Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

จากช่วงคืนที่ผ่านมา สื่อมวลชนไทยได้รายงานว่านายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ประกาศว่าไทยได้ “ลาออกจากคณะกรรมการมรดกโลก” บ้างก็ว่า “ถอนตัวจากสมาชิกมรดกโลก” บ้างก็ว่า “Thailand has withdrawn from the World Heritage Convention” ล่าสุดคุณสุวิทย์เองใช้คำว่า “คกก.มรดกโลกนำวาระเขาพระวิหารเข้าที่ประชุม จึงเป็นที่มาของการถอนตัวของไทยออกจากกรรมการและสมาชิกภาคีอนุสัญญา” (http://twitter.com/#!/SuwitKhunkitti). ผู้เขียนยังไม่พบหนังสือ ถ้อยแถลง หรือคำอธิบายอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลไทยว่า “การถอนตัว” ดังกล่าวมีรายละเอียดเช่นใด แต่ในยุคสมัยที่สื่อมวลชนต่างชิงเสนอข้อมูลจาก Twitter เพียงไม่กี่บรรทัด ผู้เขียนในฐานะนักกฎหมายจึงจำต้องตั้งข้อสังเกตเบื้องต้นเพิ่มเติมอีกบางบรรทัด เพื่อประโยชน์ของประชาชนคนไทยผู้มีสิทธิได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนดังนี้ ไทยจะ “ถอนตัว” (withdraw) จาก “ภาคีมรดกโลก” ได้หรือไม่นั้น ไม่ใช่เรื่องการตัดสินใจตามอำเภอใจ แต่เป็นเรื่องการใช้สิทธิตามขั้นตอนกฎหมายระหว่างประเทศ โดยหลักก็คือ อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ค.ศ. 1972 (“อนุสัญญามรดกโลกฯ”) ซึ่งไทยอาจ “ยังคง” เป็น หรือ “เคย” เป็น “ภาคีอนุสัญญา” (“ภาคี” ในที่นี้ก็หมายถึง “คู่สัญญา” ที่ยอมผูกพันตามกฎหมายนั่นเอง) กฎหมายระหว่างประเทศรับรองว่าไทยมีสิทธิถอนตัวจากการเป็น \ภาคีอนุสัญญามรดกโลกฯ\" โดยการ “ประกาศไม่ยอมรับ” (denounce) ทั้งนี้ตามที่อนุสัญญามรดกโลกฯ ข้อ 35 กำหนดสิทธิไว้ ดังนี้: Article 35 1. Each State Party to this Convention may denounce the Convention. 2. The denunciation shall be notified by an instrument in writing

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net