Skip to main content
sharethis

โดย ศูนย์ข่าวประชาคมจังหวัดอุบลฯ


 


 


เครือข่ายควายวัว อ.สำโรง ชี้การทำนาเปลี่ยนไป ชาวนาใช้เทคโนโลยีเน้นสะดวกสบาย ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น หักลบต้นทุนเหลือไม่กี่พันต่อปี แนะใช้วิกฤตน้ำมันแพงกลับมาทำนาแบบเดิม ขณะที่ภาครัฐต้องจริงใจในการแก้ปัญหาความยากจน


 


นายคำพวง ทัดเทียม ประธานเครือข่ายควายวัว อ.สำโรง เปิดเผยว่า ปัจจุบันจำนวนวัวควายแทบจะเป็นศูนย์ หากเราได้สังเกตตามสองข้างทางจะพบว่าแทบไม่เห็นเลย แต่ในทางกลับกันที่หมู่บ้านไหนมีวัวควายกลับถูกมองว่าล้าสมัย จึงทำให้ชาวบ้านหันมาใช้รถไถนาเดินตามกันมาก เฉพาะในหมู่บ้านของตนก็เกือบจะมีทุกหลังคาเรือน เมื่อมาถึงวันนี้ สภาพเศรษฐกิจได้เปลี่ยนไป สภาวะราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น และได้ส่งผลกระทบต่อภาพรวมของเศรษฐกิจในประเทศ สินค้าก็ราคาสูงขึ้น ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ชาวบ้านจึงเดือดร้อนมาก และมีการถกเถียงถึงแนวทางแก้ไขปัญหา เช่น การลดต้นทุนการผลิตโดยการลดขั้นตอนการทำนาลง นั้นคือ ก่อนที่ต้องเตรียมดินถึง 2 ครั้ง ก่อนจะปักดำได้ ก็เป็นการไถและหว่านกันเลยในครั้งเดียวกัน


 


ในขณะที่สถานการณ์วัวควายในเครือข่ายของตนทุกวันนี้ราคาวัวจะค่อนข้างได้ราคาดี ซึ่งจะมีการซื้อขายกันตัวละประมาณหนึ่งหมื่นบาทขึ้นไป จึงทำให้ชาวบ้านนิยมที่จะเลี้ยงวัวมากกว่าเลี้ยงควาย ประกอบกับจำนวนควายในกลุ่มของตนมีอยู่ทั้งหมด 17 ตัว โดยทางกลุ่มก็จะมีโครงการที่จะขยายให้กับสมาชิกไปเลี้ยงและเพิ่มจำนวนให้มากขึ้น อันเนื่องมากจากควายได้ให้ประโยชน์กับผู้เลี้ยงมากมาย รวมทั้งตนเองก็พยายามที่ต้องการจะให้ชาวบ้านกลับมาใช้แรงานจากควายในการทำนาเช่นแต่ก่อน แต่คงต้องใช้เวลา แต่สภาพราคาน้ำมันปัจจุบันก็ทำให้ชาวบ้านหันกลับมาคิดเหมือนกัน


 


นอกจากนี้การทำนาในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก ซึ่งเมื่อคำนวณการลงทุนเทียบกับรายได้จากการขายข้าวในแต่ละปีแทบจะไม่คุ้มค่า ดังจะเห็นได้จาก การที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายน้ำมันประมาณปีละ 1,700-1,800 บาท โดยคำนวณจากการทำนาบนพื้นที่ 6 ไร่ ,ค่าแรงงานจากการปักดำวันละ 150 บาท แต่บางหมู่บ้านราคาสูงถึงวันละ 200 บาท ผู้ว่าจ้างต้องบริการเป็นอย่างดี การจ้างไถก็เช่นเดียวกัน ทั้งที่รถไถนาเป็นของเจ้าของนาก็ต้องจ้างถึงวันละ 200 บาท สรุปแล้วต้องจ่ายค่าจ้างถึงปีละ 2,500 บาท,ค่าปุ๋ย อย่างน้อย 1,500 บาท และที่สำคัญคือค่าจ้างฉีดยา ซึ่งมีคนเดียวในหมู่บ้านทำให้ผู้ว่าจ้างต้องเข้าคิวรอ การคิดค่าจ้างจะคำนวณเป็นถังๆ ละ 200 บาท นอกจากนี้ก็มีค่าจ้างรถเกี่ยวข้าว ไร่ละ 600 บาท ดังนั้นหากประเมิณค่าใช้จ่ายเบื้องต้นในแต่ะลปีชาวนาต้องใช้จ่ายอย่างน้อย 10,000 บาท เมื่อนำผลผลิตไปขายก็จะได้ประมาณ 30,000 บาท หักต้นทุนก็เหลือไม่กี่พันบาท


 


"ดังนั้นชาวนาซึ่งเป็นคนทำนาแต่ต้องซื้อข้าวกินในบางครอบครัวทำนาข้าวเจ้าแต่กินข้าวเหนียว ทางออกที่ดีคือทุกฝ่ายต้องร่วมกันทั้งภาครัฐซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งเพราะ ถ้าไม่มีเจ้านายเป็นคนดำเนินงานชาวบ้านก็จะไม่เชื่อมั่น แม้ภาคประชาชนจะร่วมแรงร่วมใจอย่างไรก็ตามซึ่งรัฐต้องจริงใจด้วย"


 


ด้านนายอำนวย วงค์ละคร เครือข่ายป่าชุมชนบ้านชาด เปิดเผยว่า จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาทางเจ้าหน้าที่ของ สปก.ยังไม่ได้เข้ามาตรวจสอบในพื้นที่ แต่มีคนเข้ามาดูพื้นที่ซึ่งไม่ใช่เจ้าหน้าที่ สปก.ทั้งนี้จากการสอบถามไปยังนายอำเภอและปลัดจังหวัดได้ส่งหนังสือมาว่าไม่ได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกมาแต่อย่างใด ซึ่งคนที่เข้ามาวัดนั้นตนก็ไม่ทราบ


 


ความคืบหน้าในตอนนี้ยังไม่มีการบุกรุกเพิ่มเติม แต่ถ้าความเคลื่อนไหวอื่นๆ นั้นคงต้องรอไปอีกสักระยะเวลาหนึ่ง เนื่องจากยังมีชาวบ้านนำสัตว์เลี้ยงไปเลี้ยงบริเวณดังกล่าว โดยที่ทางคณะกรรมการป่าชุมชนก็เฝ้าระวังอยู่อย่างไม่ให้คาดสายตา แต่คาดว่าภายในเดือนตุลาคมชาวบ้านจะนำสัตว์เลี้ยงลงมาจากบริเวณดังกล่าวอาจจะมีเหตุการณ์เกิดขึ้นได้

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net