Skip to main content
sharethis

 

เมื่อวันที่ 17 ต.ค. กลุ่มประชาชนผู้ห่วงใยประเทศไทย 220 คน ลงนามเพื่อยื่นหนังสือร้องเรียนเรื่อง"ข้อเสนอให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" ต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยมี น.ส.นัยนา สุภาพึ่ง และ น.ส. อาภรณ์ วงษ์สังข์ คณะกรรมการสิทธิฯมาเป็นผู้รับหนังสือ
 
นาย ปกป้อง เลาวัณย์ศิริ นักสิทธิมนุษยชนเป็นตัวแทนในการกล่าวแถลงการณ์ของกลุ่ม โดยเรียกร้องให้อนุกรรมการดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเหตุการณ์ความรุนแรง จากการสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2551 ที่ หน้ารัฐสภา ซึ่งมีนายสุรสีห์ โกศลนาวิน เป็นประธาน ต้องดำเนินการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ไม่เพียงแต่การละเมิดของเจ้า หน้าที่ตำรวจ แต่ต้องรวมถึงการกระทำของกลุ่มพันธมิตรฯด้วย
 
โดยอาศัยหลักการกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมือง (ICCPR) ที่ต้องไม่มีการเลือกปฏิบัติและมีความเอนเอียงทางการเมือง เนื่องจากมีกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่เช่นกัน เช่น กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจสองนายถูกผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯใช้ด้ามธงแทงจนทะลุ ปอด บาดเจ็บสาหัส กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจถูกยิงบาดเจ็บ กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจถูกผู้ชุมนุมขับรถชนหลายนาย และกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจถูกผู้ชุมนุมทำร้ายทุบตีร่างกายและศีรษะจนสมองบวม เป็นต้น
 
นอกจากนี้ ยังเรียกร้องให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยกลุ่มพันธมิตรฯ นอกเหนือกรณีการสลายการชุมนุม 7 ต.ค. ด้วย อย่างน้อย 3 กรณี ได้แก่ การปะทะกันในวันที่ 2 ก.ย.2551 ระหว่าง กลุ่มพันธมิตรฯ กับแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) โดยเฉพาะกรณีการเสียชีวิตของนายณรงค์ศักดิ์ กรอบไธสงค์ และการบาดเจ็บของทั้งสองฝ่าย ซึ่งต้องตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนทั้งสองฝ่าย
 
อีก กรณีหนึ่งคือ การกล่าวปราศรัยและใช้พื้นที่สื่อในเครือผู้จัดการบิดเบือนข้อมูล โจมตี ทำลายชื่อเสียงและสร้างความเกลียดชังให้เกิดขึ้นต่อนักกิจกรรม นักวิชาการ นักสหภาพแรงงาน ที่มีความเห็นและ/หรือ ข้อเสนอแตกต่างของกลุ่มพันธมิตรฯ อันเป็นการดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และบางกรณีมีการเรียกร้องให้ใช้ความรุนแรงต่อคนเหล่านั้นด้วย ส่วนกรณีสุดท้าย คือกรณีการบุกยึดสถานีโทรทัศน์ NBT การปิดล้อมรัฐสภา ตลอดจนการมีอาวุธในครอบครอง
 
ทั้งนี้ ทางกลุ่มได้เรียกร้องให้คณะกรรมการสิทธิฯ ทำหน้าที่เป็นเสาหลักในการส่งเสริมวัฒนธรรมการเคารพสิทธิมนุษยชน ตามเจตนารมณ์ของการก่อตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ปรากฏในหลักการ ปารีส ให้คณะกรรมการสิทธิฯเฝ้าระวังและตรวจสอบการกระทำของทุกกลุ่มทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่เป็นอยู่
 
