Skip to main content
sharethis

สนช. เอาด้วยเพิ่มอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ฝ่าวิกฤตประเทศ ชี้ ส.ว. ควรมีอำนาจถอดถอน ไม่เห็นที่มาจากเลือกกันเอง ไม่เห็นด้วยให้พรรคการเมืองเสนอ 3 รายชื่อชิงเก้าอี้นายก เหตุจำกัดสิทธิ์การให้ความเห็นชอบของสภาผู้แทนฯ

12 ก.พ. 59 เว็บข่าวรัฐสภา รายงานว่า ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติ 160  เสียง ไม่เห็นด้วยไม่มี งดออกเสียง 2  เสียง เห็นชอบรายงานการรวบรวมความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ของ คณะกรรมาธิการ (กมธ.) สามัญพิจารณาศึกษา เสนอแนะ และรวบรวมความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ สนช. ที่พิจารณาเสร็จแล้ว เพื่อส่งความเห็นไปยัง คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) วันที่ 15 ก.พ. 2559 โดยแบ่งออกเป็นส่วนที่ 1 การประมวลความเห็นและข้อเสนอแนะจาก กมธ.สามัญพิจารณาศึกษา เสนอแนะ และรวบรวมความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ สนช.  ส่วนที่ 2 การประมวลความเห็นจาก กมธ.สามัญประจำ สนช.,กมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาการแก้ไขปัญหาระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการไทยให้ เป็นรูปธรรม, สนช, สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) และ บุคคลอื่นๆ

กล้านรงค์ จันทิก รองประธานกรรมาธิการฯ คนที่ 1 กล่าวถึงการประมวลความเห็นในส่วนที่ 1 ว่า กมธ.ได้รวบรวมความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประเด็นการเมืองต่อร่างรัฐ ธรรมนูญเบื้องต้น ของ กมธ.สามัญประจำ สนช. และ สมาชิก สนช. มาประมวลบนพื้นฐานหลักการและเหตุผล เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปสู่การจัดทำความเห็นเสนอต่อคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนุ ญ (กรธ.) โดยประเด็นความเห็นและข้อเสนอแนะ ประกอบด้วยประเด็นการเมืองหลายประเด็น อาทิ รูปแบบบัตรของการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เห็นว่า ควรมีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ แบ่งเป็นแบบแบ่งเขต และ แบบบัญชีรายชื่อ ไม่ใช่บัตรเลือกตั้งใบเดียว เพราจะเป็นการให้สิทธิประชาชนอย่างเต็มที่ สามารถเลือกบุคคลที่ประสงค์ให้เป็นผู้แทนในพื้นที่และเลือกพรรคการเมืองที่ ชื่นชอบในนโยบายได้อย่างเต็มที่ สะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนได้อย่างแท้จริง เป็นรูปแบบที่ประชาชนคนไทยคุ้นเคยไม่เกิดความสับสน เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองที่มีฐานเสียงกระจายแต่ไม่มากในพื้นที่ใดพื้นที่ หนึ่งสามารถมีสมาชิกพรรคในสภาได้ และลดการซื้อสิทธิขายเสียง

ขณะที่การกำหนดเขตการเลือกตั้ง ควรกำหนดเขตเลือกตั้งแบบเขตใหญ่เรียงเบอร์ ไม่ใช่การเลือกตั้งแบบเขตเดียวเบอร์เดียว เพราะจะทำให้การซื้อสิทธิขายเสียงและการควบคุมการลงคะแนนเสียงของประชาชนโดย ผู้มีอิทธิพลทำได้ยากขึ้น รวมทั้งการแข่งขันในพื้นที่ลดความรุนแรงลง ส่งผลให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรมและทำให้คนดีมีความสามารถมีโอกาสได้ รับเลือกเป็น ส.ส. ได้มากขึ้น

ส่วนการคิดคะแนน ส.ส.ควรใช้แบบสัดส่วนผสม เพื่อสะท้อนเจตจำนงที่แท้จริงในเรื่องค่านิยมที่มีต่อพรรคการเมืองได้แท้ จริง และทำให้ทุกคะแนนเสียงถูกมาคำนวณหาจำนวน ส.ส. ทั้งหมดที่พรรคการเมืองพึงมี และ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อแต่ละพรรคที่จะได้รับ ขณะที่จำนวน ส.ส. ควรมีไม่น้อยกว่า 500 คน แต่ไม่เกิน ...คน เพื่อเปิดช่องว่างไว้สำหรับกรณีที่มีการลงคะแนนแล้วเกิดคะแนนเกินจริง (Over hang)

ด้านที่มาของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กำหนดให้มี 200 คน วาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี โดยมาจากการสรรหาจากกลุ่มอาชีพกลุ่มสังคมที่หลากหลาย และกำหนดหลักเกณฑ์ป้องกันระบบอุปถัมภ์ในการสรรหาด้วย เพื่อให้ได้ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ และมีความเป็นกลางอย่างแท้จริง พร้อมให้วุฒิสภาคงอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งระดับ สูงตามรัฐธรรมนูญ ปี 2550 เพื่อตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจทางการเมือง

ส่วนที่มาของนายกรัฐมนตรีนั้นไม่ควรให้พรรคการเมืองเสนอรายชื่อบุคคลที่ สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พรรคละไม่เกิน 3 ชื่อ เนื่องจากเป็นการจำกัดสิทธิ์ของสภาผู้แทนราษฎรในการพิจารณาให้ความเห็นชอบ เพราะให้ความเห็นชอบได้เฉพาะรายชื่อที่เสนอมาได้เท่านั้น

ขณะที่กลไกแก้ปัญหาประเทศควรให้อำนาจรัฐสภา หรือ วุฒิสภา ในการวินิจฉัยว่าสถานการณ์ใดถือเป็นวิกฤติของประเทศ กรณีที่ไม่มีสภาผู้แทนราษฎร หรือ มีสภาผู้แทนราษฎรแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้  และหากผลวินิจฉัยว่าเกิดวิกฤตของประเทศ ให้อำนาจประธานศาลรัฐธรรมนูญในการเรียกประชุมร่วมกันของหน่วยงานและบุคคลที่ มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันบริหารจัดการสถานการณ์ประเทศกลับสู่สภาวะปกติโดยเร็ว โดยปฏิบัติตามกรอบตามกฎหมายที่บัญญัติไว้เท่านั้น

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net