Skip to main content
sharethis

โพลล์บ้านสมเด็จสำรวจคน กทม. พันกว่าตัวอย่าง 42.9% เลือกผู้ว่า กทม.จากนโยบาย และร้อยละ 24.7 อยากได้คนที่ทำตามนโยบายตัวเองได้ ส่วนชัชชาติยังนำห่างได้ไปร้อยละ 29.8 ยังไม่ตัดสินใจ 13.9 วิโรจน์ตามมาที่ 10.9

หากต้องการดูภาพใหญ่คลิกขวาที่ภาพเพื่อเปิดหน้าต่างใหม่

11 พ.ค.2563 ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาออกรายงานผลสำรวจเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่กำลังจะมีขึ้นในวันที่ 22 พ.ค.นี้

รายงานระบุถึงเกณฑ์การเก็บข้อมูลของโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครนี้ว่า ได้เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,113 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 6 - 9 พฤษภาคม 2565 กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่า ประชากรเกิน 100,000 คนต้องการความเชื่อมั่น 95% และความผิดพลาดไม่เกิน 3% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,111 กลุ่มตัวอย่าง

ในรายงานยังระบุอีกว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่า ผลการสำรวจในครั้งนี้เรื่องการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 ซึ่งการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งสุดท้ายคือ วันที่ 3 มี.ค. 2556 โดยในเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานครครั้งนี้ มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รวมจำนวน 31 คน แบ่งเป็นเพศชายจำนวน 25 คน เพศหญิงจำนวน 6 คน สังกัดพรรคการเมืองจำนวน 5 คน เป็นผู้สมัครอิสระจำนวน 26 คน และมีผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร 50 เขต รวมจำนวน 382 คน ซึ่งผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

  • กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยากได้ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่มีคุณสมบัติที่มีการปฏิบัติตามนโยบายที่ได้ประกาศไว้ มากที่สุด ร้อยละ 24.7 อันดับสองคือมีการปฏิบัติงานให้เห็นเป็นรูปธรรม ร้อยละ 15.5 อันดับสามคือมีความขยันทุ่มเทในการทำงาน ร้อยละ 14.1 อันดับสี่คือมีการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว ร้อยละ 13.6 และอันดับห้าคือมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ร้อยละ 9.9

  • อยากได้สมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่มีคุณสมบัติที่มีความซื่อสัตย์โปร่งใสมากที่สุด ร้อยละ 17 อันดับสองคือมีความขยันทุ่มเทในการทำงาน ร้อยละ 15.9 อันดับสามคือมีการปฏิบัติตามนโยบายที่ได้ประกาศไว้ ร้อยละ 15.5 อันดับสี่คือมีการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว ร้อยละ 13.7 และอันดับห้าคือมีการเข้าถึงประชาชนอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 13

  • กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยากให้ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนมากที่สุด อันดับหนึ่งคือ ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 21.5 อันดับสองคือ ปัญหาการจัดการน้ำท่วม ร้อยละ 14.4 อันดับสามคือ ปัญหาการกีดขวางทางเท้า (ฟุตบาท) ร้อยละ 13.9 อันดับสี่คือ ปัญหาการคอรัปชั่น ร้อยละ 12.8 และอันดับห้าคือ ปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย ร้อยละ 10.3

  • กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดว่าปัจจัยที่ทำให้ตัดสินใจในการเลือกผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร จากนโยบายการพัฒนา กทม ร้อยละ 42.9 รองลงมาคือตัวผู้สมัคร ร้อยละ 33.6 และกลุ่มหรือพรรคการเมืองที่สังกัด ร้อยละ 23.5

  • คิดว่าการเลือกผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ควรมาจากกลุ่มหรือพรรคการเมืองเดียวกัน ร้อยละ 54.1 รองลงมาคือ เป็นผู้สมัครอิสระ ร้อยละ 45.9

  • คิดว่าจะเลือกผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มากที่สุด อันดับที่หนึ่งคือ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ร้อยละ 29.8 อันดับสองคือ ยังไม่ตัดสินใจ ร้อยละ 13.9 อันดับสามคือ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ร้อยละ 10.9 อันดับสี่คือ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ร้อยละ 8.1 อันดับห้าคือ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ร้อยละ 7.5 อันดับหกคือ สกลธี ภัททิยกุล และ ไม่ประสงค์ลงคะแนน ร้อยละ 4.1 อันดับเจ็ดคือ รสนา โตสิตระกูล ร้อยละ 3.1 และอันดับที่แปด คือ น.ต.ศิธา ทิวารี ร้อยละ 2.3

โดยผลสำรวจจากประชากร 1,113 คนดังกล่าวมาจากกลุ่มตัวอย่างที่มีสัดส่วนเพศ อายุ และอาชีพดังต่อไปนี้

1. เพศ

ชาย

ร้อยละ 45.7

 

หญิง

ร้อยละ 54.3

2. อายุ

18 - 20 ปี

ร้อยละ 5.3

 

20 – 25 ปี

ร้อยละ 19.3

 

26 – 30 ปี

ร้อยละ 17.7

 

31 – 35 ปี

ร้อยละ 16.3

 

36 – 40 ปี

ร้อยละ 12.8

 

41 - 45 ปี

ร้อยละ 10.6

 

46 - 50 ปี

ร้อยละ 9.3

 

มากกว่า 50 ปี

ร้อยละ 8.7

3. อาชีพ

นักเรียน / นิสิต / นักศึกษา

ร้อยละ 14.8

 

ข้าราชการ/พนักงานของรัฐ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 14.7

 

พนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 22.4

 

พ่อค้า/แม่ค้า

ร้อยละ 17.4

 

แม่บ้าน/พ่อบ้าน

ร้อยละ 10.6

 

รับจ้างทั่วไป

ร้อยละ 20.1


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net