Skip to main content
sharethis

นิวยอร์กไทม์ นำเสนอแผนผังการเลือกตั้งสหรัฐฯ 'เส้นทางสู่ชัยชนะ' ของผู้ลงสมัครทั้งสองคนคือบารัค โอบาม่า กับ มิตต์ รอมนีย์ โดยประเมินจากผลสำรวจโพลล์ ผลการเลือกตั้งคราวก่อน และสภาพภูมิทัศน์ทางการเมืองของแต่ละรัฐ

(ที่มาของแผนผัง: New York Times)

แผนผังแสดงแนวโน้มการลงคะแนนของคณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่จะมีขึ้นในวันที่ 6 พ.ย. นี้ โดยนิวยอร์กไทม์ ประเมินและแบ่งออกเป็น 5 เขต สีน้ำเงินเข้มหมายถึงรัฐที่สนับสนุนพรรคเดโมแครตอย่างเหนียวแน่น สีฟ้าหมายถึงรัฐที่มีแนวโน้มว่าพรรคเดโมแครตจะชนะ ส่วนสีเหลืองหมายถึงรัฐที่มีโอกาสเป็นไปได้ทั้งสองทาง สีชมพูหมายถึงรัฐที่มีแนวโน้มว่าพรรครีพับลิกันจะชนะ และสีแดงเข้มหมายถึงรัฐที่สนับสนุนพรรครีพับลิกันอย่างเหนียวแน่น

โดยการประเมินของนิวยอร์กไทม์ระบุว่า บารัค โอบามา มีแนวโน้มที่จะได้เสียงจากคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College) แล้ว 243 เสียง ต้องการอีก 27 เสียงเพื่อให้เป็นเสียงข้างมาก ส่วนมิตต์ รอมนีย์ ประเมินว่าน่าจะได้เสียงจากคณะผู้เลือกตั้ง 206 เสียง ต้องการอีก 64เสียงจึงจะได้เสียงข้างมาก ขณะที่ผู้สมัครทั้งสองต้องมาชิงเสียงจากคณะผู้เลือกตั้งอีก 89 เสียงที่เหลือ

นอกจากนี้ทางนิวยอร์กไทม์ก็นำเสนอบทวิเคราะห์รัฐที่มีความเอนเอียงและมีความเป็นไปได้ทั้งสองทางดังนี้

 

รัฐเมน
สถานะ : เอียงข้างเดโมแครต

รัฐเมนพ้นจากการเป็นสนามต่อสู้ทางการเมืองระดับต้นๆ จากการที่พรรคเดโมแครตสามารถเอาชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดี 5 ครั้งหลังสุดได้ ปีนี้พวกเขาก็มีโอกาสชนะได้อีกเมื่อเห็นว่าโอบาม่าสามารถเอาชนะได้ร้อยละ 17 ในสมัยปี 2008 แต่กับมิตต์ รอมนีย์ผู้มาจากถิ่นฐานแถบตะวันออกเฉียงเหนือ และการที่รัฐนี้มัสายสัมพันธ์กับกลุ่ม Tea Party ทำให้น่าจับตามอง การหาเสียงของรอมนีย์ดูจะพยายามยึดครองคะแนนเสียงอย่างน้อย 1 เสียง เนื่องจากเมนเป็นหนึ่งในสองรัฐที่มีการแบ่งสัดส่วนคะแนนเสียง

รัฐมิชิแกน
สถานะ : เอียงข้างเดโมแครต

มิตต์ รอมนีย์เกิดและโตที่รัฐมิชิแกน ซึ่งพ่อเขาเป็นผู้ว่าการรัฐฯ ผู้มีชื่อเสียง แต่สำหรับรัฐที่เอนเอียงข้างเดโมแครตนี้การต่อสู้กับโอบาม่ามีพื้นฐานอยู่ที่เรื่องเศรษฐกิจ ไม่ใช่การโหยหาอดีต การที่รัฐบาลช่วยเหลืออุตสาหกรรมยานยนต์ซึ่งรอมนีย์ต่อต้านจะกลายเป็นข้อถกเถียงหลักสำหรับการหาเสียงของโอบาม่า รอมนีย์ดูเหมือนจะสู้หนักมากกับรัฐนี้โดยใช้เส้นสายความสัมพันธ์ของครอบครัวเขา แต่มันก็เป็นการต่อสู้ที่หนักหนา

