Skip to main content
sharethis


เมื่อวันที่ 25 ก.ย.ที่ผ่านมา คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) ออกแถลงการณ์ "คัดค้านนโยบายเปิดป่าให้เช่า หยุดให้กลุ่มทุนเอกชนสัมปทานอุทยานแห่งชาติ" เนื่องจากแนวคิดการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาพื้นที่อุทยานแห่งชาติ โดยกรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีนโยบายจะให้เอกชนเช่าสัมปทานอุทยานแห่งชาติเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว และได้ดำเนินการจัดทำร่างพระราชบัญญัติ 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. .. และร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่า พ.ศ. ... ขึ้นแทนกฎหมายฉบับเก่า


 


โดยมีการนำเสนอข่าวผ่านสื่อมวลชนว่า จะเริ่มจากการนำร่องเปิดให้เอกชนเช่าสัมปทานระยะยาวจำนวนกว่า 10 แห่ง ซึ่งเป็นอุทยานแห่งชาติที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว อยู่แล้ว โดยอ้างระเบียบกรมอุทยานฯ ปี 2547 ที่ออกใหม่เพื่อให้เอกชนเข้าร่วมบริหารจัดการ


 


แถลงการณ์ความคิดเห็นและข้อเสนอของ ครส.ว่า นโยบายการเปิดป่าให้เช่า หรือการให้เอกชนสัมปทานพื้นที่อุทยานแห่งชาติเพื่อการท่องเที่ยว มีผลกระทบเสียหายอย่างร้ายแรงต่อทรัพยากรของส่วนรวม และ ครส.ขอคัดค้านนโยบายดังกล่าวอย่างถึงที่สุด เพราะนโยบายดังกล่าวเป็นการสนับสนุนให้กลุ่มทุนเข้าถึงอำนาจในการควบคุมดูแลทรัพยากรธรรมชาติของสังคมไทยได้มากขึ้น และอาจนำไปสู่ความเสียหายของทรัพยากรธรรมชาติจากการแสวงหาผลประโยชน์อย่างไร้ขีดจำกัดของเอกชนหรือกลุ่มทุนที่ได้เอกสิทธิ์เข้ายึดครองพื้นที่ในระยะยาว


 


รวมทั้งจะนำมาสู่ความขัดแย้งทางสังคมไม่สิ้นสุด จากสงครามการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติของกลุ่มทุนและกลุ่มชุมชนในสังคมไทยที่ต้องการอนุรักษ์ไว้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ดังเช่นที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ที่มีความขัดแย้งในการจัดการทรัพยากร โดยนักการเมืองได้สนับสนุนกลุ่มทุนเอกชนให้เข้ามาแสวงหาประโยชน์ จนเกิดการข่มขู่คุกคามหรือสังหารนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนในอดีต โดยรัฐยังไม่สามารถหามาตรการเยียวยาแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชนดังกล่าวได้


 


ส่วนร่าง พ.ร.บ.อุทยานฉบับใหม่ จะต้องมีการประชาพิจารณ์ในระดับประเทศ เนื่องเพราะมีผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง เช่น มาตรา 38 (3) การให้บริการเพื่อการท่องเที่ยวหรือที่พักอาศัยชั่วคราวแก่นักท่องเที่ยว และ มาตรา 40 ที่อธิบดีฯ มีอำนาจอนุญาตหรือทำการตกลงผูกพันให้บุคคลเข้าไปลงทุนก่อสร้างกิจการท่องเที่ยว ที่พักแรมในเขตบริการละไม่เกิน 10 ไร่ คราวละไม่น้อยกว่า 5 ปีแต่ไม่เกิน 30 ปีได้ และไม่จำกัดจำนวนและขอบเขตที่ตั้ง ซึ่งเป็นการให้อำนาจที่เปิดกว้างมากเกินไป


 


