Skip to main content
sharethis

บีโอโอ เผยเตรียมแผนชักจูงการลงทุนในช่วงครึ่งปีแรก 2548 ตั้งเป้าดึงกลุ่มอุตสาหกรรมยายยนต์และชิ้นส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมอาหาร พร้อมนำนักธุรกิจไทยบุกประเทศจีน อินเดีย เยอรมนี ญี่ปุ่นและประเทศเพื่อนบ้าน หวังเพิ่มโอกาสและช่องทางการลงทุน

นายสาธิต ศิริรังคมานนท์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยถึงแผนการชักจูงการลงทุนจากต่างประเทศ ระหว่างเดือนมีนาคม - กรกฎาคม 2548 ว่า บีไอโอจะเน้นชักจูงการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมยายยนต์ ชิ้นส่วนยายยนต์ แม่พิมพ์และชิ้นส่วนโลหะ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมอาหาร รวมทั้ง มีแผนที่จะนำนักธุรกิจไทยไปศึกษาโอกาสและลู่ทางการลงทุนในประเทศจีน อินเดีย เยอรมนี ญี่ปุ่นและประเทศเพื่อนบ้านได้แก่ เวียดนาม พม่า กัมพูชาและลาว ให้มากยิ่งขึ้นด้วย

โดยในช่วงระหว่างวันที่ 20- 24 มีนาคมนี้ บีโอไอจะนำธุรกิจไทยร่วมเดินทางไปศึกษาลู่ทางการลงทุนในมณฑลต้าเหลียน และชิงเต่า ซึ่งเป็นมณฑลที่มีความสำคัญด้านอุตสาหกรรมอาหารและอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศจีน รวมทั้งจะชักจูงการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและอิเล็กทรอนิกส์จากจีนให้เข้ามาลงทุนในไทยด้วย

และในช่วงต้นเดือนเมษายน บีไอโอจะนำนักธุรกิจไทยเดินทางไปศึกษาลู่ทางการค้าการลงทุนในประเทศลาวและเวียดนาม (เว้) โดยทั้งสองประเทศมีอุตสาหกรรมสำคัญที่เป็นเป้าหมายของนักลงทุนไทยหลายกลุ่ม อาทิ โครงการสาธารณูปโภค อุตสาหกรรมเกษตร สิ่งทอ เคมีภัณฑ์ โรงแรมและการท่องเที่ยว

นายสาธิต กล่าวต่อว่า ช่วงกลางเดือนเมษายน บีโอไอจะเดินทางไปชักจูงการลงทุนที่เชี่ยงไฮ้ เจียงชู เจ้อเจียง ซึ่งมีความสำคัญทางด้านอุตสาหกรรม ไอซีที ชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งนอกจากจะเป็นการเดินทางโรดโชว์เพื่อนำนักธุรกิจไทยไปศึกษาสลู่ทางลงทุน รวมถึงเชื่อมโยงธุรกิจในแต่ละประเภทอุตสาหกรรมในจีนแล้ว ยังเป็นการสานสัมพันธ์ไทย - จีนด้วยการสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานของรัฐบาลจีนเพื่อส่งเสริมการลงทุนระหว่าง 2 ประเทศด้วย รวมถึงจะนำนักธุรกิจทยเดินทางไปศึกษาลู่ทางการลงทุนในประเทศเยอรมนี พร้อมทั้งพบปะเจรจาทางธุรกิจกับนักลงทุนเยอรมนีในงาน 7th VMC roadshow in Hannover Fair 2005 นอกจากนี้ บีไอโอจะประชุมหารือกับนักลงทุนกลุ่มยานยนต์ชาวเยอรมันและสโลเวเนียด้วย

จากนั้นในเดือนมิถุนายน จะเดินทางไปชักจูงการลงทุนที่ประเทศญี่ปุ่น โดยจะจัดสัมมนาโอกาสและลู่ทางการลงทุนในไทยให้กับนักลงทุนญี่ปุ่น รวมทั้งประชุมหารือรายบริษัท เพื่อชักจูงนักลงทุนญี่ปุ่นในกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ แม่พิมพ์และชิ้นส่วนโลหะ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เข้ามาลงทุนในประเทศไทย นอกจากนี้ บีโอไอก็จะเข้าชมความกวหน้าทางเทคโนโลยีในงาน Asia Tech Fair และ 9th M-Tech Fair 2005 ด้วย

