Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

ที่พุทธศาสนิกชนและประชาชนทั่วไปเห็นว่ามีพระเณรเข้ามาสมัครเรียนในมหาวิทยาลัยสงฆ์กันมากมาย แต่ไม่เห็นมีใครอยากลาสิกขา (สึก) ระหว่างเรียนเลยสักรูป ไม่ใช่เป็นเพราะพวกเขาสบายเกินไปจนไม่อยากสึกแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะทางมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 สถาบัน คือ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) และ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) ได้ออกมาตรการในรูปแบบของระเบียบและประกาศ มาบังคับใช้กับพระเณรผู้สมัครเรียน โดยที่พวกเขาไม่รู้ตัว จนกระทั่งหลังวันปฐมนิเทศไปแล้ว หรือหลังจากเปิดเรียนไปแล้ว ทำให้ไม่สามารถลาสิกขาได้จนกว่าจะสำเร็จการศึกษาจึงจะลาสิกขาได้โดยไม่ถูกปรับห้าหมื่นบาท (ในกรณีสึกแล้วไม่เข้ารับปริญญา) หรือหลังจากเข้าร่วมพิธีปริญญาบัตรเสร็จสินไปแล้ว จึงสามารถลาสิกขาได้โดยไม่ถูกปรับห้าหมื่นบาท (กรณีบวชจนถึงวันรับปริญญา) หรือทางมหาวิทยาลัยสงฆ์อนุญาตให้ลาสิกขาระหว่างเรียนและศึกษาต่อจนสำเร็จการศึกษาได้ แต่มีเงื่อนว่าต้องจ่ายค่าปรับบวกกับค่าเทอมรวมกันแพงมากกว่านิสิตนักศึกษาฝ่ายคฤหัสถ์ที่เรียนตั้งแต่ปี 1 ถึงปีสุดท้ายเกือบ 2 เท่า เพื่อเป็นเงื่อนไขในการบังคับพระเณรในหมาวิทยาลัยสงฆ์ไม่ให้ลาสิกขาได้ จนกว่าจะจบหลักสูตร

 

1. เงินมัดจำกันสึก: การบังคับใช้ระเบียบ มมร. และประกาศ มจร. ที่ส่งผลกระทบต่อผู้สมัครเรียนและครอบครัวของผู้สมัครเรียน

ทางมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 สถาบันมีมาตรการออกมา 2 ฉบับ คือ ระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการปฏิบัติงานสำหรับนักศึกษาคฤหัสถ์ พ.ศ. 2544 และ ประกาศมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรื่อง ค่าธรรมเนียมการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558 เพื่อบังคับพระเณรผู้สมัครเรียนเหล่านั้นให้ต้องบวชตลอดหลักสูตรจนกว่าจะสำเร็จการศึกษา หรือรับปริญญาไปแล้ว โดยที่พระเณรผู้สมัครเรียนเหล่านั้นรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่เคยรู้เรื่องนี้ล่วงหน้ามาก่อน และไม่ประสงค์จะบวชตลอดหลักสูตรตั้งแต่แรกด้วย  

มีพระเณรบางส่วนที่เพิ่งเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนพระปริยัติธรรม (โรงเรียนวัด) มาใหม่ๆ เข้ามาสมัครเรียนในมหาวิทยาลัยสงฆ์ แต่ยังมีความประสงค์จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุเพื่ออุทิศให้กับทางบ้าน แต่ในขณะนั้นอายุยังไม่ครบ 20 ปี จึงต้องบวชเรียนเป็นเณรไปพลางก่อน เมื่ออายุครบ 20 ปี บริบูรณ์แล้ว จึงจะอุปสมบทเป็นพระภิกษุเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับทางบ้านตามความมุ่งที่ได้ตั้งใจเอาไว้ แต่ไม่ต้องการบวชจนสำเร็จการศึกษา หรือหลังรับปริญญาแต่อย่างใด แต่กลับต้องถูกบังคับให้บวชยาวนานตามหลักสูตร 4 - 5 ปี อย่างไม่เป็นธรรม เพราะถูกบังคับให้บวชยาวนานเกินกว่ากำหนดที่พระเณรผู้สมัครเรียนเหล่านั้นได้ตั้งใจเอาไว้ตั้งแต่แรก ก่อนที่พวกเขาจะเข้ามาสมัครเรียนในมหาวิทยาลัยสงฆ์ด้วยซ้ำ เป็นการละเมิดเจตจำนงที่แท้จริงของผู้บวช ซึ่งเป็นการมหาวิทยาลัยสงฆ์ ทั้ง 2 สถาบัน นี้ ได้ใช้มาตรการ ทั้ง 2 ฉบับนี้ ตั้งกำแพงค่าปรับไว้สูงลิบลิ่วเพื่อหวังจะไม่ให้พระเณรทั้งหลายสึกได้ รวมถึงพระเณรที่บวชเข้ามาเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับทางบ้านในช่วงที่เข้ามาสมัครเรียนใหม่ๆ ด้วย ที่ไม่ประสงค์จะบวชนานตลอดหลักสูตร แต่กลับถูกบังคับไม่ให้สึกได้ หลังจากสมัครเรียนไปแล้ว จนกว่าจะเรียนจบตามหลักสูตร 4-5 ปี หรือหลังงานรับปริญญาเสร็จสิ้นไปแล้ว

