Skip to main content
sharethis

ท่ามกลางกระแสการทุจริตคอร์รัปชั่นที่เพิ่มมากขึ้นในสังคมไทยอย่างน่าตกใจ ปริมาณข่าวเจาะและข่าวสืบสวนสอบสวนที่ปรากฏในสื่อกระแสหลักกลับลดลงสวนทางกัน อาจเพราะข่าวเจาะมีต้นทุนสูง สิ้นเปลืองงบประมาณ สิ้นเปลืองเวลา และต้องอาศัยคนทำข่าวผู้มีความรู้ความสามารถในระดับสูง รวมทั้งยังเสี่ยงต่อถูกคุกคาม จากผู้ถูกเปิดโปง ข่าวเจาะหรือข่าวประเภทสืบสวนสอบสวน มักเป็นข่าวที่ตีแผ่ความจริงอย่างเจาะลึก ด้วยข้อมูลหลักฐานที่ถูกต้อง หนักแน่น และตรงไปตรงมา ซึ่งหากประเทศไทยต้องการก้าวไปสู่การเป็นบ้านเมืองที่ใสสะอาดมากกว่านี้ เราจำเป็นต้องสนับสนุนและส่งเสริมพื้นที่ข่าวเหล่านี้ให้ดำรงอยู่ต่อไปในสังคม \มติชนออนไลน์\" ได้สัมภาษณ์ คุณสุชาดา จักรพิสุทธิ์ อดีตบรรณาธิการบริหารนิตยสาร สารคดี และกรรมการบริหารสำนักข่าวประชาธรรม ในฐานะหัวเรือใหญ่ ที่พยายามจะผลักดันให้เกิดพื้นที่ของการตรวจสอบ จนกระทั่งล่าสุด ได้ก่อตั้งศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง หรือ TCIJ (Thailand Information Center for Civil Rights and Investigative Journalism) โดยดำรงตำแหน่งในฐานะผู้อำนวยการ เว็บไซต์ข่าวเจาะ www.tcijthai.com เปิดตัวอย่างเป็นทางการอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม และต่อไปนี้ คือ บทสัมภาษณ์ข้นๆ ของ\"สุชาดา จักรพิสุทธิ์\" แนวคิดในการก่อตั้งเว็บไซต์ข่าวเจาะ เป็นมาอย่างไร ในฐานะที่เป็นผู้บริโภคข่าวสาร และสนใจติดตามความเคลื่อนไหวและพัฒนาการของวงการสื่อ โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์มาตลอด จึงทำงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่อยากจะค้นหาปัญหาและทางออก ที่จะทำให้มีปริมาณของข่าวสืบสวน เพิ่มมากขึ้นในสื่อหนังสือพิมพ์ สาเหตุที่เน้นไปที่สื่อหนังสือพิมพ์ เพราะยังคิดว่าสื่อหนังสือพิมพ์ที่นำเสนอข่าวเจาะลึก ยังให้ผลในเรื่องการอธิบายปัญหา หรือสร้างการรับรู้ความเข้าใจได้มากกว่าสื่ออื่นๆ และเป็นสื่อที่ดูจะสอดคล้องกับข่าวประเภทสืบสวนสอบสวน จึงให้ความสนใจกับสื่อประเภทนี้มากเป็นพิเศษ แต่ก็พบว่า การทำงานนั้นมีอุปสรรคเยอะ ตั้งแต่คนประกอบอาชีพคือนักข่าว และองค์กรสื่อ ซึ่งไม่สามารถแบกรับความเสี่ยงในการทำข่าวเจาะลึกหรือข่าวสืบสวนได้ เนื่องจากต้องใช้เวลาเยอะ ใช้เงินลงทุนเยอะ ต้องจัดหางบประมาณสนับสนุนเพื่อให้นักข่าว ลงพื้นที่ได้บ่อยขึ้น และใช้เวลาไปกับการเดินทาง ค้นหา และเก็บรวบรวมข้อมูลได้มากขึ้น นักข่าวต้องใช้ความสามารถมาก และที่สำคัญ คือ ประเด็นความเสี่ยงที่อาจไปกระทบกระเทือนกับผู้มีอำนาจด้วย ทำให้เราตั้งคำถามว่า แล้วจะไม่มีทางออก หรือวิธีแก้ปัญหาได้เลยเหรอ แต่สุดท้ายก็เลยมานั่งคิดกันว่า หรือบางทีเราอาจจำเป็นต้องสร้าง \"พื้นที่ใหม่\" พื้นที่ใหม่ ที่เป็นพื้นที่ส่วนกลาง ที่ปลอดจากอำนาจแทรกแซงหรืออุปสรรคต่างๆ พื้นที่ตรงกลางที่มีเสรีภาพมากขึ้น มีงบประมาณสนับสนุน เป็นพื้นที่ที่เปิดให้คนทำและคนอ่านได้เลือกซึ่งกันและกัน คนทำก็คือ นักข่าวที่มีความสามารถ มีจริตจิตใจที่จะทำข่าวสืบสวนสอบสวน เพราะเห็นความสำคัญของข่าวประเภทนี้ก็ดี หรือยังคงคิดว่า ข่าวสืบสวนเป็นศักดิ์ศรีวิชาชีพ ที่ควรจะไปให้ถึงก็ดี และเพราะโดยส่วนตัว ยังไม่เชื่อว่าในสังคมที่ สั้น-ทัน -ด่วน นั้นจะฉาบฉวยเสียจนคนไม่ยอมอ่านเรื่องเชิงลึก เพราะฉะน้ัน ในแง่ของคนอ่านข่าวเจาะ หรือเรื่องสืบสวนสอบสวน ก็น่าจะยังมีอยู่ แต่เพราะที่ผ่านมาเขาไม่มีทางเลือก ไม่มีพื้นที่อย่างนี้ ไม่มีสื่ออย่างนี้ให้เลือก คำตอบสุดท้าย ก็คือ ไม่มีอะไรที่จะดีไปกว่า การทดลองทำ อยากให้เปิดเผยที่มาของแหล่งทุนสนับสนุน เราได้รับเงินทุนสนับสนุนเริ่มต้นจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อที่จะทำให้เราสามารถตั้งต้นได้ภายในปีแรก สำหรับความจำเป็นขั้นพื้นฐาน คือ การสร้างทีมงาน การแสวงหาข้อมูลขั้นต้น การหาออฟฟิศ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่จะทำให้เราอยู่ได้ ทำงานได้ และเพียงพอที่จะสามารถสร้างสรรค์วิธีการหรือหนทางใหม่ๆ เพื่อที่จะพึ่งตนเองได้ในวันข้างหน้า ความตั้งใจของเรา คือ เราจะพึ่ง สสส.แค่เพียงหนึ่งปีแรกเท่านั้น เพราะเมื่อเราต้องการจะสร้างพื้นที่ส่วนกลาง ต้องการเป็นสื่อเสรี เป็นสื่อที่นำเสนอความจริงให้ได้มากที่สุด และปลอดจากอำนาจแทรกแซง เราก็ควรจะต้องพึ่งตนเองให้ได้เป็นอันดับแรก ในต่างประเทศ เว็บไซต์ในลักษณะนี้ มักจะเกิดจากการระดมทุนของคนที่อยากจะเห็นเว็บไซต์ดีๆ คิดไหมว่าสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับประเทศไทย ถ้าคิดเชิงบวกก็น่าจะเป็นไปได้ เพราะสิ่งเหล่านี้ได้เกิดขึ้นแล้วในหลายที่ เช่นในอเมริกา กลุ่มสื่อใหญ่อย่าง รูเพิร์ต เมอร์ด็อก (Rupert Murdoch) เจ้าของสื่อยักษ์ใหญ่ของโลกอย่างนิวส์ คอร์ปอเรชั่น ก็หันมาทำเว็บไซต์ข่าวเชิงลึกที่เก็บเงินในการเข้าดู หรือแม้แต่ศูนย์ข่าวสืบสวนของฟิลลิปปินส์ (The Philippine Center for Investigative Journalism-PCIJ) ซึ่งถือเป็นแรงบันดาลใจสำหรับนักข่าวอาวุโสจำนวนมากในประเทศไทย รวมถึงตัวดิฉันด้วย เขาก็เริ่มจากการพึ่งตนเอง และเริ่มทำในเชิงธุรกิจ แต่ไม่ได้แสวงหากำไรมากนัก คำว่า \"เชิงธุรกิจ\" ในที่นี้ คือมีรายได้เข้ามา พอที่จะทำให้องค์กรของตนเองอยู่ได้ และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ องค์กรของเขายัง \"ขายข่าว\" กลับเข้าไปในสื่อกระแสหลัก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ต้องบอกว่า บริบทหรือสถานการณ์ของเขาต่างจากเรา เพราะช่วงการเกิดขึ้นของ PCIJ เป็นช่วงที่คนฟิลิปปินส์ต้องการข่าวแบบนี้ จากผลงานของ PCIJ ที่สามารถโค่นประธานาธิบดี ที่คอร์รัปชั่นลงได้ถึง 2 คน ไม่ว่าจะเป็น เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส (Ferdinand Marcos) หรือ โจเซฟ เอสตราดา (Joseph Estrada) ทำให้ข่าวขององค์กรดังกล่าวเป็นที่ต้องการ และมีความน่าเชื่อถือมาก และอีกประการหนึ่ง คือ ข่าวของ PCIJ เป็นภาษาอังกฤษ เพราะฉะนั้น ตลาดก็จะกว้างขึ้น เขาสามารถขายข่าวออกไปสู่ตลาดทางตะวันตกได้ด้วย เพราะฉะนั้น กรณีศึกษาของ PCIJ ยืนยันได้ว่า เขาเริ่มจากการพึ่งตนเอง และสามารถอยู่รอดได้ในทางธุรกิจ นอกจากนั้น เขายังได้รับเงินทุนสนับสนุนจากองค์กรไม่แสวงหากำไรต่างๆ ในลักษณะของเงินบริจาค และสมาชิก เนื้อหาหลักของเว็บไซต์ข่าวเจาะ เราจะเน้นพวกข่าวเจาะหรือข่าวสืบสวนเรื่องใหญ่ๆ ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาที่นำไปสู่เรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องและมีความซับซ้อน อาจไม่ใช่ข่าวร้อนที่ผูกติดอยู่ในกระแส หรือสถานการณ์รายวัน สำหรับในช่วงของการเปิดตัวเว็บไซต์ ซึ่งอยู่ท่ามกลางบรรยากาศของการเลือกตั้งในตอนนี้ จำเป็นที่จะต้องมีข่าวที่อยู่ในความสนใจของผู้คนพอสมควร ก็จะมีข่าวใหญ่ในหลายมิติ ที่ข้องเกี่ยวกับนักการเมือง หรือพรรคการเมือง แนวทางการนำเสนอ จะเป็นลักษณะของการเจาะลึกแง่มุมต่างๆของตัวนักการเมืองและพรรคการเมือง รวมถึงการอยู่รอด การได้มาซึ่งรายได้ ความไม่ชอบมาพากลบางอย่าง ที่จะทำให้สังคมไทยตื่นตัวและใส่ใจกับสถานการณ์การเลือกตั้ง คนอ่านจะได้รู้ว่า การเลือกตั้งไม่ได้มีแค่เรื่องของพรรคการเมืองคู่แข่งเพียง 2 พรรค หรือวันนี้พรรคไหนจะไปหาเสียงที่ไหน แต่สิ่งที่เรานำเสนอ และอยากให้มีผลต่อตัวผู้อ่าน คือ การมองเห็นสิ่งที่อยู่ลึกไปกว่าปรากฏการณ์การแข่งขันของพรรคการเมือง ที่นำเสนอในลักษณะของแคมเปญขายสินค้ามากกว่า ลึกๆ แล้วมันอาจแง่มุมของเศรษฐศาสตร์พรรค ทั้งในเรื่องรายได้ เงินทุนเงินสนับสนุน และเครือข่ายผลประโยชน์ต่างๆของพรรค ข้อมูลที่เรานำเสนอจะเกาะเกี่ยวผูกพันไปถึงแง่มุมทั้งหมดเหล่านี้ ผู้อ่านจะสามารถเห็นภาพรวม หรือสามารถต่อจิ๊กซอร์ต่อไปได้ว่า ประเด็นการแข่งขันของแต่ละพรรคจะนำไปสู่อะไร ใครจะเป็นผู้กุมผลประโยชน์ ใครจะได้ตำแหน่ง ใครจะได้โครงการ และจะทำให้เราติดตามปัญหาของบ้านเมืองได้ คม-ชัด-ลึก มากยิ่งขึ้น หรืออย่างน้อยที่สุด ผู้อ่านจะได้มีภูมิหลังความเข้าใจ ที่จะไม่ตกเป็นเหยื่อของสถานการณ์ข่าวรายวันแต่เพียงเท่านั้น เพราะทุกวันนี้ เราอาจได้ยินแค่ว่า หัวหน้าพรรคหรือแกนนำของพรรคนี้ ไปหาเสียงที่ไหนและพูดว่าอะไร แล้วก็เอาสิ่งที่พรรค ก.พูด ไปถามพรรค ข.