Skip to main content
sharethis

ธีรมล บัวงาม


ขณะที่แฟรงแกนสไตน์เบิกทางให้กับการทดลองมนุษย์ในโลกวรรณกรรม การทดลองในมนุษย์ของโลกความเป็นจริงกลับเริ่มต้นจากการทดลองของฝ่ายนาซีในการคิดค้นวิธีการสังหารผู้คนในสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการวิจัย/ทดลองในมนุษย์ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการสาธารณสุข จนเรียกได้ว่า วิวัฒนาการทางการแพทย์ ยา เครื่องมือ วิธีการรักษา ล้วนพัฒนาจากการวิจัยที่ใช้มนุษย์เป็นเครื่องทดลองแทบทั้งสิ้น เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการวิจัยในคน หลายประเทศมีกฎหมายพิเศษเกี่ยวกับการวิจัยในคนโดยเฉพาะ เพื่อคุ้มครองผู้ถูกทดลอง และขณะเดียวกันเพื่อกำหนดความรับผิดของผู้วิจัย

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการทดลองในมนุษย์บัญญัติไว้โดยตรง มีเพียงข้อบังคับของแต่ละผู้ประกอบการในแต่ละวิชาชีพ เช่น ประกาศข้อบังคับของแพทยสภา แต่ละแห่งก็จะมีคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย และกฎเกณฑ์ของตัวเอง ไม่สอดคล้องกัน เมื่อไม่มีกฎหมายคุ้มครองผู้ที่ถูกวิจัย นักวิจัยก็สามารถทำกันได้โดยอิสระ โดยที่หลายครั้งผู้ถูกวิจัยไม่รู้เลยว่าตัวเองกำลังถูกวิจัยอยู่

ประเด็นนี้สอดคล้องกับข้อห่วงใยของ ศ.นพ.วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์ ที่ปรึกษาศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยธรรมศาสตร์ สถานการณ์ในปัจจุบันของประเทศไทยถือว่าค่อนข้างน่าเป็นห่วง บุคลากรในวงการวิชาชีพสาธารณสุขทราบดีว่า บริษัทอุตสาหกรรมการผลิตยาต่างประเทศมีความเชื่อมโยงกันอย่างไรกับการวิจัยและทดลองในมนุษย์ ขณะนี้บริษัทยาต่างประเทศเข้ามามีบทบาทมากกับการวิจัยในประเทศไทย ผู้ป่วยหลายรายที่อาจตกเป็นผู้ถูกวิจัยโดยไม่รู้ตัว เพราะเพียงแค่บริษัทยาว่าจ้างแพทย์ หรือเภสัชกรให้ทำการวิจัยยาชนิดหนึ่งขึ้นมา ก็สามารถทำได้ โดยที่คนถูกวิจัยไม่รู้เรื่อง เพราะยาทุกตัวต้องผ่านการทดลองในคน และหลังออกสู่ตลาดแล้วก็ต้องมีการทดสอบว่าได้ผลมากน้อยเพียงใด ประเทศไหนไม่มีกฎหมายก็จะดำเนินการได้โดยอิสระเสรี


พลิกตำราฝรั่งยกร่างพ...

จากข้อมูลศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (TCELS) ระบุถึงสถิติการวิจัยทางคลินิกในเอเชีย ตั้งแต่ปี 2543 - .. 2549 พบประเทศที่มีการวิจัยมากที่สุด คือ ไต้หวัน 450 เรื่อง จีน 182 เรื่อง อินเดีย 169 เรื่อง ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 7 มี 85 เรื่อง ทั้งนี้ ประมาณร้อยละ 70 ของการวิจัยทางคลินิกสนับสนุนโดยบริษัทยา อีกร้อยละ 30 สนับสนุนโดยภาครัฐ การทดลองในเอเชียส่วนใหญ่จะเป็นการทดลองในระยะที่ 3 ซึ่งเป็นการทดลองในมนุษย์จำนวนมาก และเป็นการทดลองระยะสุดท้ายก่อนที่จะนำผลการทดลองมาผลิตเป็นยาออกขาย