 

ลักษณะการบังคับใช้ระเบียบและประกาศของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 สถาบัน

ระเบียบ มมร. ฉบับ ปี 44 ข้อ 9 (1) (2),ระเบียบ มมร. (ฉบับใหม่) ปี 54 ข้อ 45.1.11 (1) (2) และ

ประกาศ มจร. ฉบับ ปี 58 ข้อ 5 รายการ ุ6. (ในตาราง)

ระเบียบและประกาศ ทั้ง 3 ฉบับนี้ เรียกรวมๆ กัน ว่า “ระเบียบสึกปรับห้าหมื่น”

ระเบียบ มมร. สึกปรับห้าหมื่นโดยใช้วลีว่า “ต้องชำระค่าบำรุงมหาวิทยาลัย”

ประกาศ มจร. สึกปรับห้าหมื่นโดยใช้วลีว่า “ค่าธรรมเนียมเปลี่ยนสถานภาพความเป็นบัณฑิต”

ถึงแม้ว่า มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 สถาบัน จะเลือกใช้คำและวลีในทางกฎหมายที่แตกต่างกัน แต่ระเบียบ มมร. ฉบับ ปี 44 ข้อ 9 (1) (2) , ระเบียบ มมร. (ฉบับใหม่) ฉบับ ปี 54 ข้อ 45.1.11 (1) (2) และ ประกาศ มจร. ฉบับ ปี 58 ข้อ 5 รายการ ุ6. (ในตาราง) แต่ในระเบียบและในประกาศทั้ง 3 ข้อนี้ ก็มีจุดประสงค์เดียวกัน คือ เพื่อบังคับไม่ให้พระเณรสึกได้หลังจากสมัครเรียนไปแล้ว ยกเว้นต้องทิ้งการเรียนแล้วสึก หรือไม่ก็สึกแล้วกลับมาสมัครเรียนชั้นปีที่ 1 ใหม่ในปีถัดไป จึงจะไม่ถูกปรับ

ระเบียบนักศึกษา มมร. แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ระเบียบนักศึกษาฝ่ายบรรพชิต (พระ) ส่วนที่ 2 ระเบียบนักศึกษาฝ่ายคฤหัสถ์ (โยม) แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะระเบียบที่เป็นเงื่อนไขให้ต้องสึกปรับห้าหมื่นเท่านั้น

อย่างที่ทราบกันดีว่า เรื่องการลาสิกขานั้นเป็นเรื่องของบรรพชิต (พระ) เพียงเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องของโยมแต่อย่างใด แต่ทางมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) กลับเอาเงื่อนไขสึกปรับห้าหมื่นของฝ่ายบรรพชิต (พระ) ไปบัญญัติไว้ในส่วนของคฤหัสถ์ (โยม) ซึ่งมันผิด! และส่อพิรุธ! ปกติพระก็จะเลือกอ่านระเบียบมหาลัยสงฆ์เฉพาะในส่วนของพระเท่านั้น เพราะพวกเขาบวชเรียน และมีระเบียบบัญญัติไว้สำหรับเป็นแนวทางปฏิบัติตนของพระในมหาวิทยาลัยสงฆ์โดยเฉพาะอยู่แล้ว โดยที่ไม่จำเป็นต้องไปอ่านระเบียบสำหรับฤหัสถ์ ดังนั้น พระจึงพลาดการรับรู้ระเบียบสึกปรับห้าหมื่นไปโดยปริยาย เพราะข้อความมันถูกบัญญัติไว้ในส่วนของโยม ทำให้ผู้สมัครเรียนฝ่ายพระไม่รู้ด้วยซ้ำว่าต่อไปถ้าสึกในระหว่างเรียนจะโดนอะไรบ้าง?! แต่ผู้ที่มีโอกาสจะได้อ่านเจอระเบียบนี้มากที่สุดกลับเป็นนักศึกษาฝ่ายโยมที่ไม่ได้บวช แต่ถึงกระนั้นนักศึกษาฝ่ายโยมส่วนใหญ่ก็แทบจะไม่รู้จักระเบียบสึกปรับห้าหมื่นนี้เสียด้วยซ้ำ แต่กลับถูกบัญญัติไว้ในระเบียบสำหรับคฤหัสถ์แบบงงๆ

ระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการปฏิบัติงานสำหรับนักศึกษาคฤหัสถ์ พ.ศ. 2544 เรียกสั้นๆ ว่า “ระเบียบ มมร. ฉบับ ปี 44” ข้อ 9 (1) (2) บัญญัติไว้ว่า “ข้อ 9 นักศึกษาที่ลาสิกขาจากเทศพระภิกษุ สามเณร และศึกษาต่อจนสำเร็จการศึกษาให้ถือแนวปฏิบัติตามระเบียบนี้ คือ ต้องปฏิบัติงานรวมระยะเวลาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน และต้องชำระค่าบำรุงมหาวิทยาลัยตั้งแต่ห้าหมื่นบาทขึ้นไป แต่ไม่เกินหนึ่งแสนบาท จึงจะมีสิทธิ์ขอใบรับรองผลการเรียนจบตามหลักสูตร ใบแจ้งผลการศึกษาและรับปริญญา ทั้งนี้โดยสภาวิชาการเป็นผู้ประกาศกำหนด”

