Skip to main content
sharethis

30 องค์กรชาวบ้าน-ภาคประชาสังคม ออกแถลงการณ์เรียกร้องความปรองดองจริงจังและจริงใจจากรัฐบาล ให้ประกาศวันยุบสภาให้ชัดเจน ให้รัฐเปิดทางศาลอาญาโลก ตรวจสอบเหตุการณ์วิปโยคที่เกิดขึ้น โดยแถลงการณ์ มีรายละเอียด ดังนี้ 

0 0 0  

แถลงการณ์
ประกาศวันยุบสภาให้ชัดเจน
แนวทางปรองดองรัฐบาลอภิสิทธิ์เริ่มได้ในทันที

สืบเนื่องมาจาก นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เสนอแนวทางปรองดองแห่งชาติ ขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์การเมืองขณะนี้ 

เราในนาม กลุ่ม องค์กร เครือข่ายประชาชน ที่มีจุดยืนเพื่อประชาธิปไตย มีความคิดเห็นและข้อเรียกร้องดังนี้

1 ขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ แสดงความจริงใจในการปรองดอง โดยการมีคำสั่งบัญชาการให้ศูนย์อำนายการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศฮฉ.) ยุติการแสดงอำนาจบาตรใหญ่ข่มขู่คุกคามว่าจะปราบปรามการชุมนุมของคนเสื้อแดงโดยทันที มิเช่นนั้นถือว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์กระทำการตีสองหน้ามากกว่าต้องการปรองดองอย่างแท้จริง

2. เรามีความคิดเห็นว่า   ข้อเสนอโรดแม็พของนายกรัฐมนตรีที่ต้องการให้สื่อมีเสรีภาพในสังคมข้อมูลข่าวสาร สามารถทำให้ประจักษ์เป็นรูปธรรมได้ทันทีโดยการที่รัฐยุติการปิดกั้นสื่อทั้งเว็บไซต์ วิทยุชุมชน และทีวีพีเพิลชาแนล เพื่อแสดงให้เห็นถึงความจริงใจต่อการปรองดองตามโรดแม็ป ที่นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ได้เสนอ ขณะเดียวกันรัฐบาลอภิสิทธิ์ต้องยุติการใช้สื่อ NBT และวิทยุของรัฐในการสร้างภาพให้คนเสื้อแดง เป็น “ผู้ก่อการ้าย” “ขบวนการล้มเจ้า”     เพื่อสร้างความเกลียดชังต่อคนเสื้อแดง เหมือนคนเสื้อแดงมิใช่ “คนไทย” มิใช่ “คนรักชาติรักประเทศรักสถาบัน” เพื่อทำลายความชอบธรรมในการเรียกร้องประชาธิปไตยของคนเสื้อแดงด้วยแนวทางสันติวิธี อสิงหา ปราศจากอาวุธ

3. เรามีความคิดเห็นว่า ต่อกรณีการสอบสวน ตรวจสอบข้อเท็จจริงเหตุการณ์วิปโยค เมื่อวันที่ 10 เมษายน  กรณีเหตุการณ์ที่สีลม 22 เมษายน  และกรณีที่อนุสรณ์สถาน 28 เมษายน ที่ผ่านมานั้น   ควรให้ให้ศาลอาญาระหว่างประเทศดำเนินกระบวนการสอบสวน เพื่อความเป็นกลาง อิสระ โปร่งใส และเที่ยงธรรม

4. เราเห็นด้วยกับรัฐบาลอภิสิทธิ์ ว่า การปฏิรูปประเทศไทยนั้นต้องมีภาคส่วนอื่นๆ เข้าร่วมด้วย เพียงแต่ต้องมิใช่เพียงภาคส่วนอื่นๆที่สนับสนุนรัฐบาลอภิสิทธิ์อย่างที่เห็นและเป็นอยู่เข้าร่วมเท่านั้น จำเป็นต้องให้พรรคการเมืองต่างๆ ในฐานะสถาบันทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยรัฐสภา เข้าร่วม ตลอดทั้งต้องเปิดให้องค์กรปกครองท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์กรบริหารส่วนตำบล  ผู้ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนระดับท้องถิ่นเข้าร่วมด้วย นอกจากนี้แล้วภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ที่ไม่ได้สังกัดรัฐบาลอภิสิทธิ์ต้องเข้าร่วมด้วยเช่นกัน