สำหรับประเทศไทย มีความเคลื่อนไหวในการร่างกฎหมายครั้งแรก เมื่อปี 2527 แต่ 10 ปีภายหลัง ร่างกฎหมายการทดลองในมนุษย์ก็ไม่ได้ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาในขณะนั้น เนื่องจากมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร์ก่อน กระทั่งปี 2548 คณะกรรมการพัฒนากฎหมาย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้นำขึ้นมาปัดฝุ่น โดยลอกและเลียนแบบรูปแบบองค์กรในต่างประเทศ พร้อมปรับชื่อเป็น ร่างพ...การวิจัยในมนุษย์ พ.ศ…. นำเสนอให้ภาคส่วนต่างๆ แสดงคิดความคิดเห็นเป็นครั้งแรก ณ โรงแรมมิราเคลแกรนด์คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ ในวันที่ 9 .. 2550

ล่าสุด 24 กรกฎาคม 2550 สำนักงานคณะกรรมการพิจารณาการศึกษาในคน กระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นอีกครั้ง และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นร่างพ...การวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ พ.ศ…โดยระบุวัตถุประสงค์ของการพัฒนากฎหมายเพื่อกำหนดสิทธิของผู้วิจัยและผู้ถูกวิจัยให้ชัดแจ้ง เพิ่มมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้รับการวิจัยอย่างเพียงพอ รองรับสถานะทางกฎหมายของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย กำหนดขั้นตอนในการขออนุญาตทำการวิจัยให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และกำหนดให้มีองค์กรที่มีหน้าที่รับผิดชอบชัดเจน


เปิดเนื้อหาร่างกม.วิจัยคน

ร่างพ....ใหม่ให้ความหมายของ "การวิจัยในที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์" ว่าเป็นกระบวนการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ที่ได้กระทำต่อร่างกายหรือจิตใจของบุคคล วัสดุสิ่งตรวจ น้ำคัดหลั่ง เนื้อเยื่อหรือสารพันธุกรรม เซลล์หรือส่วนประกอบของเซลล์ของมนุษย์ เวชระเบียน ฐานข้อมูลด้านสุขภาพใดที่ได้จากร่างของบุคคลที่อาจระบุถึงได้ และให้หมายความรวมถึง การศึกษาทางสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับชีวเวชศาสตร์ ซึ่งหมายความถึงการศึกษาวิจัยเภสัชผลิตภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ รังสีวิทยาและการถ่ายภาพทางการแพทย์ วิธีการผ่าตัด เวชระเบียนและการตรวจต่างๆ รวมทั้งการศึกษาวิจัยทางระบาดวิทยา สังคมและจิตวิทยา ย่อมต้องได้รับการคุ้มครอง

ภายใต้กฎหมายฉบับนี้จะผลักดันให้เกิดคณะกรรมการและองค์กรที่สำคัญ อาทิ
คณะกรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ทำหน้าที่รับขึ้นทะเบียนและเพิกถอนการขึ้นทะเบียนและกำหนดอำนาจหน้าที่และมาตรฐานการดำเนินการของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย พิจารณารายงานการสอบสวนของคณะกรรมการตรวจตราและมีคำสั่ง จัดประชุมเพื่อให้คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นโดยทั่วไปจากผู้รับการวิจัย ผู้วิจัย ผู้จัดการวิจัย และคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยประจำสถาบัน กำหนดค่าธรรมเนียมการวิจัยและวิธีการในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม เป็นต้น

คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย มีที่มาจากการคัดเลือกของสถาบันการวิจัยนั้นๆ ซึ่งได้รับการทะเบียนจากคณะกรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ทำหน้าที่พิจารณาให้ความเห็นชอบโครงการวิจัยในมนุษย์ และแจ้งผลการพิจารณาให้คณะกรรมการจริยธรรมรับทราบ

สำนักงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ มีหน้าที่เก็บรวบรวม วิเคราะห์การวิจัย รับผิดชอบด้านธุรการของคณะกรรมการ จัดให้มีทะเบียนคณะกรรมการจริยธรรม ฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย นักวิจัย บุคลากรในสถาบันการวิจัย ฯลฯ โดยมีสถานะเป็นหน่วยงานของรัฐภายใต้การกำกับของรัฐมนตรี และจัดตั้งกองทุนการวิจัยในมนุษย์ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายการบริหารกิจการของสำนักงานฯ มาจาก เงินประเดิมที่รัฐจัดให้ ค่าธรรมเนียมการขึ้นทะเบียนคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย เป็นต้น

คณะกรรมการตรวจตราการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ประกอบด้วยกรรมการทั้งสิ้น 5 คน มีเลขาธิการเป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รองอธิบดีกรมการแพทย์ซึ่งอธิบดีกรมการแพทย์มอบหมาย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านจริยธรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์จำนวน 2 คน โดยรัฐมนตรีแต่งตั้งและได้รับการคัดเลือกจากประธานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ทั้งหมดที่ได้ขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้เป็นกรรมการ และมีผู้อำนวยการสำนักตรวจตราการวิจัยในมนุษย์ เป็นกรรมการและเลขานุการ ทำหน้าที่ตรวจตรา เสนอแนะหรือให้ความช่วยเหลือ รวมถึงสั่งระงับการดำเนินงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยตามมาตรฐานที่คณะกรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์กำหนด

นันทน อินทนนท์ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง และตัวแทนคณะทำงานยกร่างกฎหมาย กล่าวถึงหลักการพื้นฐานของการวิจัยในมนุษย์ว่า การวิจัยในมนุษย์ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการจริยธรรมก่อนเสมอ โดยก่อนการคัดเลือกบุคคลเพื่อให้เข้าร่วมเป็นผู้รับการวิจัยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย และการวิจัยในมนุษย์ซึ่งจะกระทำต่อบุคคลใดจะต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากบุคคลนั้นหรือจากผู้มีอำนาจตามกฎหมายที่จะให้ความยินยอมแทน โดยมีเงื่อนไขว่าบุคคลนั้นต้องรับทราบและเข้าใจวัตถุประสงค์และกระบวนการวิจัย ตลอดจนความเสี่ยงและประโยชน์ที่พึงคาดหมายได้จากการเข้าร่วมวิจัย สำหรับกรณีที่การขอความยินยอมไม่สามารถดำเนินการได้และไม่มีปัญหาทางจริยธรรม หรือบุคคลนั้นไม่อาจให้ความยินยอมได้และไม่มีบุคคลผู้มีอำนาจตามกฎหมายที่จะให้ความยินยอมแทน การวิจัยในมนุษย์นั้นจะทำได้ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด

ส่วนการวิจัยในเด็กและผู้เยาว์นั้น ผู้เยาว์ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปอาจให้ความยินยอมตามวรรคหนึ่งได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์อาจให้ความยินยอมในการเข้ารับการวิจัยแทนผู้เยาว์ได้ แต่หากผู้เยาว์มีอายุตั้งแต่ 7 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ผู้แทนโดยชอบธรรมจะให้ความยินยอมโดยขัดกับเจตนาของผู้เยาว์นั้นมิได้ ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมการวิจัยสามารถถอนความยินยอมได้ทุกเมื่อ โดยไม่เป็นเหตุให้ต้องรับผิดใดๆ กรณีผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมแทน ผู้เยาว์จะเพิกถอนความยินยอมเองก็ได้ หรือ ผู้แทนโดยชอบธรรมเพิกถอน แม้ทั้งขัดกับเจตนาของผู้เยาว์

ตัวแทนคณะทำงานยกร่างกฎหมาย ย้ำถึงสิทธิของบุคคลในการเข้ารับการวิจัยตามพ...นี้ว่า (มาตรา5) บุคคลย่อมมีสิทธิเข้ารับการวิจัยหรือปฏิเสธไม่เข้ารับการวิจัยในมนุษย์โดยอิสระ (มาตรา 6) และมีสิทธิจะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการวิจัยที่ถูกต้อง ชัดแจ้งและเพียงพอที่จะตัดสินใจว่าจะเข้ารับการวิจัยหรือไม่ ผู้รับการวิจัยมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการวิจัยที่ถูกต้อง ชัดแจ้งและเพียงพอที่จะตัดสินใจเพิกถอนความยินยอมในการเข้าร่วมรับการวิจัย (มาตรา 7) ผู้รับการวิจัยมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของตนที่เกี่ยวข้องกับหรือได้มาจากการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์นั้น การเปิดเผยข้อมูลจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้งจากผู้รับการวิจัยหรือเมื่อมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ


