Skip to main content
sharethis

ประเทศลิเบียเป็นประเทศที่ในระยะหลังมีคนไทยเดินทางไปทำงานเป็นจำนวนมาก โดยในปี พ.. 2553 ที่ผ่านมา มีคนไทยเดินทางไปทำงานประมาณ 4,905 คน โดยคาดการณ์ว่าแรงงานไทยที่ทำงานอยู่ในประเทศลิเบียน่าจะมีจำนวนประมาณ 23,000 คน ซึ่งนับเป็นจำนวนที่ค่อนข้างสูง ทั้งนี้ภายหลังจากที่สหประชาชาติได้ยกเลิกมติคว่ำบาตรการค้าน้ำมันเมื่อปี พ.. 2546 ทำให้ลิเบียมีรายได้จากการค้าน้ำมันเพิ่มขึ้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มขยายตัว และมีการเข้ามาลงทุนของต่างชาติเป็นจำนวนมาก อาทิ การลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการขุดเจาะน้ำมัน โครงการก่อสร้างต่างๆ เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลลิเบียมีนโยบายที่จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ขนาดใหญ่ทั่วประเทศ อาทิ การก่อสร้างถนน สนามบิน รถไฟ เป็นต้น

อีก ทั้งรัฐบาลลิเบียยังมีนโยบายการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค เช่น ระบบการขนส่งทางน้ำ โครงการสร้างอ่างเก็บน้ำ เป็นต้น ในขณะที่การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทต่างๆ มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลมีโครงการที่จะลงทุนก่อสร้างศูนย์ราชการ บ้านพักอาศัย โรงพยาบาล โรงแรม มหาวิทยาลัยและอีกหลายๆ โครงการ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในระยะข้างหน้า ทำให้ความต้องการแรงงานในภาคต่างๆ จึงมีค่อนข้างสูง โดยแรงงานไทยส่วนใหญ่เข้าไปทำงานในภาคก่อสร้าง โดยเป็นแรงงานฝีมือเฉพาะด้าน เช่น ช่างเครื่องยนต์ ช่างเครื่องกล ช่างไฟฟ้า และช่างปูน เป็นต้น โดยส่วนใหญ่จะทำงานในโครงการก่อสร้างที่เป็นการรับเหมาของบริษัทในยุโรป แคนาดา และเกาหลีใต้ที่เข้าไปรับประมูลโครงการได้ในประเทศลิเบีย ซึ่งโครงการขนาดใหญ่มีความจำเป็นต้องใช้คนงานที่มีฝีมือจำนวนมาก บริษัทรับเหมามักจะจ้างคนงานไทยให้ไปทำงานเนื่องจากเป็นกลุ่มคนงานที่มักจะ ไม่มีปัญหาความขัดแย้งกับนายจ้างเหมือนกับคนงานจากประเทศอื่นๆ  โดยรายได้ส่งกลับของคนงานไทยในลิเบียที่ส่งกลับมาประเทศไทยในปี 2553 มีมูลค่าสูงถึง 3,450 ล้านบาท

ปัญหาแรงงานไทยในลิเบีย

ในช่วงเดือนกันยายน พ.. 2553 แรงงานไทยไปทำงานก่อสร้างในประเทศลิเบียกลุ่มที่บริษัทจัดหางานเงินและทองพัฒนา จำกัด จำนวน 216 เดิน ทางกลับมายังประเทศไทย และได้ร้องเรียนต่อกระทรวงแรงงาน เนื่องจากแรงงานที่เดือนทางไปทำงานยังลิเบียมีปัญหากับนายจ้าง อาทิ ไม่จ่ายค่าจ้าง จ่ายค่าจ้างล่าช้า สภาพการทำงานเลวร้าย รวมถึงพบว่าตนเองเสียค่าหัวคิวแก่บริษัทจัดหางานสูงเกินไป คนงานเหล่านี้ได้ยื่นข้อเรียกร้องขอช่วยเหลือจากทางรัฐบาลและหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต ดังนี้