เมื่อ สื่อมวลชนถามว่าคาดหวังผลต่อการยื่นหนังสือครั้งนี้อย่างไร นายเอกรินทร์ ต่วนศิริ นิสิตปริญญาโท จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งร่วมลงนามตอบว่า หวังให้เรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องที่มีคุณค่า ซึ่งคณะกรรมการสิทธิฯ ต้องพิสูจน์และนำมาซึ่งความจริงในการตรวจสอบ อีกประการหนึ่ง ต้องการพิสูจน์ว่าอย่างน้อยก็มีกลุ่มหนึ่งที่เห็นแตกต่างไปจากกลุ่มพัน ธมิตรฯ และเชื่อว่าประเทศเป็นของทุกคน อยากให้ประชาชนที่มีความเห็นต่างได้ออกมาแสดงความคิดเห็นในเรื่องความรุนแรง ไม่ว่ามาจากฝ่ายไหน
 
เมื่อสื่อถามอีกว่า กังวลใจการทำงานของคณะกรรมการสิทธิฯ อย่างไร จึงมายื่นหนังสือ นายปกป้องตอบว่า หลังเหตุการณ์วันที่ 7 ต.ค.ได้ รับทราบว่ามีการติดตามตรวจสอบการละเมิดสิทธิฯ โดยตำรวจ แต่บทบาทและหน้าที่ของการตรวจสอบยังไม่ครอบคลุมไปถึงการละเมิดสิทธิฯ โดยกลุ่มคนที่ไม่ใช่รัฐ ทั้งฝ่ายพันธมิตรฯ และ นปช.ซึ่งเป็นบทบาทของคณะกรรมการสิทธิฯที่ต้องตรวจสอบด้วย
 
ว ราภรณ์ แช่มสนิทย์ นักวิชาการสำนักงานสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ลงนามในแถลงการณ์อีกคนหนึ่งกล่าวเสริมว่า จุดประสงค์ในการมายื่นหนังสือเป็นการแสดงความห่วงใยเพราะหลักสิทธิมนุษยชน ต้องไม่เลือกปฏิบัติ คณะกรรมการตรวจสอบจึงต้องมั่นคง ที่มาคณะกรรมการสิทธิฯ เนื่องจากเป็นองค์กรหลักในเรื่องการตรวจสอบ คุ้มครองด้านสิทธิฯ
 
ส่วน ถามว่าจะบอกคนในสังคมได้อย่างไรว่าไม่ใช่กลุ่ม นปช. วราพร ตอบอีกครั้งว่า เราเชื่อมั่นในตัวเราเอง ในขณะที่ นายพิพัฒน์ พงษ์เลิศ นักแปลและนักกิจกรรมสังคมที่ร่วมลงนามเช่นกันกล่าวว่า หากดูจากรายชื่อก็สามารถตรวจสอบได้
 
ด้าน นายเอกรินทร์ ตอบคำถามนี้ว่า ต้องกลับไปถามสังคมเองด้วยว่าแบ่งขาว แบ่งดำ สำหรับคนที่พูดแค่ในหลักการเข้าไปอีกฝั่งหนึ่งหรือ สังคมต้องมีสติด้วยและตั้งคำถามว่าหลักกการที่เราเสนอถูกต้องหรือไม่ คงต้องก้าวไปมากกว่าการจับคนแบ่งซ้าย ขวา เหลือง แดง
 
"สังคม ไทยคงต้องอดทนกับคนที่เห็นต่าง หากสังคมไทยอดทนและรับฟังคนที่เห็นแตกต่างบ้างก็หวังว่าสังคมจะร่วมกันได้ เราไม่คิดว่าต้องรักกัน แต่สำคัญคือเราอย่าตีกัน สุดท้ายก็เรียกร้องว่าคุณก็อย่าละเมิดสิทธิคนอื่นและอย่าใช้ความรุนแรงต่อคน อื่น" เอกรินทร์กล่าวย้ำอีกครั้ง
 
เมื่อ สื่อมวลชนถามไปยังคณะกรรมการสิทธิฯว่า เห็นอย่างไรต่อการยื่นหนังสือ เพราะความเห็นต่อความรุนแรงที่มาจากภาคประชาชนกับสิทธิการชุมนุมซึ่งมีความ คาบเกี่ยวกันครั้งนี้อาจกลายเป็นบรรทัดฐานด้านสิทธิมนุษยชนไทยในอนาคต
 
