Skip to main content
sharethis

 
ลำดับเหตุการณ์สำคัญร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน
ปี พ.ศ.
ลำดับเหตุการณ์
ยุคสัมปทาน
 
รัฐบาลเปิดให้มีการสัมปทานไม้บริษัทเอกชนทั้งของคนไทยและต่างชาติรวมทั้งองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) เข้ามาชักลากไม้ในพื้นที่ป่าทั่วประเทศ กฎหมายยังอนุญาตให้เอกชนเช่าพื้นที่ป่าเพื่อทำธุรกิจทั้งการปลูกป่า สร้างรีสอร์ท ที่พักเพื่อการท่องเที่ยว
2515
ชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าอาทิเช่นที่ .เถิน.ลำปาง กิ่ง.บ้านหลวง .น่านและ .สะเมิง.เชียงใหม่ได้รวมตัวกันคัดค้านการสัมปทาน
2532
ชาวบ้านที่บ้านห้วยแก้วกิ่ง .แม่ออน รวมพลังคัดค้านนายทุนที่เข้ามาเช่าพื้นที่ป่าสาธารณะเพื่อปลูกสวนป่าเศรษฐกิจจุดกระแสการเรียกร้องกฎหมายป่าชุมชนเป็นครั้งแรก
2532
กรมป่าไม้ร่างกฎหมายป่าชุมชนขึ้น ร่างดังกล่าวไม่ให้สิทธิประชาชนอย่างแท้จริง แต่เอื้อให้มีการพัฒนาป่าในทางเศรษฐกิจ
2533
ชาวบ้านนักวิชาการองค์กรพัฒนาเอกชนร่วมกันร่าง...ป่าชุมชนฉบับประชาชน
2537
ชาวบ้านเริ่มรณรงค์ให้รัฐบาลนำร่างกฎหมายป่าชุมชนฉบับประชาชนเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
2538
รัฐบาลตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเลือกกฎหมายป่าชุมชนฉบับใดจึงจัดให้มีการยกร่างกฎหมายป่าชุมชนเมื่อวันที่ 7-9 เมษายน 2538 โดยคณะกรรมการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค (กนภ.) ได้รับมอบหมายให้จัดสัมมนาร่วมระหว่างตัวแทนเจ้าหน้าที่รัฐนักวิชาการนักพัฒนาเอกชนและตัวแทนชาวบ้านโดยมี.นพ.ประเวศ วะสีเป็นประธานในที่สุดได้ร่าง...ป่าชุมชนฉบับกนภ.ที่ทุกฝ่ายพอใจ
2541
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัยแต่งตั้งนางลดาวัลย์ วงศ์ศรีวงศ์ เป็นประธานในการปรับปรุงร่าง ...ป่าชุมชนให้สอดคล้องกับผลประชาพิจารณ์
2542
เครือข่ายป่าชุมชนภาคเหนือประกาศเจตนารมณ์ร่วมผลักดันกฎหมายป่าชุมชนฉบับประชาชน ระดม 50,000 รายชื่อ เสนอกฎหมายป่าชุมชนฉบับประชาชน
2543
1 มีนาคม ตัวแทนเครือข่ายป่าชุมชนทั่วประเทศ เสนอกฎหมายป่าชุมชน โดยใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 เข้าชื่อ 50,000 รายชื่อต่อประธานรัฐสภา
5 กรกฎาคม 2543 รัฐบาลรับหลักการร่าง พ...ป่าชุมชน วาระที่1 พร้อมแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ...ป่าชุมชนไม่มีผู้แทนจากร่างฉบับประชาชนเป็นกรรมาธิการ
สิงหาคม - กันยายนตัวแทนประชาชนผู้เสนอกฎหมายและตัวแทนองค์กรอนุรักษ์บางกลุ่มเข้าไปเป็นที่ปรึกษากรรมาธิการท่ามกลางบรรยากาศที่สส.ฝ่ายค้านลาออกจากสภาเกือบหมดและสส.ที่เป็นกรรมาธิการขาดข้อมูลประกอบในการพิจารณา