1.เรียก ร้องค่าหัวคิวคืนตามสัดส่วน กรณีที่บริษัทจัดหางานเรียกเงินค่าหัวเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดคือเกิน 4 เท่าของอัตราเงินเดือนสัญญาจ้าง 1 ปี

2.เรียก ร้องเงินเดือนค้างจ่าย เงินล่วงเวลา เงินโอทีวันหยุด เงินหักต่อเดือน เงินโอทีบังคับและเงินโบนัสครบสัญญา 15 วันประมาณ 400 ดีนาร์

3.เรียก ร้องให้รัฐบาลจัดหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำมาแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบที่ เกิดจากการกู้ยืม เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงานที่ลิเบีย

4.เรียก ร้องให้กระทรวงแรงงาน หาตลาดแรงงานต่างประเทศให้แรงงานที่ได้รับผลกระทบในครั้งนี้ เดินทางไปทำงานเพื่อให้มีเงินใช้หนี้ที่เกิดขึ้น 5.เรียกร้องให้กรมการจัดหางาน ปรับลดค่าหัว ค่าบริการ ในการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ 6.จัดหาแหล่งเงินทุน เพื่อคนหางานไปทำงานต่างประเทศโดยรัฐบาลอุดหนุนเงินกู้เพื่อคนหางาน

ล่วงมาถึงต้นปี พ.. 2554 ปัญหา ของคนงานที่เคยไปทำงานที่ลิเบียเหล่านี้ยังไม่ได้รับการแก้ปัญหา คนงานไทยในลิเบียก็ต้องมาพบกับชะตากรรมที่เลวร้ายครั้งใหม่ นั่นก็คือเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในลิเบีย ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.. 2554 ซึ่งเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบต่อแรงงานไทยใน หลายด้าน โดยเฉพาะในด้านของความปลอดภัย ที่ในบางประเทศมีการส่งกำลังเจ้าหน้าที่ออกไปปราบปรามประชาชนที่ออกมา เคลื่อนไหวทางการเมือง หรือเกิดเหตุการณ์ปล้นสะดมแคมป์คนงานของชาวต่างชาติในประเทศเหล่านั้น ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในชีวิตความเป็นอยู่ โดยกรณีลิเบียได้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานไทยกลับมายังประเทศไทยบ้างแล้ว

ทั้ง นี้มาตรการเบื้องต้นในการช่วยเหลือแรงงานที่ได้รับผลกระทบ (จากเหตุการณ์ความไม่สงบในลิเบีย และถูกส่งตัวกลับมา) ของรัฐบาลไทย ประกอบไปด้วย

เงินช่วยเหลือเบื้องต้น 16,500 บาท หากเป็นสมาชิกกองทุนช่วยเหลือคนหางานไป ทำงานต่างประเทศจะได้รับเงินช่วย เหลือคนละ 15,000 บาท รวมทั้งค่ารถและค่าอาหารอีกรายละ 1,500 บาท ซึ่งแรงงานสามารถนำหลักฐานมาขอรับเงินได้ที่สำนักจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด หากหลักฐานครบสามารถรับเงินได้ภายใน 4 วัน

