Skip to main content
sharethis

มีรายงานว่านักศึกษาในย่างกุ้งแจกใบปลิวใกล้กับย่านที่มีประชาชนพลุกพล่าน ในย่างกุ้งวานนี้ โดยนักศึกษาเรียกร้องให้ประชาชนคว่ำบาตรการเลือกตั้ง เรียกร้องตั้งสหภาพนักศึกษา - ด้านทางการพม่าห้ามพรรคการเมืองรับบริจาคเงิน

ผู้เห็นเหตุการณ์คนหนึ่งในกรุงย่างกุ้งเปิดเผยว่า พบเห็นกลุ่มนักศึกษาแจกใบปลิวใกล้กับย่านที่มีประชาชนพลุกพล่าน ในย่างกุ้งวานนี้ (9 ก.ค.) โดยนักศึกษาเรียกร้องให้ประชาชนคว่ำบาตรการเลือกตั้งที่ใกล้เข้ามา นอกจากนี้ยังเรียกร้องจัดตั้งสหภาพนักศึกษาอย่างชอบธรรม 

ทั้งนี้ มีนักศึกษาอย่างน้อย 7 คน ได้แจกใบปลิวให้กับผู้คนที่ผ่านไป มาบริเวณใกล้กลับแยก เลดัน (Hledan) ในเขตกะมายุต (Kamayut) กรุงย่างกุ้ง โดยข้อความในใบปลิวระบุว่า กำหนดการเลือกตั้งของรัฐบาล ทหารที่กำลังจะมีขึ้นในปีนี้เป็นเพียงการสร้างภาพและเป็นเรื่อง โกหกเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม การออกมาเคลื่อนไหวของนักศึกษาครั้งนี้ ยังเป็นการชุมนุมเพื่อระลึกถึงวันครบรอบ 48 ปี ของเหตุการณ์เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ปี ค.ศ. 1962 (2505) ที่มีนักศึกษาถูกสังหารหมู่ในมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ในยุครัฐบาลเผด็จการภายใต้การนำของนายพลเนวิน

ทั้งนี้ ชายคนหนึ่งกล่าวกับนักข่าวว่า “ผมเห็นกลุ่มนักศึกษาแจกใบปลิวและผมก็อยากรู้ว่า เขาพูดว่าอะไร ในใบปลิวเรียกร้องสิทธิ์ในการจัดตั้งสหภาพนักศึกษาได้ อย่างอิสระและชอบธรรมตามกฎหมาย นอกจากนี้ยังเรียกร้องประชาชนคว่ำบาตรการเลือกตั้งจอมปลอมและร่วมกันต่อต้านเผด็จการทหาร” โดยชายคนนี้ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า “ผมรู้สึกกลัวที่จะเก็บใบปลิวนั้นไว้ ผมก็เลยทิ้งมันไป” เขากล่าว 

ขณะที่ตามข้อมูลของชายอีกคนหนึ่งที่พักอยู่ในคอนโดมเนียมใกล้บริเวณแยกดังกล่าวเปิดเผยว่า มีวัยรุ่น 7 คน ซึ่งอาจจะเป็นนักศึกษาได้ชุมนุมกันประมาณ 10 โมง เช้าของวานนี้ ทั้งนี้ กลุ่มที่ออกมาแจกใบปลิวน่าจะมีอายุมากกว่า 20 ปี 

ด้านเจ้าหน้าที่จากกระทรวงอุตสาหกรรมพม่าได้เปิดเผยว่า กลุ่มนักศึกษายังได้ยืนแจกใบปลิวให้กับผู้โดยสารที่รอขึ้นรถบริเวณ ป้ายรถเมล์

ขณะที่เหตุการณ์ในวันที่ 7 กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2505 นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยย่างกุ้งได้ประท้วงอย่างสันติเพื่อต่อต้านรัฐบาลของนายพลเนวิน สืบเนื่องจากที่นักศึกษาไม่พอใจกับกฎข้อบังคับของมหาวิทยาลัยที่ไม่มีความชอบธรรม ซึ่งในเวลาต่อมา นายพลเนวินได้ส่งกำลังทหารเข้าสลายการชุมนุมทันที และทำให้มีนักศึกษาถูกยิงเสียชีวิตจำนวน 12 คน นอกจากนี้ทหารยังได้ยิงระเบิดเข้าใส่ตึกกิจกรรมนักศึกษาของมหาวิทยาลัยย่างกุ้งในเช้าวันถัดมา ขณะที่ยังมีนักศึกษายังอยู่ในตึก