นอกจากนี้ ยังมี ข้อ 11 อีกข้อหนึ่งใน ที่บัญญัติให้เรื่องของการตีความในระเบียบนี้เป็นหน้าที่ของอธิการบดีโดยมีสภาวิชาการเห็นชอบให้เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดเท่านั้น ถึงจะเป็นอันยุติ ระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการปฏิบัติงานสำหรับนักศึกษาคฤหัสถ์ พ.ศ. 2544 ข้อ 11 บัญญัติไว้ว่า “ข้อ 11 ในกรณีที่ต้องมีการตีความตามระเบียบนี้ ให้อธิการบดีโดยความเห็นชอบของสภาวิชาการเป็นผู้วินิจฉัยและตัดสินชี้ขาดแล้วถือเป็นอันยุติ”

ประกาศมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรื่อง ค่าธรรมเนียมการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558 นี้ เรียกสั้นๆ ว่า “ประกาศ มจร. ฉบับปี 58” มีเงื่อนไขที่บังคับพระเณรไม่ให้ลาสิกขาจนกว่าจะสำเร็จการศึกษา ถูกบัญญัติไว้ใน ข้อ 5 ในตารางรายการ-จำนวนเงิน ข้อ 6. ได้บัญญัติไว้ว่า “6. ค่าธรรมเนียมเปลี่ยนสถานภาพความเป็นบัณฑิตจากบรรพชิตเป็นคฤหัสถ์ ก่อนเข้าร่วมพิธีประสาทปริญญา 50,000 บาท”

“ค่าเปลี่ยนสถานภาพ (ค่าปรับ) จากบรรพชิตเป็นคฤหัสถ์ก่อนเข้าร่วมพิธีประสาทปริญญา” ข้อความนี้ความหมายไม่ได้หมายเฉพาะช่วงเวลาหลังเรียนจบแล้วลาสิกขาก่อนเข้าร่วมพิธีประสาทปริญญาเท่านั้น แต่หมายความรวมถึงตั้งแต่วันแรกที่เราสมัครเรียนเข้ามาแล้ว ไปจนถึงวันจบหลัสูตร เขาจึงอนุญาตให้เราสึกได้โดยไม่ถูปรับห้าหมื่นบาท แต่ถ้าเป็นพระหรือเณรมาสมัครเรียนยังไม่จบหลักสูตรสึกแล้วสึกต้องถูกปรับห้าหมื่นบาท (ยกเว้นสึกแล้วทิ้งการเรียนไม่โดนปรับ) ถ้าจะพูดให้ชัดเจนขึ้นไปอีกก็คือ ตั้งแต่วันแรกที่ผู้พระเณรสมัครเรียนเข้ามา ในขณะที่บวชอยู่ หลังจากนั้นไม่ว่าจะสึกตอนไหน สึกในชั้นปีที่เท่าไหร่ ถ้าสึกคุณสึกก่อนเรียนจบ หรือบวชจนเรียนจบแล้ว แต่สึกเข้าร่วมพิธีประสาทปริญญา (สึกจากพระเข้ารับปริญญาเป็นโยม) ก็ต้องจ่ายค่าเปลี่ยนสถานภาพ (ค่าปรับ) 50,000 บาท ให้กับทางมหาวิทยาลัยสงฆ์อยู่ดี

ใน ประกาศ มจร. ฉบับปี 58 ยังมีอีกเงื่อนไขอีกอย่างหนึ่งที่บัญญัติไว้ใน ข้อที่ 7 เป็นเงื่อนไขให้สามารถปรับลดค่าปรับในข้อ 6 (ในตาราง) ลงได้อีก ซึ่งบัญญัติในประกาศข้อ 7 ได้บัญญัติไว้ว่า “ข้อ 7 กรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นพิเศษ อธิการบดีจะอนุญาตให้เก็บค่าธรรมเนียมซึ่งไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ก็ได้ ทั้งนี้ อาจขอความเห็นของคณะกรรมการการเงินและทรัพย์สินเพื่อประกอบการพิจารณา”

เงื่อนไขในข้อ 7 นี้ หมายความว่า ตามประกาศ ข้อ 5 (ในตารางรายการ ที่ 6.) ทางมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จะปรับนิสิตบรรพชิต 50,000 บาทหรือน้อยกว่านั้นก็ได้ แต่ต้องไม่เกิน 50,000 บาท ในกรณีที่นิสิตบรรพชิตมีเหตุจำเป็น หรือมีเหตุสุดวิสัยต้องลาสิกขาระหว่างเรียน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ข้อ 7 ยิ่งแทบไม่ใครรู้จักเลย ต่อให้เจ้าที่แจ้ง (ภายหลัง) แก่นิสิต ก็ไม่เอ่ยข้อถึงข้อ 7 ด้วย สรุปแล้ว ก็ปรับห้าหมื่นถ้วน อยู่ดี    

 

 

 

ถึงแม้ มมร. จะออกระเบียบมาใหม่ในอีก 10 ปี ต่อมา แต่ทาง มมร. ก็ไม่ลืมที่จะเอาข้อความ “สึกปรับห้าหมื่น” ในระเบียบเก่า เมื่อ 10 ปี ก่อน มาใส่ไว้ในระเบียบใหม่ในอีก 10 ปีหลัง คือเอาข้อความ “สึกปรับห้าหมื่น” ข้อ 9 (1) (2) ในระเบียบ มมร. ฉบับ ปี 44 มาใส่ไว้ในหมวด 9 การสำเร็จการศึกษา ข้อ 45.1.11 (1) (2) ของระเบียบ มมร. ฉบับ ปี 54 ดังนี้

