Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

นโยบายการนับรวมทางสังคม เริ่มใช้ครั้งแรกในประเทศฝรั่งเศส เมื่อราวปี ค.ศ.1974 เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียมกันของการได้รับประโยชน์จากระบบประกันสังคม ที่กันแยกคนบางกลุ่มออกไปไม่ให้ได้รับประโยชน์ ต่อมาในปี 1980 แนวคิดนี้ได้ขยายครอบคลุมไปถึงผู้ที่เสียโอกาสจากภาวะความเจ็บป่วยอ่อนแอ คนชรา เด็กที่ถูกล่วงละเมิด ตลอดจนผู้พิการทุกข์พลภาค (vulnerability) ปัจจุบันแนวคิดการกันแยกออกไปจากสังคม ถูกใช้กับประเทศต่างๆ ในยุโรป เช่น ฝรั่งเศส, อังกฤษ, สกอตแลนด์, นิวซีแลนด์, โรมาเนีย เป็นต้น แนวคิดนี้ใช้เพื่อกำหนดนโยบายให้เกิดความเท่าเทียมกัน เพื่อการนับรวมคนในชาติเข้าด้วยกัน เนื่องจากเห็นว่าความทุกข์ยากลำบาก ขาดแคลน ที่มักนิยมใช้ในประเทศทุนนิยมโดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่รับองค์ความรู้จากอเมริกามักจะใช้มโนทัศน์ “ความยากจน” ซึ่งวัดผลที่เกิดขึ้น (output) ในมิติของความขาดแคลนที่ต่ำกว่ามาตรฐาน เช่น ด้านรายได้ การศึกษา การบริการสาธารณสุข ซึ่งไม่ได้บ่งบอกถึงระบบโครงสร้างที่กันแยกคนยากจนออกไปจากการได้รับประโยชน์ในโครงการแก้ปัญหาความยากจน กล่าวอีกนัยหนึ่งการแก้ปัญหาสนใจที่นโยบายและผลที่ตามมา โดยละเลยกระบวนการดำเนินนโยบายที่กันแยกประชาชนออกไป 

แนวคิดการกันแยกทางสังคมจึงช่วยทำให้รัฐบาลหันกลับมาทบทวนว่า มีคนกลุ่มใดในสังคมที่ไม่ได้รับประโยชน์จากนโยบาย หรือมีนโยบาย มาตรการปฏิบัติใดที่ผลักไสคนให้ออกไปจากพื้นที่ของสิ่งที่เรียกว่า “การพัฒนา” อมาตยา เซน (2000) เห็นว่า ความยากจนทำให้ไม่สามารถเข้าสู่การปฏิสัมพันธ์กับสังคมเพราะความอับอาย และไม่เป็นที่ยอมรับจากคนรอบข้าง ทำให้กันแยกตัวเองออกจากสังคม เมื่อเขาและเธอไม่มีส่วนสัมพันธ์เชื่อมโยงกับสังคม คนเหล่านี้จึงขาดโอกาสจะได้รับผลตอบแทนจากนโยบายทางเศรษฐกิจ เช่น การจ้างงาน การเข้าถึงแหล่งเงินกู้ด้วย ดังนั้นความยากจน การขาดความสามารถในการเข้าถึงทรัพยากร และการถูกกีดกันออกจากสังคมจึงมีส่วนสัมพันธ์กัน สหประชาชาติ (2009) ได้ออกมาเรียกร้องในรายงานสถานการณ์โลกปี 2010 (Report on the World Social Situation 2010) ว่า ถึงเวลาที่รัฐบาลในประเทศต่าง ๆ ต้องทบทวนนโยบายเกี่ยวกับความยากจนใหม่ที่เดิมมักจะวัดความยากจนจากเส้นความยากจน “poverty line” ซึ่งมีข้อจำกัดโดยละเลยการที่คนยากจนถูกกระทำจากโครงสร้าง การเอารัดเอาเปรียบ เลือกปฏิบัติ ซึ่งเป็นกระบวนการในเชิงพลวัตที่ผลิตความยากจน 

