Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis
บางราชวงศ์เวลาจัดงานแต่งงานของลูกหลาน พ่อแม่และย่าเป็นคนออกสตางค์ เหมือนอย่างที่เจ้าชายวิลเลียมกับ น.ส.เคท มิดเดิลตัน จะแต่งกันในวันนี้ รัฐรับผิดชอบเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านความปลอดภัยเท่านั้น
 
ถึงอย่าง นั้นก็ยังมีกลุ่มต่าง ๆ ออกมาเรียกร้องว่าในเมื่อเป็นเรื่องของครอบครัว ก็ต้องจ่ายเองทั้งหมดสิ แต่ราชวงศ์วินเซอร์ก็ยังดีหน่อยที่รู้จักเจี๋ยมเจี้ยมในยามที่เศรษฐกิจของ อังกฤษค่อนข้างอับเฉา นำไปสู่นโยบายการตัดลดงบประมาณ และขายทอดตลาดครั้งใหญ่ (รบ.อังกฤษประกาศขายแม้กระทั่งเรือบรรทุกเครื่องบิน HMS Ark Royal มีการตัดงบประมาณด้านการศึกษา งบห้องสมุด ฯลฯ) ที่นำไปสู่การชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ของประชาชนกว่าครึ่งล้านที่กรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 26 มีนาคมนี่เอง
 
ความจริงรถ โรลซ์รอยที่จะบรรทุกเจ้าสาวจากโรงแรมมาที่มหาวิหารเวสต์มินเตอร์ที่จะใช้ สำหรับงานแต่งในวันนี้ ก็เป็นรถคันที่บรรทุกพ่อและแม่ (ใหม่) ของเจ้าชายวิลเลียมและโดนบรรดานักศึกษาและนักเรียนทุบ ระหว่างการประท้วงครั้งใหญ่นั่นเอง
 
เหตุเพราะ เศรษฐกิจไม่ดี งานแต่งของลูกจึงไม่ยิ่งใหญ่เหมือนพ่อกับแม่ (มกุฎราชกุมารชาร์ลส์และเลดี้ไดอาน่า) เมื่อ 30 ปีก่อน ที่คาดว่าใช้เงินไปไม่น้อยกว่า 30 ล้านปอนด์ และคราวนั้นแต่งกันที่มหาวิหารเซ็นต์ปอล ซึ่งใหญ่โตโอฬารกว่ากันมาก ว่ากันว่าชุดเจ้าสาวของไดอาน่ามีการเย็บไข่มุกกว่าหมื่นเม็ดเข้าไป เป็นการเย็บด้วยมือด้วย
 
คราวที่ ปรินซ์ชาร์ลส์แต่งงานใหม่กับคามิลลาเมื่อปี 2548 ควีนอะลิซาเบธก็เป็นคนควักสตางค์จ่ายเองทั้งหมด แต่ทำกันเล็ก ๆ อาจจะเป็นเพราะไม่ต้องการให้คนครหานินทา
 
ประมาณกันว่าในปีงบประมาณ 2552-2553 รัฐบาลอังกฤษออกเงินภาษีเพื่อ “เลี้ยง” ราชวงศ์วินเซอร์เอาไว้จำนวน 38.2 ล้านปอนด์ (ประมาณสองพันล้านบาท) ลดลงจากปีก่อน ๆ ถึง 7.9% (3.3 ล้านปอนด์) (http://www.bbc.co.uk/news/uk-11771915) แสดงว่าสถาบันกษัตริย์เขาก็ตอบสนองกับอารมณ์ของสังคมเหมือนกันนะ เวลาที่เศรษฐกิจของประเทศไม่ดี ก็รู้จักเจียมเนื้อเจียมตัว
 
หรือพูดอีก อย่างหนึ่ง อาจะเป็นเพราะรัฐบาลหรือสภากำหนดเงินมาให้เท่านั้น ก็ต้องใช้ไปเท่านั้น เพราะรายได้จากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ของเขา (crown properties หรือ crown estate) จะถูกส่งเข้ากรมธนารักษ์ กระทรวงการคลังทั้งหมด จากนั้นรัฐบาลจะเจียดเงินมาให้สถาบันกษัตริย์ใช้ในรูปของเงินปี (Civil List)  
 
แต่แม้ข่าวในเมืองไทยจะโหมประโคมว่ามีคนอังกฤษเฝ้าติดตามชมงานแต่งครั้งนี้มากเพียงใด แต่การสำรวจล่าสุดพบว่า คนอังกฤษเพียง 37% เท่านั้นที่สนใจงานแต่งครั้งนี้อย่างจริงจัง อีก 46% บอกว่าไม่สนใจเลย มีแค่ 18% ที่บอกว่าสนใจงานแต่งครั้งนี้มาก และอีก 49% บอกว่าตื่นเต้นกับการที่จะมีวันหยุดเพิ่มหนึ่งวันมากกว่าที่จะสนใจกับงาน แต่งของเจ้าชายวิลเลียม (http://www.guardian.co.uk/uk/2011/apr/24/monarchy-still-relevant-say-britons?CMP=twt_fd) ส่วนบริษัทท่องเที่ยวก็รายงานว่า ในช่วงสุดสัปดาห์ที่มีวันหยุดยาว เป็นช่วงที่มีการจองตั๋วเครื่องบินไปเที่ยวต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นเป็น ประวัติการณ์
 