เอกชนดันรัฐเดินหน้า-ปชช.ขอเวลาดึงรัฐทบทวน

ธีระ ฉกาจนโรดม นายกสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (PReMA) กล่าวว่า การวิจัยยาทางคลินิกต้องมีมาตรฐานตามระเบียบการวิจัยเข้มงวด และต้องผ่านคณะกรรมการจริยธรรมการทดลองในมนุษย์ก่อนจึงจะทดลองได้ ที่ผ่านมามีบริษัทยาจากสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น เข้ามาทดลองทางคลินิกในประเทศไทยประมาณ 200 ตำรับ เฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการวิจัยยาตำรับหนึ่งประมาณ 4 ล้านบาท มีเงินเข้าประเทศกว่า 800 ล้านบาท แต่ก็น้อยกว่าหลายประเทศ หากไทยอยากจะเลื่อนขึ้นไปอยู่ในอันดับต้นๆ ของประเทศที่บริษัทยาอยากมาทำวิจัย ต้องแก้ปัญหาการขออนุญาตทำการทดลองซึ่งมีระเบียบราชการที่ยุ่งยาก และต้องเตรียมความพร้อมของบุคลากรให้มากขึ้น

"
การวิจัยยาใหม่ในไทยเป็นยารักษาโรคมะเร็ง โรคตับ และโรคหลอดเลือดหัวใจ อย่าคิดว่าคนไทยเป็นหนูทดลอง เพราะมีการพิจารณาการวิจัยในคนอย่างรอบคอบ โครงการต้องมีความปลอดภัยจึงจะผ่านการพิจารณา" นายกสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ ระบุ

เมื่อพิจารณาสาระสำคัญของร่างกฎหมายและบริบทแวดล้อมต่างๆ อาทิ ท่าทีของ PReMA ข้างต้น กฎหมายที่ดูเหมือนเน้นไปที่การคุ้มครองพิทักษ์สิทธิของผู้ถูกวิจัย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าอีกด้านหนึ่งคือเอื้อประโยชน์ และอำนวยความสะดวกให้กับอุตสาหกรรมการวิจัยในมนุษย์เพิ่มขึ้น ดังนั้นประเด็นสำคัญจึงอยู่กฎหมายจะสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นจริงอย่างไร ระหว่างการพิทักษ์ปกป้องมนุษย์กับการความก้าวหน้าทางวิทยาการ

9
.. 2550 ที่ผ่านมา เครือข่ายภาคประชาชน /ภาคประชาสังคม ประกอบด้วย คณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ (กพอ.) คณะกรรมการที่ปรึกษาชุมชนศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย คณะกรรมการที่ปรึกษาชุมชนโครงการวัคซีนเอดส์ทดลองระยะที่ 3 คณะกรรมการที่ปรึกษาชุมชนคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล คณะกรรมการที่ปรึกษาชุมชนสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดเวทีแสดงความคิดเห็นต่อร่างพ...นี้เช่นกัน

สุภัทรา นาคะผิว ประธานคณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ (กพอ.) สรุปความว่า เครือข่ายฯสนับสนุนให้มีมาตรการทางกฎหมายต่อเรื่องนี้ และเห็นด้วยที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นพ...การวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ แต่กระนั้นการร่างกฎหมายต้องพิจารณาด้วยว่าประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองสิทธิชุมชนและสิทธิบุคคลที่เข้าร่วมการวิจัย โดยเฉพาะกลุ่มคนที่เปราะบางทางสังคม และถูกเลือกปฏิบัติได้ง่าย เช่น กลุ่มผู้ติดเชื้อ กลุ่มพนักงานบริการทางเพศ กลุ่มผู้ใช้ยาเสพติด หรือกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ มักจะตกเป็นเป้าหมายในการวิจัย และการศึกษาวิจัยในมนุษย์จำนวนมากยังขาดการมีส่วนร่วมของชุมชน ที่สำคัญความรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการศึกษาวิจัยในมนุษย์ของคนในสังคมยังมีข้อจำกัด ส่งผลให้เกิดความเข้าใจผิดและความร่วมมือในการวิจัยที่จำเป็น

