู่ข้างๆ จะเดินจากเขาไปตลอดกาลด้วยข้ออ้างเรื่องยาเสพติดเมื่อไร ไม่มีใครรู้ว่าเมื่อไรหมู่บ้านใดจะกลายเป็นหมู่บ้านแม่ม่ายตลอดกาล และไม่มีใครรู้ว่าเมื่อไรจะมีหมู่บ้านที่ลุกฮือขึ้นจับอาวุธต่อสู้กับรัฐเพราะกระบวนการยุติธรรมช่วยอะไรเขาไม่ได้ ใช่...ไม่มีใครรู้เรื่องเหล่านั้น


...แต่หากว่ารัฐหยิบเอานโยบายที่เคยใช้ปฏิบัติแบบเก่าๆ นำมาใช้อีกแล้วละก็ อีกไม่นาน...เราอาจจะรู้.


ศักดา แสนมี่ ผอ.สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขา กล่าวถึงการเยียวยาบาดแผลที่เกิดขึ้นจากตัวนโยบายปราบปรามยาเสพติดที่ผ่านมาว่า "กระบวนการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา โอกาสที่พี่น้องชนเผ่าเองจะเข้าถึงมาตรการเยียวยารักษาน้อย และอาจจะยากกว่าคนทั่วไป ยกเว้นว่าจะมีบางองค์กรเข้าไปช่วยเหลือ ในชนเผ่าเองอาจจะมีมาตรการเพื่อให้ชาวบ้านเข้าถึงนโยบายหรือหาทางออกเพื่อเยียวยาข้อเสนอแนะสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง การทำชุมชนบำบัด ชาวบ้านเป็นคนจัดการแก้ปัญหาให้ช่วยกันดูแล เพียงแต่คราวนี้ไม่ได้บำบัดแต่เพียงผู้เสพเท่านั้นชุมชนเองต้องบำบัดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับชุมชน สิ่งที่มันเกิดความเสียหายขึ้นกับพื้นที่ได้อย่างไร"


ผอ.สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขา บอกถึงผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับชาวเขาในนโยบายปราบปรามยาเสพติดว่า ประเด็นที่มีความกังวลว่าอาจจะนำมาใช้เพื่อเชื่อมโยงในการแก้ปัญหายาเสพติดคือการโยกย้ายประชาชนบนพื้นที่สูง ซึ่งช่วงหลังๆ นั้นมันมีการนำเสนอเรื่องของการปลูกฝิ่น ซึ่งก็มีข้อสังเกตคือหลายพื้นที่มีการเสนอข่าวว่าพื้นที่นั้นมันมีการปลูกฝิ่น มีชาวบ้านชนเผ่านั้นปลูกฝิ่น และแต่ละครั้งก็จะนำเสนอพื้นที่ปลูกที่ค่อนข้างจะเยอะมาก  ตัวอย่างเช่นที่บ้านห้วยเกิด อ.แม่อาย พื้นที่นั้นมีข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานฝายปกครองกับชาวบ้านเรื่องการโยกย้ายหมู่บ้าน และเผอิญว่ามีการไปพบฝิ่นที่ปลูกใกล้ๆ กับพื้นที่หมู่บ้าน หน่วยงานทางฝ่ายปกครองจึงเอาเรื่องนี้ไปอ้างเพื่อที่จะโยกย้ายเอาชาวบ้านออกมาทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้วฝิ่นนี้ไม่ใช่ของบ้านห้วยเกิดแต่อย่างใด เหล่านี้เป็นต้น


ศักดา ยังกล่าวเสริมเรื่องวิถีชีวิตชาวเขาที่อาจจะถูกกล่าวหาว่าเป็น "แพะ"ในนโยบายปราบปรามยาเสพติดที่กำลังจะเริ่มขึ้นในรัฐบาลชุดนี้ว่า "กลัวว่าทางการจะนำมาใช้ก็คือการหยิบเอาประเด็นเรื่องเส้นใยกัญชงที่พี่น้องชาวม้งนำมาใช้เพื่อทำเสื้อผ้าสวมใส่ นำมาเกี่ยวข้องกับปัญหาของยาเสพติด ก็กลัวว่าอาจจะใช้เรื่องนี้ในการทำลายองค์ความรู้ในการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน กลัวว่าเมื่อยาเสพติดกลับมาอีกครั้งอาจจะเอาเรื่องนี้เข้ามาแอบอ้าง"


นั่นหมายความว่า หากสิ่งที่เขาคิดเป็นจริงภูมิปัญญา วิถีชีวิตที่สวยงามเหล่านั้นต้องหมดไป ถูกตัดตอนทั้งๆ ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดไปด้วย


