Skip to main content
sharethis

แรงงานไทยส่วนใหญ่ของประเทศไทยยังคงเป็น "แรงงานนอกระบบ" (Informal Sector)  ที่ไม่ได้รับการคุ้มครองสวัสดิการต่างๆ ทั้งในด้านสุขภาพและความมั่นคงในชีวิต ส่งผลทำให้คุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพการทำงานของแรงงานไทยยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร ซึ่งรัฐบาลจำเป็นที่จะต้องรีบแก้ไข เพื่อให้แรงงานไทยที่เป็นกำลังสำคัญทางเศรษฐกิจสามารถที่จะยืนหยัดต่อสู้อยู่ในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี


 


สำหรับประเด็นที่น่าจับตามองมากที่สุดก็คือ การที่แรงงานส่วนใหญ่ในปัจจุบันเป็น "แรงงานนอกระบบ" ที่ไม่ได้รับการคุ้มครองสวัสดิการต่างๆ เหมือนกับ "แรงงานในระบบ" ดังนั้นหากมีการว่างงานเพิ่มขึ้น แรงงานนอกระบบจะได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก เนื่องจากเป็นแรงงานที่ไม่รับการคุ้มครองสวัสดิการใดๆ

เนื่องจากกฎหมายแรงงาน ที่กระทรวงแรงงานดูแลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน จะคุ้มครองคนทำงานที่เป็นลูกจ้าง และมีนายจ้าง ตามสัญญาจ้างแรงงานเท่านั้น ผู้ทำงานหรือรับจ้างทำงานตามสัญญารูปแบบอื่นๆ เช่น สัญญาจ้างทำของ สัญญาจะซื้อขาย สัญญาซื้อขายอื่นๆ ไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน


 


แม้จะมีการออกกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานที่รับไปทำที่บ้าน พ.. 2547 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2547 แต่ก็มีปัญหาและข้อจำกัดของการคุ้มครองแรงงานอย่างมาก เพราะต้องอยู่ภายใต้กรอบหลักการของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.. 2541  จึงคุ้มครองเฉพาะผู้รับงานไปทำที่บ้าน ที่ใช้วัตถุดิบหรืออุปกรณ์ในการผลิตทั้งหมดหรือบางส่วนจากนายจ้าง และการทำงานนั้น


 


การทำงานเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจของนายจ้าง รวมทั้งไม่ครอบคลุมสิทธิแรงงานสำคัญหลายเรื่อง จึงทำให้เครือข่ายแรงงานนอกระบบ ร่วมกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ ต้องจัดประชุมจัดตั้งคณะทำงานพิจารณาปรับปรุงร่างกฎหมายขึ้นมา เพื่อเสนอต่อรัฐบาลและรัฐสภาให้สนับสนุน โดยกระทรวงแรงงาน ก็เดินหน้ายกร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.….. เพื่อเร่งเสนอให้รัฐบาลอนุมัติต่อไป


 


กรอบแนวคิดการคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน


ในการประชุมใหญ่สมัยที่ 90 ปี 2540 ของ ILO ได้มติว่าด้วยงานที่มีคุณค่า และเศรษฐกิจนอกระบบ การส่งเสริมงานที่มีคุณค่าสำหรับผู้ทำงานทุกคน ทุกสถานที่ ทั้งหญิง และชาย จำเป็นต้องใช้กลยุทธ์แบบบูรณาการ โดยเชื่อมโยงการสร้างความเสมอภาคระหว่างหญิง ชาย การบรรเทาปัญหาความยากจน รวมทั้งมาตรการในระดับนานาชาติ เช่น เป้าหมายแห่งสหัสวรรษ และเครือข่ายการจ้างงานเยาวชน เข้ากับงานหลัก 4 ด้าน (Four Pillars of Decent Work) ของ ILO ที่เรียกว่า หลักการมีงานทำที่มีคุณค่า ประกอบด้วย


 