น.ส. นัยนา ตอบว่า โดยบทบาทคณะกรรมการของคณะกรรมการสิทธิฯ เมื่อมีความรุนแรงและการละเมิดสิทธิฯไม่ว่าโดยรัฐหรือประชาชนแล้วกลไก กระบวนการยุติธรรมปกติไม่สามารถดำเนินการให้เกิดความชัดเจนได้ คณะกรรมการสิทธิฯ ต้องลงไปทำหน้าที่และมีมาตรการเพิ่มเติมลงไปเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหา
 
"กรณี นี้เรียนว่าต้องขอบคุณผู้มาทั้งหมด และทุกคณะที่มา การมายื่นเรื่องและข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการสิทธิฯเป็นประโยชน์ในการทำงานของ คณะกรรมการ การทำงานของคณะกรรมการต้องรับฟังทุกฝ่ายทั้งผู้ร้อง ผู้ถูกร้อง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน"
 
"คณะ ที่มาได้มาเตือนสติให้เห็นว่าคงจะมีสิ่งที่สังคมมุ่งให้ความสนใจหรือมี ข้อมูลด้านใดด้านหนึ่งออกไปทางสื่อสาธารณะมีให้เห็นเพียงด้านเดียว เลยมีข้อเสนอแนะมา เป็นสิ่งที่คณะกรรมการพึงรับไว้และจะเรียนไปยัง อาจารย์เสน่ห์ จามริก (ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) และคุณสุรสีห์ (นายสุรสีห์ โกศลนาวิน ประธานอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ) เพื่อหารือและคงต้องสื่อสารสาธารณะให้มากขึ้น ต้องทำให้สาธารณะชนได้รับทราบการทำงานของเราให้มากขึ้น โดยเฉพาะข้อมูลที่เราตรวจสอบการละเมิดในฝ่ายประชาชนที่ทำให้ตำรวจได้รับความ บาดเจ็บและได้รับความเสียหาย"
 
น.ส.นัยนา กล่าวว่า ไม่ได้มีเฉพาะคณะอนุกรรมการของนายสุรสีห์เท่านั้น และไม่ต้องรอให้มีการตั้งคณะกรรมการฯ คณะกรรมการสิทธิฯ ก็ทำงานทุกเวลาเพราะเมื่อเป็นคณะกรมการสิทธิฯ แล้วมีหน้าที่ต้องตรวจสอบในการละเมิดสิทธิฯ
 
"ดังนั้นในทันทีที่เกิดเหตุ ไม่เฉพาะวันที่ 7 ต.ค. ก่อนหน้านี้มีข้อมูลเข้ามาก็อยู่ในกระบวนการทำงาน" น.ส.นัยนา กล่าวและระบุว่า กรณีวันที่ 7 ต.ค. นายเสน่ห์ ก็ได้ลงไปเยี่ยมผู้ได้รับบาดเจ็บทุกฝ่าย และสอบถามรับฟังสาเหตุของการบาดเจ็บด้วยตัวเอง
 
ทั้งนี้ กลุ่มประชาชนผู้ห่วงใยประชาธิปไตย เป็นการรวมตัวอย่างไม่เป็นทางการของนักกิจกรรม นักศึกษา นักวิชาการ และประชาชนที่ติดตามสถานการณ์การเมืองไทยอย่างต่อเนื่อง
 
 
 
๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๑
 
เรียน ศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก
ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
 
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
๔๒๒ ถนนพญาไท แขวงวังใหม่
เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ๑๐๓๓๐
 
เรื่อง: ข้อเสนอให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

ตาม ที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเหตุการณ์ความรุนแรง จากการสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๑ ที่หน้ารัฐสภา โดยมีนายสุรสีห์ โกศลนาวิน เป็นประธาน เพื่อตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ความไม่สงบระหว่าง ตำรวจและผู้ชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ภายใต้อำนาจหน้าที่ของ กสม.
 
