Skip to main content
sharethis

25 ก.ค.51  รายงานข่าวจากโครงการเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ (Stateless Watch) ระบุว่าได้รับแจ้งจากองค์กรเครือข่ายคือ โครงการแสวงหาองค์ความรู้ในการบังคับใช้กฎหมายใหม่เพื่อแก้ปัญหาความไร้รัฐและไร้สัญชาติของมนุษย์ในสังคมไทย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่ามีผู้ยื่นคำขอลงรายการสัญชาติไทยในทะเบียนบ้านตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ได้ไปแสดงตนต่ออำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อขอยื่นคำขอฯ โดยพบว่าทางอำเภอรับคำร้องแต่ไม่ได้ลงวันที่รับคำร้อง  ไม่ให้ผู้ยื่นคำขอฯคัดสำเนาเอกสารคำร้อง และแจ้งว่าทางอำเภอจะดำเนินการต่อเมื่อ "คณะทำงาน" ที่ทางอำเภอตั้งขึ้น ได้ตรวจพิจารณาคำร้องก่อน นอกจากนี้ ยังพบว่ามีบางกรณีทางอำเภอสังขละบุรีเรียกให้ผู้ยื่นคำขอนำพยานบุคคลมาในวันที่ยื่นคำร้อง
 
อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นโครงการแสวงหาองค์ความรู้ฯ ได้ประสานงานกับกรมการปกครองส่วนกลาง ซึ่งเจ้าหน้าที่กรมการปกครองได้ประสานงานกับ อ.สังขละบุรีต่อกรณีดังกล่าว แต่ล่าสุดการดำเนินการของ อ.สังขละบุรียังไม่มีความคืบหน้าใดๆ ทางโครงการเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐจึงได้ทำจดหมายความเห็นทางกฎหมาย ลงชื่อโดย ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล นักกฎหมาย โครงการเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ ส่งไปถึงนายอำเภอสังขละบุรี และสำเนาถึงหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ระบุถึงความเห็นทางกฎหมาย ดังนี้


 


1. กฎหมายสัญชาติฉบับใหม่ของสังคมไทย คือ พ...สัญชาติ (ฉบับที่ 4)ฯ ได้กำหนดให้ บุคคล


เป้าหมายของมาตรา 23 เป็น "ผู้มีสัญชาติไทย" โดยสถานะบุคคลนี้ มีผลตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551


และตามมาตรา 23 วรรคท้าย ได้กำหนดให้บุคคลเป้าหมายของมาตรา 23 สามารถยื่นคำขอลงรายการสัญชาติ


ไทยต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น นับจากวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 เป็นต้นไป โดย


กรมการปกครองได้ทำหนังสือสั่งการเป็นการภายในเพื่อกำหนดแนวทางการปฏิบัติงาน


 


2. ภายใต้กฎหมายระดับพระราชบัญญัติ บุคคล กลุ่มเป้าหมายของมาตรา 23 แห่งพ...สัญชาติ (ฉบับที่ 4)ฯ มีสถานะบุคคลเป็นผู้มีสัญชาติไทยแล้ว ภายหลังวันที่ประกาศใช้บังคับกฎหมาย และผูกพันอำเภอ สำนักงานเขต สำนักทะเบียนอำเภอและสำนักทะเบียนท้องถิ่นทุกแห่งในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ในฐานะหน่วยทะเบียนอำเภอ รวมถึงเป็นนายทะเบียนผู้มีอำนาจหน้าที่ตาม พ...การทะเบียนราษฎร พ.. 2534 และฉบับที่ 2 ..2551 เป็นเจ้าหน้าที่ปกครองซึ่งมีหน้าที่ในการรับคำขอฯและพิจารณาคำขอฯเพื่อนำไปสู่กระบวนการออกเอกสารรับรองความเป็นผู้มีสัญชาติไทยหรือเอกสารแสดงตนว่าเป็นผู้มีสัญชาติไทยของบุคคลกลุ่มนี้


 


3. การเตรียมการและดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง ในกรณีนี้คือการรับคำขอ การดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง การสอบพยานบุคคลฯลฯ เพื่อการอนุญาตหรือไม่อนุญาตเพิ่มชื่อและรายการบุคคลในทะเบียนบ้าน (ทร.14) นี้ เจ้าหน้าที่จำเป็นจะต้องคำนึงถึงหลักการปฏิบัติราชการทางปกครอง


