Skip to main content
sharethis

ศูนย์สร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา เผยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ขึ้นทะเบียน ‘ป่าชุมชนคาร์บอน’ กว่า 1.6 แสนไร่ พร้อมจัดสรรให้บริษัท เปิดรายชื่อ ‘ป่าชุมชนชายเลน’ 99 แห่ง ที่จัดสรรให้บริษัท กับคำถามถึงความเป็นธรรม

การจัดการป่าไม้ของรัฐไทยนับตั้งแต่ตั้งกรมป่าไม้ใน พ.ศ. 2439 มีการแปลงป่าไม้ให้เป็นทรัพย์สินของรัฐ และเปิดให้กลุ่มทุนเข้ามาสัมปทานทำไม้ ทำเหมืองแร่ ปลูกพืชเศรษฐกิจ และอื่นๆ ส่งผลให้ ‘ป่าเป็นสินค้าส่งออก’ ในอีกด้านหนึ่งรัฐได้ประกาศเขตป่าทับซ้อนพื้นที่ชุมชน ทำให้ชุมชนที่อยู่มาก่อนกฎหมายกลายเป็นผู้บุกรุกป่านับ 10 ล้านคน และเกิดการไล่รื้อและจับกุมดำเนินคดีประชาชนในชุมชนดั้งเดิมจำนวนมาก

ในยุคปัจจุบันรัฐไทยยังคงมองป่าเป็นสินค้า โดยมีสินค้าใหม่คือ ‘ป่าคาร์บอน’ ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมจากกลุ่มทุนที่ไม่ลดละเลิกการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเป็นต้นเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยในประเทศไทยกลุ่มทุนฟอสซิลมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนร้อยละ 70 ของทุกภาคส่วน

นักวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศระบุว่าการแก้ปัญหาโลกร้อนต้องลดละเลิกการปล่อยก๊าซคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ การเพิ่มพื้นที่ป่าและพื้นที่สีเขียวเพื่อดูดซับก๊าซคาร์บอนโดยไม่ลดละเลิกการปล่อยก๊าซไม่เพียงพอสำหรับการต่อสู้ภาวะโลกร้อน

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเศรษฐาได้สานต่อนโยบายการใช้พลังงานฟอสซิลเป็นพลังงานหลัก และพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ต่อจากรัฐบาลประยุทธ์ มีแผนยุติพลังงานถ่านหินในปี ค.ศ. 2040 (พ.ศ. 2583) หรืออีก 17 ปี ในขณะที่ปัจจุบันประเทศไทยมีกำลังไฟฟ้าสำรองล้นเกินถึงร้อยละ 30-60 การแก้ปัญหาโลกร้อนใช้กลไก ‘เพิ่มพื้นที่ป่าดูดกลับก๊าซคาร์บอน’ และ ‘ชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนด้วยคาร์บอนเครดิต’ แทนการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนพลังงานเป็นอย่างมาก

ข้อมูลจากกรอบร่างยุทธศาสตร์พื้นที่สีเขียว ระบุเป้าหมายในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวที่เป็นป่าธรรมชาติ จากร้อยละ 31.58 เนื้อที่ 102.17 ล้านไร่ เป็นร้อยละ 35 เนื้อที่ 113.23 ล้านไร่ หรือเพิ่มอีกประมาณ 11.06 ล้านไร่ และเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อการใช้ประโยชน์ จากร้อยละ 8.02 เนื้อที่ 25.95 ล้านไร่ เป็นร้อยละ 15 เนื้อที่ 48.53 ล้านไร่ หรือเพิ่มอีกประมาณ 22.58 ล้านไร่ รวมถึงเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ/เพื่อการเรียนรู้ จากร้อยละ 2-3 เนื้อที่ 6.47-9.70 ล้านไร่ เป็นร้อยละ 5 เนื้อที่ 16.18 ล้านไร่ ดังนั้น ต้องการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ประมาณ 49.82 ล้านไร่ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การเพิ่มพื้นที่ดูดซับก๊าซคาร์บอน และชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนด้วยคาร์บอนเครดิต

ทช. จัดสรรป่าชุมชนชายเลน กว่า 1.6 แสนไร่ เพื่อคาร์บอนเครดิต กับคำถามถึงความเป็นธรรม