ในหลายประเทศการพิจารณาการกันแยกทางสังคม จะประกอบด้วยมิติที่สำคัญได้แก่

1) การกันแยกออกจากระบบกฎหมาย กล่าวคือมีลักษณะการเลือกปฏิบัติกับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ประชาชนในชาติไม่ได้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมด้วยแนวทางปฏิบัติแบบเดียวกัน

2) การกันแยกออกจากระบบเศรษฐกิจ ได้แก่ ภาวะตกงาน เนื่องจากไม่เป็นที่ต้องการ หรือถูกรังเกียจไม่รับเข้าทำงาน การถูกกีดกันไม่ให้เข้าถึงปัจจัยการผลิต หรือแหล่งเงินทุนเพื่อการประกอบอาชีพ

3) การกันแยกออกจากระบบสวัสดิการ หรือการบริการทางสังคม ซึ่งประเทศกำลังพัฒนามักมีความแตกต่างของมาตรฐานคุณภาพการบริการทางสังคมระหว่างพื้นที่ในเขตเมืองและชนบท

4) การกันแยกออกจากระบบครอบครัว และโครงข่ายทางสังคม ชุมชน สถานการณ์นี้มักเกิดขึ้นจากการพัฒนาที่มีความเหลื่อมล้ำสูง ทำให้คนในภาคเกษตรกรรมต้องเคลื่อนย้ายแรงงานเข้ามาทำงานในเมืองตัดขาดจากโครงข่ายทางสังคมเดิม

จะเห็นได้ว่ามิติการกันแยกทั้ง 4 ประการข้างต้นเกิดขึ้นในสังคมไทยอย่างเข้มข้น รุนแรง โดยเฉพาะภาคเมืองกับภาคชนบท คนชนบทถูกกันแยกออกจากสังคมในทุกมิติข้างต้น รวมถึงมิติทางวัฒนธรรม ที่สร้างความด้อยกว่าต่ำกว่า ให้กับวัฒนธรรมบ้านนอก พื้นถิ่น แม้ว่าปัจจุบันคนเมืองจะมองชนบทด้วยสายตาที่ชื่นชม แต่ก็เป็นภาพชนบทที่คนเมืองจินตนาการขึ้น เพราะได้เห็นได้สัมผัสจากการอ่านหนังสือ ชวนฝันภาพชีวิตชนบทอันงดงาม เรียบง่าย หรือความสมบูรณ์พร้อมของอาหารและทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงามในหนังสือ สารคดี โฆษณา แนะนำเศรษฐกิจพอเพียง เข้าไปท่องเที่ยวตามศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตลาดร้อยปี หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นบรรยากาศจำลองที่สร้างขึ้นเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวที่ต้องการจะเสพความเป็นชนบท ขณะที่วัฒนธรรมการดูถูกดูแคลนคนชนบทยังดำรงอยู่ต่อเนื่อง และมีแนวโน้มที่จะรุนแรงยิ่งขึ้น 

ต่อไปนี้คือตัวอย่างของคนเมืองที่แสดงความเห็นผ่านเครือข่ายทางสังคม (facebook) ภายหลังพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-font-family:"Cordia New";mso-bidi-theme-font:
minor-bidi">

“ต่อไปคนอีสานจะตกงานทั่วประเทศ เพราะไม่มีคนรับทำงาน...รับพม่าดีกว่า”

“กำหนดสิทธิ์ในการเลือกตั้งให้เฉพาะผู้ที่เสียภาษีเงินได้ เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า...กลุ่มคนเหล่านี้ต้องแบกรับภาระเลี้ยงดูประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ”

“เห็นได้ชัดว่า เสียงส่วนใหญ่ของประเทศนี้ คิดแต่เรื่องเงิน คิดแต่เรื่องปากท้องของตัวเองเพียงอย่างเดียว เห็นแก่ตัว ไม่คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม และไม่ค่อยคิดอะไรไกลๆ “คิดสั้น” กันทั้งนั้น”

“ประชาธิปไตยนั้นเหมาะกับประเทศที่การศึกษาพร้อมแล้วเท่านั้น แต่ไทยแลนด์ยังไม่พร้อม” mso-ascii-theme-font:minor-bidi;mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-font-family:
"Cordia New";mso-bidi-theme-font:minor-bidi">