ช่วงปลายเดือนมิถุนายนถึงต้นเดือนกรกฎาคม จะนำนักธุรกิจไทยเดินทางไปศึกษาลู่ทางการลงทุนในประเทศพม่าและประเทศกัมพูชา ซึ่งมีอุตสาหกรรมที่น่าสนใจได้แก่ สาธารณูปโภค เกษตร สิ่งทอ เคมีภัณฑ์ โรงแรม/ท่องเที่ยว เป็นต้น

นอกจากนี้ ในเดือนสิงหาคม ยังมีแผนนำนักธุรกิจไปประเทศอินเดียโดยมุ่งเน้นอุตสาหกรรม ไอซีทีและชิ่นส่วน อัญมณี สิ่งทอ เกษตร ฯลฯ

แม่ฮ่องสอนจี้ผันน้ำสาละวิน
แก้ภัยแล้งภาคเหนือ- กลาง

นายสุพจน์ เลาวัณย์ศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร จังหวัดแม่ฮ่องสอนได้เสนอต่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช ว่าการผันน้ำสาละวิน น่าจะเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลางได้เป็นอย่างดี เพราะแม่น้ำสาละวิน เป็นแม่น้ำที่มีปริมาณน้ำจำนวนมากไหลผ่านพื้นที่แม่ฮ่องสอน

ทั้งนี้ การผันน้ำสาละวิน ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้า หรือวิธีการส่งน้ำไปตามร่องหุบภูเขา เพื่อลงสู่เขื่อนภูมิพลเป็นการเพิ่มต้นทุนน้ำในเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และเมื่อก่อสร้างเขื่อนบริเวณลำน้ำสาละวินแล้ว ปริมาณน้ำในลำน้ำปายก็จะเพิ่มขึ้น ทำให้น้ำในลำน้ำปายไหลลงสู่สาละวินช้าลง เกษตรกรก็สามารถนำน้ำในลำน้ำปายเข้ามาใช้ในทางการเกษตรได้ ขณะนี้หลาย ๆ ฝ่ายมีแนวความคิดว่าการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในประเทศไทยขณะนี้ น่าจะมีการผันน้ำสาละวินขึ้นมาใช้ เพราะปัจจุบันการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรมีผลกระทบไปทั่วภาคเหนือและภาคกลาง

กสท เปิดให้บริการประชุมทางเสียง

นายศรายุทธ์ อภิญญาวัชรกุล ผู้จัดการส่วนการตลาด ศูนย์บริการเขตภาคเหนือ เปิดเผยว่า ขณะนี้ กสท ได้พัฒนาระบบเทคโนโลยี พร้อมตกลงกับต่างประเทศในการเปิดให้บริการประชุมทางเสียง โดยผ่านเลขหมายโทรศัพท์ที่มีใช้ในหน่วยงาน สถาบัน ที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทางเข้าร่วมประชุม โดยเฉพาะการเดินทางระหว่างประเทศ วิธีให้บริการมี 2 รูปแบบคือ แบบ Dial In ผู้ใช้บริการที่จะเข้าประชุมทางเสียงทั้งหมด หมุนโทรศัพท์เข้าสู่ระบบบริการของ กสท ตามเวลาที่นัดหมายกันไว้ โดยผู้ใช้บริการแต่ละสายจะได้รับ Past Code เพื่อเข้าระบบ

ส่วนแบบ Dial Out ผู้ใช้บริการที่เป็นประธานการประชุม เป็นผู้เรียกเข้าระบบ และเป็นผู้เรียกติดต่อไปยังผู้เข้าร่วมประชุมปลายทาง โดย กสท จะให้ Past Code แก่ผู้ใช้บริการที่เป็นประธานการประชุม ค่าใช้บริการจะคิดเป็น 2 ส่วน คือ ค่าเช่าใช้ห้องประชุมนาทีละ 6 บาท ค่าใช้บริการแบบ Dial Out ค่าบริการในประเทศนาทีละ 2 บาท ระหว่างประเทศนาทีละ 9 บาท

สอบถามรายละเอียดได้ที่ส่วนการตลาด ศูนย์บริหารเขตภาคเหนือ โทร.053 261163 หรือที่ส่วนการตลาด สำนักงานบริการลูกค้าเชียงใหม่ โทร.053 - 261178

รอบทิศเศรษฐกิจ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net