Skip to main content
sharethis







 



 


 


 


สังคมเศรษฐกิจไทยใน USTR Special 301 Report


 


สุนทร  ตันมันทอง


 


เอกสารเหตุการณ์ปัจจุบันหมายเลข 8


โครงการ WTO Watch


(จับกระแสองค์การการค้าโลก)


พฤษภาคม 2551


80 หน้า


 


 


รังสรรค์  ธนะพรพันธุ์


 


กฎหมายการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกาเป็นกฎหมายปกป้องกิจกรรมทางเศรษฐกิจของชาติ หาได้เป็นกฎหมายที่ร่างขึ้นบนพื้นฐานของปรัชญาเศรษฐกิจเสรีนิยมดังที่เข้าใจกันโดยทั่วไปไม่ กลไกการปกป้องกิจกรรมทางเศรษฐกิจผุดขึ้นแล้วผุดขึ้นเล่าในกฎหมายการค้าระหว่างประเทศฉบับต่างๆ


 


Special 301 และ Super 301 เป็นบทบัญญัติในกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ The Omnibus Trade and Competitiveness Act of 1988 ของสหรัฐอเมริกา สาระสำคัญของบทบัญญัติทั้งสอง ก็คือ การสร้างกลไกให้รัฐบาลอเมริกันมีอำนาจในการลงโทษประเทศคู่ค้าที่มีการค้าที่ไม่เป็นธรรมกับสหรัฐอเมริกา กลไกเช่นว่านี้มีมาแต่ The US Tariff Act of 1922


 


Section 301 ปรากฏครั้งแรกใน US Trade Act of 1974 (Section 301-302) ซึ่งให้อำนาจประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาในการลงโทษประเทศคู่ค้าที่สร้าง "unjustifiable and unreasonable foreign barriers" ครอบคลุมทั้งการค้าสินค้าเกษตร และสินค้าที่มิใช่สินค้าเกษตร ในขณะที่ US Trade Expansion Act of 1962 สร้างกลไกการลงโทษเฉพาะสินค้าเกษตร US Trade Act of 1974 ขยายการลงโทษให้ครอบคลุมถึงบริการที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ และการเล่นงานประเทศคู่ค้าที่ใช้มาตรการการอุดหนุนการส่งออก (Export Subsidies) อีกทั้งกำหนดให้ผู้แทนการค้าแห่งสหรัฐอเมริกาต้องรายงานต่อรัฐสภาทุก 6 เดือน


 


US Trade Agreement Act of 1979 ซึ่งเป็นกฎหมายการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกาฉบับต่อมา มิได้เปลี่ยนแปลงอำนาจประธานาธิบดี แต่มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการไต่สวนปฏิบัติการการค้าที่ไม่เป็นธรรมของประเทศคู่ค้า ดังเช่นการกำหนดกรอบเวลา การสถาปนากระบวนการปรึกษาหารือกับประเทศคู่ค้าที่ถูกกล่าวหา และการใช้กระบวนการระงับข้อพิพาท (Section 301-306)


 


US Trade and Tariff Act of 1984 ให้อำนาจ USTR ในการริเริ่มการไต่สวนที่ไม่เป็นธรรมของประเทศคู่ค้าได้เอง โดยไม่ต้องรอการร้องเรียนจากอุตสาหกรรมหรือกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ได้รับความเสียหาย ปริมณฑลของการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมขยายไปครอบคลุมการละเมิดกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา และการลงทุนโดยตรงระหว่างประเทศ นอกจากนี้ USTR ยังมีหน้าที่จัดทำรายงาน National Trade Estimates เสนอต่อรัฐสภา (Section 301-307)


 