 

ระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
ว่าด้วยการปฏิบัติงานสำหรับนักศึกษาคฤหัสถ์ พ.ศ. 2544
ข้อ 9 (1)(2)

 

ระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2554
หมวด 9 การสำเร็จการศึกษา ข้อ 45.1.1(1)(2)

 

 

 

 

 

2. ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับนิสิตนักนักศึกษาฝ่ายบรรพชิตจากการบังคับใช้ระเบียบและประกาศสึกปรับห้าหมื่น

พระเณรที่ไม่รู้เรื่องรู้ราว บวชมาตั้งแต่ชั้นมัธยมปลาย ไปสมัครเรียนที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ในนามของพระหรือเณร (โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์) พอสึกก็ต้องพบจุดจบเหมือนกัน คือ ถ้าไม่จ่ายค่าปรับห้าหมื่นบาทก็ต้องออกจากมหาลัยสงฆ์ ทิ้งการเรียนไปเปล่าๆ ไม่ได้เรียนเรียนต่อ เพราะถ้าบวชมาสมัครเรียนแล้วลาสิกขาในระหว่างเรียน (ลาสิกขาขณะยังไม่สำเร็จการศึกษา) และยังประสงค์จะเรียนต่อไปอีกจนจบหลักสูตร สิ่งที่ผู้สึกจะต้องโดนต่อจากนี้คือ ค่าเทอมที่จ่ายไปแล้วตอนบวช + ค่าปรับห้าหมื่นบาท + ค่าเทอมที่ต้องจ่ายแพงราคาเดียวกับโยมในเทอมถัดๆ ไปอีกต่างหาก จนกว่าจะเรียนจบหลักสูตร ซึ่งผู้สึกจะต้องจ่ายแพงยิ่งกว่าฝ่ายคฤหัสถ์ (โยม) ที่เรียนในมหาวิทยาลัยสงฆ์ด้วยกันตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 จนถึงปีสุดท้าย (แพงกว่าโยมเกือบ 2 เท่า) ทำให้นิสิตนักศึกษาฝ่ายบรรพชิต (พระ) หวาดกลัวการลาสิกขาเป็นอย่างยิ่ง จนต้องบวชยาวตลอดหลักสูตรด้วยความจำนน

“นี่มันไม่ใช่การบวชเพราะศรัทธาเหมือนก่อนสมัครเรียนอีกต่อไป แต่เป็นการบวชเพราะถูกบังคับให้บวชยาวหลังสมัครเรียนต่างหาก”

ภายใต้กฎระเบียบและประกาศของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 สถาบัน นี้ ทำให้ผู้บวชไม่มีทางเลือก ต้องยอมบวชตามความประสงค์ของผู้ออกระเบียบสึกปรับห้าหมื่นเท่านั้น สุดท้ายถ้าผู้ลาสิกขาอยากจะเรียนต่อก็ต้องจ่ายค่าปรับ 50,000 บาท ให้กับทางมหาวิทยาลัยสงฆ์ ถ้าผู้บวชต้องการลาสิกขาโดยไม่ต้องถูกปรับห้าหมื่นบาท ผู้ลาสิกขาจะต้องทำการด็อบการเรียนไว้ก่อนสิกขา แต่ถ้ากลับมาศึกษาต่ออีกเมื่อไหร่ก็ต้องกลับมาบวชใหม่อีกด้วยเช่นกัน แต่อย่าลืมว่าการอุปสมบท (บวชเป็นพระ) แต่ละครั้ง ย่อมมีค่าใช้จ่ายสูง หรือไม่ก็ตัดปัญหาไปเลยโดยการทิ้งการเรียนแล้วลาสิกขามาสมัครเรียนในชั้นปีที่ 1 ใหม่ในปีถัดไป ซึ่งต้องเสียเวลาเรียนไปอีกเป็นปีๆ หรืออาจจะหลายปีกว่านั้น ถ้าสึกในขณะที่เรียนในชั้นที่สูงกว่าชั้นปีที่ 1 ขึ้นไปแล้วลาสิกขากลับมาสมัครเรียนชั้นปีที่ 1 ใหม่ 

มหาวิทยาลัยสงฆ์ ส่วนใหญ่มีถิ่นทำเลที่ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองในแต่ละจังหวัดไม่ต่ำกว่า 10 กิโลเมตรขึ้นไป และห่างไกลจากหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียงกับมหาวิทยาลัยสงฆ์มากที่สุดไม่ต่ำกว่า 2 กิโลเมตร ห่างจากถนนสายหลักไม่ต่ำกว่า 3 กิโลเมตร โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยสงฆ์ทางฝั่ง มจร. ในต่างจังหวัดหลายๆ จังหวัด ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกลและทุรกันดารแทบทั้งสิ้น ห่างไกลจากหมู่บ้าน ห่างไกลจากถนนสายหลักลึกเข้าไปในป่าลึก ห่างไกลจากตัวจังหวัด ตัวอำเภอ หมู่บ้าน และตัดขาดจากโลกภายนอก (โปรดดูในกูเกิ้ลแม็พ)