(1)    หลักการ และสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงาน (Fundamental Principles and Right at work) ประกอบด้วย เสรีภาพในการรวมตัว และการคุ้มครองสิทธิในการเจรจาต่อรองร่วม การขจัดการใช้แรงงานบังคับ การคุ้มครองการใช้แรงงานเด็ก และการห้ามเลือกปฏิบัติ เกี่ยวกับค่าตอบแทน การจ้างงาน และการพัฒนาอาชีพ


(2)    การส่งเสริมศักยภาพที่จะในการมีงานทำนั้นเอง


ประกอบด้วย การส่งเสริมการมีงานทำ และการเพิ่มผลิตภาพแก่ผู้อยู่ในเศรษฐกิจนอกระบบการลงทุนด้านความรู้ และทักษะ การสร้างงาน ที่มีคุณภาพ โดยการพัฒนาสถานประกอบการ และแก้ไขอุปสรรคต่างๆ เช่น การเข้าถึงเครดิต การตลาด การฝึกอบรม และกฎระเบียบ ที่ไม่เหมาะสมเป็นธรรม


(3)    การคุ้มครองทางสังคม


ประกอบด้วย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน


การขยายและส่งเสริมการประกันสังคม ซึ่งรูปแบบการประกันสังคมที่ประสบความสำเร็จ จะต้องคำนึงถึงความต้องการของแรงงานนอกระบบกลุ่มต่างๆ ที่มีความหลากหลายการกำหนดเงื่อนไขการจ่ายเงินสมทบ การให้ผลประโยชน์ทดแทน และการบริหารจัดการจำเป็นต้องพิจารณาให้สอดคล้องด้วย


(4)    การสร้างความเข้มแข็งให้กับการมีผู้แทน และการมีส่วนร่วม


ภาครัฐเป็นองค์ประกอบสำคัญในการกำหนดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดตั้งองค์กร และส่งเสริมการมีผู้แทนของผู้อยู่ในเศรษฐกิจนอกระบบ เพื่อเข้าร่วมหารือ มีส่วนในการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานนอกระบบ และสนับสนุนให้มีกลไกการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การจัดตั้งองค์กรแรงงานนอกระบบ สหภาพแรงงาน องค์กรนายจ้าง รวมทั้งกลุ่มเจรจาต่อรอง ร่วมกับภาครัฐในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับแรงงานนอกระบบ ที่จริงแล้ว กลไกสำคัญของ ILO ในการขยายการคุ้มครองและยกระดับแรงงานในเศรษฐกิจนอกระบบเกิดขึ้นก่อนหน้านั้น ได้แก่ อนุสัญญาว่าด้วยการรับงานไปทำที่บ้าน ฉบับที่ 177 ปี 2539 และข้อเสนอแนะ ฉบับที่ 184


 


โดยสาระสำคัญของอนุสัญญาฉบับที่ 177 ว่าด้วยงานที่รับงานไปทำที่บ้าน ประกาศใช้ เมื่อมิถุนายน 2539 กำหนดความหมายและขอบเขตของงานที่รับไปทำที่บ้าน สรุปได้ว่า


 


1.       เป็นการทำงานผลิตหรือ บริการ เพื่อรับค่าตอบแทน


2.       สถานที่ทำงาน คือ บ้านของผู้รับงาน หรือที่อื่นๆ ซึ่งเลือกกันเอง ที่มิใช่สถานที่ทำงานของนายจ้าง


3.       เพื่อรับค่าตอบแทน


4.       ไม่คำนึงถึงใคร เป็นผู้จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ หรือสิ่งของที่ใช้ในการทำงาน


5.       ไม่รวมถึงลูกจ้างที่นำเอางานมาทำที่บ้านเป็นครั้งคราว แทนที่จะทำที่โรงงาน หรือสถานประกอบการของนายจ้าง


6.       ไม่รวมถึงบุคคล ที่มีความพร้อมทางเศรษฐกิจ และประกอบอาชีพอิสระตามกฎหมายของแต่ละประเทศ