กลุ่ม ประชาชนผู้ห่วงใยประเทศไทย ซึ่งเป็นการรวมตัวอย่างไม่เป็นทางการของนักกิจกรรม นักศึกษา นักวิชาการ และประชาชนที่ได้ติดตามสถานการณ์การเมืองไทยอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนการจัดตั้งคณะอนุกรรมการฯ เพื่อดำเนินการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์วันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๑ ดังกล่าว และขอแสดงความคิดเห็นและข้อเรียกร้องดังนี้:  
 
๑.      คณะ อนุกรรมการฯ ต้องดำเนินการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๑ ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่การละเมิดสิทธิฯโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจเท่านั้น แต่ต้องรวมถึงการกระทำของกลุ่ม พธม. ด้วย  โดยอาศัยหลักการของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมือง (ICCPR) ที่รัฐบาลไทยได้ให้การภาคยานุวัติเมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๓๙ โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติและมีความเอนเอียงทางการเมือง เนื่องจากได้มีกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเช่นเดียวกัน เช่น:
 
·         กรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจสองนายถูกผู้ชุมนุมกลุ่มพธม.ใช้ด้ามธงแทงเข้าจนทะลุปอด ทำให้ได้รับบาดเจ็บสาหัส
·         กรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจถูกยิงจนบาดเจ็บสาหัส
·         กรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจถูกผู้ชุมนุมขับรถชนหลายนาย
·         กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ถูกผู้ชุมนุมรุมทำร้ายทุบตีร่างกายและศีรษะจนสมองบวม
 
 เป็นต้น 
 
๒.      คณะอนุกรรมการฯ ต้องดำเนินการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยกลุ่มพธม.ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๑ ด้วย  ทั้งนี้ อาจจะมีการตั้งคณะอนุกรรมการฯ ขึ้นมาโดยเฉพาะ หรือขยายบทบาทหน้าที่ (mandate) ของคณะอนุกรรมการฯ นี้ก็ได้  โดยจะต้องดำเนินการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกรณีต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย:
 
·         การปะทะกันที่เกิดขึ้นระหว่างกลุ่ม พธม. และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๑ โดยเฉพาะการเสียชีวิตของณรงค์ศักดิ์ กรอบไธสงและการบาดเจ็บของทั้งสองฝ่าย  ซึ่ง ในกรณีนี้ ควรตรวจสอบว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยกลุ่มพธม. หรือกลุ่มนปช. หรือทั้งสองฝ่ายหรือไม่ ว่าเป็นการละเมิดสิทธิภายใต้มาตรา 6 ของ ICCPR ที่ว่า "มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตมาแต่กำเนิด...บุคคลจะต้องไม่ถูกทำให้เสียชีวิตโดยอำเภอใจ" หรือไม่
·         การ ที่ พธม. กล่าวปราศรัย และใช้พื้นที่สื่อในเครือผู้จัดการบิดเบือนข้อมูล โจมตีทำลายชื่อเสียง และสร้างความเกลียดชังให้เกิดขึ้นต่อนักกิจกรรม นักวิชาการ และนักสหภาพแรงงาน ที่มีความคิดเห็นและ/หรือข้อเสนอทางการเมืองต่างจากของกลุ่ม พธม.  (อาทิ กรณี รศ.ใจ อึ๊งภากรณ์  จอน อึ๊งภากรณ์  รศ.ดร.โคทม อารียา  ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง  ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์  ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล  โชติศักดิ์ อ่อนสูง  จิตรา คชเดช  สมบัติ บุญงามอนงค์ เป็นต้น) อันเป็นการดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทั้งนี้ ในบางกรณีได้มีการเรียกร้องให้ใช้ความรุนแรงต่อคนเหล่านั้นอีกด้วย ถือเป็นการขัดต่อข้อ 19 ของ ICCPR ที่ว่า "การใช้สิทธิในเสรีภาพการแสดงออกมีข้อจำกัด ในการเคารพสิทธิหรือชื่อเสียงของผู้อื่น" และ ข้อ 20 ข้อย่อย 2 ที่ว่า "การ สนับสนุนให้เกิดความเกลียดชังในชาติ เผ่าพันธุ์ หรือ ...ซึ่งยั่วยุให้เกิดการเลือกปฏิบัติ การเป็นฏิปักษ์หรือการใช้ความรุนแรง เป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมาย"
·         การบุกยึดทำเนียบรัฐบาลและสถานีโทรทัศน์ NBT การ ปิดล้อมรัฐสภา ตลอดจนการชุมนุมโดยมีอาวุธในครอบครอง ไม่ว่าจะเป็นมีด หนังสติ๊ก ท่อเหล็ก ปืน หลาย ๆ กรณี ของพธม. รวมทั้งวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๑ ตามที่ปรากฏในรายงานข่าวทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ เนื่องจากตามมาตรา 21 ของ ICCPR ที่ ว่า สิทธิในการชุมนุมโดยสงบย่อมได้รับความคุ้มครอง การจำกัดการใช้สิทธินี้จะกระทำมิได้ นอกจาก ... เพื่อการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่สามารถทำได้ ถ้าเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น
 