เหล่าบรรดานักบวชทั้งหลายที่มีความต้องการจะบวชตลอดสูตรอยู่แล้ว หรือต้องการบวชนานกว่านั้น ต่างก็พากันแสดงความเห็นว่า “ถึงบวชก็สามารถดูแลพ่อแม่ได้” (พูดไม่คิด) ซึ่งไม่เป็นความจริงในทางปฏิบัติ เพราะ ในโลกของความเป็นจริง ก็เห็นกันจะๆ อยู่แล้วว่า บ้านของพระเณรนิสิตนักศึกษาเหล่านั้นไม่อยู่ติดกับมหาวิทยาลัยสงฆ์หรือวัด หรืออยู่ในพื้นที่หมู่บ้าน หรือในตำบลเดียวกับที่มหาวิยาลัยสงฆ์ตั้งอยู่ อีกอย่างผู้ปกครองก็ไม่กล้าบอก เพราะกลัวกระทบการเรียน ทั้งๆ ที่การลาสิกขา ทำให้พวกเขาใช้ยานพาหนะส่วนตัวไปกลับได้ ในระยะทางต่างหมู่บ้าน ต่างตำบล ต่างอำเภอ ระหว่างบ้านพระเณรนิสิตนักศึกษากับ ม.สงฆ์ และสามารถดูแลพ่อแม่ผู้ปกครองทางบ้านหลังเวลาเรียนได้ โดยไม่ต้องทิ้งการเรียน หรือลาออกมาสมัครเรียนปี 1 ใหม่ในปีถัดไป แต่กฎหมายเกณฑ์บวชก็ไม่อนุญาตให้ผู้บวชเรียนให้ทำเช่นนั้นได้

ในเมื่อกฎหมายเกณฑ์บวชตลอดหลักสูตรไม่อนุญาตสึกได้ หรืออนุญาตให้สึกได้ด้วยเงินห้าหมื่นบาทที่ไม่ใช่การจ่ายเหมารวมตลอดหลักสูตรทีเดียวให้เท่ากับของโยมสำหรับผู้ที่สึกระหว่างเรียน ตามที่พระเถรานุเถระทั้งหลายได้หลอกลวงพระเณรนิสิตนักศึกษา เพราะหลังจากสึกไปแล้วและจ่ายค่าปรับห้าหมื่นบาทไปแล้ว ก็ยังต้องจ่ายค่าเทอมในราคาเดียวกับโยมในเทอมถัดไปเรื่อยๆ อีกเหมือนเดิม จนกว่าจะจบหลักสูตร และได้จ่ายแพงมากกว่าโยมที่เข้ามาเรียน ม.สงฆ์ ตั้งแต่ปีแรกจนถึงปีสุดท้ายเกือบ 2 เท่า ด้วยเหตุผลทางกฎหมายดังกล่าวนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองที่ล้มป่วยอยู่ทางบ้าน ที่มีลูกหลานบวชเรียนที่ ม.สงฆ์ ถึงแม้บ้านของผู้บวชเรียนจะอยู่ในเขตจังหวัดเดียวกันกับที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ตั้งอยู่ พ่อแม่ที่ไม่สบายก็ไม่อยากให้ลูกหลานได้รับรู้เรื่องที่ตัวเองไม่สบาย เพราะกลัวลูกหลานจะเป็นกังวล ไม่มีกะใจแก่เรียน เพราะกลัวจะสึกออกมาดูแลแล้วถูกปรับห้าหมื่นบาท หรือกลัวลูกหลานต้องทิ้งการเรียน จึงไม่อยากบอกลูกหลานให้ได้รับรู้ ทั้งๆ ที่ไม่อยากให้ลูกหลานบวชยาวนานขนาดนั้นตั้งแต่แรก แค่อุทิศส่วนบุญให้กับทางบ้านหลังเรียนจบ ม. ุ6 จากโรงเรียนพระปริยัติธรรม (โรงเรียนวัด) ก็เท่านั้นเอง แต่ลูกหลานของพวกเขากลับต้องได้บวชไปอีกยาวนานตลอดหลักสูตร จนกว่าจะเรียนจบ และไม่ได้อยู่ดูแลรับใช้พ่อแม่ผู้ปกครองของตัวเองหลังเลิกเรียนที่อยู่ตามลำพังในแต่ละวัน และมีญาติผู้ใหญ่ที่มีภาระต้องดูแลครอบครัวอีกเช่นกันที่แวะมาดูแลกันได้เฉพาะบางเวลาเท่านั้น กว่าพระเณรที่มาบวชเรียนจะรู้เรื่องอีกทีก็ตอนท่านอามการทรุดหนักแล้ว กว่าจะเรียนจบกว่าจะได้ลาสิกขาออกมาก็ไม่เหลือผู้มีอุปการคุณอยู่บนโลกใบนี้แล้ว พระเณรบางครอบครัวถึงขั้นต้องนำอัฐิพ่อแม่ผู้ล่วงลับไปร่วมงานรับปริญญาถึง มจร. ส่วนกลางเลยก็มี และได้ทำบุญกระดูกในงานรับปริญญาไปพร้อมกันด้วย ส่วนพ่อแม่ที่ยังมีชีวิตอยู่กว่าจะได้ลูกชายกลับคืนสู่เย้าเรือนก็บวชเกินกำหนดไปแล้วหลายปี ด้วยการใช้กฎหมายบังคับ ซึ่งเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุของมหาวิทยาลัยสงฆ์ไทย เพราะฝืนเจตจำนงของผู้บวชและครอบครัวของพวกเขา โดยไม่แจ้งเตือนล่วงหน้า แต่มาแจ้งเตือนภายในเวลาที่แก้ข้อมูลอะไรไม่ทันแล้ว และพระเณรต้องบวชกันไปอีกยาวนานจนกว่าจะจบหลักสูตร และดูเหมือนว่าองค์กรของคณะสงฆ์ไทยกำลังบังเบียดกัดกินสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน จนเริ่มทำลายสถาบันครอบครัว