ทั้งนี้ เว็บไซต์ชื่อประชาธิปไตยเพื่อพม่า (Democracy for Burma) รายงานว่า ในเหตุการณ์ครั้งนั้น กองทัพได้นำร่างของนักศึกษาไปไว้ที่อื่น แม้ว่านักศึกษาบางคนยังมีชีวิตอยู่ก็ตาม นอกจากนี้ ทหารได้ทำลายหลักฐาน โดยการนำร่างของนักศึกษาไปบดขยี้ในโรง งานบำบัดน้ำเสียแห่งหนึ่ง ในกรุงย่างกุ้ง 

ทั้งนี้ หลังจากที่นายพลเนวิน ยึดอำนานในเดือนมีนาคมปี 2505 มหาวิทยาลัยย่างกุ้งก็ถูกควบคุมภายใต้ คณะกรรมการการศึกษาระดับสูง ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาล และภายหลังเหตุการณ์ประท้วงดังกล่าว ได้มีการเปิดเผยตัวเลขของนักศึกษาที่เสียชีวิตอย่างเป็นทางการว่ามีจำนวน 16 คนและได้รับบาดเจ็บ 70 คน

“ตามข้อมูลของแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ เรารู้ว่ามีคนอย่างน้อย 100 คนที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนั้น มีคนรับการรักษาอยู่ในโรงพยาบาลย่างกุ้งจำนวน 86 คน และอีก 68 คน ถูกนำส่งตัวไปที่โรงพยาบาลมินกาลาดง” อดีตเลขาธิการนักศึกษารุ่น 62 ของ สหภาพนักศึกษาพม่า (All Burma Federation of Student Unions - ABFSU) กล่าวกับนักข่าว พร้อมระบุเพิ่มเติมว่า ชะตากรรมของนักศึกษาที่เข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลมินกาลาดงจนถึงขณะนี้ ยังไม่ทราบว่าเป็นอย่างไร

ด้วยเหตุที่สหภาพนักศึกษาพม่าหรือ ABFSU ยังคงดำเนินการต่อต้านการปกครองระบอบเผด็จการอย่างลับๆ อย่างต่อ เนื่อง ในขณะเดียวกัน รัฐบาลพม่าก็ยังคงห้ามไม่ให้มีสหภาพนักศึกษาด้วยเช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยย่างกุ้งได้กลายเป็นศูนย์กลางของการแสดงออกถึงความไม่พอใจของประชาชนมาโดยตลอดในประวัติศาสตร์การเมืองพม่าที่ผ่านมา ในปี ค.ศ.1920  ปี 1936  ทั่วทั้งประเทศต่อต้านอาณานิคมอังกฤษ และในปี 1938 ได้มีผู้นำต่อต้านอาณานิคมอังกฤษอย่างนายพลอองซาน นายอูนุ นายอูทันเกิดขึ้น รวมถึงนายเนวิน นิสิตเก่าของมหาวิทยาลัย

อย่างไรก็ตาม การประท้วงในมหาวิทยาลัยเป็นสิ่งที่สืบทอดต่อเนื่องมาตลอด และเช่นเดียวกันในปี ค.ศ.1974 และปี 1988 จนล่าสุดเหตุการณ์การเดินขบวนประท้วงของเหล่านักศึกษา ในปี 1996 (Mizzima : 8 กรกฎาคม 53)

 

 

ทางการพม่าห้าม พรรคการเมืองรับบริจาคเงิน

คณะกรรมการพัฒนาเมืองย่างกุ้ง (The Yangon [Rangoon] City Development Committee -YCDC) องค์กรปกครองท้องถิ่นกล่าวหาพรรคการเมืองพรรคหนึ่งว่าละเมิดกฎหมายเลือกตั้ง หลังจากที่พยายามรับบริจาคเงินจากประชาชนในตลาดในเมืองโอกาลาปาเหนือ ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของกรุงย่างกุ้ง

พรรคการเมืองชื่อ Union of Myanmar Federation of National Politics – UMFNP ซึ่งมีนายเอลิน เป็นหัวหน้าพรรคได้พยายามรับบริจาคเงินจากชาวบ้านทั่วไปในตลาด ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองโอกาลาปาเหนือเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2553 โดยเหตุที่ทางพรรคต้องออกมารับบริจาคเช่นนี้ เนื่องจากพรรค UMFNP ยังขาดแคลนงบที่จะนำไปใช้ในกิจกรรมรณรงค์หาเสียงของลูกพรรค

มีรายงานว่า YCDC ได้กล่าวหาว่า การรับบริจาคของพรรค UMFNP ถือเป็นการละเมิดกฎหมายเลือกตั้ง นอกจากนี้ยังกล่าวหาทางพรรคว่าไม่แจ้งเรื่องดังกล่าวให้กับทาง YCDC ทราบ

ด้านนายเอลิน หัวหน้าพรรค UMFNP กล่าวว่า ทางพรรคไม่ได้ละเมิดกฎหมายเลือกตั้ง และยืนยันว่า ทางพรรคปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายเลือกตั้งทุกประการ และตามกฎหมายของการจดทะเบียนพรรคการเมืองวรรคที่ 15 พรรคการเมืองมีสิทธิ์ที่จะขอรับบริจาคจากทั้งส่วนบุคคลหรือจากภาคธุรกิจได้