พฤศจิกายนยุบสภาร่าง ...ป่าชุมชนตกไป
2544
6 มกราคม เลือกตั้ง ส.ส.ทั่วประเทศ
26 กุมภาพันธ์ รัฐบาลภายใต้การนำของพรรคไทยรักไทยแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
27 มีนาคม คณะรัฐมนตรียืนยันร่าง...ป่าชุมชนที่ค้างสภาให้พิจารณาต่อ
23 พฤษภาคม รัฐสภาเห็นชอบให้มีการพิจารณาร่าง...ป่าชุมชนต่อ
แต่งตั้งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง...ป่าชุมชนมีผู้แทนจากร่างประชาชน13 คนจากกรรมาธิการทั้งหมด35 คน
เดือนกรกฎาคม - สิงหาคมคณะกรรมาธิการจัดเวทีรับฟังความคิดประชาชนต่อร่าง...ป่าชุมชนทั้ง4 ภาค
31 ตุลาคม พี่น้องเครือข่ายป่าชุมชนทั่วประเทศประมาณ200 คนเข้าพบวิปรัฐบาลนายอดิศร เพียงเกษและเข้าร่วมรับฟังการพิจารณา...ป่าชุมชนของ..ในสภาผู้แทนราษฎร
7 พฤศจิกายน...ป่าชุมชนผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรด้วยเสียงโหวต341 เสียงงดลงคะแนน 2 เสียง
13 พฤศจิกายน ตัวแทนชาวบ้านเครือข่ายป่าชุมชนเหนืออีสานใต้เข้าพบวิป..และยื่นหนังสือเรื่องขอโควต้ากรรมาธิการ..แก่ประธานวุฒิสภาแต่รองประธานมารับหนังสือแทน
26 พฤศจิกายน ที่ประชุมวุฒิสภาลงมติรับร่าง...ป่าชุมชนและตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง...ป่าชุมชนวุฒิสภาจำนวน27 คน
ธันวาคมกรรมาธิการวิสามัญ..ลงพื้นที่ภาคเหนือบ้านทุ่งยาวแม่ทาแม่ขะปู
2545
มกราคมกรรมาธิการวิสามัญ..ลงพื้นที่ดูงานป่าชุมชนภาคอีสาน
15 มีนาคม วุฒิสภาพิจารณาร่าง ...ป่าชุมชนมีมติตัดหลักการและหัวใจสำคัญของร่างกฎหมายฯคือ" มิให้ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์สามารถจัดตั้งป่าชุมชนได้"
2546
เครือข่ายป่าชุมชนระดมรายชื่อ 1,000 นักวิชาการสนับสนุน...ป่าชุมชน
2547
3 พฤศจิกายน สภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขร่าง พ...ป่าชุมชนของวุฒิสภาจึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการร่วมจำนวน 12 คนเพื่อพิจารณาในประเด็นที่ยังเป็นข้อถกเถียงกันโดยเฉพาะประเด็นการขอจัดตั้งป่าชุมชนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์
9 พฤศจิกายน วุฒิสภาแต่งตั้งคณะกรรมาธิการจำนวน 12 คนเพื่อพิจารณาร่าง...ป่าชุมชนร่วมกับกรรมาธิการจากสภาผู้แทนราษฎร
การประชุมของคณะกรรมาธิการร่วมยังไม่แล้วเสร็จ ก่อนการปิดสภาทำให้ผลการพิจารณาตกไป
2548
เดือนกุมภาพันธ์ เลือกตั้งครั้งใหม่ทั่วประเทศ รัฐบาลภายใต้การนำของพรรคไทยรักไทยได้รับเลือกอีกครั้ง
วันที่12 เมษายน มีการเสนอเรื่องการพิจารณาร่าง พ...ป่าชุมชนที่ยังคงค้างสภาในรัฐบาลชุดก่อนแก่คณะรัฐมนตรีโดยคณะรัฐมนตรีรับทราบและเสนอเรื่องให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อ
 
