Skip to main content
sharethis

ประชาไท - 29 พ.ย. 49 กระทรวงสาธรณสุข น.พ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย น.พ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข น.พ.ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค น.พ.วินัย สวัสดิวร รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสังคมสุขภาพแห่งชาติ น.พ.วิชัย โชควิวัฒน อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ในฐานะประธานกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม และ พล.ท.น.พ.มงคล จิวะสันติการ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม แถลงข่าว "การบังคับใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมล่าสุด พ.ศ. 2542" ซึ่งประกาศใช้ในเดือนธันวาคม 2549 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเอดส์ทุกคนเข้าถึงยาต้านไวรัสเอชไอวีที่มีประสิทธิผลสูงในการรักษา


 


นพ.มงคล กล่าวว่า เรื่องของการใช้ยาต้านเชื้อเอชวีเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งที่ผ่านมาการระบาดของผู้ติดเชื้อดังกล่าวยังเป็นปัญหาสำคัญต่อการสาธารณสุข จนถึงขณะนี้ประมาณว่ามีคนไทยติดเชื้อกว่า 1 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้มากกว่า 5 แสนคนที่จำเป็นจะต้องใช้ยาต้านไวรัสฯ แต่จากผลการสำรวจมีผู้ติดเชื้อที่สามารเข้าถึงยาได้เพียง 100,000 กว่าคนซึ่งถือว่าน้อยมาก


 


ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้เสนอให้กระทรวงสาธารณสุขใช้ประโยชน์ตามบทบัญญัติ มาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร ใช้สิทธิบัตรยาที่มีชื่อการค้าว่าสต๊อคคริน มีชื่อสามัญทางยาคือ เอฟาไวเรนซ์ ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสเอชไอวี


        


 "โดยให้องค์การเภสัชกรรมเป็นผู้ผลิตหรือนำเข้ายาชื่อสามัญตามสิทธิบัตรดังกล่าว เพื่อจำหน่ายให้แก่หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบบประกันสังคม และระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ กระทรวงสาธารณสุขพิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นบทบาทของกรมควบคุมโรคที่จะต้องออกประกาศใช้สิทธิดังกล่าว เนื่องจากเป็นกรมที่ดูแลเรื่องการระบาดของเชื้อเอชไอวี โดยได้ลงนามแล้วในวันนี้ รวมทั้งได้นำเรื่องดังกล่าวรายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบแล้วและท่านก็ได้เห็นดีด้วย"


 


ด้าน นพ.วิชัย กล่าวว่ามาตรา 51 พ.ร.บ.แห่งสิทธิบัตรนี้ได้มีมาแล้ว 27 ปี แต่ยังไม่เคยนำมาบังคับใช้ ดังนั้นการนำมาใช้ในครั้งนี้เป็นการใช้สิทธิเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายของประเทศไม่ได้ทำผิดแปลกจากสากลแต่อย่างใด อีกทั้งเป็นไปตามข้อตกลงทางการค้าที่ว่าด้วยสินทรัพย์ทางปัญญา หรือเรียกย่อๆว่าทริปส์ และเนื่องจากยาเอฟาไวเรนซ์ ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นยาที่มีอัตราการเกิดผลข้างเคียงน้อยกว่า การขยายความครอบคลุมการเข้าถึงยาตัวนี้ในกลุ่มผู้ป่วยเอดส์ สามารถลดอัตราเสี่ยงของผู้ป่วยจากการแพ้ยาสามัญตัวอื่น ซึ่งในบางรายทำให้ผู้ป่วยเอดส์เสียชีวิต การลดอัตราเสี่ยงดังกล่าวจะทำให้ผู้ป่วยเอดส์มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อีกทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายเพื่อการรักษาอาการแพ้ยาด้วย


 


 แต่เนื่องจากยาเอฟาไวเรนซ์มีราคาสูงมากในหนึ่งเดือนต้องใช้ค่ารักษาต่อผู้ป่วยหนึ่งรายในราคากว่าเท่าตัว ซึ่งทำให้เกิดเป็นภาระของกระทรวงสาธารณสุขอย่างมาก จึงได้นำไปพิจารณาว่าจะทำอย่างไรให้ยาตัวนี้มีราคาถูกลง ทั้งนี้ ผลกระทบจากการบังคับใช้สิทธิครั้งนี้ จะทำให้ยาราคาลดลง ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายยาดังกล่าวลดลงประมาณกึ่งหนึ่ง และจำนวนผู้ป่วยโรคเอดส์เข้าถึงยาได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆเมื่อยาราคาถูกลงแล้ว จะทำให้ยาสามัญดังกล่าวที่จำหน่ายโดยองค์การเภสัชกรรมมีราคาถูกลงประมาณร้อยละ 50 จากราคาปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 1,400 บาทต่อคนต่อเดือน และสามารถปรับสูตรการใช้ยานี้ให้กว้างขวางมากขึ้น


 


"ขณะนี้สถาบันวิจัยและพัฒนาขององค์การเภสัชกรรม ได้เตรียมพร้อมการผลิต ยาเอฟาไวเรนซ์ ขนาด 600 มิลลิกรัม เพื่อทดแทนการนำเข้า ซึ่งจะทำให้ยาตัวนี้ราคาถูกลงไปอีก เหลือเพียงราคา 700-800 บาทต่อเม็ด สำหรับขั้นตอนในการผลิตนั้น อยู่ระหว่างการทดสอบเพื่อขึ้นทะเบียนรับรองสูตรว่ามีสรรพคุณเทียบเท่ายาต้นแบบ คาดว่าจะสามารถผลิตได้เองประมาณเดือนมิถุนายน 2550 ในระหว่างนี้องค์กรการเภสัชกรรมจะนำเข้ายา

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net