Skip to main content
sharethis

จากรายงานผลการสำรวจพื้นที่กัดเซาะชายฝั่งทะเลในฤดูมรสุมบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันตก ตั้งแต่จังหวัดชุมพรถึงจังหวัดปัตตานี ระหว่างเดือนธันวาคม 2549 - มกราคม 2550 ของสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาพปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งจังหวัดสงขลาและปัตตานี ก็อยู่ในสภาพที่เลวร้ายไม่แพ้นจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช


 


จังหวัดสงขลา


จังหวัดสงขลา มีความยาวประมาณ 160 กิโลเมตร พบชายฝั่งที่มีการกัดเซาะรุนแรง 4 กิโลเมตร กัดเซาะปานกลาง 33 กิโลเมตร ส่วนชายฝั่งสะสมตัวประมาณ 31.5 กิโลเมตร มีผลกระทบไม่มากนัก


ชายฝั่งที่มีการเปลี่ยนแปลงส่วนมากจะอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัดตั้งแต่อำเภอเมืองขึ้นไป ซึ่งเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์เป็นหลัก ปัจจุบันการพังทลายของชายฝั่งได้เกิดขึ้นทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณปากทะเลสาบสงขลา ซึ่งเป็นที่ตั้งของท่าเรือน้ำลึกสงขลา นอกจากนั้นเป็นเขื่อนกันทรายและคลื่นบริเวณปากคลองต่างๆ เช่น คลองนาทับ คลองสะกอม และคลองเทพา


สำหรับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งทะเลรุนแรง 7 พื้นที่ (รูปที่ 55) คือ


1.ชายหาดตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา


2.หาดทรายแก้ว ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา


3.บ้านเก้าเส้ง ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา


4.บ้านเกาะถ้ำ ตำบลเขารูปช้าง จังหวัดสงขลา


5.ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา 


6.บ้านปากบางสะกอม ตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา


7.บ้านปากน้ำเทพา ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา


 


 



 


รูปที่ 55  ตำบลชายฝั่งทะเลของจังหวัดสงขลาที่ได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่ง


 


1. ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา


ลักษณะเป็นจุดสูบน้ำทะเลเข้าบ่อกุ้งของเอกชน ในชุมชนบ่อโพธิ์พัฒนา ตำบลบ่อตรุ โดยสร้างเป็นรอดักทรายแบบหินทิ้ง ขนาดกว้างประมาณ 10 เมตร ยื่นออกไปในทะเลประมาณ 30 เมตร (รูปที่ 56)


 

 



 



 


รูปที่ 56 สภาพการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณชายหาดตำบลบ่อตรุ


 


ชายหาดตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา (ต่อ)


            โครงสร้างดังกล่าว ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรงทางด้านเหนือเป็นระยะทางประมาณ 200 เมตร (รูปที่ 57)


 



 


 


รูปที่ 57 การกัดเซาะชายฝั่งที่เกิดจากรอดักทรายแบบหินทิ้ง


 


ชายหาดตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา (ต่อ)


            ลักษณะการดักทรายไว้ทางด้านใต้ของโครงสร้าง และการขาดตะกอนทรายบริเวณด้านเหนือของโครงสร้าง ทำให้ชายฝั่งพยายามปรับตัวและเกิดการกัดเซาะชายฝั่งขึ้น (รูปที่ 58)


 



 



 


รูปที่ 58        การสะสมตัวและการขาดทรายบริเวณโครงสร้างชายฝั่งแบบรอดักทรายหินทิ้ง


 


2. หาดทรายแก้ว ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา


เขื่อนกันทรายและคลื่นบริเวณปากทะเลสาบสงขลา เป็นส่วนหนึ่งของโครงการท่าเทียบเรือน้ำลึกสงขลา ซึ่งมีการก่อสร้างขยายเพิ่มเติมเขื่อนกันทรายและคลื่นออกมาในทะเล (รูปที่ 59) พบการกัดเซาะชายฝั่งด้านเหนือโครงสร้างประมาณ 3 กิโลเมตร บริเวณวัดหาดทรายแก้ว พื้นที่หายไปมากกว่า 80 ไร่ (รูปที่ 60)



 



 


รูปที่ 61        พื้นที่กัดเซาะชายฝั่งด้านเหนือโครงสร้างตลอดแนวหาดทรายแก้ว


 