US Omnibus Trade and Competitiveness Act of 1988 ร่างขึ้นท่ามกลางกระแสชาตินิยมทางเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากดุลการค้าระหว่างประเทศเริ่มขาดดุลตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2520 ตามมาด้วยภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ ซึ่งยังผลให้ภาวะการว่างงานถีบตัวสูงขึ้น ในขณะเดียวกันสินค้าออกของสหรัฐอเมริกาไม่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ การส่งออกไม่ขยายตัวเท่าที่ควร นายทุนอุตสาหกรรมและผู้นำกรรมการผสานเสียงกับนักการเมืองเรียกร้องให้ปิดตลาดอเมริกัน โดยอ้างว่า การเปลี่ยนแปลงฐานะการค้าระหว่างประเทศ จากที่เคยเกินดุลอยู่บ้างมาเป็นการขาดดุลนั้นเป็นเพราะประเทศคู่ค้าสร้างอุปสรรคกีดขวางสินค้านำเข้าจากสหรัฐอเมริกา ขณะเดียวกัน ตลาดอเมริกันกลับเปิดกว้างรับสินค้าเข้าง่ายเกินไป เสียงเรียกร้องให้เล่นงานประเทศคู่ค้าที่มีการค้าอันไม่เป็นธรรมกับสหรัฐอเมริกาจึงดังขรม ทั้งนี้โดยไม่พิจารณาถึงประสิทธิภาพการผลิตที่เสื่อมทราม และค่าเงินดอลลาร์ที่สูงกว่าพื้นฐานที่เป็นจริง


 


US Omnibus Trade and Competitiveness Act of 1988 มีความหนา 467 หน้า หนากว่า US Trade Expansion Act of 1962 ถึง 15 เท่า นับเป็นกฎหมายการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกาที่มีความหนามากที่สุดในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจอเมริกัน ความหนาของกฎหมายฉบับนี้เป็นผลจากการต่อสู้ระหว่างกลุ่มพลังชาตินิยมเศรษฐกิจกับกลุ่มพลังเสรีนิยมเศรษฐกิจภายในสหรัฐอเมริกานั้นเอง หลังจากใช้เวลากว่า 3 ปีในการต่อสู้ ในที่สุดรัฐสภาอเมริกันก็ให้ความเห็นชอบกฎหมายฉบับนี้ในเดือนสิงหาคม 2531 และประธานธิบดีโรนัลด์ เรแกนลงนามประกาศบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ในเดือนเดียวกันนั้นเอง


 


US Omnibus Trade and Competitiveness Act of 1988 มีหลักการแตกต่างจาก US Trade Act of 1974 อย่างน้อย 2 ประการ กล่าวคือ ประการแรก US Trade Act of 1974 เพ่งพินิจการปฏิบัติของประเทศคู่ค้าที่มีต่อสินค้าออกของสหรัฐอเมริกา กล่าวคือ สินค้าที่สหรัฐอเมริกาส่งไปขายยังประเทศต่างๆได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรมหรือไม่ มีการปฏิบัติการในการกีดกันสินค้านำเข้าจากสหรัฐอเมริกาหรือไม่ แต่ US Omnibus Trade and Competitiveness Act of 1988 ให้ความสำคัญในการพิจารณาปฏิบัติการของประเทศคู่ค้าในการส่งสินค้าออกไปยังสหรัฐอเมริกา (หรืออีกนัยหนึ่ง สินค้าที่สหรัฐอเมริกานำเข้า) ประการที่สอง US Omnibus Trade and Competitiveness Act of 1988 ให้อำนาจฝ่ายบริหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้แทนการค้าแห่งสหรัฐอเมริกา (US Trade Re-presentative: USTR) ในการตอบโต้ประเทศคู่ค้าที่มีปฏิบัติการที่ไม่เป็นธรรมต่อสหรัฐอเมริกามากขึ้น


 