ทา งกลุ่มฯ ขอเรียกร้องให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นเสาหลักในการเสริมสร้างวัฒนธรรมการเคารพสิทธิมนุษยชน ตามเจตนารมณ์ของการก่อตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ปรากฏในหลักการ ปารีส (Paris Principles)
 
ที่ สำคัญ กลุ่มฯ ขอเรียกร้องให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติคอยเฝ้าระวังและตรวจสอบการกระ ทำของทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่ดำเนินอยู่ ทั้งนี้ เพื่อสร้างสังคมที่เคารพสิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริง
 
ขอแสดงความนับถือ
 
บารมี ชัยรัตน์                   อนุกรรมการสิทธิในการจัดการที่ดินและป่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
บัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ   อนุกรรมการสิทธิแรงงาน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว              สำนักงานสิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
วราภรณ์ แช่มสนิท            สำนักงานสิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ธงชัย วินิจจะกูล               University of Wisconsin-Madison
ศิโรตน์ คล้ามไพบูลย์         มหาวิทยาลัยฮาวายอิ
เกษียร เตชะพีระ              คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประจักษ์ ก้องกีรติ             คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อภิชาต สถิตนิรามัย           คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ยุกติ มุกดาวิจิตร               คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นภาพร อติวานิชยพงศ์       สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วิภา ดาวมณี                    อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิคม รัตนจันทร์                มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์    คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
พิพัฒน์ สุยะ                    คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ชาญณรงค์ บุญหนุน         คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
โกวิท แก้วสุวรรณ             คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ชาตรี ประกิตนนทการ        คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์              คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/ University of Michigan - Ann Arbor
อนุสรณ์ อุณโณ                คณะมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยวอชิงตัน
วสันต์ ลิมป์เฉลิม               คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ธนสาร นันทบรม               วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
จักเรศ อิฐรัตน์                  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
วัฒนา พัดเกตุ                  คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
วัฒนา สุกัณศีล                ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชัยณรงค์ งอมสงัด            ข้าราชการครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาเต๊ฟ โซ๊ะโกะ                เลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
ฉันทลักษณ์ รักษาอยู่        นักกิจกรรมด้านสิทธิความหลากหลายทางเพศ
ศราวุฒิ ประทุมราช            นักสิทธิมนุษยชน
ปกป้อง เลาวัณย์ศิริ           นักสิทธิมนุษยชน
อรชพร นิมิตรกุลพร           นักสิทธิมนุษยชน
ปณิธิดา ผ่องแผ้ว              นักสิทธิมนุษยชน
