Skip to main content
sharethis

เครือข่ายธุรกิจเพื่อสิทธิมนุษยชน เผยกระบวนการร่างแผนฯ ว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ของรัฐบาลไทยไม่มีความโปร่งใส และขาดความจริงใจในการนำเสียงสะท้อนจากชุมชนไปปฎิบัติจริง

23 ส.ค. 2561 ที่ Sofinspace สยามสแควร์ซอย 1 เครือข่ายธุรกิจเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้จัดงานแถลงข่าว “เสียงที่ถูกเพิกเฉย: เราไม่ได้เงียบ คุณแค่ไม่ได้ฟัง” เพื่อที่จะยืนหยัดสิทธิของชุมชนในการเป็นกระบอกเสียงที่รัฐควรรับฟังในขั้นตอนกระบวนการร่างแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน และเพื่อที่จะเรียกร้องให้รัฐบาลไทยทำตามสัญญาที่ได้มอบไว้กับสหประชาชาติ

ย้อนกลับไปเมื่อเดือน พ.ค. 2559 ในระหว่างการประชุมครั้งที่ 2 ของกลไกการทบทวนสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ(UPR) ที่นครเจนีวา รัฐบาลทหารได้มีความตั้งใจที่จะพัฒนาแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ภายในเดือนกันยายน 2561 รัฐบาลไทยในตอนแรกได้ตกลงจะใช้ยุทธศาสตร์ของมูลนิธิมานุษยะเพื่อที่จะให้ความมั่นใจว่าเสียงชองชุมชนท้องถิ่นและกลุ่มอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบการทางธุรกิจจะเป็นจุดศูนย์กลางในการร่างแผนฯ 

เครือข่ายธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนแห่งประเทศไทยจึงได้เกิดขึ้นด้วยเหตุดังกล่าว ได้มีการปรึกษาหารือกับรัฐบาลถึง 6 ครั้ง ตั้งแต่เดือนม.ค. 2560 ถึง เดือนมี.ค. 2561 การปรึกษาหารือแต่ละครั้งนั้น ชุมชนท้องถิ่นได้มอบข้อเสนอแนะ ที่เป็นรูปธรรมให้แก่รัฐบาลเพื่อที่จะนำไปใช้ประกอบการร่างแผนฯ ด้วยความหวังที่ว่าแผนฯ นั้นจะแสดงให้เห็นถึงความเป็นจริงจากท้องถิ่น

ปธ.กสม. ย้ำต้องสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียทำแผนปฏิบัติการฯธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน 

แต่ที่สุด ร่างแผนฯ ที่ออกมากกลับไม่ได้เป็นไปอย่างที่คาดคิด ทางเครือข่ายธุรกิจเพื่อสิทธิมนุษยชนเห็นว่า แผนฯ ที่มีการยกร่างออกมาเพื่อรับฟังความคิดเห็นนี้ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ ชุมชนในเครือข่ายได้แนะนำไป จึงได้ออกแถลงการณ์ และแถลงข่าวเรียกร้องให้รัฐบาลแสดงความจริงใจ และความโปร่งใส่ในกระบวนการร่างแผนฯ โดยมีเนื้อหาดังนี้

พวกเรา เครือข่ายธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งประเทศไทยขอแสดงความกังวลต่อความไม่จริงใจและการไม่มีซึ่งความโปร่งใสซึ่งได้แสดงออกโดยรัฐบาลไทยในขั้นตอนกระบวนการร่างแผนฯ ถึงแม้ว่าวันนี้เรายินดีกับการริเริ่มของรัฐบาลไทยกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งประเทศไทย UNDP และ OHCHR ที่ได้ร่วมจัดการปรึกษาหารือในการร่างแผนฯ  เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยทำให้มั่นใจว่าจะมีความโปร่งใสในกระบวนการร่างแผนฯ และความจริงใจในการนำข้อมูลที่ได้มาจากชุมชนมาใช้ในประเด็นที่สำคัญ รวมถึงความท้าทาย ข้อเสนอแนะและการปฏิบัติการเพื่อนำไปใช้จริง

รัฐบาลไทย ในการตอบรับของกระบวนการ UPR ครั้งที่ 2 ในปี 2559 มีความตั้งใจที่จะพัฒนาแผนฯ ให้แล้วเสร็จภายใน 2561 ในส่วนนี้ พวกเราได้จัดการปรึกษาหารือหลายครั้งเพื่อการพัฒนาฐานข้อมูลที่เป็นอิสระในระหว่างเดือนมกราคม 2560 ถึง มีนาคม 2561 ในการประชุมทั้งหมดนี้ พวกเราได้แบ่งปันข้อเสนอแนะจากองค์กรของเราและชุมชนที่ได้รับผลกระทบที่สามารถนำไปใช้ได้ในแผนฯ และนั่นก็เป็นที่มาของเครือข่ายธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งประเทศไทย เพื่อที่จะร่วมมือกันในกระบวนการร่างแผนฯ และเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมูลนิธิมานุษยะเพื่อที่จะเป็นการประกันว่าเสียงของชุมชนและผู้ที่ได้รับผลกระทบจะถูกได้ยิน และพวกเขาจะต้องเป็นศูนย์กลางในการร่างแผนฯ