อาวุธสำคัญของ US Omnibus Trade and Competitiveness Act of 1988 ก็คือ บทบัญญัติที่มีชื่อเรียกว่า Super 301 (ซึ่งก็คือ Section 1302 ของกฎหมายนี้) หรือที่รู้จักกันในเกม Gephardt Amendment (ตามชื่อ Richard A. Gephardt สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากมลรัฐมิสซูรีสังกัดพรรคเดโมแครต) บทบัญญัตินี้กำหนดให้ USTR จัดทำรายงานประจำปีระบุชื่อ Priority Foreign Country อันได้แก่ ประเทศที่มีปฏิบัติการทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งหากมีการขจัดปฏิบัติการเหล่านั้นจะช่วยให้การส่งออกของสหรัฐอเมริกาขยายตัว ต่อมาเมื่อมีประกาศใช้ Uruguay Round Agreement Act of 1994 มีการเปลี่ยนแปลงให้ระบุปฏิบัติการทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมแทนการระบุชื่อประเทศ แต่การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่มีผลต่อการปฏิบัติงานของ USTR ในสาระสำคัญ กระบวนการประกาศชื่อประเทศที่มีปฏิบัติการทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมกับสหรัฐอเมริกา (Naming Process) นับเป็นขั้นตอนสำคัญ ประเทศที่ถูกจัดให้เป็น Priority Foreign Country จักต้องถูกไต่สวนและอาจถูกลงโทษด้วยมาตรการต่างๆ USTR จะต้องจัดทำรายชื่อ Priority Foreign Country ภายใน 30 วัน หลังจากที่นำเสนอ National Trade Estimate Report


 


นอกจาก Super 301 แล้ว US Omnibus Trade and Competitiveness Act of 1988 ยังมีบทบัญญัติที่เรียกกันว่า Special 301 (ชื่อสามัญของ Section 1303) ซึ่งกำหนดให้ USTR ไต่สวนและเล่นงานประเทศคู่ค้าที่ละเมิดกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐอเมริกา นอกจาก Priority Foreign Country ที่มีบทบัญญัติในกฎหมายแล้ว ต่อมา USTR ยังเพิ่มการจำแนกประเทศอีก 2 กลุ่ม คือ Priority Watch List (PWL) และ Watch List (WL) ต่อมาเมื่อการบังคับใช้ US Uruguay Round Agreement Act of 1994 กฎหมายฉบับนี้ให้อำนาจ USTR เล่นงานประเทศที่มิได้ปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐอเมริกาอย่างพอเพียงและมีประสิทธิผล (adequate and effective intellectual property protection) แม้ว่าประเทศเหล่านั้นจะปฏิบัติตาม WTO Agreement on Trade-Related Aspects of Right (TRIPs) ก็ตาม


 


นอกจากนี้ US Omnibus Trade and Competitiveness Act of 1988 ยังแก้ไขเพิ่มเติม Title VII ของ US Tariff Act of 1930 เพื่อให้สามารถใช้ Anti-Dumping Duty (ADD) และ Countervailing Duty (CVD) ในการปกป้องกิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


 


กระบวนการประกาศชื่อประเทศที่มีปฏิบัติการการค้าที่ไม่เป็นธรรมกับสหรัฐอเมริกาก็ดี ตลอดจนการตัดสินใช้อากรตอบโต้การทุ่มตลาด (ADD) และอากรตอบโต้การอุดหนุนก็ดี เป็นกระบวนการทางการเมือง หาได้เป็นกระบวนการทางวิชาการไม่ USTR ต้องเผชิญกับแรงกดดันจากกลุ่มผลประโยชน์ในประเทศ ทั้งกลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง รวมทั้งฝ่ายบริหาร (ประธานาธิบดี) และฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา)


 


สถิติจำนวนประเทศที่มีปฏิบัติการทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมกับสหรัฐอเมริกาในสายตา USTR ระหว่างปี 2545-2551 ปรากฏในตารางที่ 1 โดยมีรายละเอียดในภาคผนวก (ข) สูงสุด 52 ประเทศในปี 2547 ต่ำสุด 43 ประเทศในปี 2550 บางประเทศถูกจัดกลุ่มในทางที่ดีขึ้น บางประเทศเลวลง บางประเทศมีทั้งขึ้นและลง รายชื่อประเทศหลักมีการเปลี่ยนแปลงไม่มาก


 


