Skip to main content
sharethis


ประชาไท - ในเวทีภาคประชาชนเหนือต่อสถานการณ์การเมืองการเลือกตั้ง ณ คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ที่ผ่านมา ได้มีการพูดคุยประเด็นเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ของแรงงานทั้งในและนอกระบบ โดยคุณเทียนศิริ ตัวแทนจากเครือข่ายแรงงานนอกระบบและ คุณอนุชา มีทรัพย์ รองประธานสหภาพแรงงานอัญมณีและเครื่องประดับสัมพันธ์ (นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน) ได้พูดคุยถึงปัญหาของแรงงาน และผลกระทบของ พรบ.ความมั่นคง ที่จะมีผลต่อแรงงานทั้งในและนอกระบบ


แรงงานนอกระบบ ต่อสู้เพื่อการคุ้มครองทางกฎหมาย


คุณเทียนศิริ ตัวแทนจากเครือข่ายแรงงานนอกระบบ กล่าวว่าความหมายหรือคำนิยามของแรงงานนอกระบบ คือ แรงงานนอกระบบไม่ได้อยู่ในรูปแบบเดียวกับแรงงานในระบบ ซึ่งแรงงานในระบบมีกฎหมายคุ้มครองและสวัสดิการต่างๆ เช่น เรื่องเวลาเจ็บป่วย แต่แรงงานนอกระบบไม่ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายไม่มีสวัสดิการ


 


ทั้งนี้มักมีปัญหาเรื่องความเข้าใจว่า แรงงานนอกระบบ คือ แรงงานพม่า ซึ่งไม่ใช่ทั้งหมดเลยทีเดียวเพราะแรงงานนอกระบบที่เป็นคนไทยก็มี โดยเป็นกลุ่มแรงงานที่มีลักษณะดังเช่น


 


1. แรงงานนอกระบบภาคเกษตร เช่น เพาะปลูก ประมง เป็นต้น  ซึ่งชาวเกษตรกร ทำงาน ที่บ้าน  ซึ่งเป็นชาวไร่ ชาวนา 


 


2. แรงงานนอกระบบภาคบริการ เช่น เด็กเสิร์ฟในคาเฟ่ แผงลอย ซื้อของเก่า ร้านตัดผม ร้านคาราโอเกะ   วินมอเตอร์ไซค์ เด็กปั้ม


 


3. แรงงานนอกระบบภาคผลิต พวกโอท็อป (OTOP) คนรับงานทำ ที่บ้าน เช่น ทำตุ๊กตา  ซึ่งพวกรับจ้างมาทำงานที่บ้าน มีหลายอย่าง และไม่ว่าจะทำน้ำพริก ของกิน เป็นต้น


 


ทั้งนี้แรงงานนอกระบบเอง ไม่เข้าใจว่าตัวเองเป็นแรงงานนอกระบบ ที่จะต้องได้รับการดูแลเหมือนแรงงานในระบบทั่วไป ในฐานะที่พวกเราเป็นประชาชน  


 


ซึ่งสำนักงานสถิตแห่งชาติ ได้สำรวจตัวเลขของแรงงาน ทั้งหมด ดังต่อไปนี้ว่า 50.4 ล้านคน มีแรงงาน ซึ่งทำงาน 35.5 ล้านคน แบ่งเป็นแรงงานในระบบ 13.7 ล้านคน ส่วนทางด้านแรงงานนอกระบบ 21 .8 ล้านคนด้วยกัน ในการสำรวจ ปี พ.. 2549  พบว่าปัญหาอยู่ที่พวกเราไม่รู้ว่าตัวเองเป็นแรงงานนอกระบบ เพราะว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของผู้สร้างเศรษฐกิจกับภาครวมของประเทศ ทั้งที่เรากิน เราใช้ เราบริโภค กินข้าว กินน้ำ ต่างๆ แต่ว่าไม่มีการคุ้มครองดูแลของเรา ก็ไม่มีการให้ความสำคัญกับเรา  คือเลือกปฏิบัติกับเรา และกฎหมายไม่ชัดเจน ในการคุ้มครองเรื่องกฎหมายแรงงาน


 


ประเด็นที่กล่าวมาแล้วว่า กฎหมายไม่ให้การคุ้มครองเกี่ยวกับเรา ซึ่งมีกฎกระทรวงแรงงาน ผู้รับงานไปทำที่บ้าน และคุ้มครองภาคเกษตรกร คือ พ... ที่ออกในปี พ..2541 ซึ่งการทำกฎหมายคุ้มครองแรงงานนอกระบบ ไม่ได้ครอบคลุมกับเรา