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นกลไกสำคัญในการนำป่าไม้เข้าโครงการคาร์บอนเครดิต ทั้งในพื้นที่ป่าสมบูรณ์ และป่าปลูกใหม่ หน่วยงานในความรับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรฯ มีการออกระเบียบจำนวนหลายฉบับระบุหลักเกณฑ์รองรับคาร์บอนเครดิต รวมทั้งประกาศเชิญชวนชุมชนและบุคคลภายนอกเข้าร่วมโครงการคาร์บอนเครดิต

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความคืบหน้าในการดำเนินโครงการคาร์บอนเครดิตอย่างมาก มีการออกประกาศวันที่ 15 ก.พ. 2566 ขอเชิญชวนชุมชนชายฝั่ง/ชุมชนท้องถิ่น เข้าร่วมโครงการป่าชายเลนสำหรับชุมชน และออกประกาศวันที่ 3 มี.ค. 2566 ขอเชิญชวนชุมชนชายฝั่ง/ชุมชนท้องถิ่น ร่วมโครงการปลูกป่าชายเลนเพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิตสำหรับชุมชน ประจำปี พ.ศ. 2566

ในช่วงเดือน มี.ค. – ก.ย. 66 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ออกประกาศแจ้งผลการอนุมัติพื้นที่โครงการป่าชายเลนสำหรับชุมชน จำนวน 6 ฉบับ ดังนี้

1. ครั้งที่ 1/2566 ลงวันที่ 3 มี.ค. 2566 จำนวน 16 ชุมชน เนื้อที่รวม 29,253 ไร่ 2 งาน 12 ตารางวา

2. ครั้งที่ 2/2566 ลงวันที่ 1 มิ.ย. 2566 จำนวน 18 ชุมชน เนื้อที่รวม 27,277 ไร่ 2 งาน 20 ตารางวา

3. ครั้งที่ 2/2566 (เพิ่มเติม) ลงวันที่ 14 มิ.ย. 2566 จำนวน 4 ชุมชน เนื้อที่รวม 6,320 ไร่ 1 งาน 7 ตารางวา

4. ครั้งที่ 3/2566 ลงวันที่ 30 มิ.ย. 2566 จำนวน 20 ชุมชน เนื้อที่รวม 31,179 ไร่ 3 งาน 52 ตารางวา

5. ครั้งที่ 4/2566 ลงวันที่ 5 ก.ย. 2566 จำนวน 24 ชุมชน เนื้อที่รวม 55,380 ไร่ 0 งาน 76 ตารางวา

6. ครั้งที่ 4/2566 (เพิ่มเติม) ลงวันที่ 13 ก.ย. 2566 จำนวน 17 ชุมชน เนื้อที่รวม 13,179 ไร่ 1 งาน 36 ตารางวา

รวมจำนวนป่าชุมชนชายเลนที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินโครงการป่าชายเลนสำหรับชุมชน จำนวน 99 แห่ง เนื้อที่ประมาณ 162,590 ไร่ อยู่ในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ 36 แห่ง พังงา 23 แห่ง สตูล 17 แห่ง ตรัง 8 แห่ง ระนอง 6 แห่ง สุราษฎร์ธานี 4 แห่ง ชุมพร 2 แห่ง ภูเก็ต 1 แห่ง นครศรีธรรมราช 1 แห่ง และ ตราด 1 แห่ง

ในส่วนสัญญาคาร์บอนเครดิตระหว่างชุมชนกับบริษัทแห่งหนึ่ง พบว่ามีการระบุถึงสิทธิและผลประโยชน์ โดยบริษัทเป็นผู้ทรงสิทธิในผลงานหรือทรัพย์สินทางปัญญาหรือสิทธิอื่นใดที่เกิดขึ้น การแบ่งปันคาร์บอนเครดิตที่ได้จากการดำเนินโครงการมีการแบ่งปันในสัดส่วน บริษัท ร้อยละ 70 ชุมชน ร้อยละ 20 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร้อยละ 10 บริษัทมีการสนับสนุนเงินกองทุนสำหรับชุมชนเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ ประชาสัมพันธ์ และอื่นๆ จำนวน 200,000 บาท และสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ ในปีแรก จำนวน 450 บาท ต่อไร่ และในปีที่2 ถึงปีที่ 30 จำนวน 200 บาท ต่อไร่

ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2566 มีบริษัทสนใจเข้าร่วมโครงการปลูกป่าชายเลน เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต สำหรับบุคคลภายนอก กับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จำนวน 35 บริษัท เช่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

