Skip to main content
sharethis

เปิดจุดบริการ “คอนดอม พ้อยท์” เพิ่ม หวังลดการติดเชื่อเพิ่มในกลุ่มชายรักชาย กระจายตามสถานที่ท่องเที่ยวใน 48 จังหวัด ปี 55 ครอบคลุมทั่วประเทศ สธ.คาดปี 54 มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่เพิ่ม 10,097 ราย

 
สธ.เดินหน้าเพิ่มจุด “คอนดอม พ้อยท์”
 
คมชัดลึก รายงานว่า วานนี้ (30 มี.ค.54) เวลา 13.00 น.นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค และนายกิตตินันท์ ธรรมธัช นายกสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย แถลงข่าวเปิดตัวจุดบริการถุงยางอนามัยและสารหล่อลื่นหรือคอนดอม พ้อยท์ (Condom point) ในงานสัมมนาระดับชาติเรื่องโรคเอดส์ครั้งที่ 13 ที่ อิมแพ็ค คอนเวนชั่น เมืองทองธานี
 
นายแพทย์ไพจิตร์ กล่าวว่า ในปี 2553 มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ประมาณ 10,853 คน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นกลุ่มชายรักชายมากถึงร้อยละ 33 หรือ เกือบ 1 ใน 3 หากมีพฤติกรรมเสี่ยงคือมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยคือไม่ใช้ถุงยางอนามัยจะ มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 50 ได้ในอนาคต ดังนั้น กระทรวงสาธารณะสุขจึงมีนโยบายเชิงรุกโดยลดอันตรการติดเชื้อคือ มีโครงการที่ทำให้กลุ่มชายรักชายเข้าถึงถุงยางอนามัย โดยจัดจุดบริการถุงยางอนามัยและสารหล่อลื่นฟรี หรือ คอนดอม พ้อยท์ กระจายลงในพื้นที่ที่กลุ่มชายรักชายนิยมไปเที่ยวหรือพบปะกัน เช่น ดิสโก้เธค คาราโอเกะ ฟิตเนส ซาวน่า และร้านเสริมสวย ซึ่งในปี 2553 ได้นำร่องโครงการแล้วว่า 30 จังหวัด โดยมีสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 188 แห่ง และในปี 2554 จะขยายพื้นที่เพิ่มอีก 18 จังหวัด รวมเป็น 48 แห่ง และคาดว่า ในปี 2555 จะสามารถครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ
 
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวต่อว่าจากดำเนินโครงการดังกล่าวในปีที่ผ่านมา สามารถเข้าถึงกลุ่มเกย์ในพื้นที่เป้าหมายถึง 13,000 คน สาวประเภทสอง 10,000 คน โดยแจกถึงยางอนามัยไปแล้วกว่า 500,000 ชิ้น และสารหล่อลื่น 270,000 ชิ้น ร้อยละ 50 ของกลุ่มที่เข้าถึงอายุประมาณ 16 -25 ปี สำหรับคอนดอมพ้อยท์จะสังเกตได้ง่ายคือเป็นกล่องสีม่วง มีรูปร่มสีรุ้ง บรรจุถุงยางและสารหล่อลื่น โดยมีถุงยางอยามัย 3 ขนาด คือ 49 52 และ 54 มม. สามารถให้เลือกใช้ได้ตรงตามขนาด แต่ละกล่องบรรจุถุงยางอนามัยประมาณ 300 ชิ้น และตั้งไว้ในบริเวณที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้สะดวก สถานประกอบการใดอยากเข้าร่วมโครงการสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดเป้าหมาย 48 แห่ง และและสำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กระทรวงสาธารณสุข
 
ด้านนายกิตตินันท์ ธรรมธัช นายยกสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การมีจุดให้บริการถุงยางอนามัยเป็นสิ่งที่ดีและสามารถช่วยลดอัตราการติด เชื้อเอชไอวีได้ และเชื้อว่าคนส่วนใหญ่มีความต้องการที่จะใช้ถุงยางอนามัย แต่สาเหตุที่ยังทำให้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นเกิดจากการเข้าไม่ถึงถุง ยางอนามัย หรือไม่ได้พกถุงยางอนามัยเพื่อเตรียมพร้อมในการมีเพศสัมพันธ์ และการมีเพศสัมพันธ์ก็สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา ดังนั้นหากมีจุดให้บริการดังกล่าวก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอ ชไอวีจากการมีเพศสัมพันธ์ได้ในระดับหนึ่ง และอยากให้รัฐบาลทำถุงยางอนามัยแบบแบ่งขาย ราคาเพียงชิ้นละ 1 บาท เพื่อทำให้ประชาชนเข้าถึงถุงยางอนามัยเพิ่มมากขึ้น
 