7.       นายจ้าง หมายถึง บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล ที่ส่งมอบงานที่รับไปทำที่บ้านในการประกอบธุรกิจของคน ไม่ว่า โดยตรง หรือผ่านคนกลาง และไม่ว่ากฎหมายแห่งชาติ จะมีบทบัญญัติให้มีคนกลางหรือไม่


 


ส่วนขอบเขตการคุ้มครองสิทธิแรงงานตามอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 177 นั้น ได้เสนอให้มีนโยบายแห่งชาติเกี่ยวกับงานที่รับไปทำที่บ้าน ที่ส่งเสริมการปฏิบัติเท่าเทียมระหว่างผู้รับงานไปทำที่บ้านกับผู้ทำงานรับค่าจ้างอื่นๆ เท่าที่จะเป็นไปได้ โดยคำนึงถึงลักษณะพิเศษของงานที่รับไปทำที่บ้าน และเงื่อนไขที่จะนำมาปรับใช้กับประเภทงานที่เหมือนกัน หรือคล้ายคลึงกัน ที่ดำเนินการในสถานประกอบการตามความเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับ


 


1.       สิทธิของผู้รับงานไปทำที่บ้านในการก่อตั้ง หรือเข้าร่วมองค์การ และกิจการขององค์การโดยเสรี


2.       การคุ้มครองจากการเลือกปฏิบัติในการจ้างงาน และอาชีพ


3.       ค่าตอบแทน


4.       การคุ้มครองด้านประกันสังคมตามกฎหมาย


5.       การได้รับการฝึกอบรม


6.       อายุขั้นต่ำในการจ้างงาน หรือ รับเข้าทำงาน


7.       การคุ้มครองกรณีคลอดบุตร


8.       การคุ้มครองสุขภาพ และความปลอดภัยในการทำงาน


 


แต่ทั้งนี้เมื่อพิจารณาสาระกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานที่รับไปทำที่บ้าน พ.. 2547 และ พ... ประกันสังคมในปัจจุบัน พบว่า กฎหมายแรงงานไทยไม่ได้คุ้มครองเรื่องค่าตอบแทน การได้รับการฝึกอบรมการประกันสังคม และการคุ้มครองกรณีคลอดบุตรของแรงงานในงานที่รับไปทำที่บ้าน


 


เส้นทางการเคลื่อนไหว


 


19 กุมภาพันธ์  2550 มีการสัมมนาแนวทางออกกฎหมายคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน โครงการบูรณาการแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดประชุมเรื่อง "พิจารณาแนวทางการออกฎหมายคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน" ที่โรงแรมเอเชีย กทม. ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ผู้แทนสภาองค์การลูกจ้าง ผู้แทนสำนักคุ้มครองสู่แรงงานนอกระบบ สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงานผู้แทนมูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ และนักกฎหมาย นักวิชาการแรงงาน รวมประมาณ 20 คน


 


โดยมีวัตถุประสงค์ การจัดประชุมคือ เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบร่างพระราชบัญญัติส่งเสริม พัฒนาและคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.…. (เครือข่ายแรงงานนอกระบบ) และร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.….(ฉบับกระทรวงแรงงาน)แลกเปลี่ยนความคิดเห็นแนวทางผลักดันร่างกฎหมายคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้านในอนาคต


 


28 กุมภาพันธ์ 2550 ผู้แทนเครือข่ายแรงงานนอกระบบ และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ ประมาณ 80 คน ได้เข้าพบนาย อภัย จันทนจุลกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่กระทรวงแรงงาน เพื่อยื่นข้อเสนอ เรื่อง "การคุ้มครองแรงงานนอกระบบ" โดยข้อเสนอเกี่ยวกับร่างกฎหมายคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน มีดังนี้


 


ให้กระทรวงแรงงานนำเอาร่าง พระราชบัญญัติส่งเสริมคุ้มครอง และพัฒนาแรงงานในงานรับไปทำที่บ้าน พ.…. ซึ่งเป็นร่างที่เครือข่ายฯ จัดทำขึ้นมาบูรณาการ ปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองรับงานไปทำที่บ้าน พ.….ฉบับกระทรวงแรงงานในสาระสำคัญดังนี้