ที่ดี ตาม พ...วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ..2539 ด้วย ซึ่งภายใต้หลักการดังกล่าว กำหนดให้เจ้าหน้าที่


คือ อำเภอสังขละบุรีจะต้องดำเนินการตามหลักการเข้าถึงข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ กล่าวคือ คู่กรณี(ใน


กรณีนี้ หมายถึง ผู้ยื่นคำขอฯ) ย่อมมีสิทธิขอตรวจดูเอกสารที่จำเป็นต้องรู้เพื่อการโต้แย้ง ชี้แจงหรือเพื่อป้องกัน


สิทธิของตนได้ ดังนั้น เมื่อผู้ยื่นคำขอฯได้ยื่นคำขอฯ ต่ออำเภอ หากทางอำเภอจะต้องรับคำขอฯ ดังกล่าว โดยต้องลงนามรับ รวมถึงลงวันที่รับเพื่อแสดงถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายการทะเบียนราษฎร และผู้ยื่นคำขอฯย่อมมีสิทธิที่จะขอคัดถ่ายสำเนาคำร้องของตนได้ รวมไปถึงการปฏิบัติหน้าที่โดยยึดถือในหลักหลักการรับฟังผู้ถูกกระทบหรืออาจถูกกระทบสิทธิ เจ้าหน้าที่ต้องให้คู่กรณี มีโอกาสที่จะได้รับทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งเพื่อแสดง พยานหลักฐานของตนตามมาตรา 30


 


ที่สำคัญ หลักความเรียบง่าย รวดเร็วและถูกต้อง กระบวนการเจ้าหน้าที่ ผู้ทำคำสั่งทางปกครองจะต้องยึดหลักความเรียบง่าย รวดเร็วและถูกต้องโดยเจ้าหน้าที่จะต้องแจ้งสิทธิและหน้าที่ในกระบวนพิจารณาทางปกครองในคู่กรณีทราบตามมาตรา 33 ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนก่อนทำคำสั่งทางปกครองหรือภายหลังที่ได้มีคำสั่งฯ แล้วก็ตาม และหลักการกระทำโดยเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ สืบเนื่องจากในการพิจารณาและจัดทำคำสั่งทางปกครองในเรื่องใดเรื่องหนึ่งจะต้องทำโดยเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจหน้าที่ในเรื่องนั้น ตามมาตรา 12 แห่ง พ.รบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ ซึ่งตามมาตรา 5 ได้กำหนดนิยามของคำว่า "เจ้าหน้าที่" ว่า หมายถึง "บุคคล คณะบุคคลหรือนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจหรือได้รับมอบอำนาจให้ใช้อำนาจทางปกครองของรัฐในการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งขึ้นในระบบราชการ รัฐวิสาหกิจหรือกิจการอื่นของรัฐหรือไม่ก็ตาม" จึงมีประเด็นข้อกฎหมายว่าคณะทำงานที่ทางอำเภอสังขละบุรีตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาคำ ร้องนั้น เป็นเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายใด ยิ่งไปกว่านั้น อาจเกิดเป็นประเด็นข้อกฎหมายว่า การดำเนินการดังกล่าวนี้ อาจถือว่ามีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นหรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ ตามมาตรา 9 (1) แห่ง พ...จัดตั้งศาลปกครองฯ


 


4. ส่วนประเด็นพยานบุคคลนั้น กฎหมายและหนังสือสั่งการมิได้กำหนดให้ผู้ยื่นคำขอฯ ต้องนำพยาน


บุคคลมาในวันที่ยื่นคำขอฯ โดยนายทะเบียนสามารถนัดหมายให้นำพยานบุคคลมาสอบสวนในภายหลังได้และ


จะต้องทำการนัดหมายให้นำพยานบุคคลมาสอบสวนภายในระยะเวลาที่เหมาะสม แต่ไม่ควรเกิน 90 วัน นับ


แต่นายทะเบียนรับคำขอฯ (ปรากฎตามข้อ 1 หนังสือสั่งการ ฉบับที่ 2 มท.0309.1/ 9489 ลว 18 มิถุนายน


2551) ดังนั้นการกำหนดให้ผู้ยื่นคำขอฯ นำพยานบุคคลมาอำเภอในวันที่ยื่นคำขอฯ อาจเกิดประเด็นข้อ


กฎหมายที่ว่าการดำเนินการดังกล่าว อาจถือว่ามีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นหรือสร้างภาระให้


เกิดกับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ ตามมาตรา 9 (1) แห่งพ...จัดตั้งศาล


ปกครองฯ


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net