 
คาดปีนี้มีผู้ติดเอดส์รายใหม่ถึงหลักหมื่น คนไทยติดเชื้อเฉลี่ยวันละ 27 คน
 
เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ รายงานว่า เมื่อวันที่ 29 มี.ค.54 นพ.เฉวตสรร นามวาท หัวหน้ากลุ่มระบาดวิทยาโรคเอดส์ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวในการสัมมนาระดับชาติเรื่องโรคเอดส์ ครั้งที่ 13 ว่า ในปี 2553 คาดการณ์ว่ามีผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์สะสม 1,161,244 ราย เสียชีวิต 644,128 ราย ยังมีชีวิตอยู่ 522,548 ราย และมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 10,853 ราย หรือวันละ 27 ราย ในปี 2554 คาดว่าจะมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลงเหลือ 10,097 ราย กลุ่มที่มีการติดเชื้อรายใหม่สูงที่สุดคาดว่าคงจะเป็นกลุ่มชายรักชายติด เชื้อประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั้งหมด รองลงมาคือแม่บ้านที่ติดเชื้อจากสามีหรือคู่นอน กลุ่มชายที่ติดจากหญิงบริการ กลุ่มสามีที่ติดจากภรรยา กลุ่มผู้ใช้ยาเสพติด อย่างไรก็ตามจากการวิจัยพบว่า ตัวเลขชายรักชายที่ติดเชื้อเอชไอวีส่วนใหญ่ยังอยู่ในกรุงเทพฯ คิดเป็นประมาณ 30% ต่างจังหวัดประมาณ 5%
 
ด้าน นพ.ชัยยศ คุณาสนธิ์ ผู้เชี่ยวชาญโรคเอดส์ กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า แม้จะมีถุงยางอนามัย แต่ก็มีความพยายามในการวิจัยวัคซีนป้องกัน วิจัยสารทำลายเชื้อเอชไอวี ที่เรียกว่าไมโครบีไชด์ ที่มีส่วนผสมของยาทีโนโฟเวีย 1% ใช้ทาช่องคลอด โดยผลการวิจัยที่ออกมาในปี 2553 พบว่า สามารถทำลายเชื้อเอชไอวีได้ 39% แต่ทั้งวัคซีนและเจลฆ่าเชื้อก็ยังไม่ผลิตออกสู่ตลาด ส่วนการรับประทานยาต้านไวรัสพบว่า ผู้ที่ติดเชื้อจะมีปริมาณเชื้อลดลง เมื่อกินยาต้านไวรัสดังนั้นโอกาสจะแพร่เชื้อไปสู่คนอื่นก็น้อย แต่ก็ยังเป็นกลไลในการป้องกันที่ไม่ดีนัก ตนเห็นว่าสิ่งที่รัฐบาลควรสนับสนุนคือการเข้าถึงถุงยางอนามัยราคาถูกออก จำหน่าย 5-10 บาท
 
นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผอ.มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า ต้องการอยากให้ฟื้นนโยบายถึงถุงยางอนามัย 100% เพราะขณะนี้นโยบายดังกล่าวเป็นเพียงแค่เงาไม่สามารถปฏิบัติได้จริง เนื่องจากมีข้อจำกัดในการเข้าถึง เช่น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะจ่ายถุงยางอนามัยให้เฉพาะคนที่ได้รับยา ต้านไวรัสเท่านั้น อีกทั้งงบประมาณในการจัดซื้อของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ไม่เพียงพอ ทั้งๆ ที่ประเทศไทยผลิตยางพาราได้ 1 ใน 3 ของโลก
 
ส่วน นพ.สมยศ กิตติมั่นคง สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ปัจจุบันทุกสิทธิการรักษาพยาบาลให้ประชาชน สามารถตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีฟรีปีละ 2 ครั้ง แต่ที่ผ่านมาพบว่า มีประชาชนไปใช้บริการน้อยมาก เนื่องจากไม่รู้สิทธิ โดยในส่วนของหญิงตั้งครรภ์นั้นมีการใช้สิทธิตรวจเอดส์ฟรีประมาณ 1 ล้านคนอยู่แล้ว แต่ในคนทั่วไปมีการมาใช้บริการประมาณ 3-4 แสนคนเท่านั้น และในจำนวนที่มาตรวจเลือดพบว่ามีประมาณ 7% ที่ติดเชื้อเอชไอวี
 
