Skip to main content
sharethis


ธีรมล บัวงาม
สำนักข่าวประชาธรรม


วันที่ 7 ..2549 ที่จะถึงนี้กระทรวงพลังงานจะเปิดเวทีประชาพิจารณ์แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย 2550-2564 หรือแผนพีดีพี 2007 ซึ่งคาดการณ์ได้ว่าเวทีรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนในวันนั้นคงหนีไม่พ้นรูปแบบการสัมมนาที่เพียบพร้อมไปด้วย "ผู้เชี่ยวชาญ" สลับกันขึ้นมานำเสนอทิศทางพลังงานไฟฟ้าใน 15 ปีข้างหน้าอย่างแข็งขัน หรืออาจตบท้ายด้วยการแสดงความคิดเห็นของประชาชน หรือองค์กรที่เห็นต่างกับทิศทางพลังงานที่กระทรวงพลังงานมุ่งหมายบ้างพอเป็นพิธี เฉกเช่นการทำประชาพิจารณ์เพื่อสร้างความชอบธรรมดังในอดีต


เดิมทีเวที

"นำเสนอ" แผนงานของกระทรวงพลังงานถูกกำหนดให้จัดขึ้นในวันที่ 31 .. แต่ครั้นนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน สั่งการให้ กฟผ.ยืนยันความพร้อมในการกำหนดสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงถ่านหินและก๊าซ ในอัตราส่วน 50/50 (เพิ่มจากแผนพีดีพี 2006 ซึ่งกฟผ.เสนอให้มีการผลิตไฟฟ้าปี 2554-2558 ประมาณ 11,400 เมกะวัตต์ ไม่นับโรงไฟฟ้าของ กฟผ.ที่จะหมดอายุลง โดยมีสัดส่วนถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ ในอัตราส่วน 40/40 และรับซื้อจากเพื่อนบ้านร้อยละ 20) พร้อมทั้งให้ศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างโรงไฟฟ้าจากนิวเคลียร์และบรรจุไว้ในแผนพีดีพี 2007 นับจากนั้นหน่วยงานทั้งหลายก็ปรับขบวนกันยกใหญ่ จนออกมาเป็น 3 แนวทาง "บังคับเลือก" เพื่อเสนอให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นในวันที่ 7 ..นี้

แนวทางที่

1 กำหนดระยะเวลารับซื้อไฟจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (เอสพีพี) ปี 2555-2563 มีกำลังการผลิต 1,700 เมกะวัตต์ โดยจะมีโรงไฟฟ้าถ่านหินโรงแรกเข้าปี 2557 ขั้นต่ำ 2,100 เมกะวัตต์ และปี 2558 อีก 2,800 เมกะวัตต์ และระหว่างปี 2559-2564 อีก 16,800 เมกะวัตต์ ตลอดแผนนี้จะมีโรงไฟฟ้าก๊าซเพียง 3,500 เมกะวัตต์ และถ่านหิน 21,700 เมกะวัตต์

แนวทางที่

2 ต่อยอดจากแนวทางที่ 1 โดยหลังจากซื้อไฟต่างประเทศและเอสพีพีแล้ว จะต้องพิจารณาจำนวนโรงไฟฟ้าถ่านหิน ให้สอดคล้องกับสถานที่ก่อสร้าง โดยโรงไฟฟ้าถ่านหินจะเข้าสู่ระบบในปี 2557 จำนวน 700 เมกะวัตต์ ปี 2558 เพิ่มขึ้น 1,400 เมกะวัตต์ และในปี 2559 เพิ่มขึ้นอีก 700 เมกะวัตต์ สรุปแผนนี้จึงมีโรงไฟฟ้าถ่านหิน 3 โรง รวม 2,800 เมกะวัตต์ แต่โรงไฟฟ้าก๊าซจะมีกำลังผลิตทั้งสิ้น 22,400 เมกะวัตต์