ต่อให้พระเณรนิสิตนักศึกษามีบ้านในเขตอำเภอเดียวกับที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ตั้งอยู่ และมีรถมอเตอร์ไซค์ที่ (ถึงแม้จะไม่มีรถยนต์ที่ติดฟิล์มกระจกจนมืดสนิทให้พระเณรขับได้เหมือนพระเณรรูปอื่นที่มีฐานะดีพอสมควร) ที่ให้ขับไปกลับได้เวลามาไปเรียน มีงานที่สามารถหารายได้ส่งตัวเองเรียนได้โดยไม่ต้องรบกวนพ่อแม่ให้เขาได้ทำหลังเลิกเรียนหรือในวันหยุด ถึงจะทางบ้านจะมีปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้รองรับอยู่ แต่ฐานะทางครอบครัวก็ไม่มีเงินมากพอที่จะจ่ายค่าปรับที่แพงลิบลิ่วเพื่อไถ่ถอนตัวเองให้สึกกลับบ้านให้กลับไปสู่จุดนั้นได้ เพราะ ค่าปรับ 50,000 บาท + ค่าเทอมราคาเดียวกับโยมหลังสึก + ค่าเทอมที่เคยไปแล้วตอนบวช = จ่ายแพงกว่าโยมที่เรียนตั้งแต่ปีหนึ่งถึงปีสุดท้ายถึง เกือบ 2 เท่า ซึ่งไม่ยุติธรรมเลยแม้แต่น้อย ทำให้ผู้ที่ไม่ประสงค์จะบวชตลอดหลักสูตรแต่แรกต้องจำใจบวชยาวไปเรื่อยๆ จนจบหลักสูตร เว้นเสียแต่ว่า ทางมหาวิยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 สถาบัน จะยกเลิกมาตรการสึกปรับในรูปแบบต่างๆ ให้หมดไปจาก ม.สงฆ์ แล้วหันมาใช้วิธีการตามปกติ คือ ให้จ่ายค่าเทอมย้อนหลังเฉพาะส่วนต่างจนครบเท่าโยมในสาขาเดียวกันในแต่ละเทอมในช่วงที่บวชอยู่ โดยไม่ต้องมีการสึกปรับใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งยุติธรรมและสมเหตุสมผลกว่า (แต่ ม.สงฆ์ ก็หลีกเลี่ยง) ถ้ามหาวิทยาลัยสงฆ์เลือกใช้วิธีที่ยุติธรรมแล้ว ต่อให้การสึกระหว่างเรียนต้องแลกกับเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยตัดสิทธิ์ไม่ให้เข้าร่วมพิธีประสาทปริญญาบัตร แล้วให้รับทางไปรษณีย์แทน ผู้ที่สึกระหว่างเรียนก็ยินดีอย่างยิ่ง และพร้อมที่จะยอมรับเงื่อนไขนี้จากใจจริง และยินดีด้วยซ้ำที่จะไม่เช้าร่วมพิธีพิธีประสาทปริญญาบัตร แต่ระเบียบและประกาศของทางมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 สถาบัน ก็ไม่อนุญาตให้ทำเช่นนั้นได้เลย เพราะโยมที่เข้ามาเรียน ม.สงฆ์ ตั้งแต่ปีแรกถึงปีสุดท้ายก็ไม่ได้จ่ายแพงขนาดนั้น แต่พระเณรที่เข้ามาสมัครเรียนแท้ๆ เคยเป็นนักบวชให้กับวงการสงฆ์มาก็แล้ว ทิ้งครอบครัวและความรับผิดชอบทางบ้านมาเป็นแรงงานให้กับองค์กรสงฆ์ทั้งภาคเช้าและภาคค่ำมาก็แล้ว ถึงค่าเทอมเขาจะถูกกว่าโยม แต่ก็ถูกกว่าโยมประมาณแค่ 2,000 บาท เอง และสามารถจ่ายส่วนต่างคืนย้อนหลังให้เสมอกันกับค่าเทอมของโยมได้ด้วย โดยไม่ต้องปรับ 50,000 บาท ก็ได้ หลังจากที่สึก (แต่ ม.สงฆ์ ก็ไม่ทำเช่นนั้น กลับหลีกเลี่ยงวิธีดังกล่าวนี้) แถมสึกออกมา ม.สงฆ์ ยังได้ค่าเทอมจากเขาเพิ่มขึ้นอีก แต่ทำไม ม.สงฆ์ ถึงต้องไปปรับเงิน 50,000 บาท กับเขาอีก มันสมเหตุสมผลแล้วหรือ? นี่หรือคือวิธีการจรรโลงพระพุทธศาสนาที่ดีที่สุดที่องค์กรของคณะสงฆ์ไทยจะคิดขึ้นมาได้ ?