เอกสารเหตุการณ์ปัจจุบันฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับ USTR Special 301 Report และเพื่อฉายภาพให้เห็นว่า USTR จัดประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศใด และเปลี่ยนแปลงการจัดกลุ่มอย่างไร (Watch List ระหว่างปี 2545-2549 และ Priority Watch List ระหว่างปี 2550-2551) การรัฐประหารเดือนกันยายน 2549 ประกอบกับการที่รัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ตัดสินใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิ (Compulsory Licensing) มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการจัดกลุ่มประเทศอย่างมิอาจปฏิเสธได้ แม้ว่าไทยจะปฏิบัติตามกฎกติกาขององค์การการค้าโลก แต่ USTR สามารถอ้าง US Uruguay Round Agreement Act of 1994 ในการเล่นงานไทยได้ การเปลี่ยนแปลงการจัดกลุ่มประเทศเป็นการตัดสินใจทางการเมือง มากกว่าเป็นการตัดสินใจจากข้อเท็จจริงว่าด้วยการละเมิดกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญาเท่านั้น


 


ตารางที่ 1


จำนวนประเทศที่มีการปฏิบัติการทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมกับสหรัฐอเมริกาตามสายตา USTR


2545 - 2551


 


 



























































การจำแนกกลุ่มประเทศ


2545


2546


2547


2548


2549


2550


2551


PFC


1


1


1


1


-


-


-


PWL


15


11


15


13


13


12


9


WL


33


36


34


36


34


30


36


Section 306


2


2


2


-


1


1


1


รวม


51


50


52


50


48


43


46


 


 


ที่มา      ภาคผนวก


หมายเหตุ            PFC       =          Priority Foreign Country


                        PWL      =          Priority Watch List


                        WL        =          Watch List


 



ภาคผนวก


รายชื่อประเทศจำแนกตามการจัดกลุ่มใน


USTR Special 301 Report


 




2002 Special 301 Report


 





















PFC


PWL


WL


Section 306


Ukraine


Argentina


Brazil


Colombia


Dominican


Egypt


EU


Hungary


India


Indonesia


Israel


Lebanon


Philippines


Russia


Taiwan


Uruguay


Armenia


Azerbaijan


Bahamas


Belarus


Bolivia


Canada


Chile


Costa Rica


Greece


Guatemala


Italy


Jamaica


Kazakhstan


Korea


Kuwait


Latvia


Lithuania


Malaysia


New Zealand


Pakistan


Peru


Poland


Qatar


Romania


Saudi Arabia


Slovak


Tajikistan


Thailand


Turkey


Turkmenistan


Uzbekistan


Venezuela


Vietnam


China


Paraguay


1


15


33


2


 


ที่มา      USTR, 2002 Special 301 Report


  



2003 Special 301 Report


 





















PFC


PWL


WL


Section 306


Ukraine


Argentina


Bahamas


Brazil


EU


India


Indonesia


Lebanon


Philippines


Poland


Russia


Taiwan


Azerbaijan


Belarus


Bolivia


Canada


Chile


Colombia


Costa Rica


Croatia


Dominican


Ecuador


Egypt


Guatemala


Hungary


Israel


Italy


Jamaica


Kazakhstan


Korea


Kuwait


Latvia


Lithuania


Malaysia


Mexico


Pakistan


Peru


Romania


Saudi Arabia


Slovak


Tajikistan


Thailand


Turkey


Turkmenistan


Uzbekistan


Venezuela


Vietnam


China


Paraguay


1


11


36


2


 


ที่มา      USTR, 2003 Special 301 Report


 




 


2004 Special 301 Report


 





















PFC


PWL


WL


Section 306


Ukraine


Argentina


Bahamas


Brazil


Egypt


EU


India


Indonesia


Korea


Kuwait


Lebanon


Philippines


Russia


Taiwan


Turkey


Azerbaijan


Belarus


Belize


Bolivia


Bulgaria


Canada


Chile


Colombia


Costa Rica


Croatia


Dominican


Ecuador


Guatemala


Hungary


Israel


Italy


Jamaica


Kazakhstan


Latvia


Lithuania


Malaysia


Mexico


Peru


Poland


Romania


Saudi Arabia


Slovak


Tajikistan


Thailand


Turkmenistan


Uzbekistan


Venezuela


Vietnam


China


Paraguay


1


15


34


2


 