แนวทางที่

3 พิจารณานำโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์มาคัดเลือกเข้าแผน โดยในปี 2563 จะมีขนาดกำลังผลิต 2,000 เมกะวัตต์ และในปี 2564 อีก 3,000 เมกะวัตต์ รวมผลิตทั้งสิ้น 5,000 เมกะวัตต์ ขณะที่โรงไฟฟ้าถ่านหินจะเริ่มเข้ามาปี 2557 ขนาดผลิต 2,100 เมกะวัตต์ ปี 2558 ขนาด 2,800 เมกะวัตต์ และตั้งแต่ปี 2559-2564 รวมอีก 12,600 เมกะวัตต์ รวมเป็นกำลังผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินตั้งแต่ปี 2557-2563 จำนวน 17,500 เมกะวัตต์ ขณะที่โรงไฟฟ้าก๊าซจะมีกำลังผลิตรวม 3,500 เมกะวัตต์

แนวทางทั้งหมดที่จะหยิบมาพิจารณานั้น จึงบ่งบอกถึงเจตนาของกระทรวงพลังงานได้อย่างชัดแจ้งว่า แม้ไทยจะมีศักยภาพด้านพลังงานหมุนเวียนอย่างมหาศาล หรือแม้จะเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกที่ทำให้เกิดการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ช่วยแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก ช่วยลดความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชนได้มากแค่ไหน มันก็ยังไม่สำคัญเท่าการใช้พลังงานสกปรกอยู่ดี


ย้อนกลับไปเมื่อปลายปีที่ผ่านมา กลุ่มพลังไท และกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ร่วมกันนำเสนอรายงาน

"กระจายศูนย์การผลิตไฟฟ้าไทย: สู่ระบบพลังงานที่ยั่งยืน" โดยชี้ให้เห็นว่าไทยสามารถบรรลุความต้องการด้านพลังงานในอนาคตได้จากระบบการผลิตไฟฟ้าแบบกระจายศูนย์ โดยการเน้นการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้พลังงานหมุนเวียนที่สะอาดมากขึ้น และประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการวางพีดีพี

รายงานนี้ถูกนำเสนอในช่วงเวลาเดียวกับการประชุมนานาชาติเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกที่กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา ซึ่งตัวแทนรัฐบาลทั่วโลกได้อภิปรายอย่างดุเดือดถึงมาตรการลดผลกระทบและปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ประเด็นที่ร้อนแรงที่สุดประเด็นหนึ่งในที่ประชุมดังกล่าวคือการลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลลงอย่างขนานใหญ่จากระบบพลังงานของโลกเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันเป็นสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


ธารา บัวคำศรี ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชี้ประเด็นว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องที่ทำให้ประเทศไทยตกอยู่บนทางแพร่งที่ต้องเลือกในด้านพลังงาน เราจำเป็นต้องยึดติดอยู่กับระบบการผลิตไฟฟ้าแบบรวมศูนย์ดั้งเดิมที่ต้องพึ่งพาถ่านหินและก๊าซเท่านั้น หรือจะมุ่งไปสู่การใช้พลังงานหมุนเวียนที่สะอาดมากขึ้น


"

เมื่อรัฐบาลชุดใหม่มีความต้องการที่จะปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด และเอื้ออำนวยให้เกิดมาตรการด้านการใช้พลังงานอย่างประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน คำถามที่ยังคงมีอยู่คือ ผู้นำของเรามีเจตจำนงทางการเมืองที่จะลดการพึ่งพาใช้พลังงานฟอสซิลลงและลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศหรือไม่"

รายงานดังกล่าวได้ตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานของแหล่งผลิตพลังงานที่มีอยู่ โอกาสของทางเลือกที่สะอาดและเหนือกว่าในเชิงเศรษฐกิจ รวมทั้งตั้งประเด็นเชิงวิจารณ์ต่อกระบวนการวางแผนและการปฏิบัติของรัฐบาลอย่างจริงจังซึ่งสนับสนุนการลงทุนในพลังงานสกปรกและไม่สนใจการพัฒนาพลังงานสะอาด โดยระบุว่า แผนพีดีพีของกฟผ

