Skip to main content
sharethis

26 พ.ย. 54 - แถลงการณ์เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงต่อการประชุมระดับโลกเรื่องการย้ายถิ่นและการพัฒนาครั้งที่ห้า โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ แถลงการณ์เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงต่อการประชุมระดับโลก เรื่องการย้ายถิ่นและการพัฒนาครั้งที่ห้า แรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านในลุ่มน้ำโขงมีความชำนาญอย่างยิ่งและสามารถฟื้นคืนสภาพเดิมและเรียกร้องให้มีการตระหนักและเคารพตามสิทธิจากรัฐบาลของพวกเขา แรงงานจากอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงไม่สามารถที่จะไว้วางใจกับรัฐใดๆหรือองค์กรระหว่างประเทศองค์กรไหนที่จะให้อำนายความสะดวกหรือจัดการการย้ายถิ่นหรือปกป้องสิทธิของพวกเขา แทนที่จะรอการช่วยเหลือพวกเขาได้จัดการการเคลื่อนย้ายและจัดตั้งตนเองเพื่อทวงถามถึงสิทธิของตน แรงงานได้ค้ำจุนครอบครัวและชุมชนของพวกเขาโดยที่ไม่ได้รับการตระหนักหรือการอำนายความสะดวกใดๆ พวกเขาเองได้สร้างระบบซึ่งมีประสิทธิภาพ สะดวกและเหมาะสม ในช่วงเวลาวิกฤตแรงงานได้จัดสร้างชุมชนของพวกเขาเพื่อที่จะให้การช่วยเหลือด้านที่พักพิงและสนับสนุนสำหรับแรงงานข้ามชาติคนอื่นที่ต้องการความช่วยเหลือ ล่าสุดชุมชนแรงงานข้ามชาติทุกหนทุกแห่งในประเทศไทยได้จัดกิจกรรมเพื่อหาเงิน ช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติและประชาชนไทยที่เดือดร้อนจากน้ำท่วม ในขณะเดียวกันชุมชนแรงงานข้ามชาติในพื้นที่ชายแดนได้ต้อนรับผู้คนร่วมชาติ ที่หนีจากน้ำท่วมในกรุงเทพฯและจังหวัดอื่นๆในพื้นที่ภาคกลางของไทย โดยไม่คำนึงถึงคำขู่จากเจ้าหน้าที่ที่ว่าจะมีการกวาดล้างแรงงานผิดกฎหมาย ในขณะที่แรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านในลุ่มน้ำโขงมีความเชี่ยวชาญอย่างยิ่งและสามารถฟื้นคืนสภาพเดิมได้ แต่พวกเขาเหล่านั้นยังคงมีความประสงค์ที่จะเรียกร้องตามสิทธิที่ยังไม่ได้รับจากรัฐบาลและรอคอยด้วยใจจดจ่อเพื่อให้รัฐบาลปฏิบัติการต่อข้อเสนอ ดังต่อไปนี้คือ ผู้ย้ายถิ่นประสงค์เป็นอย่างยิ่งที่จะให้รัฐบาลในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงอุทิศทรัพยากรที่ดีกว่านี้เพื่อการบริการทางสังคมที่จำเป็นสำหรับประชากรทุกคนในภูมิภาค หากดำเนินการเช่นนั้นจะทำให้ผู้ย้ายถิ่นสามารถที่จะเข้าถึงการบริการที่จำเป็นได้ในประเทศต้นทางและปลายทาง การย้ายถิ่นและผู้ย้ายถิ่นต้องได้รับการบรรจุในวาระแห่งชาติเรื่องแผนด้านเศรษฐกิจและสังคม เพื่อที่แรงงานจะสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและประเทศของพวกเขา แรงงานยังต้องการให้รัฐบาลปฏิบัติการโดยทันทีในการต่อต้านการคุกคาม การเลือกปฏิบัติและความรุนแรงในทุกรูปแบบที่แรงงานประสบอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันจากตำรวจ เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง นายจ้างและคนอื่นๆที่แสวงหาผลประโยชน์เอารัดเอาเปรียบจากกระบวนการย้ายถิ่น ความรุนแรงเหล่านั้นมีผลกระทบเชิงลบในการพัฒนาและความมั่นคงของประชาชนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ผู้ย้ายถิ่นจากอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงอยากให้รัฐบาลเข้าใจว่า การจับ การกักขังและส่งกลับแรงงานในข้อหาที่เกี่ยวกับการเข้าเมืองผิดกฎหมาย เป็นการจัดการที่ไร้ประโยชน์ เสียเวลา และสิ้นเปลืองงบประมาณ แรงงานข้ามชาติต้องการที่จะทำงาน อุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศต้องการแรงงาน ดังนั้นแรงงานที่ถูกส่งกลับก็จะกลับเข้ามาใหม่ การแก้ปัญหาดังกล่าว แรงงานย้ายถิ่นขอร้องให้รัฐบาลจัดให้มีการลงทะเบียนสถานภาพซึ่งส่งผลให้พวกเขาสามารถที่จะอยู่และทำงานถูกต้องได้ อนุภูมิภาคนี้ได้เป็นประจักษ์ถึงการบังคับการย้ายถิ่นในหลากหลายรูปแบบ ผู้ที่ย้ายถิ่นในสภาพที่ถูกบังคับต้องการการคุ้มครองที่เฉพาะจากรัฐบาลและหน่วยงานของสหประชาชาติ ผู้ย้ายถิ่นที่หลบหนีจากความขัดแย้ง การกดขี่ทางการเมืองและการสู้รบในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรุนแรงที่ใช้ต่อต้านชนกลุ่มน้อยคะฉิ่นและกระเหรี่ยงในพม่า พวกเขาไม่ได้อยู่ในภาวะที่สามารถจัดการตนเองได้ในทันทีและต้องการการช่วยเหลือ และคุ้มครองในช่วงแรกและมีความมั่นคงและสามารถปรับตัวสอดคล้องได้ในระยะยาว รัฐบาลควรที่จะยึดหลักหลักการไม่ผลักดันกลับ (non-refoulement) เพื่อปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยและผู้ที่แสวงหาที่ลี้ภัยในภูมิภาค แรงงานที่ถูกค้ามนุษย์ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้โดยทันที พวกเขาต้องการให้รัฐบาลยึดการปฏิบัติเพื่อให้พวกเขาและเธอเข้าถึงความยุติธรรมและจัดให้มีการเข้าถึงค่าชดเชยและเยียวยาความเสียหายที่น่าพึงพอใจ พวกเขาไม่ควรถูกบังคับให้อยู่ในบ้านพักโดยที่ไม่เต็มใจ ในสถานการณ์ที่ผู้ถูกค้ามนุษย์ขอให้มีการจัดให้อยู่ในบ้านพัก บ้านพักนั้นควรมีการจัดให้เป็นบ้านพักที่ให้การต้อนรับ มีบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมและเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อีกทั้งยังมีผู้คนในภูมิภาคที่สูญเสียสัญชาติหรือเกิดมาโดยที่ไม่ได้รับการรับรองสภาพบุคคลทางกฎหมายจากรัฐใดรัฐหนึ่ง รัฐบาลในภูมิภาคนี้และหน่วยงานสหประชาชาติต้องพัฒนาการตอบรับที่สมบูรณ์แบบต่อสถานการณ์ของผู้ไร้สัญชาติทุกคนในภูมิภาคและทำให้มั่นใจว่าพวกเขาจะมีสิทธิที่จะได้รับสัญชาติ เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตระหนักดีว่าในขณะที่ข้อห่วงใยบางประการที่กล่าวมาข้างต้น ควรได้รับการแก้ไขจากรัฐบาลในประเทศในภูมิภาค ทั้งในระดับประเทศและระดับอนุภูมิภาค แต่ยังมีข้อห่วงใยบางประการที่ต้องอาศัยความร่วมมือกับสหประชาชาติในการแก้ไขปัญหา เราเชื่อว่าสหประชาชาติเป็นหน่วยงานที่มีความเหมาะสมอย่างที่สุดที่จะจัดการสนทนาระดับโลกเรื่องการย้ายถิ่น และเชื่อว่าสมาชิกของสหประชาชาติจะเห็นสอดคล้องที่จะนำการประชุมระดับโลกเรื่องการย้ายถิ่นกลับไปจัดภายใต้หน่วยงานของสหประชาชาติ อย่างไรก็ตาม เรายังมีความกังวลว่าหน่วยงานสหประชาชาติในปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงในการปกป้องและส่งเสริมสิทธิแรงงานข้ามชาติ 21 ปีหลังจากที่มีการอนุมัติให้มีอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิแรงงานและครอบครัว ปี 1990 เรามีความเชื่ออย่างเต็มเปี่ยมว่า ถึงเวลาแล้วที่สหประชาชาติจะสร้างหน่วยงานของตนเพื่ออุทิศการทำงานเพื่อแรงงานย้ายถิ่น

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net