Skip to main content
sharethis

วันพฤหัสบดีที่ 6 เมษายน 2006 17:27น.


ศูนย์ข่าวอิศรา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย


 


ภาคประชาชน 3 จังหวัดชายแดนใต้ จับมือ "ฟอรั่มเอเชีย" จัดเวทีระดมสมองวาง "ยุทธ ศาสตร์แก้ปัญหาไฟใต้ภาคประชาชน" สุดสัปดาห์นี้ หวังสานเครือข่ายและสร้างกระบวนการในส่วนภาคประชาชน


 


"ทางองค์กรภาคประชาชนและองค์กรเอกชนทั้งในและนอกพื้นที่ ซึ่งต่างมีความกังวลห่วง ใยในกรณีความขัดแย้งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หารือกันที่จะจัดการพูด คุยวิเคราะห์สถาน การณ์ หาทางออก และกำหนดบทบาทที่ภาคประชาชนจะร่วมมือกันได้ การประชุมเพื่อวางแผนยุทธศาสตร์ภาคประชาชนเรื่องภาคใต้จึงถูกดำริขึ้นโดยการสนับสนุนจากองค์กรฟอรั่ม เอเชีย ในวันศุกร์ที่ 7 และวันอาทิตย์ที่ 9 เม.ย.ศกนี้ ณ ลีลารีสอร์ท อ.เทพา จ.สงขลา" นายมันโซร์ สาและ ตัวแทนองค์กรภาคประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และประธานชมรมอนุรักษ์และพัฒนาภาษามลายูกล่าว


 


ในการประชุมดังกล่าว จะเชิญตัวแทนจากองค์กรภาคประชาชนที่ทำงานกรณีความรุนแรงใน 3 จังหวัดจำนวน 20 คน อาทิ อัฮหมัด สมบูรณ์ บัวหลวง ตัวแทนจากคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ(กอส.) น.พ.อนันตชัย ไทยประทาน จาก กอส.และสมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย(ยมท.), ละม้าย มานะการ เจ้าของรางวัล "ผู้หญิงผู้สร้างสันติภาพ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ "สดๆร้อนๆจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, นิติ ฮาซัน จากสมาคมมุสลิมแห่งประเทศไทย, ปกป้อง เลาวัณย์ศิริ จากฟอรั่ม เอเชีย, อดิสัน อาลิอิสเฮาะและกลุ่มทนาย ความใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น


 


ประธานชมรมอนุรักษ์และพัฒนาภาษามลายูกล่าวว่า 2 ปีที่แล้ว ภาคประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เคยจัดประชุมผ่านกระบวนการของภาครัฐเสียส่วนใหญ่ แต่ก็ไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร ทั้งนี้อาจเป็นเพราะบทบาทของภาคประชาชนไม่เด่นชัด


 


จนกระทั่ง 2 ปีที่ผ่านมาปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ถูกขยายกลายเป็นปัญหาระดับสากล ความขัดแย้งพอกพูนจนกลายเป็นความไม่เข้าใจที่ถูกขยายไปสู่บริเวณกว้าง จึงเกิดคำถามขึ้นมาจากหลายฝ่ายว่า องค์กรภาคประชาชนและองค์กรเอกชน(NGO) ในพื้นที่แห่งนี้ทำอะไรบ้างเพื่อการจัดการความขัดแย้ง


 


"ความจริงเราก็มีการเคลื่อนไหวบทบาทอยู่ แต่เป็นไปในกลุ่มเล็กๆ ขาดการเชื่อม โยงและไม่เป็นกลุ่มก้อน แล้วยิ่งการทำงานต้องผ่านนโยบายรัฐด้วยแล้วยิ่งขาดความเข้ม แข็ง เพราะไม่ได้เกิดจากกระบวนการของภาคประชาชนเอง ทางกลุ่มผู้ทำงานจึงมีความ คิดร่วมกันว่า เราควรนำพาตนเองออกมาจากกระบวนการของรัฐ ซึ่งจะได้ชื่อว่าเป็นภาคประชาชนอย่างแท้จริง ออกมาทำงานด้วยตัวเอง" นายมันโซร์กล่าว


 


ส่วนการที่ดึงฟอรั่มเอเชียมาร่วมจัดงานในครั้งนี้นั้น เนื่องจากเพราะปัญหาภาคใต้ถูกหยิบยกไปพูดในเวทีนานาชาติมากขึ้นจนกลายเป็นสากล ทั้งนี้ในส่วนของฟอรั่มเอเชียเองก็มีเครือข่ายและประสบการณ์ในการจัดการความขัดแย้งในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนและความยุติธรรม จึงคิดว่า น่าจะส่งผลดีต่อการทำงานของภาคประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net