ฝ่ายที่วิจารณ์งานแต่งแห่งทศวรรษครั้งนี้บอกว่า
 
"ถ้ารัฐบาล บอกให้ประชาชนรัดเข็มขัด และรัฐบาลกำลังทำให้คนนับพันๆ คนต้องตกงาน (เพราะการตัดลดงบประมาณด้านต่าง ๆ) และยังมีการตัดลดงบด้านสวัสดิการมากมาย เป็นเรื่องน่าขยะแขยงที่รัฐจะใช้เงินแม้แต่สตางค์แดงเดียวเพื่อจัดงานแต่ง ของราชวงศ์ในครั้งนี้” นายแกรม สมิธ (Graham Smith) จากกลุ่มสาธารณรัฐ (Republic) กล่าว
 
ซ้ำร้ายบาง คนบอกได้ไม่คุ้มเสีย เพราะถึงแม้ว่าทางการอังกฤษอ้างว่า งานแต่งครั้งนี้จะทำให้มีนักท่องเที่ยวเข้าประเทศมากถึงหลายแสนคน และทำให้คนอังกฤษสามารถขายของที่ระลึกได้อีกเป็นเงินจำนวนมาก แต่กิจกรรมเหล่านี้ก็อาจก่อให้เกิดรายได้เพียงหนึ่งพันล้านปอนด์ ในขณะที่การที่รัฐบาลประกาศหยุดงานเพิ่มอีกหนึ่งวัน (วันศุกร์ที่มีการจัดงานแต่ง บวกกับวันหยุดช่วงเทศกาลอีสเตอร์ ทำให้สัปดาห์นั้นเป็นช่วงวันหยุดยาวในอังกฤษ) จะทำให้ประเทศสูญเสียรายได้จากการหยุดงานของประชาชนมากถึงห้าพันล้านปอนด์ (http://www.telegraph.co.uk/news/uknews/royal-wedding/8155625/Royal-wedding-marriage-will-cost-economy-5bn.html)
 
ว่ากันว่าในแต่ละปี ราชวงศ์อังกฤษก่อให้เกิดรายได้จากการท่องเที่ยวปีละ 500 ล้านปอนด์ และเป็นเหตุผลหลักที่บรรดาผู้จงรักภักดี (monarchists) ใช้อ้างเพื่อรักษาสถาบันเอาไว้ (http://www.cnntraveller.com/2010/07/30/monarchy-boosts-british-tourism/)
 
และที่สนใจอีกอย่างคืองานแต่งในวันนี้ออกจะสวนกระแสไม่น้อย เพราะตามข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (Office for National Statistics) ที่อังกฤษ ปีที่ผ่าน ๆ มานับเป็นปีที่มีอัตราการแต่งงานลดลงต่ำสุดนับแต่ปี ค.ศ.1862 เป็นต้นมา
 
ตามสถิติ บอกว่าในเขตอิงแลนด์และเวลส์ในปี 2552 มีคนแต่งงานเพียง 231,490 คู่ ส่วนสถิติสำหรับสหราชอาณาจักรทั้งหมดอยู่ที่ 266,950 คู่ ในขณะที่เมื่อปี 2515 สถิติการแต่งงานพุ่งสูงสุดที่ 480,285 ต่อปี ส่วนในปี 2483 อยู่ที่ 533,866 คู่ต่อปี แสดงว่าอัตราการแต่งงานรายปีของคนอังกฤษลดลงครึ่งต่อครึ่งในช่วงไม่กี่ ทศวรรษที่ผ่านมา
 
การแต่งงาน ระหว่างเจ้าชายวิลเลียมส์กับน.ส.เคทในวันนี้จึงนับเป็นการสวนกระแสไม่น้อย แม้ว่าทั้งคู่จะมีอายุเท่ากันที่ 29 ปีแล้วก็ตาม แต่ในขณะที่คนส่วนใหญ่เลือกจะแต่งงานช้าลง ซึ่งตามความเห็นของรัฐมนตรีกระทรวงงานและเงินบำนาญบอกว่าเป็นเพราะเหตุผล ด้านการเงินจึงทำให้คนแต่งงานช้าลง และเป็นเหตุให้รัฐบาลถึงกับจะออกมาตรการลดหย่อนภาษีให้กับคู่สามีภรรยาที่ แต่งงานกัน เพื่อส่งเสริมให้คนแต่งงานกันเร็วขึ้น

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net