Skip to main content
sharethis
เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2552 ที่ผ่านมา ที่สมาคมนักเรียนและเยาวชนแห่งเอเชียแปซิฟิก (ASA) เป็นองค์กรที่เกิดจากการรวมตัวของสหพันธ์นักศึกษาของแต่ละประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิก เพื่อพัฒนาความตื่นตัวทางด้านการเมืองและก่อให้เกิดความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในหมู่นักศึกษาและเยาวชน โดยมีเรย์ เปเรส แอสสิส ดำรงตำแหน่งเลขาธิการภาคพื้นทวีปอยู่ในขณะนี้ ได้จัดงาน “Asia Pacific Youth Dialog” ขึ้นระหว่างวันที่ 13 ถึง 14 ธันวาคม 2552 ณ สำนักกลางนักเรียนคริสเตียน ราชเทวี กรุงเทพมหานคร เพื่อแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาและร่วมวางแนวทางการทำงานต่อไปในอนาคต
เช้าวันเดียวกัน มีการนำเสนอประเด็นปัญหาที่หลากหลายของแต่ละประเทศ โดยวิทยากรพิเศษประกอบด้วย แอนโทนี่ ตูฮัน เจอาร์ ผู้อำนวยการนานาชาติมูลนิธิ IBON International ชาวฟิลิปปินส์, เจนจินดา ภาวะดี
ผู้ประสานงานโครงการพันธกิจลุ่มน้ำโขงสภาคริสเตียนแห่งเอเชีย ชาวไทย, เรมอน วี พาลาติโน ตัวแทนกลุ่ม Kabataan Party-List ชาวฟิลิปปิน และ ธวีน ลิน ออง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมาธิการต่างประเทศสหพันธ์นักศึกษาพม่า ชาวพม่า
โลกาภิวัตน์คือการพยายามจัดการการผลิตที่ล้นหลาม
แอนโทนี่ ตูฮัน เจอาร์ กล่าวว่าโลกาภิวัฒน์คือการสนับสนุนการผลิตที่ล้นหลามของสินค้าต่างๆวิกฤตนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆเริ่มตั้งแต่ทศวรรษ 1970 ซึ่งเหล่าจักรวรรดินิยมโลกาภิวัฒน์เริ่มรุกรานอาณาเขตต่างๆสามารถกระตุ้นให้เกิดการค้าเสรี การลงทุนของภาคเอกชนที่มากขึ้น นอกจากนั้นยังส่งผลให้เกิดความไร้ระเบียบข้อบังคับในเชิงเศรษฐกิจและยังทำให้ตลาดการเงินขยายตัวอีกด้วย
นอกจากนั้นทุนนิยมสามารถหาผลประโยชน์อันมหาศาลผ่านทางระบบโลกวัฒน์ โดยการหากำไรจากขั้นตอนการผลิตที่จ่ายค่าแรงคนงานขั้นต่ำ ซื้อวัตถุดิบต้นทุนต่ำและครอบงำหรือผูกขาดตลาด ในขณะเดียวกันในด้านอัตราดอกเบี้ยในหนี้สินก็เก็บในอัตราที่สูงที่ผิดปกติ 
แอนโทนี่เสนอแนะว่า ขบวนการคนหนุ่มสาวควรให้ความสนใจต่อประเด็นปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคมในยุคโลกาภิวัฒน์ นอกจากการทำงานในหมู่คนหนุ่มสาวด้วยกันแล้ว ควรจะทำงานเชื่อมโยงกับชาวนาและผู้หญิงที่เป็นนักเคลื่อนไหว ในขณะเดียวกันการทำการควรจะประสานไปสู่ภูมิภาคและนานาชาติด้วยเช่นกัน                                                                                                   
แรงงานถูกปฏิบัติเยี่ยงสัตว์ในเขตอุตสาหกรรมเชียงใหม่
เจนจินดา ภาวะดี กล่าวว่า ประเทศไทยมีแรงดึงดูดหลายประการที่ทำให้ประชากรในประเทศเพื่อนบ้านอพยพเข้ามา ทั้งด้านการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศ หรือการขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมการเกษตร หรือแม้แต่ความต้องการแรงงานราคาถูกเพื่อทดแทนแรงานไทยในงานที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของชีวิต เมื่อพม่าที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์แต่ด้วยปัจจัยทางการเมืองและเศรษฐกิจ ทำให้ชาวพม่าอพยพเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น หลายครั้งที่คนงานอพยพถูกกระทำเยี่ยงสัตว์ทั้งจากนายจ้างและเจ้าหน้าที่ของไทย ในขณะเดียวกันก็มีข่าวลือต่างๆนานาที่ทำให้ชาวไทยปฏิเสธผู้อพยพด้วยเช่นกัน เช่น แรงงานอพยพเป็นผู้นำเชื้อโรคเข้ามา แรงงานอพยพแย่งงานคนไทย เป็นต้น ซึ่งในความเป็นจริงนั้นงานที่แรงงานอพยพทำนั้นล้วนเป็นงานที่คนไทยปฏิเสธที่จะทำทั้งสิ้น
 