รัฐมินนิโซตา
สถานะ : เอียงข้างเดโมแครต

เดโมแครตสามารถเอาชนะในรัฐมินนิโซตาได้ในสมัยการเลือกตั้งปธน. 9 ครั้งที่ผ่านมา โดยมีวอลเตอร์ มอนเดล เป็นคนเดียวที่เกิดในรัฐนี้และสามารถขึ้นดำรงตำแหน่งผู้ว่าได้ในปี 1984 ดังนั้นจึงมีเหตุผลน้อยมากที่โอบาม่าจะต้องลงแรงต่อสู้ในที่นี่ แต่ก็ยังคงมีการหาเสียงที่นี่อยู่ และก็ยังไม่สามารถมั่นใจกับรัฐภาคกลางฝั่งตะวันตกนี้ได้ หากมิตต์ รอมนีย์เริ่มชวนท้าทายขึ้นมาในช่วงท้ายการหาเสียง โอบาม่าอาจต้องเจอกับการเลือกตั้งรอบสองที่มีศัตรูแข็งแกร่ง

รัฐนิวเม็กซิโก
สถานะ : เอียงข้างเดโมแครต

เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ปธน. โอบาม่า สร้างสถิติมีชัยชนะเหนือวุฒิสมาชิกจอห์น แมคเคน ในนิวเม็กซิโก 15 คะแนน เป็นสัดส่วนที่สร้างประวัติศาสตร์ให้กับการต่อสู้อย่างหนักหน่วงระหว่างการเลือกตั้งของปธน. ขณะที่รีพับรีกันเป็นผู้ว่ารัฐในช่วงปี 2004 และมีการเลือกตั้งผู้ว่าใหม่ในปี 2010 นิวเม็กซิโกยังคงถูกมองว่าเป็นพื้นที่ที่เป็นมิตรกับพรรคเดโมแครตอยู่ มิตต์ รอมนีย์ วางแผนหาเสียงที่นี่ แต่ผู้ให้คำแนะนำของเขาก็เตือนว่ามันอาจไม่ใช่โอกาสที่ดีในการเก็บเกี่ยวคะแนนเสียงจากที่นี่

รัฐเนวาดา
สถานะ : เอียงข้างเดโมแครต

แผนอนาคตทางเศรษฐกิจในเนวาดาต้องตกต่ำลงตั้งแต่ผู้แทนของปธน. โอบาม่า มีชัยชนะเหนือรัฐนี้เมื่อ 4 ปีที่แล้ว และฟื้นตัวอย่างเชื่องช้า จากการที่รัฐนี้มีอัตราการว่างงานและการเพิกถอนจำนองมากที่สุด มิตต์ รอมนีย์ ก็ได้ 'สรุปผลการทดลองพร้อมใช้งาน' เอาไปโต้เถียงว่านโยบายของรัฐบาลโอบาม่าไม่สามารถกระทำได้ แต่จากการโอบาม่าหาเสียงซื้อใจชาวละตินได้อย่างมากและการได้คะแนนเสียงส่วนใหญ่จากการลงคะแนนล่วงหน้า ทำให้โอบาม่ามีแววในการต่อสู้วันสุดท้ายของการเลือกตั้ง

รัฐเพนซิลวาเนีย
สถานะ : เอียงข้างเดโมแครต

หลายปีมาแล้วที่เพนซิลวาเนียให้ความนิยมพรรคเดโมแครตในการเลือกตั้งปธน. แต่ก็ยังไม่ทำให้ริพับริกันหยุดความพยายามต่อสู้ได้ มิตต์ รอมนีย์ เดินทางไปทั่วรัฐนี้และริพับริกันก็โฆษณาหาเสียง แต่เท่าที่เห็นตอนนี้ก็ยังมีความคืบหน้าน้อยมาก กฏหมายใหม่ว่าด้วยการระบุตัวตนผู้ลงคะแนนเสียงอาจทำให้จำนวนคะแนนของเดโมแครตครอปลง แต่โพลล์จากมหาวิทยาลัยควินนิแพ็ก นิวยอร์กไทม์ ซีบีเอสนิวส์ เปิดเผยว่าปธน. มีคะแนนก่อนหน้าร้อยละ 11 ก็ทำให้รัฐนี้ซึ่งแต่เดิมเคยเป็นรัฐที่มีความเป็นไปได้เท่ากันก็ดูกลับมาเอียงข้างเดโมแครต

