Skip to main content
sharethis

ประชาไท - 3 ก.พ.48 "การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษตามร่างกฎหมายดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสียหายกับทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชนอย่างมาก" นายเดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กล่าว

นายเดชรัต ชี้แจงว่า ร่างพ.ร.บ.เศรษฐกิจพิเศษได้ให้อำนาจแค่คณะกรรมาการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อมแทนหน่วยงานอื่น รวมทั้งมีอำนาจในการจัดระบบชลประทาน จัดทำผังเมือง กำหนดการใช้พื้นที่ในเขตป่าสงวน โดยไม่มีการตรวจสอบทัดทานจากหน่วยงานใดๆ ซึ่งจะกลายเป็นช่องโหว่สำคัญในการคุ้มครองสภาพแวดล้อมและสุขภาพประชาชน

"คณะกรรมการนโยบายฯ นี้ มีนายกฯ เป็นประธาน มีรัฐมนตรี 4 ท่านเป็นกรรมาการ ส่วนผู้ทรงคุณวุฒิอีก 7-10 คนก็ระบุเพียงว่าให้เป็นบุคคลผู้ทรงความรู้และเชี่ยวชาญอันจะยังประโยชน์ในการกำหนดนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยไม่ได้กำหนดไม่ได้กำหนดเงื่อนไขความเชี่ยวชาญด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไว้เลย" นายเดชรัตกล่าว

นายเดชรัตกล่าวด้วยว่า นอกจากนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีบทบาทสำคัญในการรักษาและส่งเสริมสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น มีอำนาจในการอนุมัติ อนุญาต หรือให้ความเห็นชอบโครงการต่างๆ ในท้องถิ่นก็ถูกลดทอนอำนาจ โดยถ่ายโอนไปให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการบริหารเขตเศรษฐกิจแทน โดยองค์กรส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่เฉพาะส่วนที่เขตเศรษฐกิจร้องขอ และหากมีกรณีที่มีความขัดแย้งกันกับเขตเศรษฐกิจ ก็ให้คณะกรรมการนโยบายที่นายกฯ เป็นประธานพิจารณาวินิจฉัย

ประชาไทรายงาน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net