วันที่22 เมษายน สภาผู้แทนราษฎรรับรองเรื่องพิจารณาร่าง พ...ป่าชุมชนต่อ
 
วันที่27 เมษายนสภาผู้แทนราษฎรมีมติแต่งตั้งคณะกรรมาธิการร่วมพิจารณาร่างพ...ป่าชุมชนจำนวน12 คนมีรายชื่อดังนี้
คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช พรรคประชาธิปัตย์
นายฉัตรชัย รัตโนภาส อธิบดีกรมป่าไม้
นายชลน่าน ศรีแก้ว
นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตน์
นายประสาร มฤคพิทักษ์ เครือข่ายนักธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม
นายยงยุทธ ติยะไพรัช รมต.ว่าการกระทรวงทรัพฯ
พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
นายสงวน พงษ์มณี
นายสุรพล ดวงแข มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าฯ
นายสุวัช สิงหพันธุ์ อธิบดีกรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช
นายอภิวัฒน์ เศรษฐรักษ์ รองปลัดกระทรวงทรัพฯ
นายอลงกรณ์ พลบุตร
 
วันที่10 พฤษภาคม2548 วุฒิสภามีมติแต่งตั้งกรรมการธิการร่วมพิจารณา...ป่าชุมชนมีรายชื่อดังนี้
นายผ่อง เล่งอี้ กรุงเทพฯ
นายนิวัฒน์ พ้นชั่ว ระยอง
นายอนันต์ ดาโลดม สุราษฎร์ธานี
นายพนัส ทัศนียานนท์ ตาก
นายสมคิด ศรีสังคม อุดรธานี
นายบรรฑูรย์ เกริกพิทยา สระบุรี
นายวิชัย ครองยุติ อุบลราชธานี
นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ กรุงเทพฯ
นายสนิท จันทรวงศ์ อุบลราชธานี
นายนิรัตน์ อยู่ภักดี ชัยภูมิ
นายกมล มั่นภักดี ชุมพร
นายจิโรจน์ โชติพันธุ์ ศรีสะเกษ
 
 
 

ที่มาและเหตุผลของกฎหมายป่าชุมชน
1.ทำไมต้องมีกฎหมายป่าชุมชน
แม้แผนการจัดการป่าชุมชน ที่แต่ละชุมชนสรรค์สร้างขึ้นมาตามวิถีประเพณี หรือตามความจำเป็นเพื่อรักษาป่า ซึ่งประกอบด้วยกฎเกณฑ์ วิธีการใช้ และกลไกการควบคุมบังคับเหล่านี้ จะใช้กับคนในชุมชนได้ก็ตาม แต่กฎเกณฑ์ดังกล่าวไม่ได้รับการยอมรับทางกฎหมาย ชาวบ้านจึงไม่สามารถใช้บังคับกับคนภายนอกได้ ในขณะที่ปัญหาการทำลายป่าของชาวบ้าน มักจะมาจากกลุ่มทุน โครงการพัฒนาต่างๆ ทำให้ชุมชนไม่สามารถรักษาป่าไว้ได้ เมื่อฐานทรัพยากรถูกทำลาย หรือชาวบ้านถูกกีดกันไม่ให้มีสิทธิจัดการป่า เกิดปัญหาความยากจนในชุมชน โดยเฉพาะในหมู่คนจนที่ต้องพึ่งพาป่าเพื่อยังชีพ ดังนั้นเอง การที่จะสนับสนุนให้ชุมชนมีความเข้มแข็งในการจัดการป่าได้ ทางหนึ่งก็คือ การมีกฎหมายรองรับสิทธิการจัดการป่าของชาวบ้าน ให้กฎเกณฑ์ของชาวบ้านมีสถานะทางกฎหมาย โดยกฎหมายดังกล่าวจะต้องสร้างกลไกให้เจ้าหน้าที่รัฐ และภาคสังคมเข้าไปมีส่วนร่วมสนับสนุน ถ่วงดุล ตรวจสอบ การจัดการป่าของชาวบ้านให้ประสบความสำเร็จให้ได้ และนี่ก็คือ ที่มาของความต้องการชาวบ้านผู้รักษาป่าจากทั่วประเทศที่จะให้รัฐออกกฎหมายป่าชุมชน