รัฐโคโลราโด
สถานะ : มีความเป็นไปได้เท่ากัน

ชัยชนะของปธน. โอบาม่าเหนือรัฐโคโลราโดเป็นหนึ่งในความสำเร็จสำคัญของเขาในปี 2008 หลังจากที่รัฐนี้ลงคะแนนเอนเอียงไปทางริพับริกัน 8 ใน 9 ครั้งที่แล้ว ความรอบคอบของรัฐบาลใหญ่อาจเป็นบททดสอบสำหรับโอบาม่า แต่มิตต์ รอมนีย์ ก็ต้องเผชิญความท้าทายของตัวเองในการพยายามเรียกคะแนนจากผู้หญิงและกลุ่มผู้ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ซึ่งเป็นกลุ่มผู้สนับสนุนสำคัญที่มีผลต่อชัยชนะของวุฒิสมาชิกและผู้ว่ารัฐฯ ฝ่ายเดโมแครตในโคโลราโดปี 2010

รัฐฟลอริด้า
สถานะ : มีความเป็นไปได้เท่ากัน

ฟลอริด้ากลับมาเลื่องชื่ออีกครั้งในฐานะสมรภูมิเลือกตั้งสำคัญของอเมริกา ปธน. โอบาม่า ชนะไปในปี 2008 แต่การเพิกถอนจำนองบ้านเป็นจำนวนมากและภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองทำให้ทางชนะของเขายากขึ้น กลุ่มคนเกษียณอายุที่เป็นอนุรักษ์นิยมกลายเป็นความหวังของรอมนีย์ แต่ผลลัพธ์อาจเปลี่ยนแปลงได้จากการที่ว่ารอมนีย์จะสามารถชนะใจกลุ่มชาวฮิสปานิค ได้หรือไม่ โดยเฉพาะกลุ่มคนหนุ่มสาวเชื้อชาติคิวบา-อเมริกัน ในทางตอนใต้ของฟลอริด้า และชาวเปอโตริโกทางตอนกลางของฟลอริด้า

รัฐไอโอวา
สถานะ : มีความเป็นไปได้เท่ากัน

ปธน. โอบาม่า มีความสัมพันธ์ทางใจกับไอโอว่าในฐานะที่เป็นรัฐแรกที่ทำให้เขาได้รับชัยชนะในการแข่งขันที่ดูไม่น่าเป็นไปได้เมื่อ 4 ปีที่แล้ว แต่รัฐนี้มีความท้าทายมากกว่าเดิม มิตต์ รอมนีย์ และพรรคริพับริกันทั้งหลายใช้เวลาเป็นเดือนๆ ในการกล่าวโจมตีโอบาม่าในที่ประชุมลับของปีนี้ ทำให้ผลสำรวจโพลล์ของโอบาม่าลดลงมากกว่ารัฐอื่นๆ โดยรอบ ในหารเลือกตั้งทั่วไปที่ใกล้เข้ามานี้ คะแนนเสียงผู้แทนฯ 6 คนก็มีความสำคัญต่อทั้งสองฝ่าย

รัฐนิวแฮมป์เชียร์
สถานะ : มีความเป็นไปได้เท่ากัน

ทำเนียบขาวให้ความสนใจรัฐนิวแฮมป์เชียร์อย่างใกล้ชิดมาก โดยให้รอง ปธน.โจเซฟ อาร์ ไบเดน จูเนียร์ ลงไปในรัฐหลายครั้งเพื่อโต้เถียงกับมิตต์ รอมนีย์ ผู้ที่มีบ้านพักตากอากาศในนิวแฮมป์เชียร์ และถูกมองว่าเป็น 'ลูกพรรคคนโปรด'

ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งของที่นี่เป็นผู้ไม่ฝักใฝ่พรรคใด แต่โดยรวมแล้วจะมีแนวคิดต่อต้านการที่รัฐบาลเข้าแทรกแซงชีวิตของพวกเขา มันอาจเป็นโอกาสที่ดีที่สุดของรอมนีย์ที่จะเอาชนะรัฐที่โอบาม่าปกครองอยู่

รัฐโอไฮโอ
สถานะ : มีความเป็นไปได้เท่ากัน

มีหนทางน้อยมากสำหรับรอมนีย์ที่จะคว้าเก้าอี้ทำเนียบขาวไว้ได้โดยไม่เอาชนะรัฐโอไฮโอ รัฐที่เป็นตัวนำชัยชนะ ซึ่งสามารถทายถูกมาตลอดการเลือกตั้ง 12 ครั้งที่ผ่านมาว่าใครจะเป็นผู้ชนะ การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมั่นคงจะช่วยให้ปธน. โอบาม่ากลับมาได้รับชัยชนะในรัฐนี้อีกครั้ง มีส่วนใหญ่ของรัฐที่ยังคงเป็นอนุรักษ์นิยม แต่ริพับริกันก็กังวลว่าพรรคเดโมแครตอาจได้รับแรงจูงใจจากชัยชนะคราวที่แล้ว ซึ่งผู้มีสิทธิเลือกตั้งร่วมกันโค่นกฏหมายจำกัดสิทธิข้าราชการได้

