Skip to main content
sharethis

ฮ่องกง - 1 มี.ค.50  กรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียเปิดเว็บไซต์ใหม่เรียกร้องให้ยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินที่บังคับใช้ในสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย  



"
พรก. ฉบับนี้อนุญาตให้ทหารและตำรวจควบคุมตัว  กักตัว ทรมาน และฆ่า ได้โดยไม่ต้องรับการลงโทษ"  บาซิล  เฟอร์นานโด  ผู้อำนวยการขององค์กรสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคเอเชีย ที่มีสำนักงานที่ฮ่องกง กล่าวในการเปิดตัวเว็บไซต์ใหม่นี้


 


"กฎหมายฉบับนี้ผิดหลักการทางกฎหมายตามมาตรฐานสากล และพวกเราร้องเรียนให้รัฐบาลไทยยกเลิกกฎหมายฉบับนี้"

พ.ร.ก. ฉุกเฉินฉบับนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2548  และจะต้องทบทวนเพื่อต่อเวลาการบังคับใช้พ.ร.ก. ฉบับนี้ทุก 3 เดือน


กฎหมายฉบับนี้ริเริ่มและประกาศใช้โดยรัฐบาลของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร และมีการต่ออายุการบังคับใช้ไปแล้วสองครั้งในรัฐบาลทหารที่ยึดอำนาจในการปกครองประเทศไปตั้งแต่วันที่ 19 กันยายนที่ผ่านมา


ในเว็บไซต์ใหม่นี้  http://thailand.ahrchk.net/edecree/ จะมีการนำวันที่พ.ร.ก. ฉบับนี้มีผลบังคับใช้ และจำนวนครั้งที่มีการต่ออายุเวลาการบังคับใช้ ปัจจุบันมีการต่ออายุพ.ร.ก.ฉบับนี้ไปแล้ว 8 ครั้ง


โดยครั้งต่อไปจะมีการต่ออายุพรก.ฉบับนี้อีกในวันที่ 17 เม.ย.50

เว็บไซต์ประกอบไปด้วยกฎหมายพ.ร.ก. ข้อวิพากษ์วิจารณ์ในข้อบทบัญญัติที่ ผู้รายงานพิเศษเรื่องการฆ่านอกระบบกฎหมายได้วิจารณ์ไว้  และรวมถึงเนื้อหาที่ทางกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (AHRC) ได้เผยแพร่รณรงค์ต่อต้านพ.ร.ก.ฉบับนี้

ผู้แทนพิเศษขององค์การสหประชาชาติได้กล่าวไว้ว่า  "พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉินทำให้ทหารและตำรวจไม่ต้องรับผิดชอบต่อการฆาตกรรม"

ในเว็บไซด์ก็ยังประกอบไปด้วยรายงานของกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติที่ระบุถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในภาคใต้ และข้อเสนอแนะในการปฏิรูประบบกระบวนการยุติธรรมและโครงสร้างต่าง ๆ



"
รัฐบาลไม่ได้นำข้อเสนอแนะของกรรมการสมานฉันท์ไปใช้เลย" บาซิล เฟอรนันโดกล่าว

"
ความจริงแล้วกอส. ได้เน้นย้ำแล้วว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเกิดจากความไม่ยุติธรรมที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ ทั้งในแง่ วัฒนธรรมและศาสนาที่มีความแตกต่างแล้วยังผสมไปด้วยกับความไม่เอาใจใส่ของรัฐบาลต่อปัญหาความขัดแย้งดังกล่าว"บาซิล เฟอรนันโด   กล่าว

 "
จะเป็นประโยชน์อะไรในการตั้งกรรมการสมานฉันท์ขึ้นมา ถ้าสิ่งที่กอส พยายามจะนำเสนอไม่ได้ถูกนำไปใช้เลย"  บาซิล เฟอรนันโด  กล่าว

เขาเพิ่มเติมด้วยว่า ขณะเดียวกันนี้กฎอัยการศึก มีผลบังคับใช้ในพื้นที่กว่า 50% ของประเทศไทย


รัฐบาลทหารนำการจัดการกับความมั่นคงในสมัยสงครามเย็นมาใช้ใหม่เพื่อตอบโต้กับผู้ก่อการที่ฝังตัวในหมู่บ้านและอธิบายว่าเป็นการปฏิบัติการเพื่อการรักษาภัยคุกคามต่อชาติ  


  


กรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียขอต่อต้านการรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน 1 เดือนหลังจากการยึดประเทศ AHRC ได้ออกเอกสารจำนวน 27 หน้า ระบุถึงผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและหลักนิติรัฐ นิติธรรมของไทยและภูมิภาคเอเชียไปแล้วโดยดูได้จาก
http://thailand.ahrchk.net/docs/AHRC_Thailand_Coup_2006.pdf.

ในเดือนพฤศจิกายนก็ได้ออกเอกสารเปรียบเทียบระหว่างความจริงและความลวงในการรัฐประหาร  โดยดูได้จาก  http://thailand.ahrchk.net/fiction-fact

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net