จากนั้นเจนจิราได้นำเสนอกรณีศึกษาทีเป็นการสัมภาษณ์แรงงานอพยพชาวพม่าคนหนึ่ง เธอกล่าวว่า ตอนนี้เธอตั้งท้องและเธอไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากก่อนหน้านี้นายจ้างบังคับให้ทำงานเกินเวลา ซึ่งจากสภาพร่างกายบวกกับการตั้งครรภ์ที่ไม่สามารถรับแรงกดดันนั้นได้ เธอจึงโดนนายจ้างไล่ออก การเข้าไปทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่เชียงใหม่นั้น นอกจากค่าแรงต่ำงานยังหนักเกินกว่าจะรับไหว แต่ต้องอดทนเนื่องจากต้องส่งเงินกลับไปจุนเจือครอบครัวที่บ้านเกิด ในณะเดียวดเจ้าหน้าไทยจะมาจับผู้ที่ไม่มีบัตรแรงงานต่างด้าวอยู่เรื่อยๆ นั่นทำให้เธอต้องจดทะเบียนในราคาที่สูงมาก หากเป็นไปได้เธอต้องการให้นายจ้างปฏิบัติต่อพวกเธอเหมือนแรงงานไทยทั่วๆไป
 
การศึกษา คือ การผลิตทรัพยากรมนุษย์เพื่อป้อนตลาดและส่งออก
 
เรมอน วี พาลาติโน กล่าวถึงการศึกษาของประเทศฟิลิปปินส์ว่า ในขณะนี้รัฐบาลฟิลิปปินส์ต้องการแปรรูปมหาวิทยาลัยที่มีอยู่เพียงไม่กี่แห่ง ซึ่งหากจะมองให้ดีแล้วการ การเป็นมหาวิยาลัยนอกระบบนั้นไม่ได้มีคุณภาพหรือวสามารถผลิตบุคคลที่มีคุณภาพได้แตกต่างจากมหาวิทยาลัยรัฐเท่าใดนัก แต่เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายแล้วต่างกันมาก ซึ่งนั่นก็เป็นคำถามว่า เราควรจะแปรรูปมหาวิทยาลัยเพื่ออะไร
 
สำหรับฟิลิปปินส์ในตอนนี้คนส่วนใหญ่นิยมเรียนพยาบาลกัน เนื่องจากเป็นอาชีพที่รัฐบาลสนับสนุน เพื่อส่งออกส่งออกบุคคลากรที่จบด้านนี้ไปยังสหรัฐอเมริกาและยุโรปโดยเฉพาะ และนั่นคือรายได้หลักจากสินค้าส่งออกของฟิลิปปินในขณะนี้ เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการศึกษาที่สูงพอสมควรทำให้ชาวฟิลิปปินมีโอกาสเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาของคนในฟิลิปปินนั้นมีเพียง 14% จากประชากรทั้งหมด แต่การศึกษาต้องปรับหลักสูตรและปรับพฤติกรรมของผู้เรียนให้กลายเป็นสินค้าที่ดีเพือส่งออกตลาดได้อย่างมีคุณภาพ สุดท้ายเรมอน เสนอแนะว่า ควรจะให้ความสำคัญต่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยมากกว่าตลาดเสรีที่มาพร้อมกับโลกาภิวัฒน์
 
การต่อสู้ของนักศึกษาพม่า
 
ธวีน ลิน ออง กล่าวว่า ตั้งแต่ที่ประชาชนชาวพม่าทุกภาคส่วนร่วมกันต่อสู้เพื่อการหลุดพ้นจากการเป็นประเทศราชของอังกฤษนั้น ทำให้ได้รับเอกราชในปี 1984 หลังจากนั้นก็ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยในช่วงปี 1984 – 1962 และเกิดการปฏิวัติโดยทหารขึ้นเมื่อปี 1962 และต่อมาปี 1974 ก็กลับมาปกครองโดยรัฐบาลประชาชนอีกครั้ง แต่เกิดการปฏิวัติโดยทหารอีกครั้งในเวลาไม่กี่ปีและนั่นเป็นการปกครองรอบใหม่ดยทหารมาจนกระทั่งทุกวันนี้
 
ตอนนี้ในเขตเมืองของพม่าขาดการศึกษาที่ดี หากต้องการการศึกษาต้องแย่งกันเข้าเท่านั้น นอกจากนั้นยังมีการจำคุกนักโทษทางการเมืองมากกว่า 21,000 คนและนักเรียนนักศึกษาอีกกว่า 1,000 คน และในเขตชนบทการศึกษาไม่ทั่วถึง มีอัตรการว่างงานสูงส่งผลให้เกิดความยากจนและเกิดการอพยพเข้าเมืองเพื่อหางานทำ นอกจากนั้นยังเกิดแรงงานเด็ก ทหารเด็ก การค้ามนุษย์และการขายบริการทางเพศในอัตราที่สุงขึ้น
 
ธวีนกล่าวต่อว่าตอนนี้นักเคลื่อนไหวพม่ากำลังเรียกร้องให้รัฐบาลทหารปล่อยตัวนักโทษทางการเมืองรวมถึง ออง ซาน ซูจี, มิน กอ เหนี่ยง, ข้อที่สอง ให้มีการพิจารณารัฐธรรมนูญปี 2008 ใหม่ร่วมกันโดยกลุ่มต่างๆทั้ง กลุ่มเชื้อชาติ ทหาร และนักประชาธิปไตย และข้อสุดท้าย หยุดการจู่โจมในเขตชาติพันธุ์และหยุดการก่ออาชญากรรมโดยทหาร
 
สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net