 


ขยายนิยามของ "ผู้รับงานไปทำที่บ้าน" ให้ครอบคลุมถึงสมาชิกในครอบครัว ที่มีช่วยทำงานสหกรณ์ กลุ่ม และนิติบุคคลอื่น


 


ปรับปรุงคำนิยามของ "ผู้จ้างงาน" และ "ผู้ว่าจ้าง" ให้ชัดเจน เนื่องจากผู้ว่าจ้างบางส่วนไม่ใช่นายจ้าง หรือ ผู้รับเหมาที่มีฐานะ หรือมีวัตถุประสงค์ ที่ไม่แสวงหากำไรจากการส่งมอบงานให้แก่ผู้รับงานไปทำที่บ้านในชุมชนท้องถิ่น ที่ตนอาศัยอยู่ แต่เป็นเรื่องของการแบ่งปันช่วยเหลือกันให้มีงานทำ


 


ให้มีหลักการ และการบริหารการกำหนดค่าตอบแทนที่เป็นธรรม ในการคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้านโดยใช้หลักการว่า งานที่มีคุณค่าลักษณะเดียวกัน และปริมาณเท่ากัน ไม่ว่าทำงานที่โรงงาน หรือที่บ้าน


 


แม้ว่าอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการรับงานไปทำที่บ้านจะมีอำนาจเสนอรัฐมนตรีในเรื่องนโยบายการส่งเสริม และพัฒนาผู้รับงานไปทำที่บ้านได้ ตามมาตรา 24 ของร่าง พรบ. ฉบับกระทรวงแรงงาน แต่ควรมีมาตราว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาผู้รับงานไปทำที่บ้านให้ชัดเจน เพื่อเป็นหลักประกันความต่อเนื่อง และความมีประสิทธิภาพ


 


18 มีนาคม 2550 เครือข่ายแรงงานนอกระบบ ประมาณ 30 คน ได้เข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือ ข้อเรียกร้องที่ทางเครือข่ายแรงงานนอกระบบ และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพได้ยื่นหนังสือไว้ เมื่อวันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ 2550 ต่อนายอภัย จันทนจุลกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรง ซึ่งกระทรวงมีคำตอบต่อแนวทางคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้านในแต่ละประเด็น ดังนี้


 


ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.…. กระทรวงแรงงานจะรับข้อเสนอของกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้านไปดำเนินการได้ 2 แนวทาง คือ


 


แนวทางที่ 1 ให้กระทรวงแรงงานนำร่างพระราชบัญญัติ ที่เสนอแล้วกลับมาพิจารณาอีกครั้ง  ซึ่งหากจะดำเนินการตามแนวทางนี้ก็ต้องมีเหตุผลในการถอนเรื่องกลับคืน รวมถึงต้องใช้ระยะเวลาการดำเนินการเป็นปี และอาจทำให้การคุ้มครองผู้ใช้แรงงานกลุ่มนี้ต้องล่าช้าออกไป


 


แนวทางที่ 2 เมื่อกระทรวงแรงงานได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว กลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้านสามารถที่จะแสดงความเห็นให้ชั้นการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อขอให้กลุ่มแรงงานดังกล่าวมีส่วนในการแสดงความเห็นตามข้อเสนอในประเด็นต่างๆ


 


ซึ่งกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงานพิจารณาแล้ว เห็นควรดำเนินการตามแนวทางที่ 2 โดยให้กลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้านเสนอความเห็นในชั้นกฤษฎีกา เพื่อขอให้กลุ่มแรงงานดังกล่าว มีส่วนในการแสดงความเห็นตามข้อเสนอในประเด็นต่างๆ


 


กรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงานพิจารณาแล้ว เห็นควรดำเนินการตามแนวทางที่ 2 โดยให้กลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้านเสนอความเห็นในชั้นกฤษฎีกา เนื่องจากประเด็นข้อเสนอของกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้านเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมในรายละเอียดของข้อกฎหมาย ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้ว กลุ่มผู้รับงานฯ เห็นชอบในหลักการตามแนวทางดังกล่าวจะเป็นประโยชน์แก่ผู้รับงานฯ มากที่สุด


 


25 เมษายน พ.. 2550 ตัวแทนเครือข่ายแรงงานนอกระบบ มูลนิธิการเพื่อพัฒนาแรงงานและอาชีพ และคณะทำงานพัฒนานโยบายสาธารณะ โครงการบูรณาการแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ยื่นร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมพัฒนาผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.….. ต่อประธานคณะกรรมาธิการแรงงานและสวัสดิการสังคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อขอให้พิจารณาและประกาศใช้กฎหมายดังกล่าวต่อไป


 


ร่างกฎหมายดังกล่าว มีเจตนารมณ์ 3 ประการ คือ


(1)    การคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานแก่ผู้รับงานไปทำที่บ้านที่เหมาะสมและสอดคล้อง


(2)    กำหนดมาตรกรส่งเสริมพัฒนาผู้รับงานไปทำที่บ้าน และการรวมตัวของผู้รับงานไปทำที่บ้านไว้ในกฎหมาย


(3)    ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในนโยบายและกฎหมาย โดยเน้นการประสานผลประโยชน์ระหว่างผู้ว่าจ้าง ผู้รับงานไปทำที่บ้าน และสังคมอย่างเป็นธรรม เพื่อให้เกิดการจ้างงานอย่างยั่งยืน ผู้จ้างงานได้รับผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม ส่วนผู้รับงานไปทำที่บ้านก็มีคุณภาพชีวิตที่ดี


 


ร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้


1.       ผู้รับงานไปทำที่บ้าน ควรได้รับสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐาน เช่น สิทธิในค่าจ้างขั้นต่ำ หากลักษณะหรือสภาพของงานไม่แตกต่างจากในระบบ สิทธิในค่าจ้างที่เป็นธรรม และให้ผู้จ้างงานรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายและวัตถุดิบในการทำงาน


2.       ผู้จ้างงานในงานที่รับไปทำที่บ้าน ผู้รับเหมาช่วง และผู้รับเหมาชั้นต้นต้องร่วมรับผิดในค่าจ้างและค่าใช้จ่ายในการทำงาน


3.       การคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน


4.       การสร้างหลักประกันด้านสุขภาพอนามัย การคุ้มครองผู้หญิงและเด็ก


5.       ให้กำหนดมาตรการส่งเสริมและพัฒนา ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารการจ้างงานทักษะฝีมือสินเชื่อหรือเงินทุนหมุนเวียน และการสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน


6.       ในการบริหารและการบังคับใช้กฎหมาย ให้มีคณะกรรมการระดับชาติ โดยผู้รับงานไปทำที่บ้านและภาคประชาสังคมมีส่วนร่วม การส่งเสริมให้กลุ่มผู้รับงานฯ หรือ องค์กรชุมชนเป็นอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือพนักงานตรวจแรงงาน ตลอดจนการมีคณะกรรมการไกล่เกลี่ย หรือระงับข้อพิพาทเชิงสมานฉันท์ ในระดับตำบลหรือชุมชน


ในขณะที่กระทรวงแรงงานก็ได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.…..