2.ที่มาของร่างกฎหมายป่าชุมชนฉบับประชาชน

การรณรงค์ประเด็นป่าชุมชนในประเทศไทยเริ่มต้นขึ้นเมื่อเกิดกรณีที่ชาวบ้านบ้าน ห้วยแก้ว กิ่งอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ คัดค้านการเช่าป่าโดยนายทุน ในปี พ.ศ.2532 ชาว บ้านเรียกร้องให้กรมป่าไม้เพิกถอนการให้เช่าพื้นที่ป่าและมอบป่าผืนนั้นให้ ชาวบ้านจัดการในรูปแบบของป่าชุมชน กรณีป่าห้วยแก้วถูกเผยแพร่ออกไปในวงกว้างทำให้ชาวบ้านในภาคเหนือตื่นตัวที่ จะมีส่วนร่วมในการจัดการป่ามากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่ชาวบ้านได้เคยต่อสู้คัดค้านการสัมปทานทำไม้มา ก่อน ในขณะที่องค์กรพัฒนาเอกชนและนักวิชาการได้ให้ความสนใจต่อการสำรวจและศึกษาข้อมูลการจัดการป่าชุมชนซึ่งพบว่าในขณะนั้นมีถึง 140 ป่าชุมชนในภาคเหนือ นำไปสู่การรณรงค์ให้รัฐมีนโยบายสนับสนุนป่าชุมชน เพื่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าอย่างยั่งยืน

การรณรงค์เรื่องป่าชุมชนเข้มข้นขึ้นระหว่าง พ.ศ.2532-2536 เมื่อปรากฏความล้มเหลวการอพยพคนออกจากเขตป่าอนุรักษ์หลายกรณี เช่น
- การอพยพชาวบ้านในอำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ปี 2528
- การอพยพชาวบ้านจากอุทยานแห่งชาติดอยหลวงไปสู่พื้นที่รองรับบ้านผาช่อ จังหวัดลำปาง ในปี 2537
- โครงการจัดสรรที่ดินทำกินในเขตป่าสงวนที่เสื่อมโทรมให้แก่ราษฎรผู้ยากไร้ (คจก.) ในปี 2535 เป็นต้น
ประกอบกับสังคมไทยได้ให้ความสนใจต่อปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากยิ่ง ขึ้นและเริ่มมีการวิพากษ์วิจารณ์การจัดการป่าของกรมป่าไม้ซึ่งล้มเหลวมาโดยตลอด ต่อมากรมป่าไม้ได้ยกร่างกฎหมายป่าชุมชนขึ้นในปี พ.ศ.2534 และปรับปรุงเสร็จในปี พ.ศ.2536 เป็นร่างกฎหมายที่สนับสนุนการปลูกป่าเศรษฐกิจ และอนุญาตให้ชุมชนมีสิทธิใช้สอยป่าเฉพาะป่าที่ปลูกขึ้นเท่านั้น องค์กรประชาชนปฏิเสธร่างกฎหมายของดังกล่าวเพราะเห็นว่ายังให้อำนาจแก่กรมป่าไม้อย่างเบ็ดเสร็จอยู่นั่นเอง การสนับสนุนการปลูกป่าเพื่อเศรษฐกิจยังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก เพราะเจตนารมณ์อันแท้จริงของการมีป่าชุมชนเป็นไปเพื่อการอนุรักษ์ มิใช่การแสวงหาประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ

ความขัดแย้งในการจัดการป่าซับซ้อนยิ่งขึ้น เมื่อรัฐต้องการที่จะอนุรักษ์ป่าโดยทำให้เป็นเขตป่าปลอดมนุษย์ซึ่งต้องอพยพชุมชนออกจากเขตป่าอนุรักษ์ตามกฎหมาย ในแง่นี้รัฐมีความชอบธรรมในการดำเนินการมากกว่าในอดีตที่ผ่านมา โดยเฉพาะเมื่อเป้าหมายของการอพยพเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งถูกมองว่าเป็นภัยต่อทรัพยากรและความมั่นคงของประเทศอยู่แต่เดิมแล้ว ขณะที่กลุ่มองค์กรอนุรักษ์และชนชั้นกลางในสังคมส่วนหนึ่งคิดเห็นเช่นเดียวกับรัฐที่มองว่าพื้นที่สูงเป็นเขต "ป่าต้นน้ำ" ที่สำคัญ ควรปกป้องรักษาไว้ให้เป็นพื้นที่สีเขียวปราศจากการถูกรบกวนทั้งสิ้น

ต่อมานักวิชาการ อพช.และชาวบ้านในเครือข่ายป่าชุมชนภาคเหนือได้ร่วมกันยกร่างกฎหมายป่าชุมชนฉบับประชาชนขึ้น โดยอิงประสบการณ์การจัดการป่าชุมชนจากทุกภาคประกอบกับการศึกษาวิจัยเรื่อง "ป่าชุมชนในประเทศไทย : แนวทางการพัฒนา" (เสน่ห์ จามริก และยศ สันตสมบัติ , 2536) กระบวนการร่างและผลักดันกฎหมายทำให้มีการประสานงานระหว่างเครือข่ายชาวบ้านในระดับ ประเทศ ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายป่าชุมชนภาคเหนือ สมัชชาชาวนาชาวไร่ภาคอีสาน เครือข่ายป่าชุมชนภาคใต้ สมัชชาคนจน สมัชชาป่าชุมชนภาคเหนือ สมาพันธ์ประมงพื้นบ้านภาคใต้ และสมัชชาชนเผ่าแห่งประเทศไทย เครือข่ายชาวบ้านต้องการ พ.ร.บ.ป่าชุมชนด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น มีชาวบ้านถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ทั้งๆ ที่ใช้ประโยชน์จากป่าตามกฎระเบียบของชุมชน ชาวบ้านอยากมีอำนาจจับกุมผู้ลักลอบตัดไม้ในป่าชุมชน และต้องการให้กฎระเบียบการดูแลรักษาป่าของพวกเขาได้รับการยอมรับตามกฎหมาย

ความหลากหลายทางความคิดของคนในสังคมต่อ "ป่าชุมชน" นำไปสู่การประสานงานระหว่างหลายฝ่ายเพื่อยกร่างกฎหมายป่าชุมชนร่วมกันอย่าง เป็นทางการระหว่างวันที่ 7-9 เมษายน พ.ศ.2539 ที่ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเรียกว่าร่างพ.ร.บ.ป่าชุมชนฉบับ กนภ. (คณะกรรมการนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น)

อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นได้มีการโต้แย้งทางความคิดในเวทีสาธารณะ ระหว่างฝ่ายที่เห็นด้วยและฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยที่จะให้มีป่าชุมชนในเขตป่าอนุรักษ์ ข้อกังขายังอยู่ที่ความไม่เชื่อมั่น และการมีอคติต่อกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง ตลอดจนการยึดหลักความรู้ทางนิเวศวิทยากระแสหลัก แต่ละฝ่ายได้เคลื่อนไหวโดยการยื่นหนังสือร้องเรียนต่อรัฐบาล ซึ่งนำไปสู่การมีเวทีรับฟังความคิดเห็นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประชาพิจารณ์ในปี พ.ศ.2540 ตามด้วยการปรับปรุงแก้ไขร่างกฎหมายร่วมกันระหว่างองค์กรอนุรักษ์ อพช.เครือข่ายชาวบ้าน และภาครัฐ ล่าสุดในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2543 ฝ่ายเครือข่ายองค์กรชาวบ้านได้เสนอร่างกฎหมายป่าชุมชนฉบับประชาชน โดยการเข้าชื่อ 50,000 รายชื่อเสนอต่อรัฐสภา ตามมาตรา 170 แห่งรัฐธรรมนูญ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net