อดิศร เกิดมงคล               มูลนิธิสันติวิถี
กานต์ ทัศนภักดิ์               API Fellowship Program
อุบลพรรณ กระจ่างโพธิ์      กลุ่มประกายไฟ
สมบัติ บุญงามอนงค์          มูลนิธิกระจกเงา
ศรายุธ ตั้งประเสริฐ            นักกิจกรรมทางสังคม
ชัยนรินทร์ กุหลาบอ่ำ         กลุ่มพรีดอน วิทยุออนไลน์ไร้ขีดจำกัด
ชาญชัย ชัยสุขโกศล         ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล
เจษฎา โชติกิภิวาทย์         กลุ่มประชาธิปไตยเพื่อรัฐสวัสดิการ
ศิววงศ์ สุขทวี                   มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม
จรรยา ยิ้มประเสริฐ            โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย
จารุวัฒน์ เกยูรวรรณ          โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย
กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา  FTA-Watch
วรรณเกียรติ ชูสุวรรณ        กลุ่มเรารักประชาธิปไตย
ภูดิส ทิพย์โสดา                นักวิชาการแรงงาน 4
วิราว์ วัฒนกิจ                   กลุ่มศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชน จ.ตรัง
สมเกียรติ ปานดี               ข้าราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ณัฐดนัย สิงห์คลีวรรณ        นักศึกษาปริญญาเอก มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา
อัครพล ฮวบเจริญ             นักศึกษาปริญญาเอก คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาวายอิ
ประทับจิต นีละไพจิตร       นิสิตปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เอกรินทร์ ต่วนศิริ             นิสิตปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ธนกร มาณะวิท                นิสิตปริญญาโท คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เอกพล เธียรถาวร             นิสิตปริญญาโท คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นัฐพงษ์ เป็งใจยะ นักศึกษาปริญญาโท คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อุเชนทร์ เชียงเสน             นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศิริภาส ยมจินดา               นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ภาวิณี ไชยภาค                นักศึกษาปริญญาโทสตรีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คมลักษณ์ ไชยยะ             นักศึกษาปริญญาโท คณะมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร
ภาคภูมิ ลบถม                  นักศึกษาปริญญาโท คณะมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร
เทวฤทธิ์ มณีฉาย              นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบัณบันฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
สมาภรณ์ แก้วเกลี้ยง        นักศึกษาปริญญาโท โครงการสิทธิมนุษยชนเพื่อการพัฒนา มหาวิทยามหิดล
อานนท์ ชวาลาวัลย์           นักศึกษาปริญญาโท JNU ประเทศอินเดีย
กุลเชษฐ วุฒิมานานนท์      นักศึกษาปริญญาโท สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ชลิตา บัณฑุวงศ์ อุณโณ    นักศึกษาปริญญาโท คณะมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยฮาวายอิ
ชยานนท์ จุลโลบล            นักศึกษาประกาศณียบัตรบัณฑิตกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปรัชญา สุรกำจรโรจน์        นักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
วิสันธ์ ชัยจำรูญพันธุ์          นักศึกษาปริญญาตรี โครงการพิเศษ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ฐาปน แสนยะบุตร             นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วรัญญู โพธิ์มูล                 นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ภาณุวัฒน์ เลิศขามป้อม     นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปรียาภรณ์ กันทะลา           นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นครินทร์ วิศิษฎ์สิน            ประธานกลุ่มสังคมนิยมประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อติเทพ ไชยสิทธิ์              นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
สุลักษณ์ หลำอุบล            นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภัทรดนัย จงเกื้อ               นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ
บุณฑริกา ฝากตัว นักศึกษามหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าฯพระนครเหนือ
จุติมา สิตวงษ์                  นักศึกษา
นิรดา โพธิ์สว่าง   นักศึกษา
เกิดเก้า พีรติยุทธ์             นักศึกษา
บวรศักดิ์ สิตวงษ์               นักเรียน
ณรงค์ ศิริสานสุนทร           นักดนตรี
สุเจน กรรพฤทธิ์               สื่อมวลชน
ณัฐพล พึ่งธรรม               สื่อมวลชน
ธนะเทพ สังเกิด                นักวิชาการ/ที่ปรึกษาแรงงานสัมพันธ์อิสระ 
จารุพรรณ กุลดิลก            วิศวกร
พิภพ วัฒเวียงคำ               วิศวกร
วิทยากร บุญเรือง             นักเขียน 
วรพจน์ พันธ์พงศ์            นักเขียน
ไม้หนึ่ง ก. กุนที              กวี
เต็กตี่ แซ่ตั้ง                   บรรณาธิการสำนักพิมพ์วลี
ภัทรพล ฉัตรชลาวิไล         ช่างซ่อมหนังสือ
อาจิณโจนาธาน อาจิณกิจ    คนทำงานศิลปะ
ศิริพงษ์ พีรติยุทธ์             พนักงานบริษัท
พงษ์ชัย บุตรคาม              พนักงานบริษัทเอกชน
สิทธิโชค ปิ่นสุภา              พนักงานบริษัทเอกชน
ชาคร โกมุทกาญจน์          พนักงานบริษัทเอกชน
วราภรณ์ ชุณห์วิจิตรา         บริษัทน้ำมันปิโตรเลียมไทย
นพ.ศักดา สถิรเรืองชัย       นายแพทย์
นพ.พงษ์ศักดิ์ ภูสิทธิ์สกุล   ศัลยแพทย์ทั่วไป จ. ราชบุรี
นพ.กิติภูมิ จุฑาสมิต          นายแพทย์
พลศักดิ์ วังวิวิวัฒน์             นักธุรกิจ
อรุณวนา สนิกะวาที           แม่บ้าน
ลัดดา ศรีนวล                  แม่บ้าน
พิณผกา งามสม                ประชาชน
จิระยุทธ คงหิ้น                 ประชาชน
พัฒนชัย สงวนศักดิ์           ประชาชน
ชลลดา รอดแผ้วพาล         ประชาชน
อรัญญา พากเพียรทรัพย์ ประชาชน
พรกมล พึ่งทอง                ประชาชน
บุบผา พากเพียรทรัพย์     ประชาชน
สมัคร กระแสเทพ             ประชาชน
ธีร์วนี วงศ์ทองสรรค์           ประชาชน
สมจิตร ทาริวงศ์                ประชาชน
ปองทิพย์ มงคลวิทย์          ประชาชน
ณภัทร สาเศียร                 ประชาชน
ขวัญระวี วังอุดม               ประชาชน
ภัควดี วีระภาสพงษ์          ประชาชน
พิภพ อุดมอิทธิพงศ์           ประชาชน
อัมพร กลิ่นรำพึง               ประชาชน
เนตรดาว เถาถวิล              ประชาชน
เนียว อ่อนน้อม                 ประชาชน
ณภัทร สาเศียร                 ประชาชน
พรพรรณ ศรีคัฒนพรหม     ประชาชน
สุจินต์ เจริญขจรชัย           ประชาชน
วีระชัย วีระพงษ์                ประชาชน
รัชนีย์ วีระพงษ์                 ประชาชน
ธนวัฒน์ ญาณิสรางค์กูล      ประชาชน
ธาตรี ฝากตัว                   ประชาชน
กิตติวัฒน์ พัฒนวงศ์งาม      ประชาชน
สุธนี ลี้กุล                       ประชาชน
ปารัชนันท์ ภาวัตโภควินท์    ประชาชน
ณัฐภุม เลิศยุทธนาชัย        ประชาชน
เอกพล พลเยี่ยม              ประชาชน
โสมสอางค์ บางวิเศษ        ประชาชน
ประยุทธ สายต่อเนื่อง        ประชาชน
ชลดา กลางบุรี                 ประชาชน
นวลจันทร์ สิงค์กราน          ประชาชน