รวมถึงในด้านสิทธิชุมชน มาตรการ "เขตผ่อนปรน" ตามมาตรา 4 ในร่าง พ.ร.บ.อุทยานฯ และในมาตรา 53 ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและอนุรักษ์สัตว์ป่า พ.ศ. ... ทำให้ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมอยู่อาศัยได้เป็นการชั่วคราว ทำให้เกิดปัญหาในการยอมรับการอยู่ร่วมกันระหว่างคนและป่าอย่างยั่งยืนซึ่งอยู่ระหว่างการหาทางออกของสังคม แต่เมื่อกฎหมายนี้บังคับใช้จะมาทำลายสิ่งเหล่านี้ และเปิดช่องให้สามารถใช้อำนาจ บีบบังคับ กดดัน อพยพชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมออกจากพื้นที่อนุรักษ์ได้


 


ทั้งนี้ การที่กรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดทำเวทีสาธารณะเพื่อรับฟังความคิดเห็นประชาชน ในวันที่ 24 กันยายนที่ผ่านมา โดยอ้างว่ายังไม่ได้ดำเนินการอะไรในเรื่องดังกล่าวซึ่งมีผู้คัดค้านจำนวนมาก แต่ปรากฏว่าที่ผ่านมาได้สนับสนุนให้เอกชนยื่นโครงการเข้ามาสู่กรมอุทยาน และมีการประชุมพิจารณาไปแล้วหลายครั้ง อาทิ โครงการโรมแรม 5 ดาว ที่เกาะตะรุเตา และเกาะอื่นๆ ในทะเลอันดามัน เป็นต้น ดังที่เป็นข่าวนำเสนอตามสื่อมวลชน ดังนั้นเท่ากับว่า กระทรวงทัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีเจตนาที่จะแปรรูปอุทยานแห่งชาติเพื่อให้กลุ่มทุนเอกชนบริหารจัดการตั้งแต่ต้น


 


"คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) ขอเรียกร้องให้ อธิบดีกรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ออกมาชี้แจงเรื่องดังกล่าว ซึ่งอาจเป็นที่ครหาในสังคมหรืออาจเข้าข่ายมีผลประโยชน์แอบแฝงจากนโยบายดังกล่าวได้" แถลงการณ์ระบุ


 


 


 



 


แถลงการณ์ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.)


คัดค้านนโยบายเปิดป่าให้เช่า หยุดให้กลุ่มทุนเอกชนสัมปทานอุทยานแห่งชาติ


 


สืบเนื่องจากแนวคิดการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาพื้นที่อุทยานแห่งชาติ โดยกรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีนโยบายจะให้เอกชนเช่าสัมปทานอุทยานแห่งชาติเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยดำเนินการจัดทำร่างพระราชบัญญัติ 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. .. และร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่า พ.ศ. ... ขึ้นแทนกฎหมายฉบับเก่า โดยจะเริ่มจากการนำร่องเปิดให้เอกชนเช่าสัมปทานระยะยาวจำนวนกว่า 10 แห่ง ซึ่งเป็นอุทยานแห่งชาติที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว อยู่แล้ว โดยอ้างระเบียบกรมอุทยานฯ ปี 2547 ที่ออกใหม่เพื่อให้เอกชนเข้าร่วมบริหารจัดการได้นั้น


 


คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) ได้ติดตามเรื่องนี้ด้วยความห่วงใย มีความคิดเห็นและข้อเสนอต่อรัฐบาลดังนี้


 


1. คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) เห็นว่า นโยบายการเปิดป่าให้เช่า หรือการให้เอกชนสัมปทานพื้นที่อุทยานแห่งชาติเพื่อการท่องเที่ยว มีผลกระทบเสียหายอย่างร้ายแรงต่อทรัพยากรของส่วนรวม และขอคัดค้านนโยบายดังกล่าวอย่างถึงที่สุด เนื่องเพราะนโยบายดังกล่าว นอกจากเป็นการสนับสนุนให้กลุ่มทุนเข้าถึงอำนาจในการควบคุมดูแลทรัพยากรธรรมชาติของสังคมไทยได้มากขึ้นแล้ว อาจนำไปสู่ความเสียหายของทรัพยากรธรรมชาติและการแสวงหาผลประโยชน์อย่างไร้ขีดจำกัดของเอกชนหรือกลุ่มทุนที่ได้เอกสิทธิ์เข้ายึดครองพื้นที่ในระยะยาว รวมทั้งจะนำมาสู่ความขัดแย้งทางสังคมไม่สิ้นสุด จากสงครามการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติของกลุ่มทุนและกลุ่มชุมชนในสังคมไทยที่ต้องการอนุรักษ์ไว้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ดังเช่นที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ที่มีความขัดแย้งในการจัดการทรัพยากร โดยนักการเมืองได้สนับสนุนกลุ่มทุนเอกชนให้เข้ามาแสวงหาประโยชน์ จนเกิดการข่มขู่คุกคามหรือสังหารนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนในอดีต โดยรัฐยังไม่สามารถหามาตรการเยียวยาแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชนดังกล่าวได้


 


2. ร่าง พ.ร.บ.อุทยานฉบับใหม่ จะต้องมีการประชาพิจารณ์ในระดับประเทศ เนื่องเพราะมีผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง เช่น มาตรา 38 (3) การให้บริการเพื่อการท่องเที่ยวหรือที่พักอาศัยชั่วคราวแก่นักท่องเที่ยว และ มาตรา 40 ที่อธิบดีฯ มีอำนาจอนุญาตหรือทำการตกลงผูกพันให้บุคคลเข้าไปลงทุนก่อสร้างกิจการท่องเที่ยว ที่พักแรมในเขตบริการละไม่เกิน 10 ไร่ คราวละไม่น้อยกว่า 5 ปีแต่ไม่เกิน 30 ปีได้ และไม่จำกัดจำนวนและขอบเขตที่ตั้ง ซึ่งเป็นการให้อำนาจที่เปิดกว้างมากเกินไป รวมถึงในด้านสิทธิชุมชน มาตรการ "เขตผ่อนปรน" ตามมาตรา 4 ในร่าง พ.ร.บ.อุทยานฯ และในมาตรา 53 ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและอนุรักษ์สัตว์ป่า พ.ศ. ... ทำให้ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมอยู่อาศัยได้เป็นการชั่วคราว ทำให้เกิดปัญหาในการยอมรับการอยู่ร่วมกันระหว่างคนและป่าอย่างยั่งยืนซึ่งอยู่ระหว่างการหาทางออกของสังคม แต่เมื่อกฎหมายนี้บังคับใช้จะมาทำลายสิ่งเหล่านี้ และเปิดช่องให้สามารถใช้อำนาจ บีบบังคับ กดดัน อพยพชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมออกจากพื้นที่อนุรักษ์ได้


 


3. กรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดทำเวทีสาธารณะเพื่อรับฟังความคิดเห็นประชาชน ในวันที่ 24 กันยายนที่ผ่านมา โดยอ้างว่ายังไม่ได้ดำเนินการอะไรในเรื่องดังกล่าวซึ่งมีผู้คัดค้านจำนวนมาก แต่ปรากฏว่าที่ผ่านมาได้สนับสนุนให้เอกชนยื่นโครงการเข้ามาสู่กรมอุทยาน และมีการประชุมพิจารณาไปแล้วหลายครั้ง อาทิ โครงการโรมแรม 5 ดาว ที่เกาะตะรุเตา และเกาะอื่นๆ ในทะเลอันดามัน เป็นต้น ดังที่เป็นข่าวนำเสนอตามสื่อมวลชน ดังนั้นเท่ากับว่า กระทรวงทัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีเจตนาที่จะแปรรูปอุทยานแห่งชาติเพื่อให้กลุ่มทุนเอกชนบริหารจัดการตั้งแต่ต้น คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) ขอเรียกร้องให้ อธิบดีกรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ออกมาชี้แจงเรื่องดังกล่าว ซึ่งอาจเป็นที่ครหาในสังคมหรืออาจเข้าข่ายมีผลประโยชน์แอบแฝงจากนโยบายดังกล่าวได้


 


25 กันยายน 2551


คณะทำงานปกป้องนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน


คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน(ครส.)



 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net