ป่าคาร์บอนคือการสัมปทานป่ารูปแบบใหม่ ที่เราต้องตั้งคำถามถึงความเป็นธรรมในการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งภาครัฐ ชุมชน และประชาชนร่วมกันเป็นเจ้าของ แต่ภาครัฐกลับยกทรัพย์สินส่วนรวมให้บริษัทเป็นผู้ทรงสิทธิอย่างชอบธรรม เป็นระยะเวลา 30 ปี และต้องตั้งคำถามในมิติสิทธิชุมชน อาทิ ชุมชนสามารถใช้ประโยชน์จากป่าได้ดังเดิมหรือไม่ ทำไมชุมชนได้ส่วนแบ่งผลประโยชน์เพียงร้อยละ 20 ในขณะที่ป่าชุมชนชายเลนดังกล่าวเป็นป่าสมบูรณ์ ได้รับการดูแลรักษาและฟื้นฟูจากชุมชนมาหลายสิบปี สามารถนำเข้าสู่ตลาดคาร์บอน ซึ่งกำลังเติบโตและทำกำไรได้เลย

อีกทั้ง ต้องตั้งคำถามถึงความเป็นธรรมต่อโลก และสิ่งมีชีวิตบนโลก เราต้องสูญเสียพื้นที่ป่าไปกับขบวนการฟอกเขียว หรือการออกใบอนุญาตในการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้กับกลุ่มทุนฟอสซิลอีกสักเท่าไหร่ และหากไม่สามารถลดปัญหาภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ จะมีเกษตรกร คนเล็กคนน้อย รวมถึงผู้บริโภคสินค้าเกษตรได้รับผลกระทบจากปัญหาโลกร้อนอีกสักเท่าไหร่

เปิดรายชื่อ ‘ป่าชายเลนคาร์บอน’ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน

จังหวัดกระบี่

1. ชุมชนบ้านคลองยาง ม.2 ต.คลองยาง อ.เกาะลันตา เนื้อที่ 2,229-3-74 ไร่

2. ชุมชนบ้านโคกยูง ม.3 ต.คลองยาง อ.เกาะลันตา เนื้อที่ 3,110-2-07 ไร่

3. ชุมชนบ้านไหนหนัง ม.3 ต.เขาคราม อ.เมืองกระบี่ เนื้อที่ 771-0-87 ไร่

4. ชุมชนบ้านท่าทองหลาง ม.6 ต.เขาทอง อ.เมืองกระบี่ เนื้อที่ 1,141-3-94 ไร่

5. ชุมชนบ้านเขาล่อม ม.1 ต.เขาใหญ่ อ.อ่าวลึก เนื้อที่ 568-3-90 ไร่

6. ชุมชนบ้านน้ำร้อน ม.3,8,9 ต.ห้วยน้ำขาว อ.คลองท่อม เนื้อที่ 894-0-15 ไร่

7. ชุมชนบ้านท่าประดู่ ม.4 ต.ห้วยน้ำขาว อ.คลองท่อม เนื้อที่ 912-1-48 ไร่

8. บ้านคลองยี่เร่ ม.13 ต.คลองพน อ.คลองท่อม เนื้อที่ 660-0-00 ไร่

9. บ้านมู่สา ม.5 ต.คลองพน อ.คลองท่อม เนื้อที่ 600-0-00 ไร่

10. บ้านถ้ำเสือ ม.5 ต.อ่าวลึกใต้ อ.อ่าวลึก เนื้อที่ 2,001-0-75 ไร่

11. บ้านคลองสุข ม.6 ต.อ่าวลึกใต้ อ.อ่าวลึก เนื้อที่ 2,103-1-54 ไร่

12. บ้านเขาฝาก ม.1 ต.คลองยาง อ.เกาะลันตา เนื้อที่ 1,000-0-00 ไร่

13. บ้านทุ่งครก ม.11 ต.คลองพน อ.คลองท่อม เนื้อที่ 2,400-0-00 ไร่

14. บ้านไท ม.4 ต.คลองยาง อ.เกาะลันตา เนื้อที่ 1,300-0-00 ไร่

15. บ้านท่าควน ม.6 ต.คลองยาง อ.เกาะลันตา เนื้อที่ 1,100-0-00 ไร่

16. ตำบลตลิ่งชัน ม.1,2,3,5 ต.ตลิ่งชัน อ.เหนือคลอง เนื้อที่ 1,000-0-00 ไร่

17. บ้านทุ่งประสาน ม.2 ต.ปกาสัย อ.เหนือคลอง เนื้อที่ 770-0-00 ไร่

18. บ้านแหลมกรวด ม.8 ต.คลองขนาน อ.เหนือคลอง เนื้อที่ 1,000-0-00 ไร่

19. บ้านทุ่งยอ ม.12 ต.คลองพน อ.คลองท่อม เนื้อที่ 1,060-0-00 ไร่

20. บ้านคลองไคร ม.10 ต.คลองพน อ.คลองท่อม เนื้อที่ 1,680-0-00 ไร่

21. บ้านควนโอ ม.5 ต.อ่าวลึกน้อย อ.อ่าวลึก เนื้อที่ 1,010-0-00 ไร่

22. บ้านบากัน ม.2 ต.อ่าวลึกน้อย อ.อ่าวลึก เนื้อที่ 1,118-0-00 ไร่

23. เขาทอง ม.1,4,5 ต.เขาทอง อ.เมืองกระบี่ เนื้อที่ 1,013-0-00 ไร่

24. คลองประสงค์ ม.1,2,3 ต.คลองประสงค์ อ.เมืองกระบี่ เนื้อที่ 2,761-0-00 ไร่

25. บ้านวังหิน ม.6 ต.คลองท่อมใต้ อ.คลองท่อม เนื้อที่ 3,069-0-00 ไร่

26. บ้านใต้ ม.7 ต.คลองท่อมใต้ อ.คลองท่อม เนื้อที่ 1,024-0-00 ไร่

27. บ้านท่าเรือ ม.7 ต.เพหลา อ.คลองท่อม เนื้อที่ 1,073-0-00 ไร่

28. บ้านทุ่งเสม็ด ม.2 ต.ห้วยน้ำขาว อ.คลองท่อม เนื้อที่ 3,054-0-00 ไร่

29. บ้านควนใต้ ม.6 ต.ห้วยน้ำขาว อ.คลองท่อม เนื้อที่ 1,445-0-00 ไร่

30. บ้านหลังโสด ม.5 ต.คลองยาง อ.เกาะลันตา เนื้อที่ 1,023-0-00 ไร่

31. บ้านต้นทัง ม.7 ต.คลองยาง อ.เกาะลันตา เนื้อที่ 807-0-00 ไร่

32. บ้านคลองปิ้ง ม.4 ต.คลองพน อ.คลองท่อม เนื้อที่ 1,050-0-00 ไร่

33. บ้านคลองไครใต้ ม.14 ต.คลองพน อ.คลองท่อม เนื้อที่ 1,997-0-00 ไร่

34. บ้านห้วยพลูหนัง ม.3 ต.ทรายขาว อ.คลองท่อม เนื้อที่ 2,930-0-00 ไร่

35. บ้านทุ่งคา ม.5 ต.ทรายขาว อ.คลองท่อม เนื้อที่ 5,040-0-00 ไร่

36. บ้านพรุพี่ ม.7 ต.ทรายขาว อ.คลองท่อม เนื้อที่ 1,197-0-00 ไร่

จังหวัดพังงา

1. ชุมชนบ้านท่าสนุก ม.3 ต.มะรุ่ย อ.ทับปุด เนื้อที่ 1,191-3-60 ไร่

2. ชุมชนบ้านเกาะเคี่ยม ม.5 ต.บางเตย อ.เมืองพังงา เนื้อที่ 1,056-1-79 ไร่

3. ชุมชนบ้านกลาง ม.6 ต.บางเตย อ.เมืองพังงา เนื้อที่ 3,436-4-87 ไร่

4. ชุมชนบ้านบางพัฒน์ ม.8 ต.บางเตย อ.เมืองพังงา เนื้อที่ 2,782-3-64 ไร่

5. ชุมชนบ้านใต้ ม.9 ต.บางเตย อ.เมืองพังงา เนื้อที่ 2,106-0-80 ไร่

6. ชุมชนบ้านเกาะไม้ไผ่ ม.3 ต.เกาะปันหยี อ.เมืองพังงา เนื้อที่ 1,690-2-07 ไร่

7. ชุมชนบ้านทุ่งรัก ม.6 ต.แม่นางขาว อ.คุระบุรี เนื้อที่ 4,614-1-30 ไร่

8. บ้านบางหว้า ม.9 ต.ตุระ อ.คุระบุรี เนื้อที่ 2,494-2-66 ไร่

9. ตำบลเกาะยาวน้อย ม.1,2,3,4,5,6,7 ต.เกาะยาวน้อย อ.เกาะยาว เนื้อที่ 1,339-0-41 ไร่