 


24 เมษายน 2550 มีการเสนอต่อรัฐบาลเห็นชอบหลักการ แต่ยังมีสาระสำคัญแตกต่างกันฉบับเครือข่ายแรงงานนอกระบบ หลายประเด็น ดังนี้


 


ไม่คุ้มครองในเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำหรือค่าจ้างที่เป็นธรรม, ไม่คุ้มครองในเรื่องค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับวัตถุดิบ หรืออุปกรณ์หรือค่าใช้จ่าย ในการทำงาน ค่าไฟฟ้า และค่าขนส่ง, ไม่นำหลักความร่วมรับผิดชอบของผู้รับเหมาช่วงไปจนถึงผู้รับเหมาชั้นต้นในเงินค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าชดเชย และค่าชดเชยพิเศษ ดังที่กำหนดไว้ในมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.. 2541 มาใช้บังคับ


 


ไม่กำหนดมาตรการส่งเสริมพัฒนาให้เป็นสิทธิตามกฎหมาย เพียงแต่กำหนดไว้เป็นอำนาจทางการบริหาร,ยังไม่มีเรื่องสิทธิการรวมตัวและระบบแรงงานสัมพันธ์, คณะกรรมการการรับงานไปทำที่บ้านและกลไกการตรวจแรงงานและการร้องทุกข์ยังคงยึดหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.. 2541 ซึ่งยังขาดหลักการการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนหรือภาคประชาสังคม


 


อย่างไรก็ตาม ร่างกฎหมายฉบับกระทรวงแรงงาน ได้เพิ่มเติมสาระสำคัญ เรื่องการคุ้มครองผู้รับงานฯ กรณีประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือ ตาย เนื่องจากการทำงาน ที่มิใช้การจงใจหรือประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรงของผู้รับงานฯ ให้มีสิทธิในค่ารักษาพยาบาล และค่าทำศพ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง


           


24 เมษายน 2550 (ในวันเดียวกันที่มีการเสนอต่อรัฐบาลเห็นชอบหลักการ) ได้มีการเข้าพบชี้แจงต่อคณะทำงานการแรงงานและสวัสดิการสังคม สภาที่ปรึกษาเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อขอความร่วมมือสนับสนุนร่างกฎหมายคุ้มครองและส่งเสริมพัฒนาผู้รับงานไปทำที่บ้าน ซึ่งคณะทำงานจะเชิญผู้เกี่ยวข้องจากภาครัฐและเอกชน มาให้ข้อมูลเพื่อพิจารณาจัดทำข้อเสนอแนะการคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน ซึ่งคณะทำงานจะเชิญผู้เกี่ยวข้องจากภาครัฐ และเอกชนมาให้ข้อมูลเพื่อพิจารณาจัดทำข้อเสนอแนะการคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน เสนอต่อรัฐบาลในอนาคต โดยไม่สามารถเสนอร่างกฎหมายต่อรัฐบาลได้


 


30 เมษายน 2550 จัดทำหนังสือ เผยแพร่ข้อมูลสถานการณ์และร่างกฎหมายคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน ร่วมมือกับโครงการบูรณาการแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ สสส. จัดทำหนังสือ "เหลียวหลังแลหน้า กฎหมายคุ้มครองสิทธิผู้รับงานไปทำที่บ้าน" เพื่อเผยแพร่แก่สมาชิกเครือข่ายแรงงานนอกระบบ และภาคีพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง โดยแจกจ่ายครั้งแรกในงาน "สัมมนาสมัชชาเครือข่ายแรงงานนอกระบบ" ที่หอประชุมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวันที่ 


 


เนื้อหาของหนังสือดังกล่าวประกอบด้วย


 


1.       สถานการณ์คุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ : ภาคการผลิต กรณีผู้รับงานไปทำที่บ้านและโครงการโอท็อป


2.       บทวิเคราะห์ กฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานที่รับไปทำที่บ้าน พ.. 2547


3.       บทวิพากษ์ ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.….. (ฉบับกระทรวงแรงงาน)


4.       สรุปสาระสำคัญเปรียบเทียบอนุสัญญา 177 ว่าด้วยงานที่รับไปทำที่บ้าน กับกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานที่รับไปทำที่บ้าน พ.. 2547 และร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.….(ฉบับกระทรวงแรงงาน)


5.       ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.….(ฉบับรัฐบาล)และสรุปสาระสำคัญ