ชูพินิจ นักวิชาการทางด้านชนเผ่า กล่าวถึงวิธีการที่สมควรจะนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาว่า สิ่งที่ตนอยากจะเสนอให้แก้ไขคือต้องทำให้วิถีชีวิตของชนเผ่ามีความมั่นคงมากขึ้น อย่างตอนนี้เรื่องปัญหาที่ดินก็ไม่มั่นคง บางชุมชนถูกอพยพโยกย้ายออกมาแล้วความเหมาะสมของทำเลที่ตั้งที่ดินก็ไม่ดี พื้นที่บางแห่ง อย่างเช่นที่ห้วยวาด จ.ลำปาง นั้นที่ดินก็ไม่พอด้วยซ้ำ กรณีเหล่านี้เกิดขึ้นหลายที่


"หมู่บ้านบางแห่งถูกขนานนามว่าเป็นหมู่บ้านยาเสพติด แต่ว่าต้องคิดว่าเขาจะหาทางออกอื่นได้อย่างไร ภาครัฐไปตัดมือตัดขาเขาเสียหมด ปัจจัยการผลิตไม่มี จะให้เขามีชีวิตแบบไหน ตราบใดที่คนยังยากจนยังปากกัดตีนถีบไม่มีความมั่นคงในวิถีชีวิต เมื่อนั้นแล้วก็จะมีคนใหม่ๆ เข้ามาแทนที่" 


ในอนาคตจะต้องทำให้กระบวนการของชนเผ่าให้เข้มแข็งและต่อเนื่อง เรื่องนี้เป็นปัญหาที่ท้าทายมาก เพราะที่ผ่านมาการรวมตัวกันของชนเผ่าจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีเรื่องเดือดร้อนเท่านั้น ดังนั้นเครือข่ายชนเผ่าต้องคิดให้จริงจังว่าจะต้องจัดตั้งกลไกสักอย่างเพื่อที่จะประกาศต่อสาธารณะชนว่า ชนเผ่านั้นก็ต่อต้านยาเสพติดเหมือนกัน ตนคิดว่าเรื่องนี้ต้องทำอย่างจริงจัง ไม่เช่นนั้นชนเผ่าก็จะโดนกล่าวหาอยู่ฝ่ายเดียวว่าเป็นผู้ค้ายาเสพติด


"เราจำเป็นที่จะต้องมีช่องทางเพื่อสื่อสารไปสู่สาธารณะ อาจจะจำเป็นต้องมีช่องทาง วิทยุ โทรทัศน์ เพื่อสร้างความเข้าใจแก่สาธารณะ" นักวิชาการทางด้านชนเผ่าเผยถึง "ช่องทาง" ที่เสมือนจะเป็นกระบอกเสียงเพื่อตระโกนดัง ๆ ให้กับคนทั้งประเทศได้รับรู้ว่าว่าชาวเขาทั้งหมดไม่ได้เกี่ยวกับยาเสพติดอย่างที่เคยเข้าใจ


สุมิตรชัย หัตถสาร ผอ.ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น ผู้ซึ่งเป็นทนายความให้กับผู้ต้องหากรณียาเสพติดที่เป็นชาวเขาหลายคนกล่าวว่า "หลังจากมีการประกาศสงครามยาเสพติดเห็นสิ่งที่บกพร่องเกิดขึ้นคือ กระบวนยุติธรรมอำมหิต ซึ่งกระบวนการตัดตอนนั้นมี 2 แบบก็คือตัดตอนไปไม่ให้ถึงผู้ค้า และอีกส่วนคือตัดตอนไปไม่ให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม คือถึงแม้ว่าชาวบ้านจะมีส่วนเกี่ยวกับยาเสพติดก็ตามแต่ว่าเจ้าหน้าที่รัฐไม่มีสิทธิไปฆ่าเข่า สิ่งที่เจ้าหน้าที่รัฐต้องทำคือเอาเขาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม"


สุมิตรชัย กล่าวต่อไปอีกว่า สิ่งที่เรียกร้องคือกระบวนการยุติธรรมจะต้องไม่ทิ้งหน้าที่ไว้ที่ตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองอย่างเดียว ต้องมาหารือกันในเรื่องกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด ศาลเองอัยการเอง หรือเอาแนวความคิดเรื่องศาลยาเสพติดขึ้นมาใช้ เพราะมันเป็นเรื่องที่เฉพาะและสร้างปัญหาใหญ่ให้เกิดปัญหาสังคม โยงกับปัญหาอื่นๆ ของประเทศทั้งระบบ แต่ว่านโยบายของรัฐบาลทักษิณที่ผ่านมาก็คือโยนเครื่องมือไปให้กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ต้องมียุทธศาสตร์ระยะยาว ไม่ใช่เพียงแค่ 1 เดือน 2 เดือน 3 เดือน แต่ว่าต้องเป็น 1 ปี 2 ปี 3ปี เพื่อแก้ปัญหาทั้งระบบ