 


โดยเนื้อหา และสาระของกฎหมายไม่ครอบคลุม คือไม่ดูแลในแง่ของการปฏิบัติ เช่น ไม่สามารถเอาผิดนายจ้างได้ ในแง่ปฏิบัติว่าต้องจ่ายเงินให้หลัง15 วัน ในการส่งมอบงานแล้วไม่สามารถเอาผิดนายจ้างได้เลย เพราะเราไม่ได้มีการทำงานทุกวัน และไม่ได้ทำสัญญาจ้างงาน ไม่เป็นหลักฐานชัดเจนว่า เราทำงานกับเขา แต่ว่านายจ้างในสถานประกอบการก็หาช่องทางในการปล่อยงานออกข้างนอกให้เราทำที่บ้านเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเขาก็ไม่ได้ทำสัญญากับเรา ซึ่งเป็นการหลีกเลี่ยงของนายจ้างและก็ผลักให้เป็นความรับผิดชอบของเรา


 


แต่ พ...คุ้มครองส่งเสริมและพัฒนาฝีมือแรงงาน ที่กำลังผลักดัน นอกจากการคุ้มครองทางกฏหมายแล้ว ซึ่งขณะนี้ สนช. กำลังพิจารณาร่างของเรากับร่างกระทรวงแรงงาน โดยร่างของเราเสนอเน้นส่งเสริมและพัฒนาฝีมือแรงงานด้วย


 


ดังนั้น ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน การเลิกจ้างงานทำงานในระบบมากนัก จึงทำให้แรงงานออกมาทำงานนอกระบบกันมาก ถ้าเราไม่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาฝีมือแรงงาน บริษัทจะย้ายฐานการผลิตไปที่อื่น และร่างของกระทรวงแรงงานไม่เห็นความสำคัญนี้ โดยล่าสุด สนช. รับเอาร่าง พ... เข้าไปแล้ว สำหรับการพิจารณา พ...ดังกล่าว


 


ส่วนในประเด็นเกี่ยวกับ พ... ความมั่นคง ถ้ากฏหมายออกมาจะจำกัดสิทธิของเรา มีผลต่อการรวมตัวของแรงงานนอกระบบ อันยื่นข้อเสนอ เรียกร้องต่างๆ ถ้ารัฐบาลไม่ให้เราแสดงท่าที่ จะจำกัดสิทธิเสรีภาพของเรา ในการแก้ปัญหาของการช่วยเหลือในแรงงานนอกระบบ จะมีผลกระทบแน่นอน


 


สหภาพแรงงานจะเป็นไปได้ยาก หาก พรบ. ความมั่นคงผ่าน


อนุชา มีทรัพย์ รองประธานสหภาพแรงงานอัญมณีและเครื่องประดับสัมพันธ์ (นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน) กล่าวว่า แรงงานในระบบ ทำงานในโรงงาน มีสัญญาจ้างงาน ทั้งนี้ในตอนแรกยังไม่ได้แบ่งเป็นแรงงานในระบบกับนอกระบบ ซึ่งรวมกันทั้งหมด แต่ว่าโดนแบ่งในยุค รสช. เพราะว่ามีการจัดการไม่ให้แรงงานในระบบรวมตัวกันได้


 


ในสมัย รสช. แรงงานทำให้โดนแบ่งเป็นประเภทอุตสาหกรรมต่างๆ โดยถ้าหากว่าจะรวมตัวกันได้แท้ๆ ให้มีกฎหมายคุ้มครอง ก็ต้องเป็นอุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน เช่น อัญมณีก็ต้องรวมกับอัญมณี เหล็กก็ต้องรวมกับเหล็ก เป็นต้น แต่ถ้าหากว่าเป็นกลุ่มอื่นๆ ที่แตกต่างกันมารวมตัวกันก็ไม่มีการคุ้มครองทางกฎหมาย


 


ทั้งนี้สหภาพแรงงานได้เกิดขึ้นในกลุ่มอุตสาหกรรม ประมาณ 10-20 กว่าปีเท่านั้น แต่ก่อนมีสหภาพแรงงาน ก็มีปัญหามากกว่านี้


 