นพ.สมยศ กล่าวต่อว่า จากข้อมูลยังพบว่า มีข้าราชการใช้สิทธิรับยาต้านไวรัสเอชไอวี ประมาณ 2 หมื่นคน สิทธิประกันสังคมประมาณ 5 หมื่นคนและระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าประมาณ 1.4 แสนคน
 
“สำหรับสถานการณ์ผู้ติดเชื้อรายใหม่ มีข้อมูลที่น่าตกใจคือ จากการรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ประมาณ 53% ที่รายงานเข้ามาในปีนี้ ยกตัวอย่างทางภาคเหนือพบว่า ผู้ติดเชื้อรายใหม่เกินครึ่งให้ข้อมูลว่าติดจากภรรยาหรือสามีของตนเองซึ่ง แสดงให้เห็นว่า สามี หรือ ภรรยา อาจมีกิ๊กแล้วมีอะไรกันโดยที่อีกฝ่ายไม่รู้ อีกทั้งไม่ได้ป้องกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าห่วงมาก” นพ.สมยศ กล่าว
 
 
จี้กรมควบคุมโรคแจก'เข็ม-ถุงยาง'ลดติดเชื้อเอดส์
 
เว็บไซต์ไทยรัฐ วันที่ 29 มี.ค.54 น.ส.สุภัทรา นาคะผิว ประธานคณะกรรมการองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ (กพอ.) แถลงข่าวในการสัมมนาระดับชาติ เรื่องโรคเอดส์ ครั้งที่ 13 “สิทธิด้านเอดส์ คือ สิทธิมนุษยชน ร่วมพิทักษ์สิทธิ ร่วมรับผิดชอบ” ว่า จากการระดมความคิดเห็นของผู้ทำงานด้านเอดส์และผู้ติดเชื้อเอชไอวีใน 4 ภูมิภาค จำนวน 400 คน มีข้อเสนอวาระเอดส์ภาคประชาชน ประกอบด้วย 3 วาระ คือ วาระที่ 1 การปฏิรูปสังคมแลการเมือง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม ลดปัญหาเอดส์ มุ่งหน้าสู่ความเป็นรัฐสวัสดิการ โดยควรปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย อย่างน้อย 4 ฉบับ คือ 1.พ.ร.บ.ยาเพสติดให้โทษ พ.ศ.2522 2.พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2547 3.พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 และ 4. พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 รวมถึง ยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่ล้าสมัย เช่น พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 เพื่อให้คนได้เข้าถึงและขจัดอุปสรรคในการได้รับบริการสุขภาพที่จำเป็นต่อการ ดำเนินชีวิต และเสริมสร้างหลักประกันสุขภาพและความมั่นคงในชีวิตอย่างทั่วถึงและเท่า เทียม
 
วาระที่ 2 การป้องกัน ดูแล รักษา ลดผลกระทบและขจัดการตีตราการเลือกปฏิบัติ หนึ่งในยุทธศาสตร์ คือ ต้องจัดให้มีและแจกจ่ายเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นเพื่อการป้องกันการ รับ-ถ่ายทอดเชื้อเอชไอวี รวมทั้งไวรัสตับอักเสบบีและซี อย่างเช่น การแจกถุงยางอนามัย ถุงอนามัยสตรี เข็มฉีดยา ที่สะอาดและอุปกรณ์ฆ่าเชื้อต่างๆ ที่มีความจำเป็นในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแจกเข็มฉีดยาที่สะอาดให้กับผู้ติดยาเสพติดชนิดฉีดเข้า เส้น ซึ่งมติคณะกรรมการเอดส์ชาติเมื่อวันที่ 1 พ.ย.53 เห็นชอบให้มีการดำเนินการได้ควบคู่กับการดำเนินการในเรื่องอื่นเพื่อป้องกัน การติดเชื้ออีก 9 รูปแบบ แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการดำเนินการที่เป็นรูปธรรม ซึ่งกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จะต้องเป็นเจ้าภาพ โดยมีการคาดการณ์ว่าผู้ติดยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น 1 คน จะต้องได้รับการแจกเข็มสะอาด 300 เข็มต่อปี ทั้งนี้ จากการดำเนินการของกลุ่มเอ็นจีโอในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา สามารถเข้าถึงกลุ่มคนที่ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นได้ประมาณ 4 พันคนและแจกเข็มสะอาดไปบางส่วน ซึ่งในความเป็นจริงมีจำนวนมากกว่านี้
 