ยิ่งไปกว่านั้นรัฐบาลไทยยังขาดนโยบายและจุดยืนที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเข้าไปมีส่วนร่วมในการวิจัยในมนุษย์ที่มีผลกระทบต่อประชาชนทั้งประเทศ เช่น การกำหนดจุดยืนที่จะทำให้ประชาชนเข้าถึงหรือได้รับผลิตภัณฑ์ ยา วัคซีน เวชภัณฑ์ เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการเจริญพันธุ์ เป็นไปได้หรือไม่ว่าหากการวิจัยของบริษัทต่างประเทศที่ใช้คนไทยเป็นตัวทดลองนั้นประสบความสำเร็จ เราควรจะมีสิทธิเป็นเจ้าของสิทธิบัตรร่วมกับโครงการวิจัย เป็นต้น

ดังนั้น การประชุมในวันที่ 9 ..ของภาคประชาชนจึงเสนอหลักการในการร่างกฎหมายการศึกษาวิจัยในมนุษย์ควรเป็นไปโดยถูกต้องตามหลักจริยธรรม มีความปลอดภัย เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิมนุษยชนของผู้ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้เข้าร่วมการวิจัย นักวิจัย และสิทธิชุมชน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการศึกษาวิจัยในมนุษย์อย่างแท้จริง มีหลักประกันผลประโยชน์ของชุมชนด้วย เพราะผู้รับการวิจัยไม่ได้อยู่ และตัดสินเข้าร่วมการวิจัยเพียงลำพัง

นอกจากนี้การพัฒนากลไกการควบคุม ดูแลการวิจัยในมนุษย์ โดยให้ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน และเพื่อแก้ปัญหาผลกระทบการวิจัยที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ควรสร้างพันธะความรับผิดชอบของโครงการวิจัยที่ต้องดูแลผู้เข้าร่วมการวิจัยและครอบครัวหรือผู้ได้รับผลกระทบจากการเข้าร่วมการวิจัย แม้การวิจัยจะสิ้นสุดลงแล้ว การดูแลควรเป็นระยะยาวไม่ใช่เพียง 3 ปีอย่างที่เป็นอยู่

ส่วนคำนิยาม "วิจัยมนุษย์" ฝ่ายภาคประชาชนเสนอให้มีการจำกัดว่า กระบวนการศึกษาวิจัยเป็นไปตามจริยธรรมและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ใหม่และเป็นความรู้ที่มีคุณค่า เป็นที่ยอมรับและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อชุมชน

และยังมีข้อเสนอถึงเรื่องสิทธิของบุคคลผู้เข้าร่วมวิจัยด้วยว่า เช่น บุคคลย่อมมีอิสระในการเข้าร่วมวิจัยหรือปฏิเสธไม่เข้าร่วมการวิจัย ได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับวิจัยที่ถูกต้องและรอบด้าน และได้รับผลิตภัณฑ์ยานั้นๆ หากประสบความสำเร็จ เป็นต้น


เพิ่มหมวดสิทธิชุมชน หวั่นคนชายขอบตกเป็น "เหยื่อ"



สุภัทรา เสริมว่า สิ่งที่ภาคประชาชนอยากเพิ่มเข้าไปในร่างพ...ฉบับนี้คือ หมวดสิทธิชุมชน เพราะการศึกษาวิจัยกับมนุษย์ ชุมชนย่อมเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่นเดียวกับโครงการพัฒนาต่างๆ ของรัฐ ดังนั้นจึงเสนอให้เพิ่มมาตรา เช่น ชุมชนย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจงและเหตุผลจากโครงการศึกษาวิจัยก่อนการอนุญาตหรือดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดๆที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพและคุณภาพชีวิต หรือส่วนได้ส่วนเสียอื่นใดที่เกี่ยวกับชุมชน

บุคคลและชุมชนมีสิทธิให้ความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในกระบวนการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่องตั้งแต่การคิด วางแผน ดำเนินการ กำกับ ดูแล ติดตามความคืบหน้าโครงการศึกษาวิจัย รวมถึงการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำการศึกษาวิจัยหากประสบความสำเร็จ