ผอ.ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น กล่าวอีกว่า ส่วนที่ 2 เป็นเรื่องความเข้มแข็งของชุมชนเชื่อว่ามีชุมชนหลายชุมชนที่สามารถแก้ปัญหายาเสพติดของตนเองได้โดยที่ไม่ต้องใช้วิธีการของภาครัฐ กระบวนเหล่านี้ต่างหากที่เป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ดูแลร่วมกันในเรื่องของยาเสพติด ดูแลลูกหลานของเขา ทั้งบำบัด พูดคุย มีข้อห้ามบนฐานของชุมชน คือต้องเปิดการมีส่วนร่วมของชุมชน ไม่ใช่เพียงแค่ส่งรายชื่อผู้ที่เกี่ยวกับยาเสพติดเท่านั้น เรื่องนี้ต้องเป็นเรื่องวาระแห่งชาติ ต้องเป็นเรื่องของคนทั้งประเทศ ต้องมีคณะกรรมการร่วมกัน ส่วนต่างๆ ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบนโยบายระยะยาว  เพราะถ้าไม่เช่นนั้นกระบวนการที่ภาครัฐเคยใช้จะกลับมาอีก


"การกลับมาของนโยบายปราบปรามยาเสพติดครั้งที่สอง คิดว่าจะมีความรุนแรงมากกว่าเดิม มันจะผลักให้คนหมดทางในการแก้ไขปัญหา และเมื่อไรก็ตามที่ประชาชนปฏิเสธกระบวนการยุติธรรมก็จะเกิดปัญหาแบบเดียวกับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รัฐกำลังผลักคนออกจากกระบวนการยุติธรรม เมื่อเขารู้สึกว่ากระบวนการมันไม่สามารถที่จะช่วยเหลือเขาได้เขาจะปฏิเสธ และเมื่อไหร่ที่เขาจะปฏิเสธก็มีทางเดียวที่เขาสามารถจะทำได้ก็คือ "การจับอาวุธ" ตอนที่เกิดสงครามยาเสพติดครั้งที่แล้วผมเคยได้ยินชาวบ้านในหลายพื้นที่พูดเกี่ยวกับเรื่องนี้ ญาติ พี่น้องเขาตายเพราะการฆ่าตัดตอน ทำให้เขารู้สึกว่ากระบวนการยุติธรรมช่วยเขาไม่ได้ เขาบอกว่าจะจัดตั้งกองกำลัง อย่าไปคิดว่ามันจะไม่เกิด มันเป็นไปได้ถ้ารัฐทำให้คนไม่เชื่อในกระบวนการยุติธรรม" สุมิตรชัย กล่าวทิ้งท้าย


... ไม่กี่วันที่ผ่านมาหัวเรือใหญ่กระทรวงมหาดไทยประกาศจะดำเนินนโยบายปราบปรามยาเสพติดอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เสียงประกาศนั้นคงเดินทางไปถึงหลืบดอยสูงหรือที่อยู่อาศัยอื่นๆ ที่เขาเหล่านั้นอาศัยอยู่เรียบร้อยแล้ว แม่บ้านหลายคนอาจจะนอนไม่หลับ เขาไม่สามารถรู้ได้ว่าสามีที่นอนอยู่ข้างๆ จะเดินจากเขาไปตลอดกาลด้วยข้ออ้างเรื่องยาเสพติดเมื่อไร ไม่มีใครรู้ว่าเมื่อไรหมู่บ้านใดจะกลายเป็นหมู่บ้านแม่ม่ายตลอดกาล และไม่มีใครรู้ว่าเมื่อไรจะมีหมู่บ้านที่ลุกฮือขึ้นจับอาวุธต่อสู้กับรัฐเพราะกระบวนการยุติธรรมช่วยอะไรเขาไม่ได้ ใช่...ไม่มีใครรู้เรื่องเหล่านั้น


...แต่หากว่ารัฐหยิบเอานโยบายที่เคยใช้ปฏิบัติแบบเก่าๆ นำมาใช้อีกแล้วละก็ อีกไม่นาน...เราอาจจะรู้.

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net