.ขาดประสิทธิภาพและเน้นการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ทั้งที่ไทยมีศักยภาพในการตอบสนองความต้องการด้านพลังงานงานในอนาคต ด้วยการใช้แผนพลังงานแบบบูรณาการและกระจายศูนย์ ซึ่งประกอบด้วยประสิทธิภาพด้านพลังงาน พลังงานหมุนเวียนที่สะอาด และระบบการผลิตร่วมไฟฟ้า - ความร้อนที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ไม่จำเป็นต้องมีโครงการผลิตไฟฟ้าถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติแบบรวมศูนย์ และลดการนำเข้าไฟฟ้าพลังงานจากประเทศเพื่อนบ้าน

นอกจากนี้ อุปสรรคที่ทำให้พลังงานหมุนเวียนไม่ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มศักยภาพ เช่นเดียวกับความสามารถของประเทศในการลดความต้องการพลังงานนั้น และการนำเทคโนโลยีเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีประสิทธิภาพมากกว่ามาใช้ อาทิ การผลิตร่วมไฟฟ้า

-ความร้อน โดยงานวิจัยชี้ว่ามีเหตุปัจจัย ดังนี้ 1. ระบบกำกับดูแลกิจการไฟฟ้าถูกบิดเบือน และส่งเสริมการขยายกำลังการผลิตและการพึ่งเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีราคาผันผวนมากเกินไป โดยไม่คำนึงถึงผลตอบแทนจากการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ 2. มติครม.ขัดขวางการแข่งขัน เพราะให้สิทธิการผลิตไฟฟ้าใหม่กว่าร้อยละ 50 เป็นอำนาจกฟผ. 3. การตัดสินใจผ่ายเดียวของกฟผ.ในปี 2541 ที่ยุติการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงผลิตร่วมไฟฟ้า-ความร้อนแบบกระจายศูนย์รายใหม่เข้าระบบ 4. ผลประโยชน์ทับซ้อน เนื่องจากการมีอำนาจควบคุมเหนือระบบส่งไฟฟ้าของกฟผ. 5. แนวโน้มการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าเกินความต้องการที่ผ่านมาของคณะอนุกรรมการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า ซึ่งทำให้เกิดการลงทุนในโรงไฟฟ้าแบบเดิมมากเกินไป 6. กระบวนการในการวางแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าที่ไม่โปร่งใส ละเลยการพิจารณาทางเลือกที่คุ้มทุนด้านเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ และไม่เปิดให้มีการตรวจสอบของผู้มีส่วนได้เสียจากภายนอก

ส่วนนโยบายพลังงานของประเทศในอนาคตนั้น รายงานเสนอให้ มีการปฏิรูปกระบวนการวางแผนด้านพลังงานไฟฟ้า เพื่อให้เป็นกระบวนการวางแผนทรัพยากรแบบบูรณาการ มีการกำกับดูแลโดยคณะกรรมการและมีการพิจารณาทางเลือกทั้งหมด ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะทำให้หน่วยงานด้านพลังงานต้องเลือกทางเลือกที่ก่อให้เกิดภาระด้านเศรษฐกิจต่ำสุดต่อสังคม ตรงกันข้ามกับกฟผ

.ที่มักเลือกทางที่ก่อให้เกิดต้นทุนกับตนเองน้อยที่สุด พร้อมทั้งนี้ ควรมีการประเมินอย่างรอบด้านถึงต้นทุนผลกระทบภายนอกของเชื้อเพลิงและเทคโนโลยีการผลิตพลังงานประเภทต่างๆ