รัฐเวอร์จิเนีย
สถานะ : มีความเป็นไปได้เท่ากัน

เป็นสมรภูมิเลือกตั้งล่าสุดของประเทศ เวอร์จิเนียจะเป็นเวทีกลางของโอบาม่าในการเลือกตั้งซ่อม รัฐนี้เป็นอนุรักษ์นิยมอยู่ลึกๆ แต่การเปลี่ยนแปลงประชากรในทางตอนเหนือของเวอร์จิเนียก็ช่วยเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทางการเมืองของรัฐนี้ แต่ข้อโต้แย้งของมิตต์ รอมนีย์ ต่อการขยายรัฐบาลก็ถูกทำให้ยากขึ้นโดยจำนวนของคนทำงานราชการในเวอร์จิเนีย ปธน. โอบาม่า เคยชนะในรัฐนี้ด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 7 ในปี 2008 แต่ทั้งสองฝ่ายก็มองในทางเดียวกันว่าการต่อสู้ขับเคี่ยวจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกันทั้งสองฝ่าย

รัฐวิสคอนซิน
สถานะ : มีความเป็นไปได้เท่ากัน

การเพิ่ม ส.ส. พอล ดี ไรอัน แห่งรัฐวิสคอนซินเข้าไปในริพับริกันอาจยังไม่สามารถการันตีชัยชนะเหนือ ปธน. โอบาม่า ได้ แต่มันได้ทำให้รัฐนี้กลายเป็นสมรภูมิของจริงไปแล้ว พรรคเดโมแครตสามารถเอาชนะรัฐนี้ได้ในการเลือกตั้ง 6 ครั้งที่ผ่านมา อย่างฉิวเฉียดเสียส่วนใหญ่ แต่กลุ่มรีพับรีกันต่างก็โฆษณาเพื่อผลักดันให้มีการใช้เงินในการหาเสียงของโอบาม่า อย่างไรก็ดี มิตต์ รอมนีย์ยังถือไพ่เหนือกว่าและต้องแสดงให้เห็นว่าเขาสามารถทำได้ในรัฐนี้

รัฐแอริโซนา
สถานะ : เอียงข้างริพับริกัน

การเมืองของรัฐแอริโซนาเปลี่ยนแปลงไปตามประชากร ในตอนนี้ริพับริกันเชื่อว่าพรรคของพวกเขาได้เปรียบในการเลือกตั้งปธน. แม้จะยอมรับว่าจำนวนผู้ลงคะแนนชาวฮิสปานิคที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้เดโมแครตได้เปรียบ ปธน. โอบาม่า ผู้ที่พ่ายแพ้ร้อยละ 9 ให้กับวุฒิสมาชิกจอห์น แมคเคน ในบ้านเกิดของวุฒิสมาชิกเองในการเลือกตั้งปี 2008 ก็ยังคงมีแผนหาโอกาสจากรัฐแอริโซนา และการหาเสียงของเขาก็เป็นการวัดขุมกำลังคนเลือกตั้งและวัดระดับการแข่งขันสำหรับช่วงฤดูใบไม้ร่วง

รัฐนอร์ท แคโรไลนา
สถานะ : เอียงข้างริพับริกัน

นอร์ทแคโรไลนาเป็นสมรภูมิที่ท้าทายสำหรับเดโมแครตเสมอมา แต่ทางพรรคก็ได้คัดเลือกให้ชาร์ล็อตต์เป็นแหล่งประชุมระดับชาติเพื่อสร้างความกระตือรือร้น เพื่อช่วยให้ปธน. โอบาม่า กลับมาชนะอีกครั้งเช่นในปี 2008 ทั้งสองฝ่ายต่างก็โฆษณาอย่างหนักหน่วง แต่พรรคเดโมแครตก้เริ่มลดงบทุนตรงนี้ลงแล้ว ซึ่งเป็นสัญญาณว่ารัฐนี้อาจกันเหไปทางริพับริกัน แต่ฝ่ายริพับริกันเองก็ยังไม่นิ่งนอนใจเพราะผลโหวตเบื้องต้นเคยส่งให้โอบาม่าขึ้นสู่ตำแหน่งเมื่อ 4 ปีที่แล้ว

 

ที่มา เรียบเรียงจาก The Electoral Map : Building a Path to Victory, New York Times http://elections.nytimes.com/2012/electoral-map?src=ehdr

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net