3. บ้านเก้าเส้ง ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา


เขาเก้าเส้ง เป็นภูเขาหินแกรนิตตั้งอยู่ริมทะเลเป็นจุดกำเนิดของหาดเก้าเส้ง (รูปที่ 62) และการก่อสร้างรอดักทรายรูปตัวทีที่ชุมชนชาวประมงบ้านเก้าเส้ง พบการกัดเซาะรุนแรงด้านเหนือที่เขตป่าชายหาด (รูปที่ 63)


 


 



 


รูปที่ 62        เขาเก้าเส้ง เป็นภูเขาหินแกรนิตตั้งอยู่ริมทะเลเป็นจุดกำเนิดของหาดเก้าเส้ง


 



 



 


รูปที่ 63        พื้นที่กัดเซาะด้านเหนือรอดักทรายรูปตัวทีในบริเวณป่าชายหาด (แนวต้นสน)


 


บ้านเก้าเส้ง ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา (ต่อ)


การป้องกันและแก้ไขการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณหาดบ้านเก้าเส้ง เทศบาลนำกระสอบทรายมาถมเพิ่มเติมทุกปี (รูปที่ 64) รวมทั้งการถมหินเพิ่มในบริเวณแนวต้นสน (รูปที่ 65)


 



 


รูปที่ 64        การป้องกันและแก้ไขพื้นที่กัดเซาะชายฝั่งบริเวณหาดบ้านเก้าเส้ง


โดยการใช้กระสอบทรายถม


 



 


รูปที่ 65        การป้องกันและแก้ไขพื้นที่กัดเซาะชายฝั่งบริเวณหาดบ้านเก้าเส้งโดยการใช้ถมหิน


 


บ้านเก้าเส้ง ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา (ต่อ)


รอดักทรายรูปตัวทีที่หาดเก้าเส้ง (รูปที่ 66) สามารถป้องกันชายฝั่งในบริเวณพื้นที่ที่ตั้งได้ แต่ส่งผลกระทบต่อการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ถัดไปเป็นระยะทางยาวมากกว่า 200 เมตร (รูปที่ 67)


 



 


รูปที่ 66        ความรุนแรงของคลื่นที่ปะทะรอดักทรายรูปตัวทีบริเวณหาดบ้านเก้าเส้ง


 



 


รูปที่ 67        ผลกระทบต่อการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ถัดไปจากรอดักทรายรูปตัวที


 


4. บ้านเกาะถ้ำ ตำบลเขารูปช้าง จังหวัดสงขลา


เป็นพื้นที่ต่อเนื่องจากเขาเก้าเส้งลงมาทางใต้ พบการกัดเซาะชายฝั่งตลอดแนวชายฝั่ง บริเวณถนนเลียบทะเลทางไป อบต.เขารูปช้าง จากรายงานของ TUDelft (1999) ระบุว่ามีสาเหตุมาจากการลักลอบขุดทรายจำนวนมากจากชายฝั่ง (รูปที่ 68)


 



 



 


รูปที่ 68        ลักษณะการกัดเซาะชายฝั่งบ้านเกาะถ้ำ


 


บ้านเกาะถ้ำ ตำบลเขารูปช้าง จังหวัดสงขลา (ต่อ)


โครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งที่พบในบริเวณนี้ เป็นแนวป้องกันการกัดเซาะและท่อระบายน้ำบริเวณหน้าโรงงานปลาป่น (รูปที่ 69)


 



 



 

รูปที่ 69        โครงสร้างป้องกันการกัดเซาะและท่อระบายน้ำบริเวณโรงงานปลาป่น


 


บ้านเกาะถ้ำ ตำบลเขารูปช้าง จังหวัดสงขลา (ต่อ)


ลักษณะการกัดเซาะชายฝั่งที่เกิดขึ้น พบด้านเหนือของโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งและท่อระบายน้ำบริเวณโรงงานปลาป่น (รูปที่ 70)


 



 


รูปที่ 70        ลักษณะการกัดเซาะชายฝั่งที่เกิดขึ้นบริเวณด้านเหนือของโรงงานปลาป่น


 


บ้านเกาะถ้ำ ตำบลเขารูปช้าง จังหวัดสงขลา (ต่อ)


การป้องกันและแก้ไขการกัดเซาะชายฝั่งในบริเวณบ้านเกาะถ้ำ ตำบลเขารูปช้างนั้น อบต.เขารูปช้างเริ่มนำหินมากองริมชายฝั่ง เพื่อเตรียมการปรับถมทะเลเพื่อป้องกันแนวถนน (รูปที่ 71)