 

วิธีการจัดการกับผู้ที่สึกระหว่างเรียน ของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 สถาบัน (มมร. และ มจร.)

วิธีที่ ม.สงฆ์ หลีกเลี่ยงไม่ใช้

วิธีที่ ม.สงฆ์ เลือกใช้

ค่าเทอมที่เคยจ่ายไปแล้วตอนบวช

+

จ่ายชดเชยส่วนต่างย้อนหลังให้ได้ค่าเทอมเท่ากันกับโยมในสาขาเดียวกันในแต่เทอมที่บวชอยู่

+

ค่าเทอมเท่าโยมในเทอมที่เหลือหลังจากสึกไปแล้ว

 

 

ค่าเทอมที่เคยจ่ายไปแล้วตอนบวช

+

ค่าปรับห้าหมื่น

+

ค่าเทอมเท่าโยมในเทอมที่เหลือหลังจากสึกไปแล้ว

 =

ได้จ่ายแพงมากกว่าโยมที่เรียน ม.สงฆ์ ตั้งแต่ปีหนึ่งถึงปีสุดเกือบ 2 เท่า

  

ยุติธรรม

ไม่ยุติธรรม

 

ระเบียบและประกาศของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 สถาบัน นอกจากจะเป็นกฎหมายทำลายสถาบันครอบครัวแล้ว ยังเป็นกฎหมายบั่นทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ด้วย เพราะการที่พระเณรถูกเกณฑ์ให้บวชตลอดหลักสูตร เป็นที่ดูหมิ่นดูแคลนของเหล่าบรรดาพระเถรานุเถระทั้งหลาย หาว่าพระหนุ่มเณรน้อยที่เข้ามาบวชเรียนเหล่านี้เป็นพวกไม่มีที่ไป จนต้องเข้ามาบวชเรียน ที่บรรดาเหล่าพระเถรานุเถระทั้งหลายจะโขกสับอย่างไรก็ได้ ทั้งที่จริงแล้วมีพระเณรจำนวนมากถูกเกณฑ์ให้บวชยาวตามหลักสูตรหลังสมัครเรียนแบบไม่เต็มใจ ที่ทำให้พวกเขาไม่สามารถสึกไปไหนได้ ด้วยการใช้มาตรการบังคับตามระเบียบและประกาศจากทางมหาวิทยาลัยสงฆ์เอง เป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเขาไม่มีที่ไป เหล่าบรรดาพระเถรานุเถระทั้งหลายไม่ได้รักพวกเขาเหมือนลูกเหมือนหลานแต่อย่างใด แต่รักพวกเขาเหมือนเป็นทาสรับใช้ มีแต่ญาติโยมที่มาทำบุญที่คอยส่งข้าวส่งน้ำพวกเขาเท่านั้น ที่รักพวกเขาเหมือนลูกเหมือนหลาน นอกจากนี้ระเบียบและประกาศของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 สถาบัน ยังเป็นกฎหมายที่ละเมิดเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการนับถือศาสนาของพลเมืองอีกด้วย และเป็นกฎหมายที่ละเมิดรัฐธรรมนูญ เมื่อละเมิดเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการนับถือศาสนาในรัฐธรรมนูญแล้ว ก็ควรเสนอต่อที่สภาเพื่อยกเลิกต่อไป

การบวชยาวนานภายใต้ระเบียบนี้ เมื่อผู้สมัครเรียนไม่สามารถลาสิขาได้จนกว่าจะสำเร็จการศึกษา พระเณรเหล่านั้นต้องตั้งหน้าตั้งตาหาเงินทุกวิถีทางเพื่อจะหาเงินมาจ่ายค่าเทอม บ้างก็รบกวนทางบ้าน บ้างก็ต้องรอกิจนิมนต์ซึ่งนานๆ จะมีครั้งหนึ่ง จนต้องขอผ่อนค่าเทอมไปก่อน พระบางรูปต้องประกอบมิจฉาชีพหลอกลวงญาติโยมเพื่อหาเงินมาจ่ายค่าเทอมก็มี

 

ส่วนต่างค่าเทอมของบรรพชิตกับคฤหัสถ์แพงกว่ากันแค่ไหน ?

ส่วนต่างค่าเทอมทางฝั่ง มจร.

ถ้าบรรพชิตที่ลาสิกขาระหว่างเรียน ต้องจ่ายค่าปรับย้อนหลัง ว่ากันว่าเป็นค่าเทอมย้อนหลัง แต่แพงกว่าส่วนต่างเมื่อเทียบกับโยมและพระที่จ่ายแต่ละเทอม ถ้าบรรพชิตที่ลาสิกขาระหว่างเรียนตั้งแต่ปีแรกเทอมแรก สิ่งที่จะต้องเจอ ถ้ามองให้เห็นภาพรวม ก็คือ จ่ายค่าปรับห้าหมื่นบาท + ค่าเทอมที่จะต้องจ่ายเท่าแพงโยมในเทอมถัดๆ จนกว่าจะเรียนจบ แต่ถ้าลาสิกขาตั้งแต่ชั้นปี 1 เทอม 2 ขึ้นไป มองให้เห็นภาพรวม คือ ค่าเทอมที่จ่ายไปแล้วตอนบวช + ค่าปรับห้าหมื่นบาท + ค่าเทอมที่จะต้องจ่ายเท่าโยมต่อไปอีกในเทอมถัดๆ ไป จนกว่าจะเรียนจบ