“และถ้าหากผมจำเป็นต้องเดินทางไปขึ้นศาล ผมจะถามพวกเขาว่า กฎหมายของเทศบาลท้องถิ่นนั้นสามารถนำมาแทนที่กฎหมายที่นายพลอาวุโสตานฉ่วยเป็นผู้เซ็นรับรองได้หรือไม่” นายเอลินกล่าว

นายเอลินยังกล่าวเพิ่มเติมว่า พรรคสหภาพเอกภาพและการพัฒนา(Union Solidarity and Development Party - USDP) ของนายกเต็งเส่ง และองค์กรปกครองท้องถิ่นในพื้นที่กำลังพยายามจำกัดและเข้มงวดกับ พรรคการเมืองอื่นๆในการรวมตัวและรณรงค์หาเสียง

“ผมรู้สึกไม่พอใจพวกเขา พวกเราควรมีอิสรภาพและเสรีภาพตามกฎหมายเลือกตั้งและข้อกำหนดของ การจดทะเบียนพรรคการเมือง” นายเอลินกล่าวเพิ่มเติม

ขณะที่พรรคพรรคสหภาพเอกภาพและ การพัฒนา ซึ่งว่ากันว่าเป็นพรรคตัวแทนของสมาคมสหภาพเอกภาพและการพัฒนา USDA (Union Solidarity and Development Association) ซึ่งเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่ให้การสนับสนุนรัฐบาลทหารพม่า ขณะนี้พบว่า มีสิทธิมากกว่าพรรคการเมืองอื่นๆที่เตรียมลงสนามเลือกตั้งที่จะมา ถึงนี้

ถึงแม้จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีการประกาศให้พรรคการเมืองเริ่มหาเสียง หรือแม้กระทั่งยังไม่มีการประกาศวันเลือกตั้งชัดเจน แต่กลับพบว่า พรรค USDP ได้เริ่มหาเสียงแล้วในหลายพื้นที่ทั่ว ประเทศ โดยไม่ถูกแทรกแซงหรือถูกจำกัดจากทางการพม่าแต่อย่างใด

มีรายงานว่า พลจัตวาอ่องเต็ง ลิน ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลกรุงย่างกุ้งและเป็นผู้ อำนวยการของกลุ่ม YCDC ได้เป็นตัวแทนของพรรคUSDP ในการลงชิงชัยเลือกตั้งในเขตกรุงย่างกุ้งด้วยเช่นกัน   

ในส่วนของพรรค UMFNP เอง ก่อนหน้านี้สมาชิกของพรรคนี้เคยถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจในจังหวัดมัณฑะเลย์ สั่งห้ามแสดงธงประจำพรรคต่อสาธารณชนมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ขณะที่ เมื่อเร็วๆ นี้ นายเอลิน หัวหน้าพรรคก็ยังถูกคณะกรรมการเลือกตั้งในเมืองกะมายุต (Kamayut) ในเขตย่างกุ้ง สั่งให้เซ็นรับรองว่าจะไม่ดำเนินกิจกรรมรณรงค์หาเสียงที่ละเมิดต่อ กฎหมายเลือกตั้งด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตามกลับพบว่า นายเอลินเองก็ถูกมองว่ามีความใกล้ชิดกับรัฐบาลทหารพม่า โดยกลุ่มพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งยืนตรงข้ามกับรัฐบาลเป็นต่างหลีกเลี่ยงที่จะเข้าร่วมกับพรรคของนายเอลินด้วยเช่นกัน   

ในอีกด้านหนึ่ง กฎหมายเลือกตั้งของรัฐบาลพม่ากำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง หลังสั่งห้ามพรรคการเมืองปราศรัยในพื้นที่สาธารณหรือในสถานที่ที่มีคนพลุกพล่านเช่น ตลาด โรงเรียนเป็นต้น และก่อนการปราศรัย พรรคการเมืองจะต้องขออนุญาตจากคณะกรรมการเลือกตั้ง นอกจากนี้ยังออกกฎหมายห้ามพรรคการเมืองโบกธง หรือตะโกนคำขวัญประจำพรรคของตัวเอง (Irrawaddy 8 ก.ค.53)

 

แปลและเรียบเรียงโดย สาละวินโพสต์ "สื่อทาง เลือกเพื่อแบ่งปันความเข้าใจสู่เพื่อนบ้าน"อ่านข่าวและบทความ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่เว็บไซต์ www.salweennews.org เฟซบุ๊ค http://www.facebook.com/Salweenpost ทวิตเตอร์ http://twitter.com/salweenpost

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net