Skip to main content
sharethis
เปิดข้อเสนอแก้ไขวิกฤตฟองสบู่สื่อ ของ 'สุวิทย์ มิ่งมล' ผู้ก่อตั้งกลุ่มตรวจสอบ กสทช. ยืนยันการเคลื่อนไหวครั้งนี้เพื่อรักษาคุณภาพของสถาบันสื่อสารมวลชนไม่ใช่ปกป้องกลุ่มทุน
 
 
เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2560 ที่ผ่านมา เว็บไซต์ครอบครัวข่าว รายงานว่านายสุวิทย์ มิ่งมล ผู้ก่อตั้งกลุ่มตรวจสอบ กสทช. เปิดเผยถึงที่มาในการเขียนจดหมายเปิดผนึกถึง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เรื่องขอให้มีการแก้ปัญหาฟองสบู่สื่อ ควบคู่กับแนวทางการปฏิรูปสื่อ เนื่องจากกลุ่มตรวจสอบ กสทช. หรือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ได้เริ่มติดตามการทำงานของ กสทช. หลังการประมูลทีวีดิจตัล พบว่าเกิดปัญหามากมายกับอุตสาหกรรมสื่อสารมวลชน จากการมีจำนวนช่องทีวีดิจตัลที่มากเกินไป จนหลายช่องประสบภาวะขาดุทน ผู้ประกอบการต้องแก้ไขปัญหาด้วยการเพิ่มทุน หรือหาผู้ร่วมทุนรายใหม่ และลดจำนวนพนักงานที่มีการเลิกจ้างไปแล้วไม่ต่ำกว่า 2 พันคน
 
กลุ่มตรวจสอบ กสทช.จึงเริ่มรวบรวมรายชื่อสื่อมวลชนเพื่อยื่นจดหมายถึงนายกรัฐมนตรี และนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี รวมทั้งคณะกรรมการปฏิรูปสื่อ เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขกฏหมาย กสทช. ก่อนที่สถานการณ์จะบานปลายกระทบระบบเศรษฐกิจ ซึ่งยืนยันว่าการเคลื่อนไหวครั้งนี้มาจากความเห็นของเพื่อนวิชาชีพสื่อมวลชน ที่จะต้องการรักษาคุณภาพของวิชาชีพสื่อสารมวชนที่มีส่วนสำคัญต่อคุณภาพของสังคม ไม่ได้ทำขึ้นเพื่อปกป้องกลุ่มทุน
 
นายสุวิทย์ ตั้งเป้าจะยื่นจดหมายเปิดผนึกต่อนายกรัฐมนตรีในสัปดาห์ที่สองของปี 2561 โดยรวบรวมรายชื่อสื่อมวลชนและผู้สนใจ ผ่านช่องทางต่าง ๆ เพื่อผลักดันให้มีการแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง
 
ทั้งนี้ในส่วนหนึ่งของข้อเสนอแก้ไขวิกฤตฟองสบู่สื่อระบุว่า "ระบุว่า ปัจจุบันเกิดปัญหามากมายกับอุตสาหกรรมสื่อสารมวลชน หลังการประทูลทีวีดิจิทัล โดยเฉพาะผลกระทบทางด้านเนื้อหาและสังคม เมื่อสื่อมวลชนต้องอยู่ภายในเรตติ้งและโฆษณา อุตสาหกรรมสื่อสารมวลชน ประสบภาวะขาดทุน และมีการเลิกจ้างพนักงานมากที่สุด อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ขณะที่ รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการฏิรูปสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีขึ้น"
 
"อย่างไรก็ตาม แนวทางการฏิรูปดังกล่าว อาจไม่เกิดขึ้นตรงตามเป้าหมาย ที่ต้องการให้สื่อมีจริยธรรม และตรวจสอบกันเองได้ เนื่องจากสื่ออยู่ภายใต้ข้อจำกัดของเรตติ้งและโฆษณา เป็นผลโดยตรงมาจากภาวะฟองสบู่สื่อ ที่เกิดขึ้นหลังการประมูลทีวีดิจิทัล ซึ่งมีการเพิ่มช่องมากเกินจริงกว่าอุตสาหกรรม และการดำเนินการของ กสทช.บางอย่างไม่เป็นไปตามสัญญา" 
 
"โดยที่ผ่านมา การแก้ปัญหา ของผู้ประกอบการใช้วิธีเพิ่มทุน หรือหาผู้ร่วมทุนรายใหม่ และการลดจำนวนพนักงาน เพื่อลดต้นทุน ทำให้มีจำนวนผู้ถูกเลิกจ้างมากกว่า 2,000 คนแล้ว ทั้งนี้กระบวนการแก้ปัญหาที่ผ่านมาของ กสทช. ยืนยันแต่เพียงทำตามกฎหมาย จึงเห็นว่า ควรมีการแก้ไขกฎหมาย กสทช.และกฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และเป็นทางออกให้กับปัญหาวิกฤตฟองสบู่สื่อ ควบคู่ไปกับนโยบายสื่อที่รัฐบาลกำลังมีนโยบายในปัจจุบัน"

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net