Skip to main content
sharethis

แถลงการณ์ “ยุบสภา”  ยังเป็นแนวทางแก้วิกฤตการเมือง
“รัฐประหาร”  ไม่ใช่ทางออก

 
โศกนาฎกรรมทางสังคมการเมืองไทยในครั้งนี้  มีแนวโน้มจะนำสู่ระบอบอำนาจนิยมเผด็จการสมบูรณ์เบ็ดเสร็จมากขึ้น ที่รัฐจะมีอำนาจเหนือประชาชนในทุกอณูของชีวิต  ประชาชนจะไร้ซึ่งสิทธิเสรีภาพพื้นฐาน อย่างที่ไม่ควรจะเป็น     ความขัดแย้งทางการเมือง  ก็จะทวีความรุนแรงจนยากที่จะเยียวยา ตราบใดที่สังคมไทยไม่หันมาทบทวนมูลเหตุรากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในรอบสี่ปีที่ผ่านมา
 
เรา กลุ่ม องค์กรและเครือข่ายประชาธิปไตย   มีความคิดเห็นและข้อเรียกร้อง
 
1. เราขอยืนยันว่า การยุบสภา คืนอำนาจอธิปไตย  ยังคงเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาวิกฤตการเมืองในครั้งนี้ ตามระบอบประชาธิปไตย  เพื่อแก้ไขปัญหาทางการมืองอย่างสันติวิธี  และประชาชนทุกสีทุกกลุ่มล้วนแต่มี “หนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียง” ในการเลือกผู้แทน ผู้บริหารปกครองประเทศ  อย่างมีวาระที่แน่นอนไม่ใช่ระบบผูกขาดอำนาจ    และเป็นระบบที่เคารพเสียงส่วนใหญ่ไม่ละเมิดเสียงส่วนน้อย   ประชาธิปไตยยังเป็นระบอบที่มีกระบวนการตรวจสอบถ่วงดุลผู้บริหารผู้ปกครองประเทศได้อย่างเสรี   เป็นระบบที่ให้เสรีภาพกับสื่อ   เคารพสิทธิพื้นฐานของประชาชน  ตลอดทั้งเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
2. ความขัดแย้งทางการเมืองในครั้งนี้   ซึ่งได้นำความรุนแรงมาสู่สังคมไทยมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย  มีผู้สูญเสียชีวิตและบาดเจ็บในหลายครั้งหลายเหตุการณ์ เช่น  10  เมษายน  และ 19 พฤษภาคม ที่ผ่านมา สังคมไทยจึงควรร่วมกันเรียกร้องให้ศาลอาญาระหว่างประเทศ   สหประชาชาติ   เข้ามาดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งปวง เพื่อความโปร่งใส  อิสระ  เป็นกลาง และเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับทุกฝ่าย  ตามหลักการ “ผู้กระทำผิด ต้องถูกลงโทษ”   “ ฆาตรกร  ต้องไม่ลอยนวล”
3. ความขัดแย้งทางการเมืองในครั้งนี้ สังคมไทยต้องร่วมกันเรียกร้องไม่ให้กองทัพฉวยโอกาสกระทำการรัฐประหาร ซ้ำแล้วซ้ำเล่า แม้ครั้งนี้ไม่ต่างจากการรัฐประหารต่อเนื่องจาก 19 กันยายน 2549 ก็ตาม  เนื่องเพราะรัฐประหารจะทำให้ปัญหาทางการเมืองมีความวิกฤตมากยิ่งขึ้น และไม่ใช่การแก้ไขปัญหาตามระบอบประชาธิปไตย แต่กลับทำให้สังคมไทยเป็นเผด็จการอำนาจนิยมมากยิ่งขึ้น
 
1.  เครือข่ายองค์กรชุมชนแก้ปัญหาที่ดินภาคอีสาน  (คอป.อ.)
2.  เครือข่ายองค์กรชาวบ้านอนุรักษ์น้ำเซิน  (คอซ.)
3.  เครือข่ายองค์กรชาวบ้านลุ่มน้ำปาว (คอป.)
4.  เครือข่ายอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภูค้อ-ภูกระแต  จังหวัดเลย
5.  เครือข่ายคนรุ่นใหม่ภาคอีสาน (คอส.)
6.  แนวร่วมเกษตรกรภาคอีสาน (นกส.)
7.  เครือข่ายคนรุ่นใหม่ลุ่มน้ำโขง  จังหวัดอุบลราชธานี
8.  กลุ่มสร้างสรรค์ชีวิตและสังคมอีสาน (กสส.)
9.  กลุ่มดงมูลเพื่อการพัฒนา  จังหวัดกาฬสินธุ์
10. เครือข่ายอนุรักษ์ภูผาเหล็ก  จังหวัดอุดรธานี
11. กลุ่มภูพานเพื่อการพัฒนา  จังหวัดสกลนคร
12. เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน  จังหวัดชัยภูมิ
13. กลุ่มประชาชนไทยแวงน้อย-แวงใหญ่  จังหวัดขอนแก่น
14. กลุ่มเยาวชนมิตรภาพ  จังหวัดขอนแก่น
15. กลุ่มเยาวชนอนุรักษ์น้ำพรมตอนต้น  จังหวัดชัยภูมิ
16. กลุ่มเยาวชนอนุรักษ์ลุ่มน้ำบัง  จังหวัดนครพนม
17. เครือข่ายคนรุ่นใหม่ยโสธร  จังหวัดยโสธร
18. สหพันธ์เยาวชนอีสาน (สยส.)
19. แนวร่วมเกษตรกรภาคเหนือ (นกน.)
20. ชมรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาคเหนือตอนล่าง
21. เครือข่ายอนุรักษ์ลุ่มน้ำชมพู  จังหวัดพิษณุโลก
22. เครือข่ายส่งเสริมสิทธิการจัดการทรัพยากรภาคเหนือตอนล่าง (คสปล.)
23. สหพันธ์เยาวชนคลองเตย (สยค.)
24. เครือข่ายองค์กรชุมชนคลองเตย
25. เครือข่ายชุมชนเมืองบ่อนไก่ กทม.
26. กลุ่มประชาธิปไตยเพื่อรัฐสวัสดิการ
27. เครือข่ายอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชุมชนเขลาโคก  จังหวัดร้อยเอ็ด
28. เครือข่ายองค์กรชาวบ้านนางรอง  จังหวัดบุรีรัมย์ 
29. กลุ่มคนรุ่นใหม่ภาคใต้
30. กลุ่มนักศึกษาภาคเหนือเพื่อประชาธิปไตย

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net