ที่มา      USTR, 2004 Special 301 Report


 



2005 Special 301 Report


 





















PFC


PWL


WL


Section 306


Ukraine


Argentina


Brazil


Egypt


India


Indonesia


Israel


Kuwait


Lebanon


Pakistan


Philippines


Russia


Turkey


Venezuela


Azerbaijan


Bahamas


Belarus


Belize


Bolivia


Bulgaria


Canada


Chile


Colombia


Costa Rica


Croatia


Dominican


Ecuador


EU


Guatemala


Hungary


Italy


Jamaica


Kazakhstan


Korea


Latvia


Lithuania


Malaysia


Mexico


Peru


Poland


Romania


Saudi Arabia


Slovakia


Taiwan


Tajikistan


Thailand


Turkmenistan


Uruguay


Uzbekistan


Vietnam


 


1


13


36


-


 


ที่มา                  USTR, 2005 Special 301 Report


หมายเหตุ            USTR 2005 Special 301 มีรายงาน Results of Out-of-Cycle Review on China สหรัฐฯ
ยังคงติดตามประเมินขึ้นตาม
Section 306 Monitor


 


 2006 Special 301 Report


 





















PFC


PWL


WL


Section 306


 


Argentina


Belize


Brazil


China


Egypt


India


Indonesia


Israel


Lebanon


Russia


Turkey


Ukraine


Venezuela


Bahamas


Belarus


Bolivia


Bulgaria


Canada


Chile


Colombia


Costa Rica


Croatia


Dominican


Ecuador


EU


Guatemala


Hungary


Italy


Jamaica


Korea


Kuwait


Latvia


Lithuania


Malaysia


Mexico


Pakistan


Peru


Philippines


Poland


Romania


Saudi Arabia


Taiwan


Tajikistan


Thailand


Turkmenistan


Uzbekistan


Vietnam


Paraguay


-


13


34


1


 


ที่มา      USTR, 2006 Special 301 Report


 


 



2007 Special 301 Report


 





















PFC


PWL


WL


Section 306


 


Argentina


Chile


China


Egypt


India


Israel


Lebanon


Russia


Thailand


Turkey


Ukraine


Venezuela


Belarus


Belize


Bolivia


Brazil


Canada


Colombia


Costa Rica


Dominican


Ecuador


Guatemala


Hungary


Indonesia


Italy


Jamaica


Korea


Kuwait


Lithuania


Malaysia


Mexico


Pakistan


Peru


Philippines


Poland


Romania


Saudi Arabia


Taiwan


Tajikistan


Turkmenistan


Uzbekistan


Vietnam


Paraguay


-


12


30


1


 


ที่มา      USTR, 2007 Special 301 Report


 


 



2008 Special 301 Report


 





















PFC


PWL


WL


Section 306


 


Argentina


Chile


China


India


Israel


Pakistan


Russia


Thailand


Venezuela


Algeria


Belarus


Belize


Bolivia


Brazil


Canada


Colombia


Costa Rica


Czech


Dominican


Ecuador


Egypt


Greece


Guatemala


Hungary


Indonesia


Italy


Jamaica


Korea


Kuwait


Lebanon


Malaysia


Mexico


Norway


Peru


Philippines


Poland


Romania


Saudi Arabia


Spain


Taiwan


Tajikistan


Turkey


Turkmenistan


Ukraine


Uzbekistan


Vietnam


Paraguay


-


9


36


1


 


ที่มา      USTR, 2008 Special 301 Report


หมายเหตุ


PFC       =          Priority Foreign Country


PWL      =          Priority Watch List


WL        =          Watch List


 


 


* หมายเหตุ         เอกสารข้อมูลชุดนี้เป็นผลงานของโครงการ WTO Watch


(จับกระแสองค์การการค้าโลก)


หาอ่านเอกสารนี้ได้จาก


http://www.thailandwto.org/Doc/Pub/PubCur/CurrentPaper8.pdf

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net