 



 



 


รูปที่ 71 อบต.เขารูปช้างนำหินมาปรับถมทะเลเพื่อป้องกันแนวถนน


 


5. ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา 


การกัดเซาะชายฝั่งด้านเหนือของเขื่อนกันทรายและคลื่นปากคลองนาทับ (รูปที่ 72) พบการกัดเซาะเป็นทางยาวส่งผลกระทบต่อถนนเลียบชายฝั่งไปนาทับขาดเสียหายไม่สามารถใช้สัญจรได้ (รูปที่ 73)


 



 


รูปที่ 72        พื้นที่กัดเซาะชายฝั่งด้านเหนือเขื่อนกันทรายและคลื่นปากคลองนาทับ


 



 


รูปที่ 73        แนวถนนเลียบชายฝั่งนาทับถูกกัดเซาะเสียหาย


 


 


รูปที่ 74        สภาพถนนเลียบชายฝั่งนาทับที่ถูกกัดเซาะเสียหาย


 



 


รูปที่ 75        การกัดเซาะชายฝั่งรุนแรงบริเวณถนนนาทับลึกประมาณ 50 เซนติเมตร


 


 


ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา (ต่อ)


ชุมชนบ้านปึกเป็นชุมชนชายทะเล มีมัสยิดบ้านปึกและกุโบอยู่ริมทะเล ซึ่งถูกกัดเซาะมาอย่างต่อเนื่องจนเข้ามาถึงเขตกุโบ (รูปที่ 76) สภาพแนวเขื่อนคอนกรีตยาว 100 เมตรที่กั้นกุโบเสียหาย (รูปที่ 77)


 


 


รูปที่ 76        สภาพการกัดเซาะชายฝั่งที่ชุมชนบ้านปึก


 



 


รูปที่ 77        ความเสียหายของเขื่อนคอนกรีตกั้นกุโบบริเวณชุมชนบ้านปึก


 


ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา (ต่อ)


สภาพความรุนแรงของคลื่นที่เข้าปะทะแนวเขื่อนคอนกรีตที่กุโบของชุมชนบ้านปึก (รูปที่ 78) และผลกระทบบริเวณด้านเหนือของแนวเขื่อนคอนกรีต ซึ่งทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ถัดไป (รูปที่ 79)


 



 


รูปที่ 78        ความรุนแรงของคลื่นที่เข้าปะทะเขื่อนคอนกรีตบริเวณกุโบชุมชนบ้านปึก


 



 


รูปที่ 79        การกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ด้านเหนือเขื่อนกั้นกุโบชุมชนบ้านปึก


 


6. บ้านบ่อโชน ตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา


ลักษณะการกัดเซาะชายฝั่งด้านเหนือเขื่อนกันทรายและคลื่นปากคลองสะกอม (รูปที่ 80) พบการสูญเสียพื้นที่ชายฝั่งทะเลตลอดแนวชายฝั่ง (รูปที่ 81)


 



 


รูปที่ 80        พื้นที่กัดเซาะชายฝั่งด้านเหนือเขื่อนกันทรายและคลื่นปากคลองสะกอม


 



 


รูปที่ 81        การกัดเซาะแนวชายฝั่งตำบลสะกอมเป็นระยะทางยาว


 


บ้านบ่อโชน ตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา (ต่อ)


พื้นที่ที่ถูกกัดเซาะด้านเหนือของเขื่อนกันทรายและคลื่นปากคลองสะกอม ทำให้สูญเสียพื้นที่ชายฝั่งเป็นทางยาวหลายกิโลเมตร (รูปที่ 82) ลักษณะการกัดเซาะพื้นที่ริมทะเลลึกมากกว่า 80 เมตร (รูปที่ 83)



 


รูปที่ 82        การสูญเสียพื้นที่ชายฝั่งบริเวณด้านเหนือเขื่อนกันทรายและคลื่นปากคลองสะกอม


 



 


รูปที่ 83  การกัดเซาะแนวชายฝั่งตำบลสะกอมลึกเข้าไปมากกว่า 80 เมตร เป็นระยะทางยาว


 

7. บ้านปากน้ำเทพา ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา


เขื่อนกันทรายและคลื่นปากคลองเทพา (รูปที่ 84) มีลักษณะเช่นเดียวกับปากคลองอื่นๆ พบพื้นที่กัดเซาะด้านเหนือขึ้นไป (รูปที่ 85)