ค่าเทอมและส่วนต่างระหว่างบรรพชิตกับคฤหัสถ์ แพงกว่ากันเท่าไหร่ มาดูกันครับ

ตารางที่ 1 แสดงส่วนต่างค่าเทอมมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) คณะครุศาสตร์ สาขาการสอนภาษาไทย (ภาคปกติ) ประจำปีการศึกษา 2563

ชั้นปีที่

ภาคเรียนที่

บรรพชิต (บาท)

คฤหัสถ์ (บาท)

ส่วนต่าง (บาท)

1

1 - 2

5,250

7,750

2,500

2

4,800

7,300

2,500

3

4,450

6,600

2,150

4

4,400

6,500

2,100

5

3,700

3,700

-

รวม

22,600

31,850

9,250

 

การบวชเรียน มี 3 กรณี คือ

กรณีที่ 1 บวชเรียนตลอดหลักสูตร จนกระทั้งเข้าร่วมพิธีประสาทปริญญาบัตรในเพศบรรพชิตด้วย โดยไม่เปลี่ยนสถานภาพบัณฑิตจากบรรพชิตเป็นคฤหัสถ์ ค่าเทอมนิสิตฝ่ายบรรพชิต ตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 ถึง ชั้นปีที่ 5 รวมทั้งสิ้น 22,600

กรณีที่ 2 บวชเรียนจนตลอดหลักสูตร แต่หลังเรียนจบ เลือกที่จะสึกก่อนเข้าร่วมพิธีประสาทปริญญาบัตร (สึกเพื่อเข้ารับปริญญาในงานพิธีประสาทปริญญาบัตร จะต้องจ่ายคือ ค่าเทอมตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 ถึง ชั้นปีที่ 5 รวม 22,600 บาท + ค่าเปลี่ยนสถานภาพก่อนเข้าร่วมพิธีประสาทปริญญาบัตร 50,000 บาท รวมทั้งสิ้น 72,600 บาท

กรณีที่ 3 บวชเรียนแต่สึกระหว่างเรียน แต่ไม่ประสงฆ์จะบวชอยู่ยาวตลอดหลักสูตร แต่บวชเพื่อสนองคุณบิดามารดาตามระยะเวลาที่ผู้บวชกำหนดเองเท่านั้น หรือมีเหตุจำเป็นให้ต้องสึกจริงๆ เช่น พ่อแม่เจ็บป่วยที่บ้านที่นิสิตจำเป็นต้องกลับบ้านไปดูแลหลังเลิกเรียน โดยมีความจำเป็นต้องใช้ยวดยานพาหนะเที่ยวไปเที่ยวกลับระหว่างบ้านกับมหาวิทยาลับสงฆ์ (ไม่เกี่ยวกับเรื่องสีกาชู้สาว อย่างที่พระเณรส่วนใหญ่นิยมใช้กล่าวหาโจมตีที่ผู้สึก) แต่ไม่ประสงค์ที่จะพักการเรียนหรือทิ้งการเรียนไปโดยปริยาย ค่าใช้จ่ายของการเล่าเรียนจะต่างกันไป หายิ่งลาสิกขาช้าเท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายจะลดลง สามารถแจกแจงได้ตามตารางดังนี้

ตารางที่ 2 แสดงค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรหากลาสิกขาก่อนเข้าร่วมพิธีประสาทปริญญาบัตรในเพศบรรพชิต

ชั้นปีที่

ภาคเรียนที่ 1 (บาท)

ภาคเรียนที่ 2 (บาท)

1

81,580

80,600

2

79,350

78,100

3

76,850

75,775

4

74,700

73,650

5

72,600

72,600 (เท่ากับกรณีที่2)

 

จะเห็นว่าส่วนต่างค่าเทอมของบรรพชิตกับคฤหัสถ์ตลอดหลักสูตรตั้งแต่ชั้นปีที่ 1-5 ส่วนต่างกันแค่ 9,250 บาท แต่พอสึกมาเรียน กลับต้องได้จ่ายเกินส่วนต่างไปมากถึง 50,000 บาท

ค่าเทอมคฤหัสถ์ (โยม) ที่เรียน ม.สงฆ์ ตั้งแต่ ชั้นปีที่ 1-5 รวมทั้งสิ้นเพียง 31,850 บาท แต่ผู้ที่มาสมัครตอนบวชเรียนแล้วสึกมาเรียนตอนเปิดเทอม หรือสึกในระหว่างเรียนในชั้นปีใดชั้นปีหนึ่ง หรือสึกหลังจากเรียนจบแล้ว แต่เข้าร่วมพิธีประสาทปริญญาบัตร ต้องจ่ายแพงถึง 81,850 บาท ซึ่งแพงกว่าค่าเทอมของคฤหัสถ์ (โยม) ที่เข้ามาเรียน ม.สงฆ์ ตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีสุดท้าย เกือบ 2 เท่า.

(ยังมีต่อ)

 

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net