อีกทั้งต้องเพิ่มเป้าหมายพลังงานหมุนเวียนจากร้อยละ

8 ในปี 2554 เป็นร้อยละ 10 ภายใน ปี 2553 และนำระบบประกันราคารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เพื่อส่งเสริมการกระจายตัวของพลังงาน นอกจากนั้น ควรมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายโดยให้การอนุรักษ์พลังงานเป็นวาระด้านพลังงานที่สำคัญที่สุด และกำจัดอุปสรรคที่ขัดขวางการพัฒนาการผลิตร่วมไฟฟ้า-ความร้อนใหม่ที่เหมาะสมออกไป รวมถึงก่อตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการดูแลกิจการไฟฟ้าที่มีความสามารถเป็นธรรมและเป็นอิสระ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่หลักในการกำกับดูแลให้การตัดสินใจในภาคพลังงานเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ และมีอำนาจทางกฎหมายอย่างเพียงพอที่จะบังคับให้มีการปฏิบัติตามการตัดสินใจนั้น

คริส กรีเซน กลุ่มพลังไท นักวิชาการด้านพลังงาน และผู้ร่วมเขียนรายงานฉบับนี้ กล่าวว่า จากตัวอย่าของหลายๆ ประเทศ การผลิตไฟฟ้าในอนาคตของประเทศไทยควรถูกกำหนดด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีความโปร่งใส โดยที่พิจารณาให้เทคโนโลยีพลังงานสะอาดเช่นมาตรการด้านการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและพลังงานหมุนเวียนมีบทบาทที่สำคัญมากขึ้นเมื่อเทียบกับแหล่งพลังงานรวมศูนย์แบบดั้งเดิม เช่น ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และเขื่อนขนาดใหญ่ กระบวนการที่เป็นประชาธิปไตยนี้สามารถพัฒนาแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าซึ่งทำให้บรรลุความต้องการพลังงานในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพโดยมีต้นทุนผลกระทบทั้งหมดต่อสังคมที่ต่ำที่สุด


"

การศึกษาซึ่งจัดทำโดยรัฐบาลและธนาคารโลกแสดงให้เห็นถึงศักยภาพมหาศาลของการพัฒนาพลังงานสะอาดในประเทศไทย อีกทั้งตามรายงานของกรีนพีซ รวมถึงการทำแบบจำลองก็ยังชี้ให้เห็นว่าหากประเทศไทยใช้ประโยชน์จากโอกาสของพลังงานสะอาดเหล่านี้ ภายในปี พ.. 2554-2559 ก็จะไม่มีความจำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าแบบรวมศูนย์ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลหรือการนำเข้าพลังงานไฟฟ้าจากเขื่อนขนาดใหญ่ในประเทศเพื่อนบ้าน"

ธารา ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ข้อเสนอแนะเหล่านี้จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถใช้ประโยชน์จากการพัฒนาพลังงานสะอาดได้อย่างเต็มที่ การกระจายศูนย์การผลิตไฟฟ้าจะทำให้เกิดผลตอบแทนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ผลประโยชน์ที่วัดได้ และความมั่นคงด้านพลังงานอย่างแท้จริงต่อสังคมไทย นอกจากนี้ ทำให้ปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากมลพิษของโรงไฟฟ้าถ่านหินลดน้อยลง มีการจ้างงานมากขึ้นและมีคุณูปการสำคัญต่อการปกป้องสภาพภูมิอากาศของเรา


อย่างไรก็ตามผู้เขียนไม่มั่นใจว่าสาระสำคัญของรายงานฉบับนี้ จะมีการหยิบยกขึ้นมาพิจารณาอย่างมีนัยสำคัญในเวทีประชาพิจารณ์นี้หรือไม่ เพราะหลายครั้งที่พลังงานหมุนเวียนถูกนำเสนอขึ้นมาเป็นทางเลือก ก็มักจะถูกตอกกลับด้วยข้อมูลจำนวนมากว่านั่นคือหนทางที่ทำให้เราสูญเสียความมั่นคงทางพลังงานอยู่เสมอ ทั้งๆ ที่ประตูสู่การพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืนในอนาคต ไม่สามารถไขด้วยคำประเภทที่ว่า

"เรามีศักยภาพผลิตพลังงานทดแทนมากแค่ไหน" แต่ต้องถามว่านี่ถึงเวลาที่จะให้ความสำคัญกับพลังงานหมุนเวียนแล้วหรือยัง.

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net