Skip to main content
sharethis
Event Date

โครงการสัมมนา เรื่อง

สิทธิการรวมตัวต่อรองของแรงงานข้ามชาติ: บทเรียนรู้สู่อนาคต?

วันอังคารที่ 8 กันยายน 2558 เวลา 08.30-16.00 น.

ณ โรงแรมเซ็นจูรี่พาร์ค ถ.ราชปรารภ-ดินแดง กทม.

จัดโดย มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน และ มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท

หลักการและเหตุผล

            ประเทศไทยมีการจ้างงานแรงงานข้ามชาติที่มาจากประเทศเพื่อนบ้านหลายล้านคน งานที่ทำมีทั้งที่เป็นงานในระบบและงานนอกระบบ ส่วนใหญ่อยู่ในกิจการที่ใช้แรงงานเข้มข้น และจำนวนมากมีสภาพการทำงานที่ด้อยกว่ามาตรฐาน เช่น ด้านสุขภาพอนามัย ความปลอดภัย และค่าจ้าง เป็นต้น ดังนั้น สิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรองจึงมีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นเครื่องมือที่แรงงานสามารถใช้คุ้มครองสิทธิของตนได้แต่ระบบกฎหมายแรงงานไทย  มีข้อจำกัดด้านสิทธิการรวมตัวต่อรองของแรงงานข้ามชาติ กล่าวคือ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 และระเบียบกระทรวงที่เกี่ยวข้อง กำหนดให้ลูกจ้างที่มีสัญชาติไทยเท่านั้น มีสิทธิจัดตั้งสหภาพแรงงาน  ได้รับเลือกตั้ง หรือแต่งตั้งเป็นกรรมการหรืออนุกรรมการสหภาพแรงงาน ที่ปรึกษาในการเจรจาข้อเรียกร้อง และการเป็นผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการไตรภาคี ดังนั้น แรงงานข้ามชาติที่เป็นแรงงานในระบบจึงทำได้เพียงเข้าร่วมกับสหภาพแรงงานที่แรงงานไทยตั้งขึ้น  นอกจากนี้ แรงงานนอกระบบ ทั้งแรงงานข้ามชาติและแรงงานไทย ไม่สามารถรวมกลุ่มเป็นสหภาพแรงงานได้    

นอกจากข้อจำกัดทางกฎหมายดังกล่าวข้างต้น  แรงงานข้ามชาติยังมีปัญหาการสื่อสารและเข้าถึงสิทธิแรงงาน ซึ่งนับเป็นอุปสรรคสำคัญของการรวมกลุ่มเช่นกัน 

อย่างไรก็ตาม แรงงานข้ามชาติจำนวนหนึ่งได้ริเริ่มรวมกลุ่มกันแล้ว  ทั้งโดยการเข้าร่วมกับสหภาพแรงงานของแรงงานไทยและการรวมกลุ่มกันเองอย่างไม่เป็นทางการ  มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน และ มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท เห็นว่า บทเรียนในการรวมกลุ่มและเจรจาต่อรองดังกล่าวน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการส่งเสริมและพัฒนาต่อไป  จึงได้ทำการศึกษาและนำผลมาเผยแพร่

 

วัตถุประสงค์

  1. นำเสนอรายงานการศึกษาเรื่องบทเรียนจากการรวมกลุ่มและเจรจาต่อรองของแรงงานข้ามชาติ
  2. แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมการรวมกลุ่มแรงงานข้ามชาติ
  3. ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางในการทำงานต่อไป

 

กลุ่มเป้าหมาย  จำนวน 30 คน ประกอบด้วย ตัวแทนจากองค์การแรงงาน องค์การพัฒนาเอกชนด้านแรงงาน หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการและผู้สนใจ

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 

ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการรวมกลุ่ม และแนวทางในการประสานความร่วมมือในอนาคต

 

กำหนดการ

08.00-09.00 น.   ลงทะเบียน-รับเอกสาร

09.00-09.10 น.   ชี้แจงวัตถุประสงค์ โดยผู้แทนมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท

กล่าวเปิดงานโดย ประธานมูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน

09.10-09.50 น.   บรรยายนำเรื่อง

                        “แนวทางและความร่วมมือในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติ”

                        โดย ดร.อารักษ์ พรหมณี รองปลัดกระทรวงแรงงาน

09.50-10.20 น.   สรุปผลการศึกษา เรื่อง “สิทธิการรวมตัวต่อรองของแรงงานข้ามชาติ”

                        โดย นายบัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน

10.20-10.30 น.   พักรับประทานอาหารว่าง-เครื่องดื่ม

10.30-12.30 น.   เสนอข้อคิดเห็นโดย

                        1.รองศาสตราจารย์แล ดิลกวิทยรัตน์

                        ประธานสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ

                        2.นายทวี เตชะธีราวัฒน์

                        ประธานสภาองค์การลูกจ้างสมาพันธ์แรงงานแห่งประเทศไทย (TTUC)

                        3.นางสิริวัน ร่มฉัตรทอง

                        เลขาธิการสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย (ECOT)

                        4.นายสุรพงษ์ กองจันทึก

                        นักกฎหมายสิทธิคนข้ามชาติ

                        5.นายโกวิทย์ บุรพธานินทร์

                        กรรมการมูลนิธินิคม จันทรวิทุร

                        ดำเนินรายการโดย  นายอดิศร เกิดมงคล

                        ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (MWG)

12.30-13.30 น.               พักรับประทานอาหารเที่ยง

13.30-15.00 น.               บรรยายเรื่อง แบบอย่างการรวมตัวต่อรองของแรงงานข้ามชาติในต่างประเทศ

โดย Mr. Pong-Sul Ahn องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)

ดำเนินรายการและแปลโดย คุณจิตติมา ศรีสุขนาม  ILO

15.00-16.00 น.               ระดมความคิดเห็น – รูปแบบแนวทางความร่วมมือในอนาคต

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net