 



 

รูปที่ 84        เขื่อนกันทรายและคลื่นปากคลองเทพา


 



 


รูปที่ 85        การสูญเสียพื้นที่ชายฝั่งบริเวณด้านเหนือเขื่อนกันทรายและคลื่นปากคลองเทพา


 


จังหวัดปัตตานี


จังหวัดปัตตานี มีพื้นที่ชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 135 กิโลเมตร มีชายฝั่งถูกกัดเซาะรุนแรง 11 กิโลเมตร กัดเซาะปานกลาง 12.5 กิโลเมตร ชายฝั่งสะสมตัว 6 กิโลเมตร


ส่วนมากเป็นการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งตามสภาพธรรมชาติ ยกเว้นในบางพื้นที่ที่มีโครงสร้างชายฝั่ง


สำหรับพื้นที่ที่มีการกัดเซาะคือ


1.         บ้านตันหยงเปาว์ ตำบลท่ากำชำ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี


2.         บ้านตะโล๊ะสะมิแล ตำบลแหลมโพธิ์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี


3.         ชายหาดปะนาเระ ตำบลปะนาเระ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี


 


 


1. บ้านตันหยงเปาว์ ตำบลท่ากำชำ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี


แนวชายฝั่งอยู่ในแนวตะวันออก - ตะวันตก พบการกัดเซาะบริเวณพื้นที่ด้านตะวันตกของเขื่อนกันทรายและคลื่นปากคลองตันหยงเปาว์ (รูปที่ 87) รุนแรง อัตราการกัดเซาะมากกว่า 10 เมตรต่อปี (รูปที่ 88)


 



 


รูปที่ 88        การสูญเสียพื้นที่ชายฝั่งบริเวณด้านตะวันตกของเขื่อนกันทราย


และคลื่นปากคลองตันหยงเปาว์


 


 


รูปที่ 89        เขื่อนคอนกรีตที่ อบต.ท่ากำชำสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง


 


บ้านตันหยงเปาว์ ตำบลท่ากำชำ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี (ต่อ)


การกัดเซาะชายฝั่งมีต่อเนื่องรุนแรงทุกปี และเข้าถึงเขตโรงเรียนบ้านตันหยงเปาว์ การแก้ไข อบต.ท่ากำชำ ได้จัดงบประมาณมาสร้างเขื่อนยาว 188 เมตร (รูปที่ 89) ปัจจุบันแตกเสียหายแล้ว (รูปที่ 90)


 



 


รูปที่ 90        สภาพความเสียหายของเขื่อนคอนกรีตหลังช่วงมรสุม


 



 


รูปที่ 91        สภาพการกัดเซาะชายฝั่งด้านตะวันตกของเขื่อนคอนกรีตหลังช่วงมรสุม


 


บ้านตันหยงเปาว์ ตำบลท่ากำชำ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

(ต่อ)

นอกจากความเเสียหายของเขื่อนคอนกรีตที่ อบต.ท่ากำชำ ได้มาจัดสร้างแล้ว พื้นที่ถัดจากเขื่อนจะพบการกัดเซาะที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น (รูปที่ 91)


 



 



 


รูปที่ 92        สภาพการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณสันทรายริมถนนทางไปแหลมตาชี


 


2. บ้านตะโล๊ะสะมิแล ตำบลแหลมโพธิ์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี


เป็นเส้นทางไปแหลมตาชี พบการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรง อัตราประมาณ 5 เมตร ทำลายแนวสันทรายธรรมชาติ (รูปที่ 92) และส่งผลกระทบต่อถนนเส้นทางไปแหลมตาชี (รูปที่ 93)


 



 



 


รูปที่ 93        สภาพความเสียหายของถนนเลียบทะเลหลังช่วงมรสุม


 


3. ชายหาดปะนาเระ ตำบลปะนาเระ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี


สาเหตุของการกัดเซาะเกิดจากคลื่นลมที่เปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล ประกอบกับชายฝั่งเป็นหาดทรายที่ยังไม่คงสภาพ การเปลี่ยนแปลงจึงเกิดขึ้นได้ง่าย (รูปที่ 94)


 



 



 


รูปที่ 94        การเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งตามกระบวนการธรรมชาติ บริเวณหาดปะนาเระ


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net