อีกต่อหนึ่งว่าเขาจะตอบว่าอะไร ซึ่งสิ่งเหล่านี้ มันไม่นำพาประเทศไปสู่อะไรที่ดีขึ้นเลย เนื้อหาอีกส่วนหนึ่งของเว็บไซต์ คือ ข่าวพลเมือง ซึ่งเป็นข่าวจากชาวบ้านในพื้นที่ โดยที่ผ่านมา เราอาจจะเห็นนักข่าวพลเมืองไปปรากฏในสื่อต่างๆอยู่บ้าง แต่ก็ดูเหมือนว่า จะกลายเป็นเพียงตัวประกอบที่ทำให้ภาพลักษณ์ของสื่อดูดีขึ้น หรือบ่งบอกว่าสื่อมีส่วนร่วมกับผู้คนส่วนต่างๆมากขึ้น แต่ความตั้งใจของเราในการสร้างพื้นที่ข่าวพลเมือง คือ การลงไปฝึกอบรม พัฒนาศักยภาพของเขาด้วย เพราะเราอยากจะเห็นพวกเขาสามารถทำข่าว ในลักษณะที่ก้าวพ้นไปจากข่าวความคิดเห็นเท่านั้น หรือแม้แต่สามารถที่จะดึงประเด็นของข่าวภาคพลเมือง เช่น ประเด็นเรื่องเขื่อนที่ปัญหาอยู่ในหลายจังหวัด หลายภูมิภาค ไปสู่ทางออกหรือทางเลือกในการจัดการน้ำ ซึ่งเป็นประเด็นที่ใหญ่กว่า และยังทำให้ภาคประชาชนได้มาพบปะซึ่งกันและกัน รวมถึงได้พัฒนาทักษะของการสื่อสารให้เข้มแข็งมากขึ้นด้วย การรับมือกับความเสี่ยง จากการนำเสนอข่าวเจาะ และข่าวสืบสวนสอบสวน เราคงต้องใช้ความเป็นมืออาชีพในการทำงาน ซึ่งต้องตั้งอยู่บนข้อมูลของข้อเท็จจริงและหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วน ต้องมีความรอบคอบในการคัดกรอง อ่าน และตรวจสอบข้อมูลหลักฐานต่างๆให้เป็นข้อเท็จจริง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นภูมิคุ้มกันของเรา ถ้าเกิดข้อมูลทุกอย่างอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง แต่มีผู้ที่ได้รับผลกระทบ หรือผู้ที่สูญเสียผลประโยชน์อยากจะโต้ตอบ ทางเราก็ยินดีที่จะให้แก้ข่าว หรือนำเสนอข้อมูลอีกด้านหนึ่ง แต่ถ้าผลกระทบที่เกิดขึ้น ทำให้คุณอยากจะกำจัดพื้นที่ตรงนี้ ก็คงไม่มีอะไรที่ดีไปกว่า การที่ทั้งสองฝ่ายต้องนำข้อมูลมาแลกเปลี่ยนกัน มาแบกัน แต่ถ้าการคุกคามจะเกิดขึ้นจริง เราก็คงต้องกล้าหาญที่จะเผชิญกับมัน ตราบเท่าที่เราอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง กิจกรรมในวันเปิดตัวเว็บไซต์ จะมีการแถลงข่าว ซึ่งเป็นลักษณะของการตีฆ้องร้องป่าวให้รู้ว่า มีพื้นที่สื่ออันใหม่เกิดขึ้น และเป็นข่าวสืบสวน เราพร้อมที่จะเสนอตัวเป็นทางเลือกหนึ่งของการเสพข่าวสารเชิงลึก สำหรับคนที่ต้องการ เรามีข้อมูลเนื้อหา เรามีระบบ เรามีพื้นที่ เพราะฉะนั้น ก็หวังว่าการแถลงข่าวจะทำให้สื่อ หรือตัวกลางนำไปบอกให้ประชาชนทั่วไปได้รับรู้ ข่าวใหญ่บนหน้าเว็บไซต์ในช่วงเปิดตัว จะมีข่าวที่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการซุกซ่อนถุงเงิน รวมทั้งทรัพย์สินของพรรคการเมือง และนักการเมือง โดยจัดให้มีเวทีอภิปราย (29 พ.ค.) ภายใต้หัวข้อ \"ขุมทรัพย์นักการเมือง\" ซึ่งจะครอบคลุมไปถึงเรื่องทุน เครือข่ายของนักการเมืองและพรรคการเมือง แหล่งที่มาของรายได้ ทั้งโดยชอบและมิชอบ สำหรับวิทยากร ประกอบไปด้วย ศ.ดร. ชัยอนันต์ สมุทวณิช

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net