การจัดหางานให้เบื้องตัน กรมการ จัดหางานได้เตรียมตำแหน่งงานว่างรองรับเอาไว้ โดยมีบริษัท 3 แห่งที่แจ้งความประสงค์รับคนงาน โดยมีการตั้งบูธรับสมัครงานที่สนามบิน ได้แก่ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด ในตำแหน่ง ช่างไม้ ช่างปูน ช่างท่อ และคนงานทั่วไป จำนวน 2,000 อัตรา บริษัท อิตาเลียนไทย จำกัด เปิดรับช่างตำแหน่งต่างๆ รวมกว่า 1,000 อัตรา และบริษัท ดับเบิ้ล วิง สปิริต เซอร์วิส จำกัด รับสมัครคนงานในตำแหน่งต่างๆ ประมาณ 4,000 อัตรา ซึ่งรวมตำแหน่งที่เปิดรับในขณะนี้ประมาณ 7,068 อัตรา นอกจากนี้ ยังมีตำแหน่งงานในต่างประเทศ ซึ่งกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ได้ประสานไปยัง 4 ประเทศ ได้แก่ ไต้หวัน ซึ่งมีความต้องการแรงงานไทยในภาคก่อสร้างประมาณ 300-500 อัตรา และภาคการผลิตอีก 3,000 อัตรา ส่วนในประเทศกาตาร์งานกลุ่มอุตสาหกรรม รวม 110 อัตรา ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ งานสาขาช่างจำนวน 478 อัตรา และประเทศคูเวต จำนวน 331 อัตรา รวมตำแหน่งงานในต่างประเทศทั้งสิ้น 4,419 อัตรา

 เจรจาธนาคารปล่อยกู้ 3,000 ล้าน สำหรับคนงานที่ต้องการไปทำงานต่างประเทศต่อ อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2554 ว่า ด้หารือกับกระทรวงการคลังและธนาคารพาณิชย์ในการปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำช่วย เหลือแรงงานไทยที่ต้องการเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ เบื้องต้นธนาคารกรุงไทยธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การ เกษตร (ธ.ก.ส.)จะปล่อยเงินกู้แห่งละ 1,000 ล้านบาทปล่อยกู้แรงงานรายละ 5 หมื่น-1.5 แ

 

สรุปสถานการณ์ “คนงานไทย” หนีตายจลาจล “ลิเบีย” (ถึงวันที่ 12 มีนาคม 2554)

 

 

19 ก.พ. 54 - หลายฝ่ายเริ่มจับตาการประท้วงใน 'ลิเบีย' รวมถึงเตรียมความพร้อมการอพยพแรงงานไทย

21 ก.พ. 54 - กระทรงแรงงานเตรียมแผนอพยพแรงงานในลิเบีย ยังไม่ยืนยันมีคนไทยเสียชีวิต

22 ก.พ. 54 - ญาติแรงงานบุรีรัมย์ในลิเบีย กว่า 20 ราย ร้องขอความช่วยเหลือหวั่นไม่ปลอดภัย

23 ก.พ. 54 - อธิบดี กรมการจัดหางานได้เชิญบริษัทจัดส่งแรงงานไปต่างประเทศ มาร่วมประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือแรงงานที่ได้รับผลกระทบจาก เหตุการณ์ความไม่สงบเรียบร้อยในประเทศลิเบียและประเทศตะวันออกกลาง 30 บริษัท

23 ก.พ. 54 - คณะกรรมาธิการแรงงานสภาผู้แทนราษฎร เรียกร้องให้รัฐบาล เร่งช่วยเหลือแรงงานไทยในลิเบียกว่า 23,600 คน ให้กลับประเทศโดยเร็วที่สุด

24 ก.พ. 54 -โฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ล่าสุดมีแรงงานไทยสามารถอพยพหนีภัยจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองใน ประเทศลิเบียได้แล้ว 2,000 คน โดยบริษัทจัดส่งแรงงานเป็นผู้ช่วยเหลือผ่าน 3 เส้นทาง ได้แก่ ผ่านชายแดนประเทศตูนีเซียจำนวน 2 ชุด ชุดละ 600 คน ผ่านชายแดนอียิปต์ กว่า 500 คน และเส้นทางเรือ จากท่าเรือเบงกาซี่ ไปเมืองอิสตันบลู ประเทศตุรกี กว่า 500 คน

25 ก.พ. 54 - เมื่อเวลา 00.05 น. ที่ผ่านมา นายสุธรรม นทีทอง โฆษกกระทรวงแรงงาน นำทีมช่วยเหลือแรงงานไทยในประเทศลิเบีย  ออกเดินทางจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแล้ว ด้วยเที่ยวบิน TG 944 ไปยังกรุงโรม ประเทศอิตาลี และต่อไปยัง ตูนิเซีย และเดินทางต่อไปยังชายแดนของประเทศลิเบีย เพื่อนำแรงงานไทยในลิเบีย จำนวน 4,000 คน เดินทางกลับประเทศไทย