เช่น กรณีโรงงานเมืองหลักที่ตายไปประมาณ 20 กว่าคน แต่มีสารตะกั่วตกค้างมากนอนป่วยอยู่ที่บ้านแล้วออกอาการอีก 100 กว่าคน  และป่วยแล้วไม่ออกอาการอยู่เกือบอีก 200 กว่าคน คือประวัติของนิคมอุตสาหกรรม ถ้าใครรู้เรื่องอุตสาหกรรมลำพูนจะรู้เรื่องโรงงานเมืองหลักดี เพราะเป็นข่าวดังของเศรษฐกิจภาคเหนือ


 


ซึ่งส่วนใหญ่แรงงานในระบบ มีกฎหมายคุ้มครอง ซึ่งกฎหมายคุ้มครองแท้ คือ การบังคับให้ทำงานเท่านั้น และวันแรงงานได้หยุดในวันแรงงาน ถ้าอยากเรียกร้อง ต้องใช้กฎหมาย คือ พ...แรงงานสัมพันธ์ใน พ.. 2518 ไม่เคยเปลี่ยนเลย


 


ขณะนี้มีความต้องการให้แก้ไขในมาตรา 75 ของกฏหมายนี้ ซึ่งว่าด้วย ถ้าหากว่านายจ้าง มีเหตุความจำเป็น หรือเหตุสุดวิสัย ให้นายจ้าง สั่งหยุดงาน แล้วจ่ายไม่ต่ำกว่า 50%


 


ด้านกฎหมายต่อมา ในปี พ.. 2540 ช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ มีความหมายก็คือ เมื่อเกิดเหตุสุดวิสัย ไฟไหม้ น้ำท่วม หรือเหตุอันจำเป็น ที่นายจ้างไม่ทราบล่วงหน้า สามารถสั่งให้พนักงานหยุดงานโดยให้จ่ายไม่ต่ำกว่า 50% แต่ตอนนี้เราประสบปัญหานี้มาก เพราะนายจ้างเอามาตรา 75 มาใช้พร่ำเพรื่อ สมมติว่า มีผู้ก่อการจะตั้งสหภาพแรงงาน แล้วนายจ้างรู้ว่าจะตั้งสหภาพแรงงาน เขาจะใช้มาตรา 75 สั่งพักงาน คนเหล่านี้แล้ว คนพวกนี้ได้ค่าแรง 149 รายได้ครึ่งเดียวสั่งพักอีกสามเดือน แถมไม่มีการดูแล และซ้ำร้ายกว่านั้นในเดือนที่ผ่านมา กฎหมายได้บอกว่าห้ามจ้างคนท้องออกจากงาน แต่อีกโรงงานหนึ่งใช้โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด700 กว่าคน ซึ่งมีคนท้องอยู่ 40 กว่าคน มีผู้ไม่ยอมเซ็นเพียง 4 คนถูกเลิกจ้าง ก็ถามว่ากฎหมายมีแต่ไม่ได้ถูกใช้ตามนั้น


 


ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานบุกเข้าโรงงานและเอาตำรวจมาด้วยว่า ไม่อยากให้มีการชุมนุม และบอกว่าพนักงานต้องเซ็นยินยอมกับโรงงาน โดยเราต่อรองทางกฎหมายบอกว่าอยากได้ค่าแรงมากกว่าแรงงานขั้นต่ำ ให้ออกมาเรียกร้องเอง แต่การเรียกร้องต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย


 


ทั้งนี้รัฐไม่อยากให้มีการชุมนุมเพราะว่า พรรคการเมืองและชนชั้นนำได้รับการสนับสนุนพ่อค้านายทุน จึงทำให้พวกเราต้องมีการเรียกร้องต่อรอง เช่นการชุมนุมปิดถนน แต่ก็ไม่มีคนมารับเรื่องของพวกเรา และถ้ามี พ...ความมั่นคง จะทำให้การจัดตั้ง รวมกลุ่มจะเป็นไปได้ยาก เพราะอำนาจไม่อยู่ที่เรา ทำให้ปิดล้อมยากขึ้น


 


ดังนั้นในท้ายที่สุดถ้า พ... ความมั่นคงออกมาสำเร็จ การรวมกลุ่มจะทำได้ยากขึ้น กลุ่มคนงานจะลำบาก ซึ่งมันส่งผลกระทบต่อการชุมนุมของสหภาพแรงงานด้วย


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net