10. บ้านท่าดินแดง ม.4 ต.ลำแก่น อ.ท้ายเหมือง เนื้อที่ 2,540-2-73 ไร่

11. บ้านท่าจูด ม.3 ต.บางนายสี อ.ตะกั่วป่า เนื้อที่ 3,360-1-00 ไร่

12. บ้านปากเกาะและบ้านทุ่งตึก ม.3,4 ต.เกาะคอเขา อ.ตะกั่วป่า เนื้อที่ 2,817-0-15 ไร่

13. บ้านบางใหญ่ ม.4 ต.บางนายสี อ.ตะกั่วป่า เนื้อที่ 3,482-3-25 ไร่

14. บ้านบางเนียง ม.5 ต.เกาะคอเขา อ.ตะกั่วป่า เนื้อที่ 2,734-1-52 ไร่

15. บ้านเมืองใหม่ ม.1 ต.เกาะคอเขา อ.ตะกั่วป่า เนื้อที่ 3,426-1-88 ไร่

16. บ้านบางนายสังข์ ม.5 ต.บางนายสี อ.ตะกั่วป่า เนื้อที่ 4,762-0-84 ไร่

17. บ้านบางนายสี ม.6 ต.บางนายสี อ.ตะกั่วป่า เนื้อที่ 5,498-0-25 ไร่

18. บ้านทุ่งน้อย ม.1 ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า เนื้อที่ 1,556-0-41 ไร่

19. บ้านนอกนา ม.2 ต.เกาะคอเขา อ.ตะกั่วป่า เนื้อที่ 1,564-3-36 ไร่

20. บ้านหินลาด ม.3 ต.คุระ อ.คุระบุรี เนื้อที่ 2,863-3-36 ไร่

21. บ้านบางแดด ม.7 ต.แม่นางขาว อ.คุระบุรี เนื้อที่ 3,121-2-21 ไร่

22. บ้านย่าหมี ม.3 ต.เกาะยาวใหญ่ อ.เกาะยาว เนื้อที่ 1,551-2-79 ไร่

23. บ้านโค้งศรราม ม.7 ต.บางวัน อ.คุระบุรี เนื้อที่ 1,432-0-12 ไร่

จังหวัดสตูล

1. บ้านปานชูรำลึก ต.พิมาน อ.เมืองสตูล เนื้อที่ 480-0-00 ไร่

2. บ้านโคกพยอม ม.4 ต.คลองขุด อ.เมืองสตูล เนื้อที่ 1,000-0-00 ไร่

3. บ้านหัวทาง ม.3 ต.คลองขุด อ.เมืองสตูล เนื้อที่ 1,000-0-00 ไร่

4. บ้านท่าหิน ม.6 ต.ควนขัน อ.เมืองสตูล เนื้อที่ 700-0-00 ไร่

5. บ้านวังตง ม.4 ต.นาทอน อ.ทุ่งหว้า เนื้อที่ 1,658-0-00 ไร่

6. บ้านท่าพยอม ม.7 ต.ปากน้ำ อ.ละงู เนื้อที่ 1,030-1-36 ไร่

7. บ้านเกาะนกฝั่งตะวันตก ม.3 ต.คลองขุด อ.เมืองสตูล เนื้อที่ 893-0-00 ไร่

8. บ้านเกาะนกอนุรักษ์พันธุ์หอยขาว ม.3 ต.คลองขุด อ.เมืองสตูล เนื้อที่ 615-0-00 ไร่

