Skip to main content
sharethis

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 
คนเชียงใหม่ลุกค้าน "นายกฯ ทักษิณ"  หลังจากสั่งการให้รื้อฝายโบราณกั้นน้ำปิงทั้ง  3 แห่ง และให้ทำฝายยางตรงท่าวังตาลแทน  ในขณะที่ชาวบ้าน กลุ่มผู้ใช้น้ำออกยืนกรานไม่ให้รื้อระบบเหมืองฝาย  เพราะจะส่งผลกระทบประชาชน  8  ตำบล  104 หมู่บ้าน  ในเขตเชียงใหม่-ลำพูน  หากยังไม่หยุด  เตรียมเดินขบวนคัดค้านจนถึงที่สุด
 
 

 

 

 

 

 

 

 "เหมืองฝายพญาคำ เป็นเหมืองฝายเก่าแก่ สร้างขึ้นก่อนจะมีเวียงกุมกาม เวียงเชียงใหม่ เสียอีก  แต่จู่ๆ  นายกฯ ซึ่งเป็นคนเมือง จะมาสั่งให้รื้อทิ้ง  หากมีการรื้อฝายทั้ง  3 แห่ง  ชาวบ้านทั้ง  8  ตำบล  104  หมู่บ้าในเขตเชียงใหม่-ลำพูน ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทำการเกษตรประมาณ 30,000 ไร่  จะต้องได้รับผลกระทบอย่างหนัก  เพราะไม่สามารถผันน้ำเข้าลำเหมืองได้  และเชื่อว่า ชาวบ้านจะต้องออกมาประท้วงแน่นอน" นายหมื่น  ทิพยเนตร ผู้อาวุโสวัย 76 ปี  ประธานเหมืองฝายพญาคำ กล่าวย้ำ

 

 

 

 

 

นายสมบูรณ์  บุญชู  ประธานคณะกรรมการจัดการลุ่มน้ำแม่ปิงตอนบน ส่วนที่ 2 และสมาชิก อบต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า  ที่ พ...ทักษิณ  ชินวัตร  นายกรัฐมนตรี  ออกคำสั่งให้รื้อฝาย  3  แห่ง  คือ ฝายพญาคำ  ฝายท่าวังตาล  และฝายหนองผึ้ง ทิ้ง  แล้วไปสร้างฝายยางขึ้นที่ท่าวังตาล  เพื่อเป็นการแก้ปัญหาน้ำท่วมนั้น  ถือว่าเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง  และชาวบ้านทุกคนต่างไม่ยอม และไม่เห็นด้วยกับแนวความคิดนี้

 

 

 

 

 

"เพราะว่า การรื้อฝายนั้นไม่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาน้ำท่วมเลย  และกรณีที่มีน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้  ก็ถือว่าเป็นเหตุการณ์ทางธรรมชาติ  ที่ในรอบ 20-30 ปี จึงจะมีครั้งหนึ่ง  แต่สำหรับฝายพญาคำ นั้นมีอายุเป็นพันๆ  ปี  ก็ไม่เคยสร้างปัญหาอะไรให้กับชาวบ้าน  ดังนั้น  หากจะมีการรื้อ  ชาวบ้านจะออกมาเดินขบวนคัดค้านอย่างแน่นอน"นายสมบูรณ์  กล่าว

 

 

 

 

 

ด้าน นายหมื่น ทิพยเนตร ผู้อาวุโสวัย 76 ปี  ประธานเหมืองฝายพญาคำ เปิดเผยว่า เหมืองฝายพญาคำ เป็นเหมืองฝายเก่าแก่ สร้างขึ้นก่อนจะมีเวียงกุมกาม เวียงเชียงใหม่ เสียอีก  แต่จู่ๆ  นายกฯ ซึ่งเป็นคนเมือง จะมาสั่งให้รื้อทิ้ง  ซึ่งขณะนี้ชาวบ้านทั้งเชียงใหม่  ลำพูน ต่างไม่เห็นด้วย  เพราะทำไมไม่มาปรึกษาหารือกับ ประธานฝายทั้ง 3 แห่ง เสียก่อน

 

 

 

 

 

"หากมีการรื้อฝายเชื่อว่าชาวบ้านทั้ง  8 ตำบล 104 หมู่บ้านซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทำการเกษตรประมาณ 30,000 ไร่  จะต้องได้รับผลกระทบอย่างหนัก  เพราะไม่สามารถผันน้ำเข้าลำเหมืองได้และเชื่อว่า ชาวบ้านจะต้องออกมาประท้วงแน่นอน หากมีการรื้อฝายทิ้ง" นายหมื่น  กล่าวย้ำ

 

 

 

 

 

ในขณะที่นายสัญญา  พรหมศาสตร์  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสารภี  .สารภี  .เชียงใหม่  กล่าวว่า  ขณะนี้  กลุ่มผู้ใช้น้ำในระบบเหมืองฝาย  ทั้ง 3  แห่ง  ได้มีการประชุมกันแล้วว่า  ไม่ยอมให้รื้อ  และมติของสภา อบต.สารภี  ก็มีมติออกมาแล้วว่า  ไม่เห็นด้วยที่จะมีการรื้อฝาย  เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม  เพราะว่าสาเหตุที่น้ำท่วมไม่ใช่อยู่ที่ตัวฝาย

 

 

 

 

 

"จริงๆ แล้ว กรณีที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ สาเหตุคือ การทำลายป่า  เพราะฉะนั้นหากจะแก้ปัญหาในระยะยาว  ควรไปแก้ไขด้วยการฟื้นฟูสภาพป่าไม่ใช่การรื้อฝาย" นายก อบต.สารภี กล่าวทิ้งท้าย

 

 

 

 

 

ทั้งนี้เหมืองฝายพญาคำเป็นเหมืองฝายที่มีอายุกว่า 1,000 ปี โดยในครั้งนั้น มีเจ้าพญาคำ เป็นผู้วางแผน และรวบรวมชาวบ้านในเขตปกครองพื้นที่เชียงใหม่-ลำพูนที่อยู่ติดต่อกัน มาร่วมกันขุดลอกลำเหมือง และร่วมกันสร้างฝายธรรมชาติกันขึ้น  ตั้งแต่ปี พ..1100 เป็นต้นมา

 

 

 

เหมืองฝายพญาคำ จึงเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมานาน เป็นสายน้ำสายเลือดใหญ่ที่ไปหล่อเลี้ยงชุมชนตั้งแต่ ต.ท่าศาลา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ไปสิ้นสุดที่ ต.หนองแฝก ต.อุโมงค์ และ ต.ป่าแดด อ.เมือง จ.ลำพูน ซึ่งได้สืบทอดมาเป็นประธานเหมืองฝายพญาคำ มาตั้งแต่ปี พ..2497 มาจนถึงปัจจุบัน โดยมีผู้ใช้น้ำในชุมชนลักษณะกึ่งเมืองกึ่งชนบท ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 104 หมู่บ้าน ในพื้นที่รับน้ำประมาณ 30,000 ไร่
 

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net