สิ่งสำคัญจึงอยู่ที่ว่าการพัฒนา แก้ปัญหาความยากจนในสังคมไทยที่ผ่านมาเราสร้างความเป็นอื่นให้กับคนชนบทในทุกมิติ ยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันเป็นสถานการณ์ที่เรียกได้ว่าเป็น “การเมืองของการกันแยก” 

รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เข้าบริหารประเทศ นับจากวันที่แถลงนโยบายต่อรัฐสภาในวันที่ 23 สิงหาคม 2554 เป็นเวลา 1 ปี ภายหลังเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง 2 ครั้งในปี 2553 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต 92 คน ซึ่ง กฤตยา อาชวนิจกุล กล่าวว่า เป็น“ความตายที่พร่าเลือน” “ ในการชันสูตรพลิกศพ สรุปได้ว่าไม่ได้รับความเอาใจใส่จากแพทย์มากพอในการทำรายงาน การชันสูตรพลิกศพมีความหละหลวม และข้อมูลผิดพลาดจนญาติของผู้เสียชีวิตต้องทำคำร้อง... ที่สำคัญ รายงานเหล่านี้ไม่เผยแพร่สาธารณะ” (ดูประชาไท “ศปช.เปิดฉบับสมบูรณ์รายงานสลายชุมนุม 53 - ฉบับ คอป.กรรมการสิทธิฯ ยังเงียบ”19 สิงหาคม 2555)

แม้ว่ารัฐบาลนี้ได้บรรจุเรื่อง การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย เป็นนโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรกเป็น ข้อที่ 1 แต่ภายหลังจากเข้ามาบริหารประเทศครบหนึ่งปีเหตุการณ์ความขัดแย้งยังคงดำรงอยู่อย่างต่อเนื่อง และไม่ปรากฏผลงานเป็นรูปธรรมจากการบริหารประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ความรุนแรงของความแตกร้าวทางสังคม (disintegration) สามารถสะท้อนให้เห็นได้จากข้อมูลดังต่อไปนี้ mso-ascii-theme-font:minor-bidi;mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-font-family:
"Cordia New";mso-bidi-theme-font:minor-bidi">

การเลือกปฏิบัติทางกฎหมาย
จากรายงานความคืบหน้าคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.)(2555, น.9) พบว่ามีการดำเนินคดีต่อกลุ่มผู้ชุมนุมในเหตุการณ์ทางการเมือง รวมทั้งสิ้น 216 คดี เป็นคดีก่อการร้ายมากที่สุดคือ 148 คดี ขู่บังคับให้รัฐบาลกระทำการใดๆ 22 คดี ทำร้ายประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ 71 คดีและ การกระทำต่ออาวุธยุทธภัณฑ์ของทางราชการ 20 คดี มีผู้ต้องหา 650 คน จับกุมได้ 290 คน หลบหนี 385 คน ในจำนวนที่หลบหนีมีผู้เสียชีวิตแล้ว 2 คน 

ขณะที่สถานการณ์เกี่ยวกับการดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จนกลายเป็นประเด็นที่สหประชาชาติ องค์การระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน และนานาประเทศให้ความสนใจติดตามอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน คณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมือง ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน เปิดเผยว่า นับตั้งแต่ปี 2550 มีการดำเนินคดีอาญา ตามมาตรา 112 เฉลี่ยปีละ 50 ถึง 70 คดี รวมถึงปัจจุบัน มีประมาณ 200 คดีเศษ ทั้งนี้ ไม่รวมคดีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษรับไว้พิจารณาโดยตรง และคดีที่อัยการสูงสุดดำเนินการสืบสวนสอบสวนเอง 