มนทกานติ สิตวงษ์ เฟรียดดริกสัน    ประชาชน
นเรศ สิตวงษ์                   ประชาชน
ชลกาญจณ์ สิตวงษ์         ประชาชน
สัณห์ชัย โชติรสเศรณี        ประชาชน
ชลิดา เอื้อบำรุงจิต            ประชาชน
สุธิลา ลืนคำ                  ประชาชน
อธิโชค มหายศนันท์         ประชาชน
วัลพีร์ มหายศนันท์           ประชาชน
รณภพ มหายศนันท์          ประชาชน
วิเชียร เชือดกิ่ง                 ประชาชน
คชภพ รัศมินธาดา             ประชาชน
สมภพ สายตา                ประชาชน
อัจฉราวรรณ เอื้อนรเศรษฐ์ ประชาชน
ธเนศ ไอยรานภารักษ์        ประชาชน
นิรมล ยุวนบุณย์               ประชาชน
เฉลิม พุ่มประสาท             ประชาชน
ยุวดี พุ่มประสาท              ประชาชน
ปิ่น ขำบรรจง                   ประชาชน
ปรีชา ถนัดสำราญ             ประชาชน
อริยะวัฒน์ รัตนูปการ         ประชาชน
ปรีดา ธุระกิจเปรมปรีดิ์        ประชาชน
ธีรวรรณ บุญญวรรณ          ประชาชน
สุนันทา ปวุฒิยาพงศ์          ประชาชน
ชนะ กลางบุรี                  ประชาชน
ปาริมา พานิชย์                 ประชาชน
สงัด แซ่โหงว                   ประชาชน
มัทนา โกสุมภ์                  ประชาชน
พงศ์เทพ เทพาวัชรนนท์     ประชาชน
ภัสตราภรณ์ เอี่ยมน้อย       ประชาชน
กฤติยา คันธาเศรษฐ์          ประชาชน
สมโภชน์ จิวะพงษ์             ประชาชน
ชูเกียรติ ประสาทพร          ประชาชน
สุทธอร ศรีจันทร์ทิพย์        ประชาชน
ณรงค์ นิ่งน้อย                  ประชาชน
บุณยวีร์ ศรีจันทร์ทิพย์        ประชาชน
ณฤดี เสมพืช                  ประชาชน
ยุทธภูมิ ดงแสนสุข            ประชาชน
อุดมลักษณ์ ดงแสนสุข     ประชาชน
อิทธิณัฐ สีบุญเรือง           ประชาชน
ดลฤทัย จันทรภูมิ              ประชาชน
นุดีพร นรามณฑล            ประชาชน
วิสุทธิ์ แผลงฤทธิ์             ประชาชน
วันดี ศรีมณฑก                ประชาชน
โกมล เสริมบุญครอง         ประชาชน
สุวิมล วงษ์เปี่ยม               ประชาชน
บุญเยี่ยม วงษ์เปี่ยม           ประชาชน
บรรจงกิจ ลิมปดาพันธ์        ประชาชน
สถาพร เปี่ยมจิตร์              ประชาชน
อรุณี พูลสวัสดิ์                 ประชาชน
ปัฐมธิตา บุณยรัตพันธุ์        ประชาชน
พิเศษ นภาชัยเทพ            ประชาชน
วิเชียร พีรติยุทธ์               ประชาชน
ธงชัย น้ำหอม                  ประชาชน
จุรีรัตน์ บวรวัฒนุวงศ์          ประชาชน
วีรวงค์ วรินทร์กิตติกุล       ประชาชน
สมเกียรติ ตั้งนโม              ประชาชน
อรณิชา ตั้งนโม                ประชาชน
พัชรรินท์ ศาลกลาง           ประชาชน
ประดิษฐ์ ลีลานิมิต            ประชาชน
จรีรัตน์ ปานบุตร              ประชาชน
ฉัตราภรณ์ ปานบุตร          ประชาชน
สุทัศน์ สุจริต                   ประชาชน
มณีทิพย์ เรืองเดช            ประชาชน
ถาวร เครือเสน                ประชาชน
ประยูร ตระกรุดสงฆ์         ประชาชน
ชนัยสุดา งามฉวี              ประชาชน
กณิศ มีแพทย์                 ประชาชน
สมัย โคตรจักร                ประชาชน
นีรนุช เนียมทรัพย์             ประชาชน
พิชิต พิทักษ์                    ประชาชน
ชยากร เศษฤทธิ์               ประชาชน
เซ้ง สัญจรเลิศ                 ประชาชน
ถนัด ชาวเขา                    ประชาชน
สุพัตรา บุญพึ่ง                 ประชาชน
วรางคณา รัตนรัตน์            ประชาชน
สรัญญา ศรีเกื้อกูล            ประชาชน
สุธาทิพย์ เตชะชาคริต       ประชาชน
ชุติมา สุกใส                    ประชาชน
วัชรฤทัย บุญธินันท์           ประชาชน
วราลักษณ์ ฐิรวัฒนวงค์       ประชาชน
อัญชนีย์ ไทยสิทธิพงษ์      ประชาชน
 
ฯลฯ
 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net