25 ก.พ. 54 - เวลา 20.30 น. นางจันทิมา แก้วทอง ชาวบ้าน อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ เปิดเผยว่า ได้รับการติดต่อทางโทรศัพท์จากนายสมจิต ไชยมา ผู้เป็นบิดา และเป็นหนึ่งในแรงงานไทยที่ไปทำงานในประเทศลิเบีย โดยบิดาระบุว่ามีชายฉกรรจ์ชุดดำไม่ทราบจำนวน ยิงถล่มเข้ามาในแคมป์คนงานไทยซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองมิซูราตาเป็นระยะๆ อย่างไรก็ตามยังไม่มีแรงงานไทยบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการยิงดังกล่าว

26 ก.พ. 54 - แรงงานไทยในลิเบียชุดแรก จำนวน 33 คน เดินทางมาถึงสนามบินสุวรรณภูมิ ในเวลา 06.45 น. วันที่ 26 กุมภาพันธ์ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว มีบรรดาญาติแรงงาน และเจ้าหน้าที่ของกระทรวงแรงงานให้การต้อนรับกลับบ้านเกิด บรรยากาศเป็นไปด้วยความชื่นมื่น ทั้ง 33 คนที่เดิน ทางกลับมาชุดแรก เป็นการดำเนินการพากลับโดยนายจ้าง กระทรวงแรงงานได้ตั้งโต๊ะเพื่อให้แรงงานได้ลงทะเบียนข้อมูลประวัติ เพื่อจะให้การช่วยเหลือต่อไป

27 ก.พ. 54 - ที่สนามบินสุวรรณภูมิ แรงงานไทยในประเทศลิเบียจำนวน 449 คน ได้เดินทางกลับเข้าประเทศเพิ่มเติม หลังเกิดจลาจล เป็นเหตุให้ไม่ได้รับความปลอดภัยในชีวิต ด้วยเครื่องบินเช่าเหมาลำ ท่ามกลางความดีใจของญาติๆที่มารอรับเป็นจำนวนมาก

27 ก.พ. 54 - นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ ถึงความคืบหน้าการช่วยเหลือแรงงานไทยในประเทศลิเบียว่า ขณะนี้กระทรวงการต่างประเทศเร่งประสานงานกับนายจ้างที่ประเทศลิเบีย ให้อพยพแรงงานไทยไปอยู่ในที่ปลอดภัยก่อน เนื่องจากยังเกิดการสู้รบในจุดที่จะอพยพผ่าน โดยล่าสุดแรงงานไทยไปอาศัยอยู่ในประเทศอียิปต์ และตูนิเซีย ทั้งนี้แนวทางที่ดีที่สุดคือการอพยพทางเครื่องบินและทางเรือ

27 ก.พ. 54 - กระทรวงแรงงานเผยอพยพแรงงานไทยจากพื้นที่อันตรายในลิเบียได้แล้ว 4,000 คน

28 ก.พ. 54 - แรงงานไทยจากลิเบียชุดที่ 3 กว่า 100 คน เดินทางถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิโดยสวัสดิภาพ เผยถูกปล้นทั้งในแคมป์ที่พักและระหว่างเดินทางทรัพย์สินมีหมดตัว ยืนยันไม่กลับไปอีกเพราะไม่คุ้มกับความเสี่ยง ร้องรัฐบาลเร่งช่วยแรงงานตกค้าง และดูแลค่าจ้างค้างจ่าย 2 เดือนพร้อมตั๋วเดินทาง จนถึงวันที่ 28 ก.พ. มีคนงานเดินทางถึงประเทศไทยแล้ว 663 คน