นับแต่ปลายปี พ.ศ.2554 เป็นต้นมา มีการตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อตรวจสอบกลั่นกรองเว็บไซต์ ที่มีการนำเสนอข้อมูลที่ดูแล้วน่าจะเข้าข่ายดูหมิ่นสถาบันฯ ทำให้มีการปิดกั้นเว็บไซต์ และส่งเรื่องให้มีการดำเนินคดีประมาณ 12,000 เว็บไซต์ ขณะที่ฝ่ายกองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันมีการดำเนินคดี ตาม พ.ร.บ.ฯ คอมพิวเตอร์ฯ มีไม่ถึง 20 คดี นอกนั้นเป็นการเชื่อมโยงการกระทำผิดเข้ากับมาตรา 112 ทั้งสิ้น (ประชาไท, อนุกรรมการสิทธิฯ เผยข้อมูลสถิติคดีหมิ่น แจ้งความปีละ 50-70 คดี, 21 สิงหาคม 2555) คดีลักษณะดังกล่าวมีการปฏิบัติตามกระบวนการยุติธรรมที่รุนแรงเกินกว่าเหตุ ปฏิเสธการให้ประกันตัว และถูกติดตามลงโทษทางสังคมอันมีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ต้องสงสัย และครอบครัว ซึ่งแตกต่างจากคดีโดยทั่วไป mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-font-family:"Cordia New";mso-bidi-theme-font:
minor-bidi">

กรณีที่เกิดขึ้นนี้ไม่นับรวมการใช้มาตรการทางสังคม ที่มีการรวมตัวกันทางเครือข่ายทางสังคม เพื่อตรวจสอบ ติดตาม การกระทำที่เข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ดังเช่น ที่ปรากฏในเครือข่ายออนไลน์ อาทิเช่น “ศูนย์ปฏิบัติการติดตามผู้ชุมนุมเสื้อแดง”“รวมพลังคนไทยต่อต้านขบวนการหมิ่นสถาบัน”“คนไทย ร่วมต่อต้าน เพ็จหมิ่น เวปหมิ่นสถาบัน”“ตามมาลากพวกควายหมิ่น ลงนรกให้หมด” จะเห็นได้ว่าการดำเนินคดีที่เกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์ความรุนแรงเป็นคดีที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากความคิดเห็นที่แตกต่างทางการเมือง ซึ่งมุ่งกระทำกับคนกลุ่มเดียวกันซึ่งเป็นคนที่มีถิ่นฐาน วัฒนธรรม เป็นคนกลุ่มใหญ่ในสังคมไทย

ความเหลื่อมล้ำการได้รับประโยชน์จากการพัฒนา
ระยะ 2 ปีที่ผ่านมามีผลงานวิชาการหลายชิ้น ที่แสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำอันเป็นผลมาจากการพัฒนาประเทศในหลายทศวรรษที่ผ่านมา ผาสุก พงษ์ไพจิตรกล่าวในงานสัมมนา “สู่สังคมไทยเสมอหน้า การศึกษาโครงสร้างความมั่งคั่งและโครงสร้างอำนาจเพื่อการปฏิรูป” ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า“ปัจจุบัน ระดับความเหลื่อมล้ำของไทยเป็นรองก็แต่เพียงลาตินอเมริกาและแอฟริกาเท่านั้น” งานศึกษาของ ดวงมณี เลาวกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์พบว่า ประเทศไทยมีค่าเฉลี่ยการถือครองที่ดินอยู่ที่ 13.97 ไร่ โดยบุคคลที่ถือครองที่ดินมากที่สุดในประเทศเป็นนิติบุคคล มีการถือครองที่ดินจำนวน 2,853,859 ไร่ ซึ่งงานวิจัยไม่ได้ระบุว่าเป็นใคร และเมื่อแบ่งผู้ถือครองที่ดินทั้งประเทศออกเป็น 5 กลุ่ม (100%) ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล พบว่ากลุ่มคนที่ถือครองพื้นที่น้อยที่สุด 20% แรก ถือครองที่ดินเฉลี่ย 0.086 ไร่ ขณะที่กลุ่มคนที่ถือครองพื้นที่มากที่สุด 20% ท้าย ถือครองที่ดินเฉลี่ย 62.5515 ไร่ ซึ่งมีความต่างกันประมาณ 729 เท่า

ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยตัวเลขในบัญชีเงินฝากของคนไทย เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2555 คนไทยมีเงินฝากในธนาคารไม่เกิน 5 หมื่นบาท เป็นจำนวนบัญชีมากที่สุดคือ 69 ล้านบัญชี รองลงมาคือ มีเงินฝากไม่เกิน 1 แสนบาท มีอยู่ 3 ล้าน บัญชี ส่วนเงินฝากเกินกว่า 10 ล้านบาท มี 80,301 บัญชีเท่านั้น ฉะนั้นหากกล่าวอย่างหยาบ ๆ คนไทยส่วนใหญ่มีเงินเก็บไม่ถึง 5 หมื่นบาท สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระบุว่า คนรวย 20 % แรก มีรายได้สูงกว่าคนยากจน 20 % ที่อยู่ข้างล่างถึง 11.31 เท่า ในปี 2552 GDP ต่อหัวของคนจังหวัดระยองสูงกว่า คนในจังหวัดศรีสะเกษถึง 35 เท่า (ดูเดชรัต สุขกำเนิด และ สุพรรณีศฤงฆาร, เมืองไทยที่ไม่เท่ากัน ประมวลภาพความเหลื่อมล้ำสุดขั้วในเมืองไทยของเรา น.5) หรือแม้แต่น้ำท่วมที่ผ่านมา นิธิ เอียว ศรี วงศ์ เขียนไว้อย่างน่าสนใจใน “การเมืองเรื่อง น้ำ ท่วม” ว่า 

รัฐบาล “ผลัก น้ำไปยังคนซึ่งความลาดชันของอำนาจต่อรองทางการเมืองต่ำเพราะเขาบอกชัดเจนเลยว่า ต้องผลักน้ำเข้าเรือกสวนไร่นาในภาคกลางเพื่อช่วยกรุงเทพฯ” (ดูหนังสือพิมพ์ มติชนรายวัน, 18 ธันวาคม 2549)

สฤณี อาชวานันทกุล เขียนใน “ความเหลื่อมล้ำฉบับพกพา” แบ่งประเภทความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่ในสังคมไทยเป็น 8 ด้านคือ ความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้และทรัพย์สิน ความเหลื่อมล้ำด้านสิทธิและโอกาสในการบริการสาธารณะ ความเหลื่อมล้ำด้านทรัพยากร ความเหลื่อมล้ำด้านโครงสร้างภาษี ความเหลื่อมล้ำด้านสิทธิโอกาสและการมีส่วนร่วมทางการเมือง ความเหลื่อมล้ำด้านสิทธิและโอกาสในการได้รับความยุติธรรม โดยแสดงให้เห็นตัวเลขความเหลื่อมล้ำแต่ละด้านอย่างชัดเจน (ดูสฤณี อาชวานันทกุล, 2554) ตัวเลขความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียมเหล่านี้มีความสอดคล้องกับตัวเลขครัวเรือนยากจนในชนบทที่มีมากกว่าครัวเรือนยากจนในเขตเมือง โดย ปี 2553 อยู่จำนวนครัวเรือนยากจนในชนบทสูงกว่าครัวเรือนยากจนในเขตเมืองถึง 7 เท่า และกลุ่มคนที่ยากจนที่สุดก็คือ กลุ่มเกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาได้เกษตรกรภาคเหนือ (ดูสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ความยากจนและการกระจายรายได้ กันยายน 2554) 

หากจะประมวลสถานการณ์เข้าด้วยกันจะเห็นได้ว่า คนที่ตกเป็นเหยื่อของนโยบาย มาตรการต่าง ๆ ของรัฐบาลตลอดหลายทศวรรษของการพัฒนาก็คือ คนชนบท ที่มีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับขบวนการเสื้อแดง 

การกันแยกออกจากการเมือง-สังคม
ตราบใดที่เรายังแบ่งบทบาททางการเมืองในลักษณะ คนชนบทเลือกรัฐบาลและคนกรุงเทพล้มรัฐบาล (ที่มาจากการเลือกตั้ง) แล้ว ความปรองดอง สมานฉันท์จะไม่มีวันเกิดขึ้นได้ ที่ผ่านมาสังคมไทยกันแยกคนชนบทออกไปจากระบบการเมือง ถูกทำให้เป็นเสียงที่ไม่มีคุณภาพ มีความพยายามสร้างระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ ด้วยข้ออ้างการซื้อสิทธิ ขายเสียงในระบบการเลือกตั้งใหม่ ทั้งกล่าวหาการชุมนุมทางการเมืองที่ผ่านมาว่าเป็นการก่อการร้าย “เผาบ้านเผาเมือง” ซึ่งเหมารวมเอาความเคลื่อนไหวทั้งหมดที่เกิดขึ้นในสถานการณ์เดียวกันว่า เป็นการกระทำของกลุ่มคนที่มีอุดมการณ์แบบเดียวกัน ทำให้เกิดการกวาดล้างดำเนินคดี และจำกัดสิทธิของผู้ต้องหาอันเป็นผลสืบเนื่องจากเหตุการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมา โดยรัฐบาลไม่ใส่ใจจะเยียวยา ให้ความช่วยเหลือคนกลุ่มนี้ได้มากนัก 