5. อย่างไรก็ตาม  เรามีความคิดเห็นว่า การปรองดองเป็นสิ่งสำคัญในการแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี เพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมือง    ขณะเดียวกันเราเชื่อว่าความเห็นต่าง ความคิดไม่เหมือนกันของคนในสังคมเป็นเรื่องธรรมดาในสังคมประชาธิปไตยไม่ว่าเรื่องปฏิรูปประเทศ เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และเรื่องการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย   เพียงแต่เราต้องยอมรับกติกาประชาธิปไตย ที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ประชาชนต้องมีอำนาจในการเลือกผู้บริหารผู้ปกครองประเทศที่มีวาระแน่นอน    เสียงส่วนใหญ่เคารพเสียงส่วนน้อย    ประชาชนมีเสรีภาพในการรวมกลุ่ม  สื่อสารมวลชนต้องไม่ถูกกดขี่ปิดกั้นเสรีภาพจากรัฐ และประชาธิปไตยต้องไม่ถูกแทรกแซงจากอำนาจนอกระบบเป็นสำคัญ 

6. ท้ายสุด เราขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ ประกาศวันยุบสภาต่อสาธารณชนด้วยตัวนายกรัฐมนตรีเองให้ชัดเจน เพื่อความกระจ่างไม่ให้เป็นที่เคลือบแคลงสงสัยของผู้ชุมนุมคนเสื้อแดง ว่านายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์จะมีเล่ห์สนกลในอย่างไร? อีกหรือไม่?

 

1.  เครือข่ายองค์กรชุมชนแก้ปัญหาที่ดินภาคอีสาน  (คอป.อ.)
2.  เครือข่ายองค์กรชาวบ้านอนุรักษ์น้ำเซิน  (คอซ.)
3.  เครือข่ายองค์กรชาวบ้านลุ่มน้ำปาว (คอป.)
4.  เครือข่ายอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภูค้อ-ภูกระแต  จังหวัดเลย
5.  เครือข่ายคนรุ่นใหม่ภาคอีสาน (คอส.)
6.  แนวร่วมเกษตรกรภาคอีสาน (นกส.)
7.  เครือข่ายคนรุ่นใหม่ลุ่มน้ำโขง  จังหวัดอุบลราชธานี
8.  กลุ่มสร้างสรรค์ชีวิตและสังคมอีสาน (กสส.)
9.  กลุ่มดงมูลเพื่อการพัฒนา  จังหวัดกาฬสินธุ์
10. เครือข่ายอนุรักษ์ภูผาเหล็ก  จังหวัดอุดรธานี
11. กลุ่มภูพานเพื่อการพัฒนา  จังหวัดสกลนคร
12. เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน  จังหวัดชัยภูมิ
13. กลุ่มประชาชนไทยแวงน้อย-แวงใหญ่  จังหวัดขอนแก่น
14. กลุ่มเยาวชนมิตรภาพ  จังหวัดขอนแก่น
15. กลุ่มเยาวชนอนุรักษ์น้ำพรมตอนต้น  จังหวัดชัยภูมิ
16. กลุ่มเยาวชนอนุรักษ์ลุ่มน้ำบัง  จังหวัดนครพนม
17. เครือข่ายคนรุ่นใหม่ยโสธร  จังหวัดยโสธร
18. สหพันธ์เยาวชนอีสาน (สยส.)
19. แนวร่วมเกษตรกรภาคเหนือ (นกน.)
20. ชมรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาคเหนือตอนล่าง
21. เครือข่ายอนุรักษ์ลุ่มน้ำชมพู  จังหวัดพิษณุโลก
22. เครือข่ายส่งเสริมสิทธิการจัดการทรัพยากรภาคเหนือตอนล่าง (คสปล.)
23. สหพันธ์เยาวชนคลองเตย (สยค.)
24. เครือข่ายองค์กรชุมชนคลองเตย
25. เครือข่ายชุมชนเมืองบ่อนไก่ กทม.
26. กลุ่มประชาธิปไตยเพื่อรัฐสวัสดิการ
27. เครือข่ายอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชุมชนเขลาโคก  จังหวัดร้อยเอ็ด
28. เครือข่ายองค์กรชาวบ้านนางรอง  จังหวัดบุรีรัมย์ 

29.กลุ่มคนรุ่นใหม่ภาคใต้

30กลุ่มนักศึกษาภาคเหนือเพื่อประชาธิปไตย

 

 

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net