9. บ้านคลองน้ำเวียน ม.3 ต.คลองขุด อ.เมืองสตูล เนื้อที่ 515-0-00 ไร่

10. บ้านตันหยงกาโบย ม.2 ต.ปูยู อ.เมืองสตูล เนื้อที่ 819-0-00 ไร่

11. บ้านปูยู ม.3 ต.ปูยู อ.เมืองสตูล เนื้อที่ 623-0-00 ไร่

12. เทศบาล 4 ต.พิมาน อ.เมืองสตูล เนื้อที่ 500-3-92 ไร่

13. บ้านเขาจีน ม.1 ต.คลองขุด อ.เมืองสตูล เนื้อที่ 565-0-00 ไร่

14. ท่านายเนาว์ ต.พิมาน อ.เมืองสตูล เนื้อที่ 733-0-00 ไร่

15. บ้านกาลันบาตู ม.3 ต.ตำมะลัง อ.เมืองสตูล เนื้อที่ 656-0-00 ไร่

16. บ้านตำมะลังเหนือ ม.2 ต.ตำมะลัง อ.เมืองสตูล เนื้อที่ 625-0-00 ไร่

17. บ้านไร่ทอน ม.3 ต.ท่าเรือ อ.ท่าแพ เนื้อที่ 900-0-00 ไร่

จังหวัดตรัง

1. บ้านพรูจูด ม.2 ต.บ่อหิน อ.สิเกา เนื้อที่ 1,508-3-26 ไร่

2. บ้านตะเสะ ม.4 ต.ตะเสะ อ.หาดสำราญ เนื้อที่ 662-0-00 ไร่

3. ตำบลสุโสะ ม.1,4 ต.สุโสะ อ.ปะเหลียน เนื้อที่ 465-0-00 ไร่

4. บ้านหนองเสม็ด ม.2,3 ต.คลองชีล้อม อ.กันตัง เนื้อที่ 1,630-0-00 ไร่

5. บ้านหัวหิน ม.6 ต.บ่อหิน อ.สิเกา เนื้อที่ 501-1-86 ไร่

6. บ้านปากคลอง ม.9 ต.บ่อหิน อ.สิเกา เนื้อที่ 1,004-2-44 ไร่

7. บ้านนาหละ ม.7 ต.ไม้ฝาด อ.สิเกา เนื้อที่ 702-3-42 ไร่

8. บ้านควนตุ้งกู ม.3 ต.บางสัก อ.สิเกา เนื้อที่ 865-0-00 ไร่

จังหวัดระนอง

1. ชุมชนบ้านบางริ้น ม.1,2,6 ต.บางริ้น อ.เมืองระนอง เนื้อที่ 1,881-0-24 ไร่

2. ชุมชนบ้านท่าฉาง-บ้านล่าง ม.3,4 ต.หงาว อ.เมืองระนอง เนื้อที่ 863-3-52 ไร่

3. บ้านเกาะเหลา ม.6 ต.ปากน้ำ อ.เมืองระนอง เนื้อที่ 4,035-2-94 ไร่

4. บ้านทรายแดง ม.1,4 ต.ทรายแดง อ.เมืองระนอง เนื้อที่ 2,230-3-04 ไร่

5. บ้านบางมัน ม.1 ต.นาคา อ.สุขสำราญ เนื้อที่ 2,377-3-96 ไร่

6. บ้านด่าน ม.1,3,8 ต.กะเปอร์ อ.กะเปอร์ เนื้อที่ 1,520-1-07 ไร่

จังหวัดสุราษฎร์ธานี

1. บ้านคลองราง ม.2 ต.ลีเล็ด อ.พุนพิน เนื้อที่ 1,500-0-00 ไร่

2. บ้านไทรงาม ม.7 ต.เสม็ด อ.ไชยา เนื้อที่ 1,500-0-00 ไร่

3. บ้านธารน้ำร้อน ม.1 ต.เขาถ่าน อ.เมืองสุราษฎร์ เนื้อที่ 1,500-0-00 ไร่

4. บ้านท่าพิกุล ม.4 ต.ท่าฉาง อ.ท่าฉาง เนื้อที่ 1,000-0-00 ไร่

จังหวัดชุมพร

1. บ้านน้ำลอด ม.12 ต.บางน้ำจืด อ.หลังสวน เนื้อที่ 500-0-00 ไร่

2. บ้านควนดิน ม.6 ต.ตะโก อ.ทุ่งตะโก เนื้อที่ 500-0-00 ไร่

จังหวัดภูเก็ต

1. บ้านบางโรง ม.3 ต.ป่าคลอก อ.ถลาง เนื้อที่ 728-0-00 ไร่

จังหวัดนครศรีธรรมราช

1. บ้านอ่าวทองคำท่าศาลา ม.5,6,7,14 ต.ท่าศาลา อ.ท่าศาลา เนื้อที่ 2,300-0-00 ไร่

จังหวัดตราด

1. บ้านท่าหาดบ้านท่าเสา ม.2,10 ต.แสนตุ้ง อ.เขาสมิง เนื้อที่ 2,160-0-00 ไร่

 

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net