ดังจะเห็นได้จากจดหมายเปิดผนึกของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.)ถึงนายกรัฐมนตรีลงวันที่ 15 กันยายน 2554 เรียกร้องต่อรัฐบาล 4 ข้อ ได้แก่ mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-font-family:"Cordia New";mso-bidi-theme-font:
minor-bidi">

“1. เร่งรัดตรวจสอบให้ชัดเจนว่าการแจ้งข้อหาและการดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาและจำเลยสอดคล้องกับพฤติการณ์แห่งการกระทำหรือไม่ และทบทวนว่ามีการตั้งข้อหาที่รุนแรงเกินสมควร หรือการดาเนินคดีที่พยานหลักฐานอ่อนไม่เพียงพอต่อการพิสูจน์ความผิดหรือไม่

2. ดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อให้มีการปล่อยชั่วคราวอันเป็นสิทธิพื้นฐานของผู้ต้องหาและจำเลย เพื่อให้ผู้ต้องหาและจำเลยสามารถต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ 

3. เนื่องจากผู้ต้องหาและจำเลยมิใช่เป็นผู้ร้ายหรืออาชญากรดังเช่นในคดีอาญาตามปกติ แต่เป็นผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอันมีมูลเหตุเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในทางการเมือง หากผู้ต้องหาและจำเลยนั้นไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราว รัฐบาลสมควรจัดหาสถานที่ในการควบคุมที่เหมาะสมที่มิใช่เรือนจำปกติเป็นสถานที่ควบคุมผู้ต้องหาและจำเลย ดังเช่นที่เคยใช้กับนักโทษทางการเมืองในอดีต

4. ในระหว่างที่มีการศึกษาถึงแนวทางในการหามาตรการต่างๆ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ความขัดแย้งในประเทศไทยมาใช้ สมควรขอความร่วมมือให้อัยการชะลอการดำเนินคดีอาญาเหล่านี้ไว้ โดยยังไม่พิจารณานำคดีขึ้นสู่ศาล”  minor-bidi;mso-bidi-font-family:"Cordia New";mso-bidi-theme-font:minor-bidi">

ข้อเรียกร้อง 4 ข้อ ข้างต้นได้มีการกล่าวย้ำอีกครั้งในรายงาน ความคืบหน้าฉบับที่ 3(กรกฎาคม 2555– มีนาคม 2555) เนื่องจากยังไม่มีการดำเนินการตามข้อเสนอข้างต้นอย่างจริงจัง ในรายงานฉบับนี้ มีข้อความระบุไว้อย่างน่าสนใจว่า “ปัญหาความขัดแย้งยังคงดำเนินอยู่และบรรยากาศของความปรองดองยังไม่เกิดขึ้น” (ดูสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, มติคณะรัฐมนตรี 8 พฤษภาคม 2555) 

สิ่งที่สำคัญมากคือ ในด้านหนึ่งที่รัฐดำเนินคดีปราบปรามผู้กระทำผิด แต่ในอีกด้าน รัฐบาลกลับปล่อยให้มีการจัดตั้งหมู่บ้านเสื้อแดงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อานนท์ แสนน่าน ผู้ริเริ่มโครงการหมู่บ้านเสื้อแดงเพื่อประชาธิปไตย แถลงข่าวเตรียมยกระดับหมู่บ้านเสื้อแดง ขึ้นเป็น “สมาพันธ์หมู่บ้านเสื้อแดง เพื่อประชาธิปไตย แห่งประเทศไทย” ทั้งระบุว่าปัจจุบันมีหมู่บ้านเสื้อแดงกว่า 3,000 แห่งทุกภาคของประเทศแล้ว (Voice Tv, เตรียมยกหมู่บ้านเสื้อแดงเป็นสมาพันธ์, 23 กันยายน 2554)