ถึงแม้ว่า ปัญหาต่างๆ จะถูกพูดถึงหลายครั้ง ซ้ำๆ ให้กับรัฐ ในเวทีรับฟังความคิดเห็นต่างๆ ร่างแผนฯ ยังคงละเลยชุมชนผู้ได้รับผลกระทบ ละเลยข้อกังวลสำคัญต่างๆ และกล่าวถึงเพียงข้อเสนอเดิมๆ ที่อ้างว่าจะแก้ปัญหาธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริงได้ ร่างแผนฯ จึงไม่สะท้อนถึงการมีส่วนร่วมของเราในขั้นตอนต่างๆ และความใส่ใจของรัฐที่จะจัดทำแผนที่ปฏิบัติได้จริง ที่สำคัญกว่านั้นในช่วงที่ผ่านมา เจ้าหน้่าที่ของรัฐได้ขัดขวางความพยายามต่างๆ ในการสร้างการมีส่วนร่วมที่มีความหมายในขั้นตอนต่างๆ โดยสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการรับฟังความคิดเห็นโดยใช้ช่องทางที่ไม่เป็นทางการ หรือไม่สื่อสารเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่มีการแจ้งล่วงหน้าสำหรับการทบทวนตรวจสอบร่างของแผนฯ ซึ่งเป็นการละเลยการมีส่วนร่วมของชุมชนผู้ได้รับผลกระทบโดยสิ้นเชิง มีความพยายามที่จะแก้ไขร่างแผนฯ โดยละเลยข้อท้าท้ายที่เผชิญอยู่โดยไม่กล่าวถึงขั้นตอนการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ชัดเจน และจัดเวทีการรับฟังความคิดเห็นเพียงแค่วันเดียว และหลงลืมความสำคัญของกระบวนการต่างๆ ในการทำแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของประเทศ

พวกเราขอเรียกร้องให้กระทรวงยุติธรรมของรัฐบาลไทย ซึ่งเป็นผู้นำในการร่างแผนฯ ได้ดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อรับรองว่าจะมีการมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิภาพในการร่างแผนที่น่าเชื่อถือ:

ทำให้มั่นใจว่าข้อมูลจากการปรึกษาหารือ โดยเฉพาะร่างแผนฯ ให้เผยแพร่ในวงกว้างและล่วงหน้าเป็นเวลาที่เหมาะสมเพื่อที่ชุมชนที่เกี่ยวข้องและภาคประชาสังคมจะสามารถให้ความเห็นที่เป็นประโยชน์และมีส่วนร่วมในกระบวนการร่าง

ให้รวมถึงผู้แทนจากชุมชนที่ได้รับผลกระทบและกลุ่มภาคประชาสังคมให้มีส่วนร่วมในคณะกรรมการร่างแผนฯ เพื่อที่จะแสดงถึงความจริงใจและเพื่อเป็นกระบวนการที่โปร่งใส

ควรนำข้อมูลที่ได้จากการปรึกษาในเวทีภูมิภาคเพื่อที่จะให้มีการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกส่วนเพื่อการร่างแผนฯ ที่ประสบความสำเร็จ และเพื่อที่จะทำให้มั่นใจว่าการร่างแผนฯ จะระบุถึงปัญหาที่สำคัญและมีการนำไปใช้ซึ่งแผนปฏิบัติการที่ชัดเจนเพื่อที่จะแสดงความเคารพต่อสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นบนภาคพื้น

เพื่อที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าชุนชนและภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องจะมีส่วนร่วม พวกเรา ทางเครือข่าย ThaiBHRNetwork ได้เผยแพร่ข้อสรุปในแต่ละหัวข้อของรายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนด้านธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนที่ได้จัดทำโดยผ่านการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นกับชุมชนและผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะระบุประเด็นที่เร่งด่วน ข้อท้ายทายและขั้นตอนที่สามารถปฏิบัติได้เพื่อช่วยในกระบวนการ

ทางเครือข่ายขอเรียกร้องให้รัฐบาลทำตามสิ่งที่ได้บอกไว้ถึงการให้ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมในกระบวนการร่างแผนฯ โดยการสร้างพื้นที่เพื่อเอื้อต่อการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมายกับชุมชนที่ได้รับผลกระทบในระดับภูมิภาคในทุกร่างแผนฯ ต่อๆ ไป โดยผ่านกระบวนการที่ยอมรับข้อคิดเห็นจากเวทีเสวนาพร้อมกับให้เวลาที่เพียงพอในการทบทวนแต่ละร่าง

ฉะนั้น พวกเราขอให้รัฐบาลไม่ใช้วิธีที่ทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมโดยทำแค่เป็นพิธีการ แต่ควรจะสร้างอำนาจให้กลุ่มคนที่ต้องการถูกได้ยินโดยการให้บุคคลเหล่านี้มีส่วนร่วมอย่างมีความหมายเพื่อที่จะผลิตร่างแผนปฏิบัติฯ ต่อข้อกังวลของชุมชนและภาคประชาสังคมพร้อมทั้งมีแผนปฏิบัติการที่มีกระบวนการที่ชัดเจน ในขณะที่เราเข้าใจว่าแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนจะถูกเผยแพร่ภายในเดือนกันยายน 2561 สิ่งที่สำคัญไปกว่านั้นคือว่ากระบวนการในการทำให้ร่างเสร็จสมบูรณ์นั้นไม่ควรจะมีการทำอย่างเร่งรีบ และให้ชุมชนรวมไปถึงภาครัฐและบุคคลให้มีการเรียนรู้เกี่ยวกับสิทธิและกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและสิทธิมนุษยชนเพื่อที่จะมีส่วนร่วมให้การพัฒนาและการนำแผนปฏิบัติการมาใช้ในอนาคต

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net