Skip to main content
sharethis

นักขี่ม้าสาววัย 18 อาจจะเป็นนักกีฬาหญิงเพียงคนเดียว (และคนแรก) ของ ‘ทีมชาติซาอุดีอาระเบีย’ ในการการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ลอนดอนกลางปีนี้ หลังโดนวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่เคยส่งนักกีฬาหญิงลงแข่งขัน ขณะที่ประเทศ (เพิ่ง) เริ่มให้สิท
ธิผู้หญิงมากขึ้น (แต่อาจไม่เพียงพอ?)


Dalma Malhas อาจจะเป็นนักกีฬาหญิงหนึ่งเดียวของซาอุดีอาระเบียในลอนดอนเกม 2012 color:#0000CC">

เมื่อวันที่ 25 มี.ค. ที่ผ่านมา middle east online รายงานว่าหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นได้ตีข่าวว่า Dalma Malhas นักกีฬาหญิงขี่ม้าวัย 18 ปี อาจจะเป็นผู้หญิงเพียงคนเดียว ที่จะได้เป็นตัวแทนของทีมชาติซาอุดีอาระเบีย เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ลอนดอนในช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคม – สิงหาคมนี้

ก่อนหน้านี้ Malhas สร้างชื่อเสียงให้กับตัวเองด้วยการคว้าเหรียญทองแดงในการแข่งขันยูธ โอลิมปิก ที่สิงคโปร์ เมื่อปี 2010 ซึ่งการแข่งขันครั้งนั้นทางซาอุดีอาระเบียไม่ได้ส่งเธอเข้าแข่งขันเนื่องจากมีนโยบายไม่สนับสนุนนักกีฬาหญิง แต่เธอกลับได้รับเชิญจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (OIC) ให้เข้าร่วมการแข่งขัน   

สื่อท้องถิ่นระบุว่า มกุฎราชกุมาร Nayef bin Abdul Aziz ได้ทรงตกลงที่จะส่ง Malhas เข้าร่วมโอลิมปิกครั้งนี้ แต่ก็ยังต้องรอให้มีการประกาศอย่างเป็นทางการ ซึ่งก่อนหน้านี้ซาอุดีอาระเบียยืนยันที่จะส่งเฉพาะนักกีฬาชายเข้าร่วมแข่งขัน แต่เนื่องจากการวิพากษ์วิจารณ์และการกดดันจากคณะกรรมาธิการกีฬาและสตรีของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC's Women and Sport Committee) ที่ต้องการให้สามประเทศที่ไม่เคยส่งผู้หญิงเข้าทำการแข่งขันอย่าง ซาอุดีอาระเบีย, การ์ต้า และบรูไน ส่งนักกีฬาหญิงเข้าร่วมการแข่งขัน

นอกจากนี้องค์กรฮิวแมน ไรท์ วอตซ์ (Human Rights Watch) ได้เสนอรายงานเรื่องการละเมิดสิทธิผู้หญิงในซาอุดีอาระเบีย โดยเฉพาะประเด็นผู้หญิงกับกีฬา มีรายงานว่ารัฐบาลปิดโรงพลศึกษาของเอกชนที่ให้ผู้หญิงได้เล่นกีฬา รวมถึงประเด็นเรื่องการขับรถในซาอุดีอาระเบียที่ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงขับรถ โดยในเดือนกันยายนปี 2011 ศาลซาอุดิอาระเบีย ได้ตัดสินลงโทษเฆี่ยนผู้หญิงคนหนึ่งจำนวน 10 ที โทษฐานขับรถยนต์ ซึ่งเป็นการท้าทายต่อคำสั่งห้ามของรัฐ (ก่อนที่กษัตริย์ของซาอุฯ จะทรงอภัยโทษให้แก่เธอในเวลาต่อมา)

ภาพลักษณ์ของประเทศในสายตานานาอารยประเทศที่ดูไม่ดีนักในเรื่องสิทธิสตรีทำให้ซาอุดิอาระเบียเริ่มขยับนโยบายการปฏิรูปในเรื่องของผู้หญิงกับสิทธิต่างๆ โดยเมื่อปีที่แล้วกษัตริย์ของซาอุฯ ประกาศว่าจะให้สิทธิสตรีในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ในปี 2015

อนึ่งเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา The Independent  สื่อชื่อดังของอังกฤษได้จัดอันดับเกี่ยวกับ ‘ที่สุด’ ของ ‘สิทธิผู้หญิง’ ในประเทศต่างๆ พบว่าซาอุดีอาระเบียก็ติดอันดับแย่ๆ ในการจัดอันดับครั้งนี้ในหลายประเด็น เช่น

  • ซาอุดิอาระเบีย นอกจากที่จะไม่เคยส่งผู้หญิงไปแข่งกีฬาโอลิมปิกแล้ว ยังมีกฎเหล็กที่ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงเล่นกีฬาใดๆ ในโรงเรียนของรัฐ (ในขณะที่นักกีฬาหญิงชาวอเมริกัน ติดอันดับ 10 นักกีฬาหญิงที่มีรายได้สูงสุดประจำปี 2011 ถึง 5 คน)
  • ผู้หญิงชาวซาอุดิอาระเบียมีรายได้ต่ำสุด คือประมาณ 7,157 ดอลลาร์ ขณะที่ผู้ชายได้รับมากกว่าถึง 36,727 ดอลลาร์ (ลักเซมเบิร์กกับนอร์เวย์ เป็นประเทศที่ผู้หญิงมีรายได้สูงที่สุด โดยผู้หญิงสามารถมีรายได้เฉลี่ยถึง 40,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน ซึ่งเทียบเท่ากับผู้ชาย)
  • ซาอุดิอาระเบีย เยเมน กาตาร์ โอมาน และเบลิซ เป็นประเทศที่ไม่มีสตรีดำรงตำแหน่งใดๆ ในรัฐสภาเลย (รวันดาเป็นประเทศที่ผู้หญิงมีเสียงส่วนใหญ่ในสภา โดยมีผู้หญิงนั่งในสภา 45 จาก 80 ที่นั่ง)

 

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net