“นายอานนท์ ยืนยันว่าจากการได้พูดคุยกับพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า ไม่เคยสั่งให้มีการยุบหรือสลายหมู่บ้านเสื้อแดง และต้องการให้หมู่บ้านเสื้อแดงสร้างอาชีพ และรายได้ ให้กับประชาชนภายในหมู่บ้าน ซึ่งหลังจากนี้ จะประสานกับกระทรวงมหาดไทย ยกหมู่บ้านเสื้อแดงขึ้นเป็น หมู่บ้านปลอดยาเสพติด และขึ้นเป็นสมาพันธ์ต่อไป เพื่อให้มีระเบียบและทิศทางเดียวกัน”

นอกจากนั้นยังมีข่าวเปิดอำเภอเสื้อแดงขึ้น ในอำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี และอำเภอจุน จังหวัดพะเยา ยิ่งไปกว่านั้นบุคคลในคณะรัฐมนตรีเดินทางไปเปิดหมู่บ้านเสื้อแดง และกล่าวในพิธีเปิดช่วงหนึ่งว่า“ในการเปิดหมู่บ้านเสื้อแดงเพื่อประชาธิปไตย ต่อไปจะมีการมอบเงินกองทุนให้หมู่บ้านเสื้อแดงฯ หมู่บ้านละ 1 ล้านบาท” (กรุงเทพธุรกิจ, สุชาติโผล่เป็นปธ.เปิดหมู่บ้านเสื้อแดงอุดร, 21 สิงหาคม 2554) แม้ว่าจะมีการออกมาปฏิเสธข่าวดังกล่าวในภายหลัง แต่ความเชื่อมโยงระหว่างหมู่บ้านเสื้อแดง พ.ต.ท.ทักษิณ และรัฐบาลนี้เป็นเรื่องที่ไม่อาจปฏิเสธได้ 

การเปิดหมู่บ้านเสื้อแดงอย่างต่อเนื่อง และมีเหตุอันเชื่อได้ว่ารัฐให้การสนับสนุนเป็นกรณีพิเศษที่แตกต่างจากหมู่บ้านทั่วไป สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่ารัฐบาลกำลังดำเนินนโยบายกันแยกทางสังคม (social exclusion) ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อฝ่ายใด ขณะที่ในด้านกระบวนการยุติธรรมรัฐปล่อยปละละเลยไม่คุ้มครองให้เป็นไปตามหลักการที่พึงเป็น ทำนองว่าเป็นสิ่งที่รัฐเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงไม่ได้ ปล่อยให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ในกลุ่มคนเสื้อแดงเสมือนว่ามีอำนาจบางอย่างเป็น “มือที่มองไม่เห็น” เข้ามาจัดการให้เกิดการกวาดล้างขบวนการคนเสื้อแดง แต่ในอีกด้านรัฐบาลเร่งปลุกเร้าให้มีการจัดตั้งหมู่บ้านเสื้อแดงโดยบุคคลในพรรคเพื่อไทย วิธีแบบนี้ยิ่งจะทำให้คนเสื้อแดง คนชนบท ถูกกันแยกออกไป เป็นที่โกรธแค้นชิงชังต่อฝ่ายตรงข้าม กล่าวคือ คนเหล่านี้กลายเป็นกลุ่มคนที่ไม่รักสถาบัน มีลักษณะบ่อนทำลายสถาบันหลักของชาติ เป็นผู้ก่อการร้าย จำเป็นต้องติดตามจับกุม ไล่ล่าอย่างต่อเนื่อง 

สถานะของคนเสื้อแดงซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในชนบท จึงกลายเป็นผู้ถูกผลักออกจากชนชั้นแรงงาน เกษตรกร ให้กลายเป็น “ชนชั้นที่อยู่ใต้ชั้น” (under class) คือไม่อยู่ในชนชั้นของโครงสร้างทางสังคม เป็นพวกนอกเหนือการนับรวมที่จัดพื้นที่ให้อยู่เป็นการเฉพาะ และใช้กฎหมาย ระเบียบแบบแผนพิเศษ ที่ต่างไปจากประชาชนทั่วไป กล่าวถึงที่สุดฐานะความเป็น ชนชั้นที่อยู่ใต้ชั้น ก็คือ ความไม่มีสถานะเป็นพลเมือง แต่เป็นกลุ่มเฉพาะพิเศษที่ถูกกันแยกออก เป็นเสียงที่สังคมไม่รับฟัง เพราะการเคลื่อนไหวเรียกร้องทั้งหมดจะถูกเหมารวมกลายเป็น “การก่อการร้าย” ล้มล้างสถาบัน