1 มี.ค. 54 - ครม.อนุมัติ ในหลักการตามที่กระทรวงแรงงานและกระทรวงต่างประเทศขอในเรื่องเงินช่วยเหลือ แรงงานไทยที่ประสบภัยในลิเบียจนต้องเดินทางกลับประเทศ เบื้องต้นรัฐบาลจะให้ความช่วยเหลือคนละ 15,000 บาท โดยกระทรวงแรงงานของบทั้งหมด 343 ล้านบาทส่วนกระทรวงการต่างประเทศขอ 403 ล้านบาท

1 มี.ค. 54 - นา ยกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ภายหลังจากเดินทางประชุมระดับรัฐมนตรี ว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน และการลดอาวุธ ประจำปี 2011 ซึ่งจัดขึ้นที่นครเจนีวา ว่า ระหว่างการประชุม ตนได้มีโอกาสพบหารือกับเครือข่ายสหประชาชาติ 2 องค์กร คือ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (ไอโอเอ็ม) ทั้งนี้ ไอแอลโอ ได้ออกถ้อยแถลงเรียกร้องให้รัฐบาลลิเบียปกป้องคุ้มครองความปลอดภัย และรักษาสิทธิของแรงงานชาวลิเบียและแรงงานต่างชาติ

1 มี.ค. 54 - นายสุเมธ  มโหสถ รองอธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กล่าวว่า กระทรวงแรงงานได้เตรียมตำแหน่งงานไว้รองรับแรงงานไทยที่เดินทางกลับจาก ประเทศลิเบียแล้ว หากมีความประสงค์ที่จะทำงานในประเทศไทย รวมถึงตำแหน่งงานเดียวกันหรือใกล้เคียงในประเทศอื่นๆ

2 มี.ค. 54 - มี การเปิดเผยงบประมาณที่กระทรวงแรงานขอต่อ ครม. โดยรายละเอียดค่าใช้จ่ายที่กระทรวงแรงงานเสนอ ส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายสงเคราะห์แรงงานไทยที่กลับจากลิเบีย คนละ 15,000 คน จำนวน 20,000 คน เป็นเงิน 300 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายอาหารสำหรับแรงงานที่กลับจากลิเบีย จำนวน 1 มื้อ และค่าพาหนะเพื่อกลับภูมิลำเนา ประเภทเหมาจ่าย คนละ 1,500 บาท จำนวน 20,000 คน เป็นเงิน 30 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมี ค่าจ้างเหมารถบัสขนาด 40 ที่นั่ง จำนวน 5 คันๆละ 20,000 บาท ระยะเวลา 30 วัน เป็นเงิน 3 ล้านบาท ค่าออกข่าวเผยแพร่ความคืบหน้าในการช่วยเหลือแรงงานไทยในลิเบียทางวิทยุ โทรทัศน์ จำนวน 10 ครั้งๆละ 5 แสนบาท รวมเป็นเงิน 5 ล้าน ค่าโทรศัพท์ระหว่างประเทศเพื่อติดต่อประสานงานแรงงานไทยในลิเบีย จำนวน 1,296,000 บาท

2 มี.ค. 54 - นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงาน เปิดเผยถึงกรณีที่มีข่าวระบุว่า กระทรวงแรงงาน ใช้งบช่วยเหลือแรงงานไทยในลิเบีย 344 ล้านบาท โดยนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการออกสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโทรทัศน์และวิทยุ วงเงิน 5 ล้าน บาท นั้น ว่า เป็นงบการประชาสัมพันธ์เบอร์โทรศัพท์ของกระทรวงแรงงาน ผ่านสื่อมวลชนทุกแขนง เพื่อให้ญาติได้รับทราบเบอร์โทรศัพท์ช่วยเหลือ จะได้แจ้งข้อมูลและความเดือดร้อนของแรงงานไทยในลิเบียกลับมาที่กระทรวงแรง งาน รวมทั้งใช้เพื่อแจ้งสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของแรงงานไทยที่เดินทางกลับมาแล้วด้วย ซึ่งงบนี้ เป็นงบฉุกเฉิน ที่ต้องเร่งดำเนินการภายใน 5 วัน