น.ส.สุภัทรา กล่าวด้วยว่า วาระ 3 ทบทวนโครงสร้างและกลไกการขับเคลื่อนเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชน วาระเอดส์แห่งชาติและกระบวนการทำงานของภาคประชาสังคม โดยควรจะต้องมีการแก้ไขให้สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเอดส์แห่งชาติขึ้น อยู่กับสำนักนายกรัฐมนตรีแทนกรมควบคุมโรค สธ. เพื่อให้การสื่อสารสั่งการงานด้านเอดส์กับกระทรวงอื่นๆ เกิดขึ้นได้ง่าย เนื่องจาก งานด้านเอดส์ไม่ได้มีเพียงมิติด้านสาธารณสุขเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของชีวิต
 
 
เผยคนไทยไม่รู้สิทธิตรวจเอดส์ฟรี 2 ปีครั้ง
 
ด้านคมชัดลึกรายงาน เมื่อวันที่ 29 มี.ค.54 ว่า นพ.สมยศ กิตติมั่นคง สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ปัจจุบันทุกสิทธิการรักษาพยาบาลให้ประชาชนสามารถตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอ ชไอวีฟรีปีละ 2 ครั้ง แต่ที่ผ่านมาพบว่า มีประชาชนไปใช้บริการน้อยมาก เนื่องจากไม่รู้สิทธิ โดยในส่วนของหญิงตั้งครรภ์นั้นมีการใช้สิทธิตรวจเอดส์ฟรีประมาณ 1 ล้านคนอยู่แล้ว แต่ในคนทั่วไปมีการมาใช้บริการประมาณ 3-4 แสนคนเท่านั้น และในจำนวนที่มาตรวจเลือดพบว่ามีประมาณ 7% ที่ติดเชื้อเอชไอวี
 
นพ.สมยศ กล่าวต่อว่า จากข้อมูลยังพบว่า มีข้าราชการใช้สิทธิรับยาต้านไวรัสเอชไอวีประมาณ 2 หมื่นคน สิทธิประกันสังคมประมาณ 5 หมื่นคนและระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าประมาณ 1.4 แสนคน
 
“สำหรับสถานการณ์ผู้ติดเชื้อรายใหม่ มีข้อมูลที่น่าตกใจคือ จากการรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ประมาณ 53% ที่รายงานเข้ามาในปีนี้ยกตัวอย่างทางภาคเหนือพบว่า ผู้ติดเชื้อรายใหม่เกินครึ่งให้ข้อมูลว่าติดจากภรรยาหรือสามีของตนเองซึ่ง แสดงให้เห็นว่า สามี หรือ ภรรยา อาจมีกิ๊กแล้วมีอะไรกันโดยที่อีกฝ่ายไม่รู้ อีกทั้งไม่ได้ป้องกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าห่วงมาก” นพ.สมยศ กล่าว
 
นายจีรศักดิ์ ศรีประมงค์ ผู้จัดการศูนย์ลดอันตรายจากการใช้ยา กล่าวว่า ทางเครือข่ายผู้ใช้ยาได้เรียกร้องให้ทางรัฐบาลยุตินโยบายบังคับการบำบัดยา เสพติดเนื่องจากมีงานวิจัยพบว่า วิธีการดังกล่าวไม่สามารถช่วยลดอันตรายจากการใช้ยาได้อีกทั้งเป็นการทรมาน ผู้ติดยาเสพติด เนื่องจากมีการนำผู้ติดยาไปเข้าค่ายปรับพฤติกรรม 45 วันถึง 6 เดือน แต่ไม่ได้ช่วยลดการติดยาและการติดเชื้อเอชไอวีลงได้
 
ดร.พรรณสิริ กุลนาถศิริ รมช.สาธารณสุข กล่าวถึงกรณีที่สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (สวพอ.) จะดำเนินการจัดจุดบริการถุงยางอนามัยและสารหล่อลื่น หรือ “คอนดอม พอยท์” กระจายลงในสถานบันเทิงชายที่ผู้ชายนิยไปเที่ยวและจุดที่มีการรวมกลุ่มของชาย รักชายเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงถุงยางอนามัยว่า มันคงถึงเวลาแล้ว
 
ภาพกิจกรรมเมื่อวันที่ 29 มี.ค.54:
 
 
 
 
 
 
 
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net