ผู้วิจัยต้องดำเนินกระบวนการเตรียมความพร้อมของชุมชนก่อนเริ่มดำเนินการวิจัยอย่างน้อย 1 ปี ให้มีกระบวนการในการประเมินผลกระทบทางสังคม วัฒนธรรม สุขภาพ สิ่งแวดล้อมต่อชุมชน โดยนักวิชาการอิสระและให้ชุมชนมีส่วนร่วมก่อนการพิจารณาให้ดำเนินโครงการวิจัยในมนุษย์ และรัฐต้องให้มีคณะกรรมการที่ปรึกษาจากชุมชนในทุกระดับ

นอกจากนี้ยังเสนอให้ลดสัดส่วนของคณะกรรมการวิจัยมนุษย์ ที่มาจากกระทรวงสาธารณสุข และให้เพิ่มสัดส่วนกรรมการจากกระทรวงอื่น ได้แก่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงแรงงาน เป็นต้น ที่สำคัญทั้งคณะกรรมการการวิจัยในมนุษย์ และคณะกรรมการตรวจตามควรเพิ่มสัดส่วนกรรมการจากภาคประชาสังคมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของกรรมการทั้งหมด โดยเฉพาะผู้แทนของกลุ่มคนที่มักจะเป็นกลุ่มเป้าหมายการวิจัย เช่น กลุ่มผู้ใช้ยา กลุ่มพนักงานบริการทางเพศ กลุ่มความหลากหลายทางเพศ กลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ กลุ่มผู้หญิง เป็นต้น

"
ตัวร่าง พ...สะท้อนให้เห็นว่าอยู่ในมุมที่จำกัดเฉพาะนักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านแพทย์ และบุคลากรทางสาธารณสุขเท่านั้น กลุ่มคนอื่นๆ ที่อยู่ในวงจรการวิจัยในมนุษย์และประชาชนทั่วไปแทบไม่ส่วนร่วมในการยกร่างกฎหมายตั้งแต่ต้น และประเด็นที่ตนไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งคือการกำหนดให้กองทุนการวิจัยในมนุษย์ถูกใช้เป็นค่าใช้จ่ายสำนักงานเพื่อการเผยแพร่งานวิจัยหรืออบรมจริยธรรม แต่ควรเป็นกองทุนสำหรับช่วยเหลือเบื้องต้นและกองทุนช่วยเหลือ/ชดเชยในระยะยาวแก่ผู้เข้าร่วมการวิจัยหรือผู้เกี่ยวข้อง หากเกิดความเสียหายหลังการวิจัยสิ้นสุดลงแล้ว และการวิจัยในมนุษย์ไม่ควรทำกับบุคคลที่ไม่อาจให้ความยินยอมได้ และไม่มีบุคคลผู้มีอำนาจตามกฎหมายที่จะให้ความยินยอมแทนด้วย" สุภัทรา กล่าวย้ำ

ถึงตรงนี้ไม่ว่าเราจะอยู่ ณ ตรงจุดไหน หรือคิดอย่างไรกับร่าง พ... คงปฏิเสธไม่ได้กฎหมายฉบับนี้ยังคงต้องการความคิดเห็น ต้องการเวทีในการสร้างการรับรู้ สร้างความเข้าใจกับคนในสังคมอีกมาก แม้กระทั่งในโลกยุคใหม่ที่ผู้คนทุ่มเทความสนใจให้กับพัฒนาความก้าวหน้าทางวิทยาการ พัฒนาหลักประกันความมั่นคงด้านต่างๆ ในการดำรงชีวิต เพราะการหาสมดุลระหว่างการพัฒนากับจริยธรรมและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มันจะยากเย็นเพียงใด

แต่กระนั้นมันก็ควรค่าแก่การค้นหามากกว่าการกล่าวหา หรือด่วนสรุปว่ากลุ่มคนที่ออกมาท้วงติง หรือคัดค้านกฎหมายฉบับนี้ เป็นพวกถ่วงความเจริญ ไม่ก้าวหน้า ฯลฯ.

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net