2 มี.ค. 54 - สมาคมสื่อฯ โต้ ครม.เจียดงบ 5 ล้าน จ้างพีอาร์แผนอพยพแรงงานไทยในลิเบีย

3 มี.ค. 54 - นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ  อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวถึงกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์การขออนุมัติงบประมาณ 5 ล้าน บาท ใช้ประชาสัมพันธ์การช่วยเหลือแรงงานในลิเบียผ่านสื่อเป็นเรื่องไม่เหมาะสม ว่า เรื่องนี้นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้สั่งให้ปรับลดงบประมาณในส่วนดังกล่าวลง รวมถึงงบประมาณอื่น ๆ  เช่น งบการจัดทำบันทึกข้อมูลแรงงานเดินทางกลับจากลิเบีย ค่าเบี้ยเลี้ยงที่พักของเจ้าหน้าที่ที่ระดมมาช่วยแรงงานที่สนามบิน รวมการปรับลดงบลง 11 ล้านบาท จากที่กระทรวงฯ ขออนุมัติไว้ในครั้งแรก 343 ล้านบาท เหลืองบฯ ที่ขออนุมัติเพียง 332 ล้านบาท ซึ่งจะนำรายละเอียดเสนอให้สำนักงบประมาณพิจารณาอีกครั้ง

4 มี.ค. 54 - ผู้แทนองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ได้เดินทางเข้าพบทีมงานของกรมองค์การระหว่างประเทศ , กรมการกงสุล , กรม เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ของกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อหารือเรื่องการสนับสนุนรัฐบาลไทยในการอพยพแรงงานไทยออกจากลิเบีย โดย IOM จะให้สำนักงานในดูไบคอยช่วยประสานเรื่องตั๋วเครื่องบินให้ไทย

4 มี.ค. 54 - กระทรวงแรงงานเพิ่มเงินช่วยเหลือค่ารถและค่าอาหารอีกรายละ 1,500 บาท รวมเป็นเงินช่วยเหลือแรงงานไทยจากลิเบีย 16,500 บาท

4 มี.ค. 54 - นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กล่าวภายหลังการประชุมร่วมกับบริษัทจัดหางาน จำนวน 30 แห่ง ที่ส่งแรงงานไทยไปทำงานในประเทศลิเบีย ว่า ล่าสุด มีแรงงานไทยอพยพไปอยู่ในที่ปลอดภัยแล้ว จำนวน 8,386 คน ในจำนวนนี้กลับถึงประเทศไทยแล้ว จำนวน 3,079 คน

8 มี.ค. 54 - นาย ธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึง การให้ความช่วยเหลือแรงงานไทยในลิเบีย ว่า ขณะนี้มีแรงงานไทยที่เดินทางกลับถึงประเทศไทยแล้วจำนวน 7,035 คน จากแรงงานทั้งหมด 12,975 คน ซึ่งเป็นข้อมูลที่กระทรวงแรงงานได้ปรับปรุงยอดของแรงงานใหม่ เนื่องจากตัวเลขเดิมของแรงงานไทยที่เดินทางไปโดยบริษัทจัดหางาน ที่อยู่ในลิเบียมีจำนวน 23,000 คน เป็นข้อมูลเมื่อ 5 ปี ที่ผ่านมา และบางส่วนเป็นจำนวนแรงงานที่ซับซ้อนกัน เพราะบางคน หมดสัญญากับบริษัทจัดหางานแล้ว แต่ยังคงทำงานอยู่ที่ลิเบียต่อ จึงทำให้หลายฝ่ายเกิดความสับสนในเรื่องจำนวนของแรงงานไทย

12 มี.ค. 54 – กระทรวงแรงงานสรุปยอดยอดรวมแรงงานไทยในลิเบียกลับถึงประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จนถึงขณะนี้ (12 มี..) มีจำนวนทั้งสิ้น 9,261คน 

 

 

 

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net