เมื่อใดก็ตามที่พรรคเพื่อไทยไม่ได้รับเลือกตั้งกลับมาเป็นรัฐบาลหรือถูกรัฐประหารด้วยรูปแบบใด ๆ หมู่บ้านเสื้อแดงที่มีอยู่ทั่วประเทศจะขัดแย้งโดยง่ายกับรัฐบาลที่มาจากฝ่ายตรงข้าม และจะถูกไล่ล่าปราบปราม ควบคุม อย่างเข้มงวด ความรุนแรงจะไม่มีทางจบสิ้นลงได้ ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลดำเนินการมาตลอด 1 ปี นอกจากสถานการณ์ความขัดแย้งจะไม่บรรเทาเบาบางลงแล้ว ยังมีแนวโน้มว่าจะทวีความรุนแรง และฝังรากลึกความขัดแย้งต่อไปในอนาคตอีกยาวนาน

วันนี้รัฐบาลไทยจึงควรทบทวนการดำเนินนโยบายการบริหารประเทศ และภาคปฏิบัติของการพัฒนาประเทศว่า ได้ทำให้คนกลุ่มใดในสังคมไทย ถูกกันแยกออกไป ให้มีสถานะที่แตกต่างไปจากคนกลุ่มอื่น ทั้งการถูกเลือกปฏิบัติ การทำให้เป็นผู้เบี่ยงเบน แปลกแยกเป็นชายขอบ เป็นผู้ไร้สิทธิ ไร้เสียง และมีสภาวะต่ำต้อย ด้อยค่า ตกอยู่ในวงจร “เจ็บ จน โง่” จากการนิยามของสังคม ตลอดหลายทศวรรษของการพัฒนา โดยหันมาดำเนินนโยบายการรวมทางสังคม ให้ทุกคนเข้ามามีส่วนในฐานะพลเมืองที่เท่าเทียม ซึ่งการดำเนินการไม่ใช่เพียงการปรับโครงสร้างด้วยการกระจายเงินกองทุนลงไปสู่หมู่บ้าน หรือการพยายามจะออกกฎหมายปรองดองแห่งชาติ ดังเช่นที่เร่งดำเนินการอยู่ แต่ต้องดำเนินการทั้งระบบ ในทุกมิติ ซึ่งมีหลักการสำคัญคือ 

เปลี่ยนวิธีคิดมุมมองเกี่ยวกับการพัฒนา และความยากจนใหม่ แทนที่จะมองว่าความยากจนเป็นผลผลิตของการด้อยพัฒนา มามองว่าความยากจน และการกันแยกทางสังคมเป็นสิ่งที่ก่อรูปขึ้นพร้อม ๆ กับกระบวนการที่เรียกว่า “การพัฒนา”

การปรับโครงสร้างทางสังคมให้มีการกระจายโอกาสและประโยชน์จากการพัฒนาไปถึงคนกลุ่มต่าง ๆ อย่างทั่วถึง เป็นธรรม

จำกัด ควบคุมไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติ ในทุกระดับชั้น

ทบทวนมาตรการด้านภาษี การถือครองที่ดิน และระบบสวัสดิการทางสังคม ทั้งระบบ

ปฏิรูประบบกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม 

ที่สำคัญคือการปฏิรูปวัฒนธรรม การดูหมิ่นดูแคลน การกดเหยียด การปฏิบัติที่แตกต่าง ต่อคนจน คนชนบทซึ่งเป็นคนไทยด้วยกัน ที่ฝังรากลึกในสังคมไทยมาเป็นเวลาร่วมร้อยปี mso-ascii-theme-font:minor-bidi;mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-font-family:
"Cordia New";mso-bidi-theme-font:minor-bidi">

mso-ascii-theme-font:minor-bidi;mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-font-family:
"Cordia New";mso-bidi-theme-font:minor-bidi"> 

 

 

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net