6.       ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองส่งเสริมและพัฒนาผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.….. (ฉบับเครือข่ายแรงงานนอกระบบ) ปรับปรุงใหม่, มีนาคม 2550 และสรุปสาระสำคัญ


7.       กฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานที่รับไปทำที่บ้าน พ.. 2547


8.       อนุสัญญาฉบับที่ 177 ว่าด้วยงานที่รับไปทำที่บ้าน และข้อเสนอแนะฉบับที่ 184 ว่าด้วยงานที่รับไปทำที่บ้าน


 


21 พฤษภาคม 2550 ประชุมพิจารณาร่างกฎหมายกับคณะอนุกรรมาธิการแรงงานฯ คณะทำงานพัฒนานโยบายสาธารณะ โครงการบูรณาการแผนงาน พัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ สสส.ได้จัดทำเอกสารและเข้าชี้แจงเรื่องความสำคัญและสาระสำคัญร่าง พ...คุ้มครองและส่งเสริมพัฒนาผู้รับงานไปทำที่บ้าน ฉบับเครือข่ายแรงงานนอกระบบ เสนอต่อ คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในคณะกรรมาธิการแรงงานและสวัสดิการสังคมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยที่ประชุมได้แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาร่วมพิจารณาปรับปรุงร่างกฎหมาย


 


18 มิถุนายน 2550 คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้เชิญผู้แทนกระทรวงแรงงาน และเครือข่ายแรงงานนอกระบบ เข้าร่วมปรึกษาหารือ เพื่อพิจารณาถึงประเด็นที่จะบูรณาการ เนื้อหาร่างกฎหมายหรือเสนอให้ปรับปรุงร่างกฎหมายฉบับรัฐบาลให้สอดคล้องกับข้อเสนอของเครือข่ายแรงงานนอกระบบ ผลการประชุมนำไปสู่การแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อพิจารณาร่างกฏหมายฉบับเครือข่ายแรงงานนอกระบบ โดยผู้แทนกระทรวงแรงงานยินดีให้คำปรึกษาและเสนอให้ผู้แทนกลุ่มแรงงานนอกระบบไปชี้แจงต่อคณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อมีการพิจารณาร่างกฎหมายฯ ฉบับรัฐบาล


 


20 มิถุนายน 2550 ผู้แทนเครือข่ายแรงงานนอกระบบ และมูลนิธิเพื่อพัฒนาแรงงานและอาชีพได้ประชุมกับคณะอนุกรรมาธิการฯ โดยคณะอนุกรรมาธิการฯ เสนอให้พิจารณาปรับปรุงกฎหมาย โดยใช้ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.…. ฉบับรัฐบาลเป็นหลัก เนื่องจากร่างกฎหมายทุกฉบับที่เข้าสู่ สนช. ต้องใช้ร่างกฎหมายฉบับรัฐบาลเป็นหลักในการพิจารณา ซึ่งจะทำให้คณะกรรมมาธิการฯ เห็นชอบได้ง่าย และมีโอกาสที่ สนช.จะพิจารณาเห็นชอบต่อไปด้วย ถ้ามีสาระสำคัญใกล้เคียงกับร่างกฎหมายฉบับรัฐบาล


 


ผลการพิจารณาถกเถียงเป็นรายมาตรา คณะอนุกรรมาธิการฯ เห็นชอบสาระสำคัญร่างกฎหมายฉบับเครือข่ายแรงงานนอกระบบในบางประเด็น เพื่อนำไปประสานกับร่างกฎหมายฉบับรัฐบาล และจัดทำเป็นร่างกฎหมายฉบับสมาชิก สนช. เพื่อเสนอให้คณะกรรมาธิการแรงงานฯ พิจารณาเห็นชอบต่อไป ได้แก่ นิยามของผู้รับงานไปทำที่บ้าน, หลักการกำหนดค่าตอบแทนการทำงานที่เป็นธรรม, หลักการส่งเสริมพัฒนาและการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐ, หมวดความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน(ทั้งหมด), ลดจำนวนและองค์ประกอบของคณะกรรมการคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน


 


15 มิถุนายน 2550 คณะอนุกรรมการพิจารณาศึกษากลุ่มกฎหมายว่าด้วยการเสริมสร้างความเป็นธรรม และความสมานฉันท์ในสังคม ในคณะกรรมการพิจารณาศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาสำคัญของชาติ โดยมาตรการทางนิติบัญญัติแห่งชาติ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้จัดสัมมนา เรื่อง "ตลาดนัดกฎหมาย" ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หนึ่งในร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับการคัดเลือกให้มานำเสนอในที่ประชุมวันนั้น คือ ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.. … นำเสนอโดยผู้แทนกระทรวงแรงงาน ร่วมกับเครือข่ายแรงงานนอกระบบ


 


1 สิงหาคม 2550 ผู้แทนเครือข่ายแรงงานนอกระบบ และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ ได้เข้าพบคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่กำลังพิจารณาร่าง พ...คุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.….. ฉบับรัฐบาล กรรมการกฤษฎีกาได้ซักถามแสดงความไม่เห็นด้วยกับการกำหนดค่าตอบแทนที่เป็นธรรม ในร่างกฎหมาย เพราะเห็นว่าเป็นไปได้ยาก ควรเป็นเรื่องของกลไกตลาดและการต่อรอง และจะกระทบต่อโอกาสได้งานทำของผู้รับงานไปทำที่บ้านได้


 


28 กันยายน 2550 เครือข่ายแรงงานนอกระบบ มูลนิธิอารมณ์พงศ์พงัน กระทรวงแรงงาน และสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ ร่วมกันจัดเวทีเพื่อติดตามและประเมินความก้าวหน้าร่าง พ... คุ้มครอง ส่งเสริมและพัฒนาผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.…. (ฉบับเครือข่ายแรงงานนอกระบบ) และปรับปรุงโดยคณะอนุกรรมาธิการปรับปรุงกฎหมายแรงงานและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และร่าง พ... คุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.…. (ฉบับกระทรวงแรงงาน) สรุปความก้าวหน้าของ พ... ทั้ง 2 ฉบับได้ดังนี้


 


ร่าง พ... คุ้มครอง ส่งเสริมและพัฒนาผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.…. ปรับปรุงโดยคณะอนุกรรมาธิการฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้เสนอดต่อคณะกรรมาธิการแรงงานและสวัสดิการสังคมพิจารณารับหลักการและเห็นชอบ เพื่อนำเสนอเข้าสู่ การบรรจุเป็นวาระพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ


 


ร่าง พ... คุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.. …. (ฉบับกระทรวงแรงงาน) หลังจากที่กระทรวงแรงงานได้เสนอร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวให้ คณะรัฐมนตรี (ครม.)พิจารณาเห็นชอบ และส่งต่อให้คณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 9 ได้พิจารณาและส่งกลับให้กระทรวงแรงงานนำกลับไปปรับปรุงหลักการและกฏหมายบางมาตราให้เทียบเคียงกับมาตรฐานของแรงงานในระบบ แต่กระทรวงแรงงานไม่ปรับแก้ และยื่นหนังสือยืนยันหลักการเดิมต่อ คณะกรรมการกฤษฎีกา


 


ปัจจุบัน ร่าง พ... ผู้คุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.….(ฉบับกระทรวงแรงงาน) อยู่ในกระบวนการปรับแก้ไขของคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 9 โดยได้เรียกให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องของกระทรวงแรงงานเข้าให้ข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นที่ คณะกรรมการกฤษฎีกาฯ พิจารณาปรับแก้ต่อไป


 


ในที่สุดแล้วทิศทาง ของ พ.. จะเป็น อย่างไร? ต่อไป ก็เป็นสิ่งที่ผู้มีส่วนผลักดันทุกฝ่ายต่างมีคำถามอยู่ในใจและก็คงต้องรอเพื่อวางแผนต่อไปในรัฐบาลหน้า


 


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net