Skip to main content
sharethis

 

21 ส.ค.56 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “การแสดงออกทางการเมืองในยุคสังคมออนไลน์” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,188 คน พบว่า อุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าถึงเครือข่ายสังคมออนไลน์มากที่สุดคือ สมาร์ทโฟน (ร้อยละ 70.8) รองลงมาคือ แท็บเล็ต (ร้อยละ 10.1) และ คอมพิวเตอร์ / โน๊ตบุ๊ค (ร้อยละ 19.1)

สำหรับเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ประชาชนใช้มากที่สุดคือ เฟซบุ๊ก (ร้อยละ 93.8) รองลงมาคือ ไลน์ (ร้อยละ 76.0) และอินสตาร์แกรม (ร้อยละ 27.3) โดยไลน์เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ประชาชนใช้ต่อสัปดาห์ (6-7 วัน) มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 85.5 รองลงมาคือเฟซบุ๊ก (ร้อยละ 76.8) และอินสตาร์แกรม (ร้อยละ 63.6)

เมื่อถามว่าเคยเห็นเพื่อนๆ ที่อยู่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ โพสต์  แชร์  กดไลค์  หรือคอมเมนต์ประเด็นทางการเมืองบ่อยเพียงใด ผู้ตอบส่วนใหญ่ร้อยละ 57.8 เคยเห็นเกือบทุกวันที่เข้าใช้  ขณะที่ร้อยละ 31.1  เคยเห็นน้อยครั้ง  และร้อยละ 11.1 ไม่เคยเห็นเลย  เมื่อถามต่อว่าเคยอ่านความคิดเห็นทางการเมือง ที่มีการโพสต์อยู่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์บ้างหรือไม่ ประชาชนร้อยละ 87.8 บอกว่า“อ่าน” โดยอ่านเฉพาะประเด็นที่น่าสนใจมากที่สุด (ร้อยละ 47.2) รองลงมา เป็นการอ่านแบบผ่านๆไม่สนใจมาก (ร้อยละ 32.2) และ อ่านเกือบทุกประเด็น (ร้อยละ 8.4) ขณะที่ร้อยละ 12.2 บอกว่า“ไม่อ่านเลย”  

ทั้งนี้ประชาชนร้อยละ 69.6 มีส่วนร่วมแสดงออกทางการเมืองผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยร้อยละ 34.6 จะกดไลค์/ถูกใจ รองลงมา ร้อยละ 11.2 จะแชร์หรือแบ่งปันข้อมูล และร้อยละ 9.5 จะร่วมแสดงความเห็น/คอมเมนต์  ขณะที่ร้อยละ 30.4 ไม่มีส่วนร่วม/อ่านอย่างเดียว

ด้านความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “เครือข่ายสังคมออนไลน์มีส่วนช่วยให้ท่านรู้สึกว่าเรื่องการเมืองเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น  ใช่หรือไม่” ร้อยละ 68.2 คิดว่าใช่ ขณะที่ร้อยละ 12.5 คิดว่าไม่ใช่ และร้อยละ 19.4 ไม่แน่ใจ

ส่วนความเห็นต่อรัฐบาลว่าควรวางตัวอย่างไรต่อผู้ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ผู้ตอบส่วนใหญ่ร้อยละ 51.1 เห็นว่าควรให้สิทธิ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ขณะที่ร้อยละ 33.8 เห็นว่าควรรณรงค์  สื่อสาร  ทำความเข้าใจกับผู้ใช้ถึงสิ่งที่ทำได้ ทำไม่ได้  และการใช้อย่างสร้างสรรค์ และร้อยละ 15.1 เห็นว่าควรดูแลผู้ใช้ตามอำนาจที่กฎหมายให้ไว้ ไม่ควรลุแก่อำนาจ 

สุดท้ายเมื่อถามว่านักการเมืองหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเมืองคนใดที่ผู้ตอบติดตามการแสดงความเห็นผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์มากที่สุดอันดับแรกคือ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ (ร้อยละ 46.0) รองลงมาคือ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร (ร้อยละ 17.5)  และนายกรณ์ จาติกวณิช (ร้อยละ 9.0)

 

รายละเอียดดังต่อไปนี้

 

1. อุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าถึงเครือข่ายสังคมออนไลน์มากที่สุด คือ

 

สมาร์ทโฟน

ร้อยละ

70.8

แท็บเล็ต

ร้อยละ

10.1

คอมพิวเตอร์ / โน๊ตบุ๊ค

ร้อยละ

19.1

 

2. การเป็นสมาชิกเครือข่ายสังคมออนไลน์และความถี่ในการเข้าใช้

 

เครือข่ายสังคมออนไลน์

การเป็นสมาชิก (ร้อยละ)

ความถี่ในการใช้ต่อสัปดาห์

(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

1-2 วัน (ร้อยละ)

3-5 วัน (ร้อยละ)

6-7 วัน (ร้อยละ)

เฟซบุ๊ก

93.8

8.8

14.4

76.8

ไลน์

76.0

4.8

9.7

85.5

อินสตาร์แกรม

27.3

14.0

22.4

63.6

วอทส์แอพพ์

16.8

20.5

19.0

60.5

ทวิตเตอร์

9.7

23.5

25.2

51.3

วีแชต

7.9

26.9

15.1

58.0

 

 

3. ท่านเคยเห็นเพื่อนๆ ที่อยู่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ โพสต์  แชร์  กดไลค์  หรือคอมเมนต์ประเด็นทางการเมืองบ่อยเพียงใด

 

เคยเห็นเกือบทุกวันที่เข้าใช้       

ร้อยละ

57.8

เคยเห็นน้อยครั้ง     

ร้อยละ

31.1

ไม่เคยเห็นเลย 

ร้อยละ

11.1

 

4. ท่านอ่านความคิดเห็นทางการเมือง ที่มีการโพสต์อยู่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์บ้างหรือไม่

 

อ่าน

            โดย อ่านเกือบทุกประเด็น               ร้อยละ  8.4    

                    อ่านเฉพาะประเด็นที่น่าสนใจ   ร้อยละ 47.2  

                    อ่านแบบผ่านๆไม่สนใจมาก     ร้อยละ 32.2  

ร้อยละ

87.8

ไม่อ่านเลย

ร้อยละ

12.2

 

5. การมีส่วนร่วมแสดงออกทางการเมืองผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์

 

มีส่วนร่วม

ร้อยละ

69.6

            โดย กดไลค์/ถูกใจ                                   ร้อยละ 34.6

 

 

                   แชร์หรือแบ่งปันข้อมูล                        ร้อยละ 11.2

 

 

                   ร่วมแสดงความเห็น/คอมเมนต์              ร้อยละ   9.5

 

 

                   แชตหรือคุยกันในกลุ่ม                        ร้อยละ   9.0

 

 

                   โพสต์ความเห็นของตัวเอง                    ร้อยละ   5.3

 

 

ไม่มีส่วนร่วม/ อ่านอย่างเดียว

ร้อยละ

30.4

 

6. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “เครือข่ายสังคมออนไลน์มีส่วนช่วยให้ท่านรู้สึกว่าเรื่องการเมืองเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น  ใช่หรือไม่”

 

คิดว่าใช่

ร้อยละ

68.2

คิดว่าไม่ใช่

ร้อยละ

12.5

ไม่แน่ใจ

ร้อยละ

19.4

 

7. ความเห็นต่อรัฐบาลควรวางตัวอย่างไรต่อผู้ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์

 

ควรให้สิทธิ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

ร้อยละ

51.1

ควรรณรงค์  สื่อสาร  ทำความเข้าใจกับผู้ใช้ถึงสิ่งที่ทำได้ทำไม่ได้  และการใช้อย่างสร้างสรรค์

ร้อยละ

33.8

ควรดูแลผู้ใช้ตามอำนาจที่กฎหมายให้ไว้ ไม่ควรลุแก่อำนาจ 

ร้อยละ

15.1

 

 

8. นักการเมืองหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเมืองที่ผู้ตอบติดตามการแสดงความเห็นผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์มากที่สุด (5 อันดับแรก) (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 

นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์

ร้อยละ

46.0

พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร

ร้อยละ

17.5

นายกรณ์ จาติกวณิช

ร้อยละ

9.0

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์

ร้อยละ

3.5

นายพานทองแท้ ชินวัตร

ร้อยละ

3.0

 

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net